มุมสุขภาพตา : #ประสาทตา

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และพฤติกรรมที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

หนังตากระตุกเกิดจากอะไร? และเคล็ดลับดูแลสายตาเพื่อป้องกันอาการ

หนังตากระตุกคืออาการที่กล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาขยับหรือกระตุกโดยไม่ตั้งใจ โดยมักเกิดที่เปลือกตาบนและเกิดขึ้นเป็นระยะๆ อาจเป็นเพียงชั่วขณะหรือเกิดบ่อยๆ เป็นอาการที่ไม่รุนแรง หนังตากระตุกมักเกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวล นอนหลับไม่เพียงพอ ใช้สายตามากเกินไป ขาดแมกนีเซียม โรคพาร์กินสัน หรือการติดเชื้อที่เปลือกตา อาการเปลือกตากระตุกที่ควรพบจักษุแพทย์ ได้แก่ กระตุกตาต่อเนื่องเกิน 2-3 สัปดาห์ มีอาการปวด หรือทำให้ลืมตาลำบาก ตาแดงหรือมีขี้ตา กระตุกเกิดร่วมกับการเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า หากมีอาการหนังตากระตุกต่อเนื่องหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพบจักษุแพทย์ที่ Bangkok Eye Hospital เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม   การที่หนังตากระตุกเป็นอาการที่หลายคนคุ้นเคย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรใส่ใจ มาดูกันว่าอาการนี้เกิดจากอะไร และเราจะดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการนี้ได้อย่างไร     อาการหนังตากระตุกคืออะไร? ตากระตุก (Eye Twitching) คืออาการที่หนังตาขยับหรือหนังใต้ตากระตุกอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นแค่เพียงเล็กน้อยหรือถี่จนทำให้เกิดความรำคาญได้ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่เปลือกตาบนและล่าง แต่พบมากที่เปลือกตาบน โดยทั่วไปแล้วอาการตากระตุกมักไม่รุนแรงและไม่มีความเจ็บปวด     สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการหนังตากระตุก อาการหนังตากระตุกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันหรือสภาวะร่างกาย ดังนี้ ความเครียดและความวิตกกังวลสะสมเป็นเวลานาน นอนหลับไม่เป็นเวลาหรือนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ใช้สายตามากเกินไป เช่น การมองจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานๆ โดยไม่พักสายตา ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากในปริมาณมาก แสงสว่างที่จ้าเกินไป ลม หรือมลพิษทางอากาศ การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม วิตามินบี 12 หรือวิตามินดี การระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน หรือโรคภูมิแพ้ โรคตาที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ตาแห้ง ที่อาจทำให้เปลือกตากระตุกหรือเกร็งจากการพยายามรักษาความชุ่มชื้นให้กับตา โรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษา     อาการหนังตากระตุกบ่อยๆ บ่งบอกถึงอะไร? แม้ว่าอาการหนังตากระตุกจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองในหลายกรณี แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ควรสังเกตให้ดี เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคทูเร็ตต์ (Tourette's Disorder) โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) โรคกล้ามเนื้อใบหน้าบิดเกร็ง (Facial Dystonia) โรคคอบิดเกร็ง (Cervical dystonia) โรคกล้ามเนื้อช่องปากหรือขากรรไกรบิดเกร็ง (Oromandibular Dystonia) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)     วิธีการรักษาเปลือกตากระตุกและการบรรเทาอาการ การรักษาและบรรเทาอาการเปลือกตากระตุกสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ดังนี้ รับประทานยา การใช้กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อหรือกลุ่มยานอนหลับ อาจช่วยบรรเทาอาการหนังตากระตุกชั่วคราว เช่น ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) และยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จึงควรใช้ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รักษาตามปัจจัยที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อเปลือกตาเกร็งกระตุก การจัดการกับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการเกร็งหรือกระตุกของกล้ามเนื้อเปลือกตา เช่น การใช้น้ำตาเทียมอาการกล้ามเนื้อเปลือกตากระตุกอาจเกิดจากตาแห้ง การใช้น้ำตาเทียมช่วยให้ความชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง และป้องกันการกระตุกของกล้ามเนื้อเปลือกตา การรักษาเปลือกตาอักเสบหากการกระตุกเกิดจากการอักเสบ เช่น โรคภูมิแพ้หรือการติดเชื้อ การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาสเตียรอยด์จะช่วยลดอาการอักเสบและทำให้การกระตุกหายไป การใช้แว่นตาดำ (FL-41)ช่วยกรองแสงจ้า เช่น แสงจากจอคอมพิวเตอร์หรือแสงแดด ลดการกระตุกของกล้ามเนื้อเปลือกตา โดยช่วยให้ตารู้สึกสบายและลดอาการกระตุก ฉีดโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกซ์ได้รับการรับรองในการรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ควบคุมไม่ได้ และปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมและแนะนำมากที่สุดในการรักษาอาการเปลือกตากระตุก แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ลงไปบริเวณกล้ามเนื้อรอบดวงตาที่มีอาการกระตุก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นอ่อนแรงชั่วคราว และไม่สามารถหดเกร็งได้ โบท็อกซ์จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและบล็อกสัญญาณจากเส้นประสาทที่กระตุ้นการกระตุก เมื่อฉีดโบท็อกซ์แล้วอาการตากระตุกจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ผลของโบท็อกซ์จะอยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน เมื่อยาหมดฤทธิ์ อาการอาจกลับมา จึงแนะนำให้กลับไปพบแพทย์หากอาการยังคงมีอยู่ การผ่าตัด การผ่าตัดสำหรับอาการตากระตุกจะพิจารณาในกรณีที่อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโบท็อกซ์หรือวิธีอื่นๆ โดยการผ่าตัดอาจจะทำการตัดเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเปลือกตา เพื่อหยุดการกระตุกที่ไม่สามารถควบคุมได้     หนังตากระตุกหายได้เองไหม? และเมื่อไรที่ควรพบแพทย์? โดยทั่วไปแล้วอาการกล้ามเนื้อเปลือกตากระตุกมักหายได้เองหากหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที หนังตากระตุกที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจนรบกวนหรือมีผลต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน อาการเปลือกตากระตุกที่ไม่หายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ เปลือกตากระตุกที่ทำให้ลืมตายากหรือเปลือกตาปิดสนิท อาการตาเกร็งหรือกะพริบตาค้างจนไม่สามารถลืมตาขึ้นได้เอง ตาแดง หรือมีขี้ตา รวมถึงเปลือกตาตก มีการกระตุกบริเวณอื่นของใบหน้าหรือร่างกายร่วมด้วย     วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเปลือกตากระตุก การป้องกันอาการเปลือกตากระตุกสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อเปลือกตา ดังนี้ ลดเวลาในการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ หรือการฝึกหายใจเพื่อลดความเครียด นวดกล้ามเนื้อรอบดวงตาเพื่อช่วยคลายความตึงเครียด ประคบร้อนหรืออุ่นบริเวณดวงตาประมาณ 10 นาที หากเกิดอาการตาแห้งหรือระคายเคือง สามารถหยอดน้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการ   สรุป หนังตากระตุกคืออาการที่กล้ามเนื้อเปลือกตาขยับโดยไม่ตั้งใจ มักเกิดที่เปลือกตาบน สาเหตุรวมถึงความเครียด การนอนน้อย การใช้สายตานาน ขาดสารอาหาร หรือแสงจ้า โดยวิธีรักษา ได้แก่ ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ น้ำตาเทียม แว่นตากรองแสง โบท็อกซ์ หรือการผ่าตัดในกรณีที่จำเป็น หากมีอาการหนังตากระตุกต่อเนื่องหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพบจักษุแพทย์ที่Bangkok Eye Hospitalเพื่อรับคำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสม
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

เส้นเลือดฝอยในตาแตกอันตรายไหม? สังเกตอาการและวิธีรักษาที่ควรรู้

การพบจุดแดงหรือรอยเลือดคล้ายเส้นเลือดฝอยแตกในดวงตาอาจสร้างความกังวลว่าเป็นอาการร้ายแรงหรือไม่ ถ้าเส้นเลือดฝอยในตาแตกอันตรายมากไหม? บทความนี้พามาดูว่าอาการแบบไหนที่ควรกังวลและรีบพบแพทย์ พร้อมวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพและแนวทางป้องกันที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพตาที่ดีในระยะยาว ลักษณะเส้นเลือดฝอยในตาแตก คือการมีจุดแดงบริเวณตาขาวเกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุตาแตก มักไม่ทำให้เจ็บปวดหรือมีผลต่อการมองเห็น บางรายอาจมีอาการระคายเคืองเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่หายได้เองโดยไม่ต้องรักษา สาเหตุของเส้นเลือดฝอยในตาแตก มักเกิดจากแรงดันในร่างกายที่เพิ่มขึ้นจากการไอ จาม ยกของหนัก หรือท้องผูก อุบัติเหตุที่กระทบดวงตา โทรศัพท์หล่นใส่ตาขณะเล่นโทรศัพท์ ความดันโลหิตสูง การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด รวมถึงโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวานหรือภาวะเลือดออกง่าย การรักษาและการดูแลตัวเอง มักไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะหายได้เองภายใน 2 - 3 สัปดาห์ ระหว่างรอหายให้ประคบเย็นบริเวณตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตา ให้ดวงตาพักผ่อน หรือใช้น้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง อาการที่ควรพบแพทย์ คือเมื่อเส้นเลือดฝอยในตาแตกไม่หายภายใน 2 - 3 สัปดาห์ มีอาการปวดตา การมองเห็นผิดปกติ มีเลือดออกในจุดอื่นของดวงตา หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย   สังเกตอาการเส้นเลือดฝอยในตาแตกมีลักษณะอย่างไร เส้นเลือดฝอยในตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage) เป็นภาวะที่เกิดจากการแตกของเส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุตาขาว ทำให้เลือดออกและมองเห็นเป็นจุดแดงในตา การมีเส้นเลือดฝอยใต้เยื่อบุตาแตกเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ผู้ที่มีภาวะนี้บางรายอาจมีความรู้สึกระคายเคืองที่ตาร่วมด้วย แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการเจ็บปวดหรือการมองเห็นผิดปกติแต่อย่างใด ภาวะนี้มักหายได้เองภายในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่อาจเกี่ยวข้อง     เส้นเลือดฝอยในตาแตกเกิดจากอะไร? โดยปกติแล้วภาวะนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด แล้วเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักเกิดจากสาเหตุอะไร? เช่น แรงดันในร่างกายที่เพิ่มขึ้นจากการไอแรง จามแรง ยกของหนัก หรือท้องผูก อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนดวงตา โทรศัพท์หล่นใส่ตาขณะเล่นโทรศัพท์ ความดันโลหิตสูงที่ทำให้เส้นเลือดฝอยเปราะและแตกง่าย การใช้ยาบางชนิดเช่นยาต้านการแข็งตัวของเลือด รวมถึงโรคประจำตัวบางอย่างเช่นเบาหวานหรือภาวะเลือดออกง่าย เส้นเลือดฝอยในตาแตกอันตรายไหม? เป็นสัญญาณของโรคอะไร โดยปกติแล้ว เส้นเลือดฝอยในตาแตกเพียงครั้งคราวมักไม่เป็นอันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการตรวจเช็ก เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดออกง่ายผิดปกติ โรคเบาหวาน หรือผลจากการใช้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งล้วนส่งผลต่อหลอดเลือดในร่างกายรวมถึงที่ดวงตา ดังนั้น หากพบว่ามีอาการนี้บ่อยครั้ง ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต     เส้นเลือดฝอยในตาแตกรักษาอย่างไรดี? เส้นเลือดฝอยในตาแตกมักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเนื่องจากไม่ส่งผลต่อการมองเห็น ไม่ทำให้เจ็บปวด และมักหายได้เองภายใน 2 - 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดของหย่อมสีแดงบริเวณตาขาว ระหว่างรอให้หาย ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการด้วยการประคบเย็นที่ดวงตาหรือหยดน้ำตาเทียมเพื่อลดอาการบวมและระคายเคือง อย่างไรก็ตาม หากเกิดจากปัญหาสุขภาพหรืออุบัติเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาต้นเหตุอย่างถูกวิธี การป้องกันเส้นเลือดฝอยในตาแตก การดูแลดวงตาให้มีสุขภาพดีและปลอดภัยจากบาดเจ็บเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงของเส้นเลือดฝอยในตาแตก เริ่มจากการหลีกเลี่ยงการขยี้ตา ไอหรือจามรุนแรง และการยกของหนักเป็นประจำ รวมถึงการสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อทำงานที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้งหมั่นพักสายตาด้วยสูตร 20-20-20 เมื่อต้องจ้องจอนาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสียูวี     คำแนะนำในการดูแลตัวเองเมื่อเส้นเลือดฝอยในตาแตก หากคุณมีอาการเส้นเลือดฝอยในตาแตก วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นมีดังนี้ ให้ดวงตาได้พักผ่อนและหลีกเลี่ยงการเพ่งสายตามากเกินไป ใช้ผ้าเย็นประคบเบาๆ เพื่อลดอาการอักเสบหรืออาการบวมที่อาจเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือสัมผัสดวงตาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการระคายเคือง อาการเส้นเลือดฝอยในตาแตกแบบไหนที่ควรพบแพทย์ หากเส้นเลือดฝอยที่แตกในตาไม่หายภายใน 2 - 3 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดตา การมองเห็นผิดปกติ มีปัญหาสายตา มีเลือดออกในจุดอื่นของดวงตา หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาโดยเร็ว บางรายอาจจำเป็นต้องปรึกษาจักษุแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางเพิ่มเติม โดยเฉพาะในกรณีที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บบริเวณช่องลูกตาหรือจอประสาทตา รักษาอาการเส้นเลือดฝอยในตาแตก ที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการเส้นเลือดฝอยแตกในตา มาปรึกษาและรักษาได้ที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) เพื่อการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยจักษุแพทย์ผู้มากความรู้เกี่ยวกับดวงตาและและทีมงานที่มีประสบการณ์ และจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป เส้นเลือดฝอยในตาแตกอาจสร้างความกังวลให้กับผู้พบเห็น แม้ในหลายกรณีจะไม่ใช่อันตรายร้ายแรง แต่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะหากพบบ่อยครั้งหรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว ปวดตารุนแรง หรือมีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือความผิดปกติของหลอดเลือด การตรวจและรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและปัญหาสุขภาพตาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว หากมีความผิดปกติของดวงตา มาเช็กสุขภาพตาอย่างละเอียดที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

จอประสาทตาเป็นรูเกิดจากอะไร? อาการที่ควรรีบพบแพทย์ และวิธีรักษา

จอประสาทตาเป็นรูคือภาวะที่จอประสาทตาฉีกขาดหรือมีรูเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการรับภาพ จอประสาทตาเป็นรูเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมสภาพของวุ้นตาเมื่ออายุมากขึ้น สายตาสั้นมาก อุบัติเหตุ หรือผลจากการผ่าตัดตา อาการจอประสาทตาเป็นรูที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ ตามัว เห็นแสงแฟลช จุดดำลอยไปมา หรือเห็นม่านบังตา หากมีอาการจอประสาทตาเป็นรู ควรรีบพบจักษุแพทย์ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital เพื่อรับคำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสม     การเข้าใจอาการและการดูแลรักษาภาวะจอประสาทตาเป็นรูเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น หากคุณสงสัยว่าอาการมองเห็นผิดปกติของคุณอาจเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ บทความนี้จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาที่เหมาะสม     ภาวะจอประสาทตาเป็นรูคืออะไร? ในลูกตาของเรามีของเหลวใสคล้ายไข่ขาวที่เรียกว่าวุ้นตา ซึ่งจะยึดติดกับจอประสาทตา เมื่ออายุมากขึ้น วุ้นตาจะเริ่มเหลวและหดตัวออกจากจอประสาทตา ทำให้เกิดแรงดึงรั้งที่อาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาด เป็นรู หากน้ำในวุ้นตารั่วผ่านรูที่ฉีกขาดเข้าไป ก็อาจทำให้จอประสาทตาหลุดลอก ซึ่งจะทำให้เซลล์รับภาพเสื่อมและอาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้     จอประสาทตาเป็นรูเกิดจากอะไร? สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง จอประสาทตาเป็นรูเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจอตา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรับภาพ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะนี้ เช่น อุบัติเหตุ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจะส่งผลถึงบริเวณจอประสาทตา ทำให้เกิดการฉีกขาดอย่างเฉียบพลันที่จุดรับภาพ ซึ่งเป็นส่วนที่บางที่สุดของจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเป็นรู ส่วนประกอบของน้ำวุ้นในลูกตาเปลี่ยน เมื่ออายุมากขึ้น วุ้นตาจะเริ่มเหลวและหดตัว แยกออกจากจอรับภาพที่ด้านหลัง โดยทั่วไปการแยกตัวนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่ในบางกรณี วุ้นตาอาจติดแน่นกับจอตาเกินไป ทำให้เกิดแรงดึงเมื่อวุ้นตาหดตัวจนทำให้จอประสาทตาเป็นรูที่จุดรับภาพ สายตาสั้น ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก โดยเฉพาะที่มีค่ากำลังสายตาสูงกว่า 700 มักจะมีจอประสาทตาบางกว่าคนปกติ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดจอประสาทตาเป็นรูได้ การผ่าตัดตา การผ่าตัดตา เช่น การผ่าตัดแก้ไขสายตาสั้นหรือการผ่าตัดต้อกระจก อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จอประสาทตาเป็นรูได้ เนื่องจากการผ่าตัดอาจทำให้เกิดแรงกระแทกหรือการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของตา ซึ่งอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาด โดยเฉพาะในผู้ที่มีจอประสาทตาบางหรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้จอประสาทตาอ่อนแอลง คนในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับจอประสาทตา การที่คนในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับจอประสาทตาอาจเพิ่มความเสี่ยงที่บุคคลในครอบครัวจะเกิดปัญหาจอประสาทตาเป็นรูได้ เนื่องจากบางปัญหาของจอประสาทตาอาจมีลักษณะทางพันธุกรรม เช่น การมีจอประสาทตาบางหรือความผิดปกติของเนื้อเยื่อในจอตา ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดรูที่จอประสาทตาได้     การวินิจฉัยตรวจหาจอประสาทตาเป็นรู ก่อนการทดสอบเพื่อตรวจดูอาการจอประสาทตาเป็นรู แพทย์จะหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อให้สามารถตรวจจอตาได้ชัดเจน หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวและไม่สามารถสู้แสงได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมงจนกว่ารูม่านตาจะหดกลับเป็นปกติ จากนั้นแพทย์จะทำการทดสอบ Optical Coherence Tomography (OCT) ซึ่งเป็นการทดสอบที่ไม่เจ็บปวด โดยใช้คลื่นแสงถ่ายภาพจอประสาทตาอย่างละเอียด     ทางเลือกและวิธีการรักษาจอประสาทตาเป็นรู การรักษาจอประสาทตาเป็นรูขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของอาการ ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นและช่วยให้จอตาฟื้นฟูได้ เช่น ฉีดฟองก๊าซเพื่อปิดรูฉีดก๊าซบางชนิดเข้าไปในตาผ่านกระจกตา ซึ่งจะช่วยให้เกิดฟองก๊าซที่ดันให้ส่วนของจอตาที่ฉีกขาดหรือหลุดลอกกลับมาประกบกัน ผ่าตัดวุ้นตาแพทย์จะนำวุ้นตาส่วนที่อยู่ในตาออกมาเพื่อลดแรงดึงรั้งจากวุ้นตาที่อาจทำให้รูจอตาเกิดขึ้น จากนั้นจะทำการปิดรูที่จอตาและใส่ฟองก๊าซหรือของเหลวเพื่อช่วยจอตาประกบกัน เย็บหนุนซิลิโคนด้านนอกลูกตาโดยใช้ซิลิโคนแผ่นบางๆ เย็บติดด้านนอกของลูกตาเพื่อช่วยยึดจอประสาทตาให้ติดกันหลังจากที่มีการฉีกขาดหรือหลุดลอก วิธีนี้ช่วยเสริมความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้จอตาหลุดลอกอีก ยิงเลเซอร์เพื่อปิดรูการยิงเลเซอร์ที่รอบๆ รูในจอประสาทตาจะทำให้เกิดแผลเป็นช่วยปิดรูนั้น ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที แผลเลเซอร์มักจะแข็งแรงภายใน 2-4 สัปดาห์     จอประสาทตาเป็นรู มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ไหม การรักษาจอประสาทตาเป็นรูสามารถหายขาดได้หากได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น โดยมีโอกาสหายเองได้ถึง 50% แต่หากจอตาลอกมานาน แม้การผ่าตัดจะช่วยให้จอตาราบลงได้ แต่ระดับสายตาอาจไม่ดีขึ้นมากนัก ความเสี่ยงอาจที่เกิดขึ้นหากไม่รักษาจอประสาทตาเป็นรู ภาวะจอประสาทตาเป็นรูมักไม่มีอาการและสามารถรักษาได้หากตรวจพบในระยะแรก แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่ภาวะจอประสาทตาลอก ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นเสียหายได้     วิธีดูแลสุขภาพตาและป้องกันจอประสาทตาเป็นรู การดูแลสุขภาพตาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันปัญหาตาต่างๆ รวมถึงการเกิดจอประสาทตาเป็นรู โดยมีวิธีการดูแลที่ควรทำดังนี้ ควรตรวจเช็กจอประสาทตาทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตา ไม่ควรกดนวดหรือขยี้ตา เพราะอาจทำให้เกิดแรงกดหรือการบาดเจ็บที่ตา ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดจอประสาทตาเป็นรู หากมีปัญหาสายตาสั้น ควรได้รับการรักษาหรือการแก้ไขสายตาให้ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะจอตาเป็นรูจากความดันภายในตา รักษาภาวะที่เกี่ยวข้องกับตา เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูงจะช่วยป้องกันภาวะต่างๆ ที่อาจทำให้จอประสาทตาเสียหาย ป้องกันตาจากการบาดเจ็บ เช่น สวมอุปกรณ์ป้องกันในกิจกรรมที่มีความเสี่ยง หรือการระมัดระวังเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดอันตราย     สัญญาณของอาการจอประสาทตาเป็นรู ที่ควรรีบพบจักษุแพทย์ การรู้สัญญาณเตือนและอาการของจอประสาทตาเป็นรูคือสิ่งสำคัญ ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม หากมีอาการดังนี้ เห็นเงาดำหรือจุดดำลอยไปมาจำนวนมาก มีแสงสว่างคล้ายฟ้าแลบหรือแสงเหมือนไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปเกิดขึ้นในตา มีลานสายตาผิดปกติหรือแคบลง อาจเกิดจากจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก ซึ่งมักเกิดที่ขอบจอประสาทตาก่อน ทำให้ขอบภาพหายไปหรือมีลานสายตาแคบลง ตามัวลงหรือเห็นเหมือนมีม่านมาบังที่ด้านใดด้านหนึ่งของตา สรุป จอประสาทตาเป็นรู คือภาวะที่จอประสาทตาฉีกขาดหรือเกิดรู ส่งผลให้การรับภาพผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการเสื่อมของวุ้นตาหรืออุบัติเหตุ สาเหตุหลักๆ ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น สายตาสั้น หรือการผ่าตัดตา การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและระยะเวลา เช่น การยิงเลเซอร์ การฉีดฟองก๊าซ หรือการผ่าตัดวุ้นตา หากมีอาการตามัว เห็นแสงแฟลช หรือเห็นม่านบังตา ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและการรักษาที่ศูนย์รักษาจอประสาทตาโรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมค่ารักษาบริการที่เหมาะสมกับแต่ละกรณี
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

ตรวจตาบอดสีเมื่อไร? ตาบอดสีเกิดจากอะไร ความเสี่ยงที่หลายคนไม่รู้!

ภาวะตาบอดสีเป็นหนึ่งในปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการแยกแยะสี ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานหรือการขับขี่ยานพาหนะ สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะตาบอดสี การตรวจตาบอดสีเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้ถึงภาวะนี้ได้อย่างชัดเจน บทความนี้พามาเจาะลึกสาเหตุของภาวะตาบอดสี ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยภายนอก พร้อมแนะนำวิธีตรวจตาบอดสีที่แม่นยำและเชื่อถือได้ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลที่เหมาะสม โรคตาบอดสีคืออาการความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่ความสามารถในการมองเห็นวัตถุและรูปร่างยังปกติ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นประเภทที่พบมากที่สุด ทำให้แยกแยะระหว่างสีแดงและเขียวได้ยาก ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของ Cone cell หรือ เซลล์รูปกรวย ตาบอดสีน้ำเงิน-เหลืองจะพบน้อยกว่า มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ทำให้แยกแยะสีน้ำเงินกับเขียว และสีเหลืองกับแดงได้ยาก ตาบอดสีทั้งหมด (Monochromacy) เป็นภาวะที่พบน้อยมาก ทำให้เห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด เกิดจากเซลล์รูปกรวยไม่ทำงาน ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวข้องกับสี แต่สามารถเรียนวิชาอื่นได้ปกติ การขับขี่ยานพาหนะอาจมีความยากลำบาก ต้องอาศัยการสังเกตความเข้มของไฟจราจรแทนการแยกสี การประกอบอาชีพอาจมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน นักเคมี หรือนักออกแบบกราฟิก     อาการของโรคตาบอดสีเป็นอย่างไร โรคตาบอดสี (Color blindness) คือความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน ทั้งนี้แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่การมองเห็นวัตถุ รูปร่าง และภาพโดยรวมยังคงชัดเจนเหมือนคนปกติ โรคนี้ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการตาบอดสีสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับดังนี้ ความรุนแรงระดับต่ำยังสามารถบอกหรือคาดเดาสีที่เห็นได้ โดยอาจเห็นสีเพี้ยนไปจากความเป็นจริงไม่มาก ความรุนแรงระดับกลางเริ่มแยกสีได้ยากขึ้น อาจไม่สามารถคาดเดาสีได้และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ความรุนแรงระดับสูงตาบอดสีประเภทนี้จะเห็นสีเพียงแค่สีขาวดำ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ตาบอดสีเกิดจากอะไรได้บ้าง? สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้ กรรมพันธุ์หรือเป็นตาบอดสีมาแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุด โดยพบในเพศชาย 7% และในเพศหญิงประมาณ 0.5 - 1% อายุเมื่ออายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เซลล์ต่างๆ ในดวงตาเกิดการเสื่อมสภาพลง โรคเกี่ยวกับดวงตาเช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก โรคทางกายเช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม เบาหวาน อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน การเกิดอุบัติเหตุกระทบบริเวณดวงตาหรือดวงตาได้รับการบาดเจ็บเสียหาย ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่น ยารักษาวัณโรค ยาต้านอาการทางจิตและยาปฏิชีวนะ สารเคมีบางชนิดเช่น สาร Styrene ที่พบในผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือโฟม 3 ประเภทของภาวะตาบอดสี หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีมองเห็นสีอย่างไร? ซึ่งก่อนจะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องรู้ก่อนว่าตาบอดสีไม่ได้มีแค่แบบเดียว ในทางการแพทย์ โรคตาบอดสีถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก แต่ละประเภทส่งผลต่อการมองเห็นสีที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้     1. ตาบอดสีแดง - เขียว (Red-Green Color Blindness) ผู้ที่มีอาการตาบอดสีแดง - เขียวจะมีความยากลำบากในการแยกแยะระหว่างสองสีนี้ โดยขึ้นอยู่กับเซลล์ Cone ที่ผิดปกติ ผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีแดงน้อย (Protanomaly) จะเห็นโทนสีแดง ส้ม และเหลืองเป็นโทนสีเขียว หรือหากขาดเซลล์นี้ไป (Protanopia) จะเห็นสีแดงเป็นสีดำ ในทางกลับกัน คนที่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียวน้อย (Deuteranomaly) จะมองเห็นโทนสีเขียวเป็นโทนสีแดง และหากขาดเซลล์นี้ไปเลยจะเห็นสีเขียวเป็นสีดำ     2. ตาบอดสีน้ำเงิน - เหลือง (Blue-Yellow Color Blindness) การตาบอดสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน (Tritanomaly) และตาบอดสีเหลือง (Tritanopia) เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่น มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ผู้ที่มีภาวะนี้จะประสบปัญหาในการแยกแยะระหว่างสีน้ำเงินกับสีเขียว และสีเหลืองกับสีแดง โดยผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินน้อยจะแยกสีน้ำเงินกับสีเขียวได้ยาก ส่วนผู้ที่ไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินเลยจะมีปัญหาในการแยกโทนสีที่มีสีน้ำเงินและสีเหลืองผสมอยู่ เช่น สีน้ำเงินกับสีเขียว หรือสีม่วงกับสีแดง     3. ตาบอดสีทั้งหมด (Complete Color Blindness) ผู้ที่มีอาการตาบอดสีทั้งหมด หรือ Monochromacy เกิดจากการที่เซลล์รูปกรวยทั้งหมดไม่ทำงานหรือขาดหายไปจากดวงตา ซึ่งพบได้น้อยมากในปัจจุบัน คนกลุ่มนี้จะเห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด มีการมองเห็นสลับสีกัน เช่น ระหว่างสีเขียวกับสีน้ำเงิน สีแดงกับสีดำ สีเหลืองกับสีขาว และบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความไวต่อแสงของดวงตาอีกด้วย     ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะตาบอดสี ภาวะตาบอดสีอาจไม่ได้สร้างผลกระทบในเรื่องของการแยกแยะสีเท่านั้น เพราะเมื่อแยกสีได้ลำบากอาจส่งผลกระทบอื่นตามมาด้วย ดังนี้ ปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผู้ที่มีภาวะตาบอดสี โดยเฉพาะในวัยเด็ก มักถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ เนื่องจากคำตอบหรือการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสีไม่ตรงกับเด็กทั่วไป ซึ่งแท้จริงแล้วยังสามารถเรียนรู้ได้ปกติ เพียงแต่รับรู้สีที่แตกต่างออกไป ทำให้ได้รับผลกระทบในวิชาศิลปะ การประเมินพัฒนาการทางภาษา และการเรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสี ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เน้นสีสันนั้นก็สามารถทำได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ขับขี่ยานพาหนะลำบาก โรคตาบอดสีส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการขับขี่รถยนต์ ผู้ที่มีภาวะนี้ต้องพยายามสังเกตความแตกต่างของไฟจราจรจากความเข้มของสีที่ไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าสังเกตได้ก็จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ การทดสอบตาบอดสีสำหรับใบขับขี่จึงต้องมีการประเมินความสามารถในการแยกแยะสัญญาณไฟจราจรและเกณฑ์อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน การประกอบอาชีพจำกัด ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงบางอาชีพเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น รวมถึงเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน อาชีพที่ต้องพึ่งพาการแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน ผู้ทำงานกับสารเคมี จิตรกร หรือนักออกแบบกราฟิก อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะนี้ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนในการมองเห็นสีอาจส่งผลต่อคุณภาพงานหรือก่อให้เกิดอันตรายได้ ตาบอดสีสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อายุเท่าไร? โดยปกติ ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์สามารถสังเกตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กอาจแสดงอาการผ่านการแยกสีของวัตถุ ของเล่น หรือสีในหนังสือภาพไม่ถูกต้อง คุณครูและผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมเช่นการเลือกสีผิดหรือสับสนระหว่างสีที่ใกล้เคียงกัน หากมีข้อสงสัยควรพาเด็กไปตรวจตาเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด ตาบอดสีรักษาได้ไหม? รักษาได้อย่างไร โรคตาบอดสีที่เกิดจากพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติของเซลล์รูปกรวยที่น้อยหรือขาดหายไป ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีทดแทน ส่วนตาบอดสีที่เกิดจากโรคหรือยาบางชนิด อาจมีโอกาสดีขึ้นหากรักษาสาเหตุ อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น แว่นกรองสีหรือคอนแท็กต์เลนส์สีชั่วคราว ที่ช่วยเพิ่มความเข้มของสีทำให้แยกสีได้ดีขึ้น จักษุแพทย์จะทำการตรวจสายตาเพื่อประเมินและวินิจฉัยภาวะตาบอดสี โดยเริ่มจากการใช้แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara test) ให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขหรือลากเส้นภาพที่มีสีที่คนตาบอดสีมักสับสน ต่อมาใช้เครื่อง Anomaloscope ทดสอบการผสมสีเพื่อวัดความบกพร่องในการมองเห็นสีแดงและสีเขียว และสุดท้ายทำการทดสอบ Farnsworth Munsell โดยให้เรียงฝาครอบสีที่คล้ายกันต่อเนื่องกัน เพื่อคัดกรองระดับความบกพร่องในการมองเห็นสีตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงมาก     วิธีทดสอบตาบอดสีด้วยตัวเอง แบบทดสอบ Ishihara ใช้งานอย่างไร? แบบทดสอบIshiharaเป็นวิธีตรวจตาบอดสีที่ได้รับความนิยม ประกอบด้วยภาพวงกลมที่มีจุดสีต่างๆ ซึ่งซ่อนตัวเลขหรือลวดลายไว้ภายใน ผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะมองเห็นตัวเลขผิดไปจากคนปกติหรือมองไม่เห็นเลย สามารถทดสอบเบื้องต้นได้ผ่านแบบทดสอบออนไลน์ แต่หากต้องการผลที่แม่นยำควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยตรง เมื่อไรที่ควรตรวจตาบอดสี? เมื่อไรควรตรวจตาบอดสี? เด็กที่มีปัญหาเรื่องการแยกสีตั้งแต่อายุยังน้อยควรเข้ารับการตรวจ รวมถึงผู้ที่ต้องการสอบเข้าวิชาชีพที่ต้องใช้การแยกสี เช่น นักบิน วิศวกร หรือช่างเทคนิค ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะตาบอดสี และผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือได้รับยาที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นสีก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน เลือกตรวจตาบอดสีที่ไหนดี? การเลือกสถานที่ตรวจตาบอดสีควรคำนึงถึงคุณภาพและความเชี่ยวชาญเป็นหลัก โดยควรเลือกศูนย์ตรวจตาที่มีจักษุแพทย์เฉพาะทางและอุปกรณ์ทันสมัยครบครัน โรงพยาบาลตาหรือคลินิกเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานจะสามารถวินิจฉัยภาวะตาบอดสีได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้คุณได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการดูแลสายตาต่อไป ตรวจตาบอดสีที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร แนะนำให้เข้ามาตรวจตาบอดสีได้ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยบุคลากรทางการแพทย์มากความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับดวงตา และจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป ตาบอดสีเป็นภาวะที่ส่งผลต่อการแยกแยะสี อาจมีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม โรคทางตา หรือปัจจัยอื่นๆ การตรวจวินิจฉัยทำได้ง่ายด้วยแบบทดสอบ Ishihara และวิธีอื่นๆ ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการควรเข้ารับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินแนวทางการดูแลที่เหมาะสม ศูนย์ตรวจตาที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือสามารถให้การวินิจฉัยและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันกับภาวะตาบอดสีได้อย่างมีคุณภาพ สำหรับคนที่อยากตรวจตาบอดสี แนะนำมาที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย

อาการตาล้า ปัญหาสายตาที่ต้องรีบดูแล หาสาเหตุและแนวทางการรักษา

‘อาการตาล้า’ เป็นปัญหาที่พบได้ในชีวิตประจำวัน แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคต่างๆ ได้ ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีสังเกตอาการตาล้า พร้อมวิธีแก้อาการตาล้าอย่างละเอียด   อาการตาล้า คือการที่ดวงตามีความอ่อนล้าจากการใช้งานอย่างหนัก ทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน หรือเห็นเป็นภาพเบลอ อาการตาล้าที่สังเกตได้ เช่น ปวดตา ตาแห้ง แสบตา มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เป็นต้น อาการตาล้าเป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไป แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ควรเข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียดกับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจส่งผลเสียต่อการมองเห็นระยะยาวได้ อาการตาล้า นอกจากส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของดวงตาอีกด้วย เพราะเมื่อดวงตาอ่อนล้า มักเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ อาการตาล้ารักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้น้ำตาเทียม สวมแว่นตากันแดดหรือแว่นกรองแสง ประคบเย็น และฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา วิธีป้องกันตาล้า เริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ลดระยะเวลาการใช้งานหน้าจอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในพื้นที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น ลักษณะอาการผิดปกติที่แสดงว่าตาล้าอย่างหนัก ได้แก่ รู้สึกปวดบริเวณเบ้าตาอย่างหนัก มีน้ำตาไหลอยู่ตลอดเวลา มองเห็นภาพไม่ชัดเจน หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด     ทำความรู้จัก ตาล้า คืออะไร อาการตาล้า (Asthenopia) คืออาการที่เกิดจากการที่ดวงตาถูกใช้งานอย่างหนัก หรือมีการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน โดยอาการตาล้าเป็นอาการที่มีความรุนแรงน้อย ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจนไม่สามารถมองเห็นภาพได้ชัด ส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือ การขับขี่รถยนต์ เป็นต้น สังเกตอาการตาล้า มีอะไรบ้าง อาการตาล้า สามารถสังเกตได้ดังนี้ ปวดตา ปวดเบ้าตา หรือปวดบริเวณรอบๆ ดวงตา ตาแห้ง มีน้ำตาไหลออกมา ระคายเคืองตา แสบตา ตาล้า มองเห็นภาพเบลอ มองเห็นไม่ชัดเจน อาจมีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ มีอาการบ้านหมุน หรือเห็นภาพซ้อนกัน     ตาล้าอันตรายกว่าที่คิด! ส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง อาการตาล้าอันตรายกว่าที่คิด! โดยปกติแล้วอาการตาล้าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทั้งนี้หากมีอาการตาล้า ปวดบริเวณเบ้าตาบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงสุขภาพที่กำลังทรุดตัวลง โดยอาการตาล้า นอกจากส่งผลต่อสุขภาพดวงตาแล้ว ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตอีกด้วย ดังนี้ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการตาล้าจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มองเห็นภาพเบลอๆ เห็นเป็นภาพซ้อน จนส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การมองเห็นใบหน้า หรือการมองถนนขณะขับรถ เป็นต้น ผลกระทบต่อสุขภาพดวงตา อาการตาล้าจนส่งผลกับสุขภาพดวงตา เพราะอาการตาล้าอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น กล้ามเนื้อตาอักเสบ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นต้น หาสาเหตุอาการตาล้า เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการตาล้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งสาเหตุหลักๆ ออกเป็น 6 ประการ ดังนี้ 1. การเพ่งมองระยะใกล้ การที่ดวงตาเพ่งมองสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะประชิด ดวงตาจะเบิกกว้าง จ้องมองอยู่ตลอด เมื่อเพ่งมองเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดอาการตาล้าได้ 2. การอยู่ในพื้นที่แสงน้อย การทำกิจกรรมในพื้นที่ที่ขาดแสง หรือมีแสงไม่เพียงพอ ส่งผลให้ดวงตาต้องเพ่งมองเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดขึัน ทำให้เกิดอาการตาล้าในที่สุด 3. เครียดหรือเหนื่อยล้า ผู้ที่ความเครียดสูง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าได้มากกว่าปกติ โดยความเครียดส่งผลต่อร่างกายโดยรวม อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงภาวะตาล้าได้อีกด้วย 4. ค่าสายตาผิดปกติ ผู้ที่มีอาการสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง มักเกิดอาการตาล้าร่วมด้วย เนื่องจากดวงตามองเห็นในระยะใกล้ หรือไกลได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดการเพ่ง การจ้องมองสิ่งของเพื่อให้เห็นได้ชัดขึ้นอยู่ตลอด 5. การจ้องหน้าจอ การที่ดวงตาจ้องไปที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์อยู่บ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เป็นการใช้สายตาอย่างหนักในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้ตาล้าได้ในที่สุด 6. การขับขี่รถยนต์ ในระหว่างการขับรถ ผู้ขับขี่รถยนต์จะต้องใช้สายตาประกอบการขับรถอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการขับตรง มองซ้าย มองขวา และแสงสว่างจากดวงอาทิตย์และท้องถนนยังทำร้ายสายตาอีกด้วย เมื่อขับรถเป็นระยะเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง อาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้     อาการตาล้าแบบไหนที่ต้องรีบพบจักษุแพทย์ จากที่ได้ทราบกันแล้วว่าอาการตาล้าเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่อาการตาล้าแบบไหนที่เป็นอาการเร่งด่วน ที่ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ แนะนำให้สังเกตจากอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ มีอาการปวดบริเวณดวงตาอย่างรุนแรง มีอาการแสบตา น้ำตาไหลอยู่ตลอด มองเห็นภาพเบลอ หรือเห็นภาพซ้อนกันอยู่ตลอด มีอาการบ้านหมุน วิงเวียนศีรษะร่วมด้วย การวินิจฉัยอาการตาล้าโดยแพทย์ ทำได้อย่างไร สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการตาล้าโดยจักษุแพทย์ โดยส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติเบื้องต้น รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ เพื่อให้ทราบประวัติสุขภาพโดยคร่าวๆ จากนั้นจะทำการสอบถามพฤติกรรมที่อาจส่งผลกับตัวโรค เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการตาล้า และทำการตรวจสอบดวงตาด้วยอุปกรณ์เฉพาะเพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการรักษาอาการตาล้า     แนวทางการรักษาอาการตาล้า อาการตาล้า เป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไป และสามารถหายเองได้ โดยแนวทางการรักษาอาการตาล้าเบื้องต้น ทำได้ ดังนี้   ใช้น้ำตาเทียมเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยบรรเทาอาการตาล้า รวมถึงลดโอกาสเกิดการระคายเคือง สวมแว่นกันแดดและแว่นกรองแสงเป็นการถนอมดวงตาด้วยการป้องกันแสงแดด และแสงสีฟ้าเข้ามาทำลายดวงตา ประคบดวงตาการประคบเย็นด้วยการใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง หรือใช้เจลเย็นประคบที่ดวงตาเป็นระยะเวลาประมาณ 10-15 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ลดอาการตาล้า ตาพร่าได้ ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาแนะนำให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้ เตรียมอุปกรณ์สำหรับการฝึกบริการกล้ามเนื้อตา เช่น ดินสอ หรือปากกาอย่างน้อย 1 แท่ง ใช้มือข้างที่ถนัด ถือดินสอเอาไว้ ยื่นแขนที่ถือดินสอไปให้สุดแขน โดยให้ดินสออยู่กึ่งกลางจมูก ใช้ดวงตาทั้งสองมองไปที่ดินสอ โดยหากเห็นดินสอแท่งเดียว ถือว่าถูกต้อง หากมองเห็นดินสอเป็น 2 แท่ง ให้หลับตา พักสายตาสักระยะ แล้วมองใหม่อีกครั้ง ค่อยๆ เลื่อนมือเข้ามาใกล้อย่างช้าๆ โดยหากเห็นดินสอเป็น 2 แท่ง หรือเริ่มเห็นไม่ชัด ให้หยุด และถอยกลับไปเริ่มต้นใหม่ ยื่นแขนเข้า-ออก และมองตามไปเรื่อยๆ ประมาณ 20 ครั้งแล้วหยุด รวมวิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการตาล้า สำหรับวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการตาล้าที่ทำได้ด้วยตนเอง มีดังนี้   นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอควรพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอเป็นระยะเวลานานไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์ หน้าจอโทรทัศน์ เป็นต้น กำหนดเวลาพักสายตาแนะนำให้พักสายตาทุกๆ 30-50 นาที โดยให้มองไปรอบๆ แทนการจดจ่ออยู่กับที่ เลือกกินอาหารหรือวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตาเน้นบริโภคผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า หรือรับประทานผลไม้ตระกูลเบอร์รี เช่น ราสป์เบอร์รี โกจิเบอร์รี เป็นต้น การสวมแว่นตัดแสงหรือแว่นกรองแสงสีฟ้าเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่ออยู่กับหน้าจอบ่อยๆ เช่น ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือการใช้งานโทรศัพท์มือถือ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะมีแสงสีฟ้าซึ่งทำอันตรายต่อดวงตา อาจทำให้เกิดอาการตาล้า แสบตาได้ง่าย รักษาอาการตาล้า ที่ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital พร้อมตรวจสอบดวงตา ตรวจหาค่าความผิดปกติด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ หากมีอาการตาล้า ตาพร่า รู้สึกปวดบริเวณเบ้าตาบ่อยๆ แนะนำให้ทำการนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพดวงตาที่นี่ได้เลย โรงพยาบาลมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พร้อมดูแลทุกปัญหาด้านดวงตา ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด แม่นยำ และคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ โรงพยาบาลมีศูนย์บริการที่หลากหลายที่พร้อมให้การรักษาโรคตาอย่างครอบคลุม โรงพยาบาลพร้อมให้บริการการรักษาโรคดวงตาอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การตรวจสภาพตา การวินิจฉัยโรค วิธีการรักษา รวมถึงการติดตามผลการรักษา เพื่อให้คนไข้มั่นใจว่าจะได้รับการรักษาที่แม่นยำ และมีความปลอดภัยมาก่อนเสมอ สรุป ‘อาการตาล้า’ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไป แต่หากเป็นเรื้อรัง หรือกลับมาเป็นบ่อยๆ รวมถึงมีอาการปวดเบ้าตา แสบตา ปวดหัว หรือบ้านหมุนร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายของสุขภาพดวงตา ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและรักษาสุขภาพดวงตาของเราให้กลับมาดีดังเดิม ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalมีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อผลลัพธ์การรักษาดวงตาให้กลับมาชัดและสดใส

วุ้นในตาเสื่อม อันตรายต่อการมองเห็น มาหาสาเหตุและวิธีการรักษา

วุ้นในตาเสื่อม คือภาวะที่วุ้นในตาเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำและหลุดออกจากจอประสาทตา ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็นได้ ผู้ที่มีอาการวุ้นในตาเสื่อมอาจมองเห็นเงาดำลอยไปมา แสงวาบในตา หรือมีปัญหาการมองเห็น หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร วุ้นในตาเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น สายตาสั้นมาก การอักเสบในตา และอุบัติเหตุทางตา วุ้นในตาเสื่อม โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรักษาเว้นแต่พบจอตาฉีกขาด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยเลเซอร์หรือการจี้เย็น หรือแนวทางการรักษาวุ้นในตาเสื่อมแบบอื่น ๆ ศูนย์จอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ให้บริการตรวจและรักษาโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมที่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคดวงตาได้อย่างปลอดภัย   อาการวุ้นในตาเสื่อมอาจดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็ก แต่แท้จริงแล้วอาจอันตรายกว่าที่คิดและอาจนำไปสู่ปัญหาสายตาที่ร้ายแรง ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้สูญเสียการมองเห็นระยะยาวได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอย่างทันท่วงที มารู้ถึงสาเหตุ วิธีการรักษา และแนวทางป้องกันวุ้นในตาเสื่อมได้ในบทความนี้     วุ้นในตาเสื่อม คืออะไร วุ้นในตา (Vitreous) เป็นองค์ประกอบสำคัญของดวงตา มีลักษณะเป็นเจลใสที่ประกอบด้วยน้ำประมาณ 99% และโปรตีนเส้นใย เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่างๆ โดยวุ้นในตาจะมีหน้าที่ช่วยรักษารูปร่างของลูกตาให้กลม และช่วยให้แสงผ่านเข้าสู่จอประสาทตาเพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน อาการวุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คือภาวะที่วุ้นในตาเริ่มสูญเสียความหนืดและเปลี่ยนสภาพจากเจลใสเป็นของเหลวเหมือนน้ำเมื่ออายุมากขึ้น โดยวุ้นตาเสื่อมมักมาพร้อมกับการหลุดลอกออกจากจอประสาทตา ซึ่งเรียกว่าภาวะ "Posterior Vitreous Detachment (PVD)" อาการวุ้นในตาเสื่อม เป็นอย่างไร อาการวุ้นในตาเสื่อมที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้ มองเห็นเงาดำหรือจุดดำลอยไปมาในสายตา อาจมีลักษณะเป็นเส้น เส้นขด หรือวงกลม เงาที่มองเห็นมักเกิดจากการที่เส้นใยโปรตีนในวุ้นตาจับตัวกันเป็นตะกอนขุ่น เกิดอาการเห็นแสงไฟวาบในตา ซึ่งมักบ่งชี้ถึงแรงดึงที่เกิดขึ้นระหว่างวุ้นตาและจอประสาทตา     สาเหตุวุ้นในตาเสื่อม เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้วุ้นในตาเสื่อมอาจเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น วุ้นตาจะเสื่อมสภาพและกลายเป็นของเหลวตามกาลเวลา ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสื่อมนี้ก็ยิ่งชัดเจน ส่งผลให้เกิดเงาดำหรือจุดลอยในสายตามากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากอายุ 50 ปีขึ้นไป 2. ค่าสายตาสั้น ตามสถิติพบว่าผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 400 จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า เนื่องจากโครงสร้างของดวงตาที่มีสายตาสั้นมักเปราะบางและเสื่อมง่ายกว่าปกติ 3. อาการอักเสบในลูกตา การได้รับอุบัติเหตุที่กระทบดวงตาในอดีตสามารถส่งผลต่อโครงสร้างของวุ้นตา ทำให้วุ้นในตาอ่อนแอและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เช่น การถูกของแข็งกระแทกหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรง 4. อุบัติเหตุทางดวงตา ภาวะอักเสบในลูกตา เช่น Uveitis สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของวุ้นในตา การอักเสบนี้อาจทำให้วุ้นตาเกิดการลอยตัว หรือหลุดลอกจากจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดวุ้นในตาเสื่อมในที่สุด 5. ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดต้อกระจกอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของดวงตา การใส่เลนส์ตาเทียมแทนเลนส์เดิมอาจทำให้วุ้นในตาหลุดลอกและเร่งการเสื่อมสภาพให้เร็วขึ้น     วุ้นในตาเสื่อม ปล่อยทิ้งไว้อันตรายกว่าที่คิด วุ้นในตาเสื่อมเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงในตัวเอง แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนแล้วไม่ดูแลให้ถูกต้องหรือไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ อาการนี้อาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงต่อสุขภาพดวงตาและการมองเห็นในระยะยาว โดยผลกระทบจากอาการวุ้นในตาเสื่อมก็จะมีอยู่ดังนี้ 1. สร้างความรำคาญตา เมื่อเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อม ผู้ป่วยมักเห็นจุดดำ เงา หรือเส้นลอยไปมาขณะมองสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้าหรือขณะทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา เช่น อ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ จนอาจก่อความรำคาญหรือการขยี้ตาซึ่งอาจทำให้สุขภาพตายิ่งแย่ลงไปอีก 2. เกิดเงาในจอตา วุ้นในตาที่เสื่อมสภาพจนเกิดรูรั่วหรือรอยฉีกขาดในจอประสาทตา ก็จะก่อให้เกิดการสะท้อนแสงหรือการบิดเบือนของภาพทำให้เห็นเงาดำหรือแสงวาบในจอตาได้ ซึ่งหากปล่อยไว้รูรั่วก็อาจจะขยายใหญ่ขึ้นจนนำไปสู่ปัญหาต่อๆ ไป 3. จอประสาทตาฉีกขาด หากปล่อยให้เกิดเงาในจอตาแล้วไม่มีการรักษาจนอาการเสื่อมรุนแรงขึ้น วุ้นตาที่หลุดลอกจากจอประสาทตาอาจดึงรั้งจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดการฉีกขาดได้ และอาจนำไปสู่ปัญหาจอตาหลุดลอกซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน 4. เสียสุขภาพตา ภาวะวุ้นในตาเสื่อมส่งผลต่อสุขภาพตาโดยรวม โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดการอักเสบหรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา บาดแผลในดวงตา หรือการติดเชื้อในดวงตา ซึ่งจะยิ่งทำให้การรักษามีความซับซ้อนและอาการอาจรุนแรงมากขึ้น 5. สูญเสียการมองเห็นถาวร หากปล่อยให้ปัญหาวุ้นในตาเสื่อมลุกลามโดยไม่ได้รับการดูแลเป็นเวลานาน จนจอตาหลุดลอกหรือเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตประจำวัน     อาการวุ้นในตาเสื่อม หายเองได้ไหม อาการวุ้นในตาเสื่อมจะค่อยๆ บรรเทาลงภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนและสามารถหายได้เองหากไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างรูรั่วหรือรอยฉีกขาดในจอประสาทตา แต่หากเกิดอาการดังกล่าว ผู้ป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้การฉีกขาดขยายตัวมากขึ้นจนทำลายดวงตา ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรไปพบจักษุแพทย์ให้วินิจฉัยอาการเพื่อรักษาวุ้นในตาเสื่อมอย่างเหมาะสม วินิจฉัยอาการวุ้นในตาเสื่อม ผู้ที่มีภาวะวุ้นตาเสื่อมควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มตรวจดวงตาส่วนหน้า จากนั้นแพทย์จะหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อตรวจวุ้นตาและจอตา โดยหลังหยอดยาดวงตาจะรู้สึกพร่ามัว มองแสงจ้าไม่ได้ และจะไม่สามารถมองเห็นในระยะใกล้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการวินิจฉัยจึงควรพกแว่นกันแดดและมีคนขับรถไปด้วย     แนวทางการรักษาวุ้นในตาเสื่อม แนวทางในการรักษาวุ้นในตาเสื่อมทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการวุ้นในตาเสื่อม โดยจะแบ่งแนวทางการรักษาโดยคร่าวๆ ได้ดังนี้ ปล่อยให้อาการดีขึ้นเองโดยทั่วไปภาวะวุ้นในตาเสื่อมจะไม่จำเป็นต้องรับการรักษา โดยอาการเงาดำหรือแสงวาบที่เห็นจะค่อยๆ ลดลงและหายไปในที่สุดในช่วง 3 เดือน โดยในระหว่างนั้นผู้ป่วยเพียงต้องปรับตัวการใช้ชีวิตให้เหมาะสมและสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องก็เพียงพอ รักษาด้วยเลเซอร์ใช้ในกรณีที่พบรอยฉีกขาดในจอตา โดยเลเซอร์จะถูกใช้ยิงไปยังบริเวณรอยฉีกขาดของจอตา เพื่อสร้างความร้อนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการยึดติดระหว่างจอตากับเนื้อเยื่อรอบข้าง รักษาด้วยการจี้เย็น (Cryopexy)ใช้ในกรณีที่พบรอยฉีกขาดในจอตา โดยจะใช้หัวอุปกรณ์ที่ปล่อยความเย็นไปยังบริเวณที่จอตาฉีกขาด ความเย็นจะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อรอบรอยฉีกขาดแข็งตัวและติดกัน รักษาโรคทางตาอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุบางครั้งอาการวุ้นในตาเสื่อมก็อาจเกิดขึ้นจากโรคหรืออาการอื่นๆ เช่น การอักเสบในดวงตาหรือโรคเบาหวานขึ้นตา ดังนั้นจึงต้องรักษาต้นเหตุไปด้วยระหว่างการรักษาวุ้นในตาเสื่อม เพื่อป้องกันอาการวุ้นตาเสื่อมแทรกซ้อน ปรึกษาจักษุแพทย์ในกรณีฉุกเฉินหากมีอาการแสงวาบเพิ่มขึ้น หรือมีเงาดำจำนวนมากปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรง เช่น ภาวะจอตาหลุดลอก ดังนั้นหากพบเจอกับอาการเหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์โดยทันที แนวทางการป้องกันวุ้นในตาเสื่อม การป้องกันวุ้นในตาเสื่อม ทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพของดวงตาโดยทั่วไป โดยมีแนวทางการป้องกันวุ้นในตาเสื่อมดังนี้ รักษาสุขภาพดวงตาหลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรงๆ หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของดวงตา ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำเข้ารับการตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปี ใส่แว่นตาป้องกันแสง UVใช้แว่นตากันแดดคุณภาพดีที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากแสงแดดที่อาจทำลายดวงตา รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ซี อี ลูทีน และซีแซนทีน เช่น ผักใบเขียว ปลาแซลมอน และแครอท ควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจอประสาทตาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดการใช้งานดวงตาหนักเกินไปพักสายตาทุกๆ 20 นาทีเมื่อใช้งานจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน โดยให้หลับตาแล้วมองไปยังจุดที่มืดของห้องหรือใช้มือป้องแสงเป็นเวลา 1-2นาทีก่อนจะลืมตาขึ้นมาอีกครั้ง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้ รักษาวุ้นในตาเสื่อม ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการวุ้นในตาเสื่อม แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการวุ้นในตาเสื่อมได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป วุ้นในตาเสื่อม คือภาวะที่วุ้นตาเสื่อมสภาพจนกลายเป็นน้ำและหลุดออกจากจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเห็นเงาดำลอยไปมา หรือแสงวาบในตาได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอกได้ จนหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาก็อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร โดยการป้องกันที่ดีก็จะเป็นการดูแลสุขภาพดวงตาและเข้ารับการตรวจเป็นประจำ หากกังวลเรื่องวุ้นในตาเสื่อม ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรควุ้นในตาเสื่อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมความมุ่งมั่นในการดูแลดวงตาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน รักษา ไปจนถึงฟื้นฟูสุขภาพตา เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111