Blogs : #ประสาทตา

Sort

Dry eyes

Dry eyes Tears play a crucial role in keeping our eyes moist, ensuring clear vision by letting light effectively pass through the eye's lens, and supplying oxygen to nourish the eye. They also help fend off infections and keep foreign substances at bay.   Now, when it comes to dry eyes, it's a pretty common issue that can stem from abnormal tear production or tears evaporating too quickly. This can lead to discomfort, irritation, that feeling like there's something foreign in your eye, redness, pain, blurry vision that gets better with blinking, or even feeling like your eyes are tired and heavy. What causes dry eyes can vary—getting older, being a woman (yeah, we're more prone to it), certain allergy medications, spending loads of time on screens, being in places with dust and smoke, gusty winds, and bright lights, they can all have a hand in it.   But hey, the good news is there are ways to tackle dry eyes:   Keep away from things that can make it worse, like strong winds and dust, by popping on some sunglasses and protecting those peepers. Remember to take breaks or blink more often, especially when you're glued to screens for a while. You've got these cool eye drops called artificial tears. There's a type for daytime (more watery) and nighttime (a bit thicker). Which one to use depends on how serious your dry eye situation is. Sometimes your doc might suggest special eye drops that encourage your eyes to make more tears. Give your eyes a treat with warm, clean cloths over your closed eyelids to help them feel better. If the dry eye struggle is real and isn't improving, it's wise to chat with an eye doctor.   All in all, dry eyes can be a bother, but there are solutions out there. It's important to take good care of your eyes, especially when it's all dry outside. If you suspect you've got dry eyes, having a chat with an eye care expert is a smart move.      
Read More

What Is Asthenopia (Eye Strain)?

‘อาการตาล้า’ เป็นปัญหาที่พบได้ในชีวิตประจำวัน แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคต่างๆ ได้ ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีสังเกตอาการตาล้า พร้อมวิธีแก้อาการตาล้าอย่างละเอียด   อาการตาล้า คือการที่ดวงตามีความอ่อนล้าจากการใช้งานอย่างหนัก ทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน หรือเห็นเป็นภาพเบลอ อาการตาล้าที่สังเกตได้ เช่น ปวดตา ตาแห้ง แสบตา มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เป็นต้น อาการตาล้าเป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไป แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ควรเข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียดกับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจส่งผลเสียต่อการมองเห็นระยะยาวได้ อาการตาล้า นอกจากส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของดวงตาอีกด้วย เพราะเมื่อดวงตาอ่อนล้า มักเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ อาการตาล้ารักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้น้ำตาเทียม สวมแว่นตากันแดดหรือแว่นกรองแสง ประคบเย็น และฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา วิธีป้องกันตาล้า เริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ลดระยะเวลาการใช้งานหน้าจอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในพื้นที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น ลักษณะอาการผิดปกติที่แสดงว่าตาล้าอย่างหนัก ได้แก่ รู้สึกปวดบริเวณเบ้าตาอย่างหนัก มีน้ำตาไหลอยู่ตลอดเวลา มองเห็นภาพไม่ชัดเจน หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด     ทำความรู้จัก ตาล้า คืออะไร อาการตาล้า (Asthenopia) คืออาการที่เกิดจากการที่ดวงตาถูกใช้งานอย่างหนัก หรือมีการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน โดยอาการตาล้าเป็นอาการที่มีความรุนแรงน้อย ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจนไม่สามารถมองเห็นภาพได้ชัด ส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือ การขับขี่รถยนต์ เป็นต้น สังเกตอาการตาล้า มีอะไรบ้าง อาการตาล้า สามารถสังเกตได้ดังนี้ ปวดตา ปวดเบ้าตา หรือปวดบริเวณรอบๆ ดวงตา ตาแห้ง มีน้ำตาไหลออกมา ระคายเคืองตา แสบตา ตาล้า มองเห็นภาพเบลอ มองเห็นไม่ชัดเจน อาจมีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ มีอาการบ้านหมุน หรือเห็นภาพซ้อนกัน     ตาล้าอันตรายกว่าที่คิด! ส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง อาการตาล้าอันตรายกว่าที่คิด! โดยปกติแล้วอาการตาล้าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทั้งนี้หากมีอาการตาล้า ปวดบริเวณเบ้าตาบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงสุขภาพที่กำลังทรุดตัวลง โดยอาการตาล้า นอกจากส่งผลต่อสุขภาพดวงตาแล้ว ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตอีกด้วย ดังนี้ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการตาล้าจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มองเห็นภาพเบลอๆ เห็นเป็นภาพซ้อน จนส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การมองเห็นใบหน้า หรือการมองถนนขณะขับรถ เป็นต้น ผลกระทบต่อสุขภาพดวงตา อาการตาล้าจนส่งผลกับสุขภาพดวงตา เพราะอาการตาล้าอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น กล้ามเนื้อตาอักเสบ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นต้น หาสาเหตุอาการตาล้า เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการตาล้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งสาเหตุหลักๆ ออกเป็น 6 ประการ ดังนี้ 1. การเพ่งมองระยะใกล้ การที่ดวงตาเพ่งมองสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะประชิด ดวงตาจะเบิกกว้าง จ้องมองอยู่ตลอด เมื่อเพ่งมองเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดอาการตาล้าได้ 2. การอยู่ในพื้นที่แสงน้อย การทำกิจกรรมในพื้นที่ที่ขาดแสง หรือมีแสงไม่เพียงพอ ส่งผลให้ดวงตาต้องเพ่งมองเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดขึัน ทำให้เกิดอาการตาล้าในที่สุด 3. เครียดหรือเหนื่อยล้า ผู้ที่ความเครียดสูง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าได้มากกว่าปกติ โดยความเครียดส่งผลต่อร่างกายโดยรวม อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงภาวะตาล้าได้อีกด้วย 4. ค่าสายตาผิดปกติ ผู้ที่มีอาการสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง มักเกิดอาการตาล้าร่วมด้วย เนื่องจากดวงตามองเห็นในระยะใกล้ หรือไกลได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดการเพ่ง การจ้องมองสิ่งของเพื่อให้เห็นได้ชัดขึ้นอยู่ตลอด 5. การจ้องหน้าจอ การที่ดวงตาจ้องไปที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์อยู่บ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เป็นการใช้สายตาอย่างหนักในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้ตาล้าได้ในที่สุด 6. การขับขี่รถยนต์ ในระหว่างการขับรถ ผู้ขับขี่รถยนต์จะต้องใช้สายตาประกอบการขับรถอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการขับตรง มองซ้าย มองขวา และแสงสว่างจากดวงอาทิตย์และท้องถนนยังทำร้ายสายตาอีกด้วย เมื่อขับรถเป็นระยะเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง อาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้     อาการตาล้าแบบไหนที่ต้องรีบพบจักษุแพทย์ จากที่ได้ทราบกันแล้วว่าอาการตาล้าเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่อาการตาล้าแบบไหนที่เป็นอาการเร่งด่วน ที่ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ แนะนำให้สังเกตจากอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ มีอาการปวดบริเวณดวงตาอย่างรุนแรง มีอาการแสบตา น้ำตาไหลอยู่ตลอด มองเห็นภาพเบลอ หรือเห็นภาพซ้อนกันอยู่ตลอด มีอาการบ้านหมุน วิงเวียนศีรษะร่วมด้วย การวินิจฉัยอาการตาล้าโดยแพทย์ ทำได้อย่างไร สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการตาล้าโดยจักษุแพทย์ โดยส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติเบื้องต้น รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ เพื่อให้ทราบประวัติสุขภาพโดยคร่าวๆ จากนั้นจะทำการสอบถามพฤติกรรมที่อาจส่งผลกับตัวโรค เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการตาล้า และทำการตรวจสอบดวงตาด้วยอุปกรณ์เฉพาะเพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการรักษาอาการตาล้า     แนวทางการรักษาอาการตาล้า อาการตาล้า เป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไป และสามารถหายเองได้ โดยแนวทางการรักษาอาการตาล้าเบื้องต้น ทำได้ ดังนี้   ใช้น้ำตาเทียมเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยบรรเทาอาการตาล้า รวมถึงลดโอกาสเกิดการระคายเคือง สวมแว่นกันแดดและแว่นกรองแสงเป็นการถนอมดวงตาด้วยการป้องกันแสงแดด และแสงสีฟ้าเข้ามาทำลายดวงตา ประคบดวงตาการประคบเย็นด้วยการใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง หรือใช้เจลเย็นประคบที่ดวงตาเป็นระยะเวลาประมาณ 10-15 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ลดอาการตาล้า ตาพร่าได้ ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาแนะนำให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้ เตรียมอุปกรณ์สำหรับการฝึกบริการกล้ามเนื้อตา เช่น ดินสอ หรือปากกาอย่างน้อย 1 แท่ง ใช้มือข้างที่ถนัด ถือดินสอเอาไว้ ยื่นแขนที่ถือดินสอไปให้สุดแขน โดยให้ดินสออยู่กึ่งกลางจมูก ใช้ดวงตาทั้งสองมองไปที่ดินสอ โดยหากเห็นดินสอแท่งเดียว ถือว่าถูกต้อง หากมองเห็นดินสอเป็น 2 แท่ง ให้หลับตา พักสายตาสักระยะ แล้วมองใหม่อีกครั้ง ค่อยๆ เลื่อนมือเข้ามาใกล้อย่างช้าๆ โดยหากเห็นดินสอเป็น 2 แท่ง หรือเริ่มเห็นไม่ชัด ให้หยุด และถอยกลับไปเริ่มต้นใหม่ ยื่นแขนเข้า-ออก และมองตามไปเรื่อยๆ ประมาณ 20 ครั้งแล้วหยุด รวมวิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการตาล้า สำหรับวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการตาล้าที่ทำได้ด้วยตนเอง มีดังนี้   นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอควรพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอเป็นระยะเวลานานไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์ หน้าจอโทรทัศน์ เป็นต้น กำหนดเวลาพักสายตาแนะนำให้พักสายตาทุกๆ 30-50 นาที โดยให้มองไปรอบๆ แทนการจดจ่ออยู่กับที่ เลือกกินอาหารหรือวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตาเน้นบริโภคผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า หรือรับประทานผลไม้ตระกูลเบอร์รี เช่น ราสป์เบอร์รี โกจิเบอร์รี เป็นต้น การสวมแว่นตัดแสงหรือแว่นกรองแสงสีฟ้าเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่ออยู่กับหน้าจอบ่อยๆ เช่น ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือการใช้งานโทรศัพท์มือถือ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะมีแสงสีฟ้าซึ่งทำอันตรายต่อดวงตา อาจทำให้เกิดอาการตาล้า แสบตาได้ง่าย รักษาอาการตาล้า ที่ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital พร้อมตรวจสอบดวงตา ตรวจหาค่าความผิดปกติด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ หากมีอาการตาล้า ตาพร่า รู้สึกปวดบริเวณเบ้าตาบ่อยๆ แนะนำให้ทำการนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพดวงตาที่นี่ได้เลย โรงพยาบาลมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พร้อมดูแลทุกปัญหาด้านดวงตา ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด แม่นยำ และคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ โรงพยาบาลมีศูนย์บริการที่หลากหลายที่พร้อมให้การรักษาโรคตาอย่างครอบคลุม โรงพยาบาลพร้อมให้บริการการรักษาโรคดวงตาอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การตรวจสภาพตา การวินิจฉัยโรค วิธีการรักษา รวมถึงการติดตามผลการรักษา เพื่อให้คนไข้มั่นใจว่าจะได้รับการรักษาที่แม่นยำ และมีความปลอดภัยมาก่อนเสมอ สรุป ‘อาการตาล้า’ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไป แต่หากเป็นเรื้อรัง หรือกลับมาเป็นบ่อยๆ รวมถึงมีอาการปวดเบ้าตา แสบตา ปวดหัว หรือบ้านหมุนร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายของสุขภาพดวงตา ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและรักษาสุขภาพดวงตาของเราให้กลับมาดีดังเดิม ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalมีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อผลลัพธ์การรักษาดวงตาให้กลับมาชัดและสดใส

วุ้นในตาเสื่อม อันตรายต่อการมองเห็น มาหาสาเหตุและวิธีการรักษา

วุ้นในตาเสื่อม คือภาวะที่วุ้นในตาเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำและหลุดออกจากจอประสาทตา ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็นได้ ผู้ที่มีอาการวุ้นในตาเสื่อมอาจมองเห็นเงาดำลอยไปมา แสงวาบในตา หรือมีปัญหาการมองเห็น หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร วุ้นในตาเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น สายตาสั้นมาก การอักเสบในตา และอุบัติเหตุทางตา วุ้นในตาเสื่อม โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรักษาเว้นแต่พบจอตาฉีกขาด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยเลเซอร์หรือการจี้เย็น หรือแนวทางการรักษาวุ้นในตาเสื่อมแบบอื่น ๆ ศูนย์จอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ให้บริการตรวจและรักษาโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมที่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคดวงตาได้อย่างปลอดภัย   อาการวุ้นในตาเสื่อมอาจดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็ก แต่แท้จริงแล้วอาจอันตรายกว่าที่คิดและอาจนำไปสู่ปัญหาสายตาที่ร้ายแรง ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้สูญเสียการมองเห็นระยะยาวได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอย่างทันท่วงที มารู้ถึงสาเหตุ วิธีการรักษา และแนวทางป้องกันวุ้นในตาเสื่อมได้ในบทความนี้       วุ้นในตาเสื่อม คืออะไร วุ้นในตา (Vitreous) เป็นองค์ประกอบสำคัญของดวงตา มีลักษณะเป็นเจลใสที่ประกอบด้วยน้ำประมาณ 99% และโปรตีนเส้นใย เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่างๆ โดยวุ้นในตาจะมีหน้าที่ช่วยรักษารูปร่างของลูกตาให้กลม และช่วยให้แสงผ่านเข้าสู่จอประสาทตาเพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน   อาการวุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คือภาวะที่วุ้นในตาเริ่มสูญเสียความหนืดและเปลี่ยนสภาพจากเจลใสเป็นของเหลวเหมือนน้ำเมื่ออายุมากขึ้น โดยวุ้นตาเสื่อมมักมาพร้อมกับการหลุดลอกออกจากจอประสาทตา ซึ่งเรียกว่าภาวะ "Posterior Vitreous Detachment (PVD)" อาการวุ้นในตาเสื่อม เป็นอย่างไร อาการวุ้นในตาเสื่อมที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้   มองเห็นเงาดำหรือจุดดำลอยไปมาในสายตา อาจมีลักษณะเป็นเส้น เส้นขด หรือวงกลม เงาที่มองเห็นมักเกิดจากการที่เส้นใยโปรตีนในวุ้นตาจับตัวกันเป็นตะกอนขุ่น เกิดอาการเห็นแสงไฟวาบในตา ซึ่งมักบ่งชี้ถึงแรงดึงที่เกิดขึ้นระหว่างวุ้นตาและจอประสาทตา สาเหตุวุ้นในตาเสื่อม เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้วุ้นในตาเสื่อมอาจเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น วุ้นตาจะเสื่อมสภาพและกลายเป็นของเหลวตามกาลเวลา ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสื่อมนี้ก็ยิ่งชัดเจน ส่งผลให้เกิดเงาดำหรือจุดลอยในสายตามากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากอายุ 50 ปีขึ้นไป 2. ค่าสายตาสั้น ตามสถิติพบว่าผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 400 จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า เนื่องจากโครงสร้างของดวงตาที่มีสายตาสั้นมักเปราะบางและเสื่อมง่ายกว่าปกติ 3. อาการอักเสบในลูกตา การได้รับอุบัติเหตุที่กระทบดวงตาในอดีตสามารถส่งผลต่อโครงสร้างของวุ้นตา ทำให้วุ้นในตาอ่อนแอและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เช่น การถูกของแข็งกระแทกหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรง 4. อุบัติเหตุทางดวงตา ภาวะอักเสบในลูกตา เช่น Uveitis สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของวุ้นในตา การอักเสบนี้อาจทำให้วุ้นตาเกิดการลอยตัว หรือหลุดลอกจากจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดวุ้นในตาเสื่อมในที่สุด 5. ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดต้อกระจกอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของดวงตา การใส่เลนส์ตาเทียมแทนเลนส์เดิมอาจทำให้วุ้นในตาหลุดลอกและเร่งการเสื่อมสภาพให้เร็วขึ้น วุ้นในตาเสื่อม ปล่อยทิ้งไว้อันตรายกว่าที่คิด วุ้นในตาเสื่อมเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงในตัวเอง แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนแล้วไม่ดูแลให้ถูกต้องหรือไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ อาการนี้อาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงต่อสุขภาพดวงตาและการมองเห็นในระยะยาว โดยผลกระทบจากอาการวุ้นในตาเสื่อมก็จะมีอยู่ดังนี้ 1. สร้างความรำคาญตา เมื่อเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อม ผู้ป่วยมักเห็นจุดดำ เงา หรือเส้นลอยไปมาขณะมองสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้าหรือขณะทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา เช่น อ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ จนอาจก่อความรำคาญหรือการขยี้ตาซึ่งอาจทำให้สุขภาพตายิ่งแย่ลงไปอีก 2. เกิดเงาในจอตา วุ้นในตาที่เสื่อมสภาพจนเกิดรูรั่วหรือรอยฉีกขาดในจอประสาทตา ก็จะก่อให้เกิดการสะท้อนแสงหรือการบิดเบือนของภาพทำให้เห็นเงาดำหรือแสงวาบในจอตาได้ ซึ่งหากปล่อยไว้รูรั่วก็อาจจะขยายใหญ่ขึ้นจนนำไปสู่ปัญหาต่อๆ ไป 3. จอประสาทตาฉีกขาด หากปล่อยให้เกิดเงาในจอตาแล้วไม่มีการรักษาจนอาการเสื่อมรุนแรงขึ้น วุ้นตาที่หลุดลอกจากจอประสาทตาอาจดึงรั้งจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดการฉีกขาดได้ และอาจนำไปสู่ปัญหาจอตาหลุดลอกซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน 4. เสียสุขภาพตา ภาวะวุ้นในตาเสื่อมส่งผลต่อสุขภาพตาโดยรวม โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดการอักเสบหรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา บาดแผลในดวงตา หรือการติดเชื้อในดวงตา ซึ่งจะยิ่งทำให้การรักษามีความซับซ้อนและอาการอาจรุนแรงมากขึ้น 5. สูญเสียการมองเห็นถาวร หากปล่อยให้ปัญหาวุ้นในตาเสื่อมลุกลามโดยไม่ได้รับการดูแลเป็นเวลานาน จนจอตาหลุดลอกหรือเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการวุ้นในตาเสื่อม หายเองได้ไหม อาการวุ้นในตาเสื่อมจะค่อยๆ บรรเทาลงภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนและสามารถหายได้เองหากไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างรูรั่วหรือรอยฉีกขาดในจอประสาทตา แต่หากเกิดอาการดังกล่าว ผู้ป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้การฉีกขาดขยายตัวมากขึ้นจนทำลายดวงตา ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรไปพบจักษุแพทย์ให้วินิจฉัยอาการเพื่อรักษาวุ้นในตาเสื่อมอย่างเหมาะสม วินิจฉัยอาการวุ้นในตาเสื่อม ผู้ที่มีภาวะวุ้นตาเสื่อมควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มตรวจดวงตาส่วนหน้า จากนั้นแพทย์จะหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อตรวจวุ้นตาและจอตา โดยหลังหยอดยาดวงตาจะรู้สึกพร่ามัว มองแสงจ้าไม่ได้ และจะไม่สามารถมองเห็นในระยะใกล้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการวินิจฉัยจึงควรพกแว่นกันแดดและมีคนขับรถไปด้วย   แนวทางการรักษาวุ้นในตาเสื่อม แนวทางในการรักษาวุ้นในตาเสื่อมทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการวุ้นในตาเสื่อม โดยจะแบ่งแนวทางการรักษาโดยคร่าวๆ ได้ดังนี้   ปล่อยให้อาการดีขึ้นเองโดยทั่วไปภาวะวุ้นในตาเสื่อมจะไม่จำเป็นต้องรับการรักษา โดยอาการเงาดำหรือแสงวาบที่เห็นจะค่อยๆ ลดลงและหายไปในที่สุดในช่วง 3 เดือน โดยในระหว่างนั้นผู้ป่วยเพียงต้องปรับตัวการใช้ชีวิตให้เหมาะสมและสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องก็เพียงพอ รักษาด้วยเลเซอร์ใช้ในกรณีที่พบรอยฉีกขาดในจอตา โดยเลเซอร์จะถูกใช้ยิงไปยังบริเวณรอยฉีกขาดของจอตา เพื่อสร้างความร้อนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการยึดติดระหว่างจอตากับเนื้อเยื่อรอบข้าง รักษาด้วยการจี้เย็น (Cryopexy)ใช้ในกรณีที่พบรอยฉีกขาดในจอตา โดยจะใช้หัวอุปกรณ์ที่ปล่อยความเย็นไปยังบริเวณที่จอตาฉีกขาด ความเย็นจะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อรอบรอยฉีกขาดแข็งตัวและติดกัน รักษาโรคทางตาอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุบางครั้งอาการวุ้นในตาเสื่อมก็อาจเกิดขึ้นจากโรคหรืออาการอื่นๆ เช่น การอักเสบในดวงตาหรือโรคเบาหวานขึ้นตา ดังนั้นจึงต้องรักษาต้นเหตุไปด้วยระหว่างการรักษาวุ้นในตาเสื่อม เพื่อป้องกันอาการวุ้นตาเสื่อมแทรกซ้อน ปรึกษาจักษุแพทย์ในกรณีฉุกเฉินหากมีอาการแสงวาบเพิ่มขึ้น หรือมีเงาดำจำนวนมากปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรง เช่น ภาวะจอตาหลุดลอก ดังนั้นหากพบเจอกับอาการเหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์โดยทันที แนวทางการป้องกันวุ้นในตาเสื่อม การป้องกันวุ้นในตาเสื่อม ทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพของดวงตาโดยทั่วไป โดยมีแนวทางการป้องกันวุ้นในตาเสื่อมดังนี้   รักษาสุขภาพดวงตาหลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรงๆ หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของดวงตา ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำเข้ารับการตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปี ใส่แว่นตาป้องกันแสง UVใช้แว่นตากันแดดคุณภาพดีที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากแสงแดดที่อาจทำลายดวงตา รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ซี อี ลูทีน และซีแซนทีน เช่น ผักใบเขียว ปลาแซลมอน และแครอท ควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจอประสาทตาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดการใช้งานดวงตาหนักเกินไปพักสายตาทุกๆ 20 นาทีเมื่อใช้งานจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน โดยให้หลับตาแล้วมองไปยังจุดที่มืดของห้องหรือใช้มือป้องแสงเป็นเวลา 1-2นาทีก่อนจะลืมตาขึ้นมาอีกครั้ง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้ รักษาวุ้นในตาเสื่อม ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร   หากมีอาการวุ้นในตาเสื่อม แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการวุ้นในตาเสื่อมได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้   โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป วุ้นในตาเสื่อม คือภาวะที่วุ้นตาเสื่อมสภาพจนกลายเป็นน้ำและหลุดออกจากจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเห็นเงาดำลอยไปมา หรือแสงวาบในตาได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอกได้ จนหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาก็อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร โดยการป้องกันที่ดีก็จะเป็นการดูแลสุขภาพดวงตาและเข้ารับการตรวจเป็นประจำ   หากกังวลเรื่องวุ้นในตาเสื่อม ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรควุ้นในตาเสื่อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมความมุ่งมั่นในการดูแลดวงตาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน รักษา ไปจนถึงฟื้นฟูสุขภาพตา เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ

จอประสาทตาฉีกขาด หลุดลอก มีอาการอย่างไร หาสาเหตุและวิธีรักษา

จอประสาทตาฉีกขาดหรือจอประสาทตาหลุดลอก ต้นตอของปัญหาตาพร่ามัว การมองเห็นผิดปกติ และอาจส่งผลให้เลือดออกในตา บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับจอประสาทตาฉีกขาดให้มากขึ้น ตั้งแต่นิยาม อาการ สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง ตลอดจนแนวทางการรักษาจอประสาทตาฉีกขาดอย่างเหมาะสม รวมถึงวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะจอประสาทตาฉีกขาดได้ในบทความนี้   จอประสาทตาฉีกขาด คือภาวะเนื้อเยื่อจอประสาทตาหรือ Retina ซึ่งมีหน้าที่รับสัญญาณภาพและส่งไปประมวลผลที่สมองเกิดรูหรือฉีกขาด ส่งผลต่อการมองเห็นที่ผิดปกติ เมื่อจอประสาทตาฉีกขาดจะมีอาการตาพร่ามัว เกิดตะกอนสีดำในดวงตา เวลามองจะเห็นจุดดำ เส้นสีดำ เห็นแสงคล้ายไฟกะพริบหรือฟ้าแล่บ และมีอาการเลือดออกในดวงตา การรักษาจอประสาทตาฉีกขาดแบบไม่ผ่าตัด ใช้รักษาในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรง ม่านตายังไม่เกิดรู หรือการฉีกขาด ทำได้ 3 วิธี ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การใช้ความเย็นจี้ และการฉีดแก๊ส การรักษาจอประสาทตาฉีกขาดแบบผ่าตัด เหมาะสำหรับการรักษาจอประสาทตาฉีกขาดที่มีอาการรุนแรง ทำได้ 2 แบบ ได้แก่ การผ่าตัดจอประสาทตา และการผ่าตัดโดยการส่องกล้องผ่าตัดวุ้นตาและจอประสาทตา รักษาจอประสาทตาฉีกขาดที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่มีจักษุแพทย์และทีมงานรักษาที่เชี่ยวชาญด้านโรคตาโดยเฉพาะเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยครบวงจร จอประสาทตาฉีกขาด คืออะไร จอประสาทตา หรือ จอตา (Retina) เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่มีลักษณะเป็นชั้นบางอยู่ในลูกตา ทำหน้าที่รับภาพและส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อประมวลผล โดยที่เนื้อเยื่อจะมีตัวกลางเรียกว่าวุ้นตา ซึ่งในคนที่มีอายุน้อยส่วนของวุ้นตาจะมีลักษณะขาวใสสีไข่ขาวดิบ เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาจะสูญเสียการคงตัวและมีลักษณะเหลวขึ้น หากมีการขยับดวงตาแรงก็อาจเกิดการฉีกขาดและทำให้ ‘วุ้นตาเสีย’ และทำให้จอประสาทตาฉีกขาด ตามมาด้วยปัญหาการมองเห็นที่ผิดปกติ ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาวะจอประสาทตาฉีกขาดไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยเรื่องอายุเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดขึ้นได้จากอีกหลายสาเหตุเช่นกัน อาการจอประสาทตาฉีกขาด เป็นอย่างไร เมื่อมีภาวะอาการจอประสาทตาฉีกขาด มักจะส่งผลต่อดวงตาและส่งผลกับการมองเห็น โดยมีลักษณะอาการที่สังเกตได้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้ มีอาการตาพร่ามัว มีตะกอนสีดำในดวงตา มีจุดดำหรือเส้นสีดำขวางการมองเห็น มีอาการมองเห็นภาพไฟกะพริบหรือฟ้าแล่บ มีอาการเลือดออกในดวงตา     จอประสาทตาฉีกขาด เกิดจากสาเหตุใด อย่างที่รู้กันไปแล้วว่าภาวะจอประสาทตาฉีกขาดมีสาเหตุจากปัญหาวุ้นตาสูญเสียการคงตัวและทำให้จอตาฉีกขาดหากขยับดวงตาแรง ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดจอประสาทตาฉีกขาดร่วมด้วย ดังนี้ มีภาวะสายตาสั้นมาก ๆ คนในครอบครัวมีประวัติจอประสาทตาลอก เคยมีประวัติผ่าตัดลูกตา ปัจจัยด้านสุขภาพ อย่างโรคเบาหวาน อักเสบติดเชื้อในลูกตา เนื้องอกบริเวณลูกตา มะเร็งในลูกตา หรือโรคจอประสาทตาหลุดลอก เกิดอุบัติเหตุกระทบกับดวงตาอย่างรุนแรง ใครเสี่ยงเป็นจอประสาทตาฉีกขาดบ้าง ภาวะจอประสาทตาฉีกขาดเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทำให้ภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนปกติ ได้แก่ กลุ่มคนที่มีปัญหาสายตาสั้น กลุ่มคนที่เคยเข้ารับการผ่าตัดดวงตา กลุ่มคนที่เคยมีประวัติเป็นโรคจอประสาทตาลอก หรือคนที่มีคนในครอบครัวพบภาวะโรคจอประสาทตาฉีกขาด วินิจฉัยอาการจอประสาทตาฉีกขาด เนื่องจากภาวะจอประสาทตาฉีกขาด เป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากการสังเกตภายนอกและสังเกตอาการได้ยาก เพราะมีอาการคล้ายกับโรคตาอื่นๆ จักษุแพทย์จึงต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะในการตรวจจอประสาทตาฉีกขาด ได้แก่ เครื่องมือตรวจจอประสาทตา Ophthalmoscope ที่มีแสงสว่างและกำลังขยายสูงในการตรวจหรือใช้รวมกับเครื่องมือชนิดพิเศษอื่น ๆ เช่น กล้องจุลทรรศน์ (Slit Lamp) ประกอบกับการใช้คอนแท็กต์เลนส์พิเศษ เครื่องตรวจตาความถี่สูง (Ultrasound) หรือการถ่ายภาพอัลตราซาวนด์กรณีที่มีปัญหาเลือดออกในตา     การรักษาจอประสาทตาฉีกขาดแบบไม่ผ่าตัด กรณีที่มีจอประสาทตาฉีกขาดอาการที่ไม่รุนแรง ม่านตายังไม่เกิดรู หรือการฉีกขาด สามารถรักษาอาการจอประสาทตาฉีกโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ดังนี้ การฉายแสงเลเซอร์หรือ Photocoagulation หรือ Laser surgery เป็นการรักษาโดยการยิงเลเซอร์ไปยังรอยขาดของจอประสาทตา ซึ่งข้อดีของการรักษาด้วยแสงเลเซอร์คือ มีความเสี่ยงน้อยเพราะไม่ใช่วิธีการผ่าตัด ผู้เข้ารับการรักษาไม่จำไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เดินทางกลับบ้านได้ทันทีหลังรักษาเสร็จ การใช้ความเย็นจี้หรือ Cryopexy เป็นการรักษาด้วยการใช้ความเย็นจี้ไปยังบริเวณที่ฉีกขาดเช่นเดียวกับการฉายแสงเลเซอร์ การฉีดแก๊สหรือ Pneumatic Retinopexy เป็นการรักษาด้วยการฉีกแก๊สหรืออากาศเข้าสู่ดวงตา เพื่อหยุดของเหลวไม่ให้ไหลเข้าไปในช่องว่างหลังจากประสาทตาทำร่วมกับการรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์หรือการจี้ด้วยความเย็น และทำในผู้ป่วยจอประสาทตาฉีกขาดบางราย ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น การรักษาจอประสาทตาฉีกขาดแบบผ่าตัด สำหรับการรักษาจอประสาทตาฉีกขาดด้วยการผ่าตัดเป็นการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ม่านตาเกิดการฉีกขาด โดยปัจจุบันการรักษาด้วยการผ่าตัดมีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดจอประสาทตาหรือ Scleral Buckling เป็นการผ่าตัดเพื่อดันให้ผนังดวงตากลับมาติดกับจอประสาทตา โดยใช้วัสดุมาหนุนที่รอบนอกของดวงตา แต่ในการผ่าตัดแพทย์อาจทำร่วมกับการฉายเลเซอร์หรือใช้ความเย็นเพื่อปิดรอยฉีกขาด การผ่าตัดโดยการส่องกล้องผ่าตัดวุ้นตาและจอประสาทตาหรือ Aitrectomy Machine เป็นการผ่าตัดรักษาจอประสาทตาฉีกขาดด้วยการใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในตาดำหลังจากได้รับยาสลบ ซึ่งจุดเด่นของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ เครื่องมือที่ใช้มีขนาดเล็ก จึงไม่ต้องเย็บแผลให้เกิดการระคายเคือง อีกทั้งยังไม่ต้องพักฟื้นอีกด้วย     ป้องกันจอประสาทตาฉีกขาดได้อย่างไร เนื่องด้วยจอประสาทตาฉีกขาดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น จึงทำให้หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงควรป้องกันและลดความเสี่ยงด้วยการสวมแว่นตานิรภัยหรืออุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่อยู่ในสถานที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา นอกจากนั้นควรตรวจสุขภาพดวงตาเพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าปัญหาจอประสาทตาฉีกขาดให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่อาการจะมีความรุนแรงและกระทบกับการมองเห็น รักษาประสาทตาฉีกขาด ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีประสาทตาฉีกขาด แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป จอประสาทตาฉีกขาดเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัญหาสายตาสั้น โรคประจำตัว โรคตา และการประสบอุบัติเหตุ ด้วยเหตุนี้การป้องกันภาวะจอประสาทตาฉีกขาดที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำและหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากมีความผิดปกติให้รีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที มาที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalที่นี่นอกจากจะมีจักษุแพทย์และทีมงานรักษาที่เชี่ยวชาญด้านโรคตาโดยเฉพาะแล้ว ยังมาพร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ครบวงจร มั่นใจได้ในประสิทธิภาพการรักษาดวงตาของคุณ

Optic Neuritis: Symptoms, Causes, and Treatment

Optic Neuritis: Symptoms, Causes, and Treatment Understanding Optic Neuritis Optic neuritis is a condition characterized by inflammation of the optic nerve, which transmits visual signals from the eye to the brain. This inflammation can cause vision loss, pain, and other visual disturbances. Optic neuritis is often associated with multiple sclerosis (MS) but can also occur due to infections, autoimmune diseases, or other neurological conditions. Causes and Risk Factors Optic neuritis can arise from various causes, including: Multiple Sclerosis (MS): A significant number of optic neuritis cases are linked to MS, where the immune system attacks the protective myelin sheath of nerves. Infections: Viral and bacterial infections, such as Lyme disease, syphilis, or tuberculosis, can lead to optic nerve inflammation. Autoimmune Diseases: Conditions like lupus or neuromyelitis optica (NMO) may trigger optic neuritis. Nutritional Deficiencies and Toxins: Deficiencies in vitamin B12 or exposure to toxic substances like methanol can contribute to nerve damage. Medications: Some drugs, including certain antibiotics and immunosuppressants, have been linked to optic nerve inflammation. Symptoms of Optic Neuritis The severity and presentation of symptoms vary among individuals, but common signs include: Sudden Vision Loss: Ranging from mild blurriness to complete blindness in one eye. Eye Pain: Especially when moving the affected eye. Color Vision Impairment: Colors may appear less vibrant or washed out. Flashing Lights (Photopsia): Patients may experience flickering or flashing lights in their vision. Reduced Contrast Sensitivity: Difficulty distinguishing objects in dim lighting. Diagnosis of Optic Neuritis at Bangkok Eye Hospital At Bangkok Eye Hospital, we use state-of-the-art diagnostic tools to confirm and assess optic neuritis. These include: Comprehensive Eye Examination A detailed evaluation of visual function, including: Visual Acuity Test – Measures clarity of vision. Pupillary Reaction Test – Assesses the response of pupils to light. Color Vision Testing – Identifies any deficiencies in color perception. Advanced Imaging and Testing Optical Coherence Tomography (OCT): Analyzes the thickness of the optic nerve and retinal layers to detect inflammation. Magnetic Resonance Imaging (MRI): Helps identify brain lesions associated with multiple sclerosis or other neurological conditions. Visual Evoked Potentials (VEP): Measures the electrical response of the brain to visual stimuli. Blood Tests: To check for underlying infections or autoimmune conditions. Treatment Options at Bangkok Eye Hospital The treatment approach for optic neuritis depends on the underlying cause and severity of symptoms. Our hospital offers a range of medical interventions, including: Medical Treatments Corticosteroid Therapy: High-dose intravenous or oral steroids help reduce inflammation and accelerate recovery. Plasma Exchange Therapy (Plasmapheresis): Used for severe cases where steroid treatment is ineffective. Immunomodulatory Therapy: If optic neuritis is associated with an autoimmune condition like MS, long-term disease-modifying treatments may be recommended. Pain Management: Medications to alleviate discomfort and improve patient comfort. Vision Rehabilitation Patients experiencing long-term visual impairment may benefit from: Low Vision Aids: Magnifiers and adaptive devices to improve daily function. Occupational Therapy: Helps patients adjust to vision changes. Regular Follow-ups: Monitoring to prevent recurrences and manage any neurological complications. Meet Our Expert Team At Bangkok Eye Hospital, our team of highly skilled ophthalmologists, neurologists, and rehabilitation specialists work together to provide comprehensive care for optic neuritis patients. Our doctors are experienced in managing complex neuro-ophthalmic disorders and utilize the latest treatment techniques to ensure the best outcomes. Scheduling an Appointment Booking a consultation at Bangkok Eye Hospital is quick and convenient. Patients can: Call our appointment hotline to speak with a representative. Use our online booking system to schedule a visit at their preferred time. Walk into our hospital for emergency eye care services. Insurance and Treatment Costs We accept various health insurance plans and provide financial counseling to help patients navigate their coverage options. Our administrative team is available to assist with insurance claims and payment plans to ensure accessible, high-quality eye care for all. Why Choose Bangkok Eye Hospital? Cutting-edge Technology: Advanced diagnostic and treatment methods. Multidisciplinary Approach: Collaboration between ophthalmologists, neurologists, and rehabilitation experts. Patient-Centered Care: Personalized treatment plans tailored to individual needs. International Standards: Accredited by leading medical organizations for excellence in eye care. Conclusion Optic neuritis can significantly impact vision and quality of life, but with timely diagnosis and expert treatment, recovery is possible. At Bangkok Eye Hospital, we are committed to providing top-tier medical care, advanced diagnostics, and compassionate support for patients experiencing optic neuritis. Contact us today to schedule an appointment and take the first step toward restoring your vision health.
Neuro-ophthalmology Center

รู้จักและเข้าใจจอประสาทตาอักเสบ-สาเหตุและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

โรคจอประสาทตาอักเสบ คืออาการที่เส้นประสาทตาอักเสบจนส่งผลให้การส่งข้อมูลการมองเห็นจากดวงตาไปยังสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นไม่ชัด ไปจนถึงอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นแบบถาวร โรคจอประสาทตาอักเสบเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาการบาดเจ็บของดวงตา จักษุแพทย์มีแนวทางการรักษาโรคจอประสาทตาอักเสบได้ด้วยการจ่ายยาตามสาเหตุของการเกิดโรค ทั้งยาแบบกินและแบบฉีด ส่วนกรณีที่มีอาการรุนแรง หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย จักษุแพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) ป้องกันโรคจอประสาทตาอักเสบได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ล้างมือบ่อยๆ ปรับการกิน งดสูบบุหรี่ สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ รักษาโรคจอประสาทตาอักเสบที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalรักษาโดยจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย มั่นใจได้ในผลลัพธ์การรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ   โรคจอประสาทตาอักเสบ โรคร้ายที่มาพร้อมกับเส้นประสาทตาอักเสบ เป็นตัวการของการมองเห็นภาพไม่ชัด ตาไวต่อแสง อาการปวดตา ไปจนถึงอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร! บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโรคจอประสาทตาอักเสบให้มากขึ้น ตั้งแต่อาการ สาเหตุ ตลอดจนการวินิจฉัย การรักษา และแนวทางการป้องกัน     โรคจอประสาทตาอักเสบ คืออะไร โรคจอประสาทตาอักเสบ คืออาการที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทตา ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นใยประสาทที่ส่งข้อมูลการมองเห็นจากดวงตาไปยังสมอง ส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัด โดยเฉพาะบริเวณกลางของภาพ และอาจมีอาการปวดตาเวลาขยับลูกตาร่วมด้วย อาการแบบไหนถึงเรียกว่า จอประสาทตาอักเสบ อาการของโรคจอประสาทตาอักเสบที่พบได้บ่อย มีดังนี้ รู้สึกปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวบริเวณดวงตา มองเห็นจุดดำตรงกลางลานสายตา ตาแดงก่ำหรือแดงเป็นเลือด ตาไวต่อแสง รู้สึกแสบตาเมื่อโดนแสงสว่าง น้ำตาไหลมากผิดปกติ มองเห็นแสงวาบในดวงตาข้างที่มีอาการเส้นประสาทตาอักเสบ สูญเสียการมองเห็นสีบางสี มีปัญหาด้านการแยกแยะสี สูญเสียการมองเห็นด้านข้าง มองเห็นภาพเบลอข้างใดข้างหนึ่งของดวงตา สูญเสียการมองเห็นในตาข้างใดข้างหนึ่ง ไปจนถึงตาบอดสนิท     จอประสาทตาอักเสบมักเกิดจากอะไร? สาเหตุของโรคจอประสาทตาอักเสบเกิดจากสาเหตุทั้งการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ดังนี้ จอประสาทตาอักเสบที่มาจากการติดเชื้อ โรคจอประสาทตาอักเสบเกิดจากตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นทีหลัง โดยมาจากเชื้อ ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเช่น วัณโรค ซิฟิลิส การติดเชื้อราโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อราแคนดิดา การติดเชื้อไวรัสเช่น เริม เอชไอวี โรคหัดเยอรมัน การติดเชื้อปรสิตเช่น โทโคพลาสโมซิส ซึ่งอาจมาจากแมว โรคภูมิต้านทานผิดปกติเช่น โรคเบห์เช็ท และซาร์คอยโดซิส จอประสาทตาอักเสบที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ โรคจอประสาทตาอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ อาการบาดเจ็บบริเวณดวงตา โรคภูมิต้านทานผิดปกติและโรคอักเสบเช่น โรครูมาตอยด์ มะเร็งบางชนิดเช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง     การวินิจฉัยโรคจอประสาทตาอักเสบ ในการวินิจฉัยโรคจอประสาทตาอักเสบก่อนทำการรักษา จักษุแพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียด โดยมีแนวทางการวินิจฉัย ดังนี้ การขยายม่านตาและตรวจจอประสาทตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Slitlamp)โดยจักษุเเพทย์เพื่อดูจอประสาทตาและเส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตา รวมถึงการตรวจวัดความดันลูกตา การตรวจจอประสาทตาด้วยเทคนิค Optical Coherence Tomography (OCT)เป็นการวัดความหนาของจอประสาทตาและการบวมของจอประสาทตาหรือ ดูขั้วประสาทตาได้อย่างชัดเจน การตรวจจอประสาทตาด้วยการฉีดสารเรืองแสงฟลูออเรสซีนเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดและการรั่วของหลอดเลือด การตรวจจอประสาทตาด้วยการฉีดสารเรืองอินโดไซยานีนกรีน(ICG Angiography)เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดขนาดเล็กในจอประสาทตา     จอประสาทตาอักเสบ รักษาได้อย่างไร การรักษาจอประสาทตาอักเสบ ทำได้ทั้งแบบใช้ยาและผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ การใช้ยา การรักษาจอประสาทตาอักเสบด้วยการใช้ยา โดยปกติแล้วจะใช้ยาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยมีตัวยาที่จักษุแพทย์พิจารณาจ่ายให้ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาอักเสบ มีดังนี้ การให้สเตียรอยด์ทางหลอดเลือดดำเป็นการรักษาเริ่มต้นมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคจอประสาทตาอักเสบและเส้นประสาทตาอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทตาและช่วยเร่งการฟื้นตัวของการมองเห็น สเตียรอยด์ชนิดรับประทานในบางกรณีอาจมีการสั่งจ่ายสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหลังจากการรักษาทางหลอดเลือดดำครั้งแรก เพื่อลดการอักเสบและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ การแลกเปลี่ยนพลาสมา (PLEX)หากสเตียรอยด์ทางหลอดเลือดดำไม่ได้ผล อาจพิจารณาทำ PLEX โดยเอาส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด (พลาสมา) ออก จากนั้นแทนที่ด้วยสารทดแทนพลาสมา หรือพลาสมาที่ได้รับบริจาค ยาปรับเปลี่ยนโรค (DMTs)หากโรคเส้นประสาทตาอักเสบเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจแนะนำให้ใช้ DMTs เพื่อจัดการกับโรคประจำตัวและป้องกันไม่ให้เกิดโรคจอประสาทตาอักเสบในอนาคต   การผ่าตัด การรักษาจอประสาทตาอักเสบด้วยการผ่าตัด จักษุแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยวิธีการจ่ายยาทั่วไป รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ อย่าง มีเลือดออกในวุ้นตา หรือมีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตา เป็นต้น โดยการผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) คือการผ่าตัดภายในลูกตา เพื่อนำวุ้นตา (Vitreous) ที่เป็นของเหลวใสภายในลูกตาออก และกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่อาจกดทับหรือดึงรั้งจอประสาทตาออกไป โดยหลังจากการผ่าตัด การอักเสบของจอประสาทตาจะลดลง ลดอาการระคายเคืองของจอประสาทตา หรือในบางกรณียังช่วยฟื้นฟูการมองเห็นที่สูญเสียจากจอประสาทตาอักเสบได้ด้วยเช่นกัน     จอประสาทตาอักเสบสามารถป้องกันได้ไหม? เนื่องจากอาการจอประสาทตาอักเสบเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ บางสาเหตุอาจป้องกันได้แต่บางสาเหตุก็ป้องกันไม่ได้ จึงมีแนวทางการดูแลสุขภาพดวงตาเพื่อลดโอกาสเกิดโรคจอประสาทตาอักเสบ ดังนี้ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ก่อนสัมผัสดวงตา พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หากมีอาการโรคจอประสาทตาอักเสบ สิ่งสำคัญคือต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการวินิจฉัยให้ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่อาจส่งผลให้เกิดจอประสาทตาอักเสบ รักษาโรคจอประสาทตาอักเสบ ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการโรคจอประสาทตาอักเสบ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาครบทุกด้าน ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลเฉพาะทางฯ มีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางดวงตา สายตา และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป อาการโรคจอประสาทตาอักเสบ เกิดจากเส้นประสาทตาที่อักเสบจนส่งผลให้การส่งข้อมูลการมองเห็นจากตาไปยังสมองทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตา ตาแดง ตาไวต่อแสง มองเห็นจุดดำกลางลานสายตา มองเห็นภาพเบลอ หรืออาจสูญเสียการมองเห็นแบบถาวร ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาอักเสบจึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามอาการของผู้ป่วยตั้งแต่การจ่ายยาไปจนถึงการผ่าตัด เพื่อให้ผลลัพธ์การรักษาออกมาปลอดภัย ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค พร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้การรักษาปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพสูงสุด แนะนำมาที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital(โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลคนไข้โรคเฉพาะทางดวงตาคอยให้การดูแล ตั้งแต่ขั้นตอนการปรึกษาตลอดจนการรักษา และยังมีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยเพื่อให้ประสิทธิภาพการรักษาออกมาปลอดภัยและเหมาะสมอีกด้วย

จอประสาทตาลอกคืออะไร มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน

calling
Contact Us : +66 84 979 3594