ภาวะตาบอดสีเป็นหนึ่งในปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการแยกแยะสี ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานหรือการขับขี่ยานพาหนะ สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะตาบอดสี การตรวจตาบอดสีเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้ถึงภาวะนี้ได้อย่างชัดเจน
บทความนี้พามาเจาะลึกสาเหตุของภาวะตาบอดสี ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยภายนอก พร้อมแนะนำวิธีตรวจตาบอดสีที่แม่นยำและเชื่อถือได้ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลที่เหมาะสม
โรคตาบอดสี (Color blindness) คือความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน ทั้งนี้แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่การมองเห็นวัตถุ รูปร่าง และภาพโดยรวมยังคงชัดเจนเหมือนคนปกติ โรคนี้ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการตาบอดสีสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับดังนี้
สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้
หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีมองเห็นสีอย่างไร? ซึ่งก่อนจะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องรู้ก่อนว่าตาบอดสีไม่ได้มีแค่แบบเดียว ในทางการแพทย์ โรคตาบอดสีถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก แต่ละประเภทส่งผลต่อการมองเห็นสีที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ผู้ที่มีอาการตาบอดสีแดง - เขียวจะมีความยากลำบากในการแยกแยะระหว่างสองสีนี้ โดยขึ้นอยู่กับเซลล์ Cone ที่ผิดปกติ ผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีแดงน้อย (Protanomaly) จะเห็นโทนสีแดง ส้ม และเหลืองเป็นโทนสีเขียว หรือหากขาดเซลล์นี้ไป (Protanopia) จะเห็นสีแดงเป็นสีดำ ในทางกลับกัน คนที่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียวน้อย (Deuteranomaly) จะมองเห็นโทนสีเขียวเป็นโทนสีแดง และหากขาดเซลล์นี้ไปเลยจะเห็นสีเขียวเป็นสีดำ
การตาบอดสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน (Tritanomaly) และตาบอดสีเหลือง (Tritanopia) เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่น มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ผู้ที่มีภาวะนี้จะประสบปัญหาในการแยกแยะระหว่างสีน้ำเงินกับสีเขียว และสีเหลืองกับสีแดง โดยผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินน้อยจะแยกสีน้ำเงินกับสีเขียวได้ยาก ส่วนผู้ที่ไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินเลยจะมีปัญหาในการแยกโทนสีที่มีสีน้ำเงินและสีเหลืองผสมอยู่ เช่น สีน้ำเงินกับสีเขียว หรือสีม่วงกับสีแดง
ผู้ที่มีอาการตาบอดสีทั้งหมด หรือ Monochromacy เกิดจากการที่เซลล์รูปกรวยทั้งหมดไม่ทำงานหรือขาดหายไปจากดวงตา ซึ่งพบได้น้อยมากในปัจจุบัน คนกลุ่มนี้จะเห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด มีการมองเห็นสลับสีกัน เช่น ระหว่างสีเขียวกับสีน้ำเงิน สีแดงกับสีดำ สีเหลืองกับสีขาว และบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความไวต่อแสงของดวงตาอีกด้วย
ภาวะตาบอดสีอาจไม่ได้สร้างผลกระทบในเรื่องของการแยกแยะสีเท่านั้น เพราะเมื่อแยกสีได้ลำบากอาจส่งผลกระทบอื่นตามมาด้วย ดังนี้
ผู้ที่มีภาวะตาบอดสี โดยเฉพาะในวัยเด็ก มักถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ เนื่องจากคำตอบหรือการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสีไม่ตรงกับเด็กทั่วไป ซึ่งแท้จริงแล้วยังสามารถเรียนรู้ได้ปกติ เพียงแต่รับรู้สีที่แตกต่างออกไป ทำให้ได้รับผลกระทบในวิชาศิลปะ การประเมินพัฒนาการทางภาษา และการเรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสี ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เน้นสีสันนั้นก็สามารถทำได้ปกติเหมือนคนทั่วไป
โรคตาบอดสีส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการขับขี่รถยนต์ ผู้ที่มีภาวะนี้ต้องพยายามสังเกตความแตกต่างของไฟจราจรจากความเข้มของสีที่ไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าสังเกตได้ก็จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ การทดสอบตาบอดสีสำหรับใบขับขี่จึงต้องมีการประเมินความสามารถในการแยกแยะสัญญาณไฟจราจรและเกณฑ์อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงบางอาชีพเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น รวมถึงเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน อาชีพที่ต้องพึ่งพาการแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน ผู้ทำงานกับสารเคมี จิตรกร หรือนักออกแบบกราฟิก อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะนี้ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนในการมองเห็นสีอาจส่งผลต่อคุณภาพงานหรือก่อให้เกิดอันตรายได้
โดยปกติ ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์สามารถสังเกตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กอาจแสดงอาการผ่านการแยกสีของวัตถุ ของเล่น หรือสีในหนังสือภาพไม่ถูกต้อง คุณครูและผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมเช่นการเลือกสีผิดหรือสับสนระหว่างสีที่ใกล้เคียงกัน หากมีข้อสงสัยควรพาเด็กไปตรวจตาเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด
โรคตาบอดสีที่เกิดจากพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติของเซลล์รูปกรวยที่น้อยหรือขาดหายไป ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีทดแทน ส่วนตาบอดสีที่เกิดจากโรคหรือยาบางชนิด อาจมีโอกาสดีขึ้นหากรักษาสาเหตุ อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น แว่นกรองสีหรือคอนแท็กต์เลนส์สีชั่วคราว ที่ช่วยเพิ่มความเข้มของสีทำให้แยกสีได้ดีขึ้น
จักษุแพทย์จะทำการตรวจสายตาเพื่อประเมินและวินิจฉัยภาวะตาบอดสี โดยเริ่มจากการใช้แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara test) ให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขหรือลากเส้นภาพที่มีสีที่คนตาบอดสีมักสับสน ต่อมาใช้เครื่อง Anomaloscope ทดสอบการผสมสีเพื่อวัดความบกพร่องในการมองเห็นสีแดงและสีเขียว และสุดท้ายทำการทดสอบ Farnsworth Munsell โดยให้เรียงฝาครอบสีที่คล้ายกันต่อเนื่องกัน เพื่อคัดกรองระดับความบกพร่องในการมองเห็นสีตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงมาก
แบบทดสอบIshiharaเป็นวิธีตรวจตาบอดสีที่ได้รับความนิยม ประกอบด้วยภาพวงกลมที่มีจุดสีต่างๆ ซึ่งซ่อนตัวเลขหรือลวดลายไว้ภายใน ผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะมองเห็นตัวเลขผิดไปจากคนปกติหรือมองไม่เห็นเลย สามารถทดสอบเบื้องต้นได้ผ่านแบบทดสอบออนไลน์ แต่หากต้องการผลที่แม่นยำควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยตรง
เมื่อไรควรตรวจตาบอดสี? เด็กที่มีปัญหาเรื่องการแยกสีตั้งแต่อายุยังน้อยควรเข้ารับการตรวจ รวมถึงผู้ที่ต้องการสอบเข้าวิชาชีพที่ต้องใช้การแยกสี เช่น นักบิน วิศวกร หรือช่างเทคนิค ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะตาบอดสี และผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือได้รับยาที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นสีก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน
การเลือกสถานที่ตรวจตาบอดสีควรคำนึงถึงคุณภาพและความเชี่ยวชาญเป็นหลัก โดยควรเลือกศูนย์ตรวจตาที่มีจักษุแพทย์เฉพาะทางและอุปกรณ์ทันสมัยครบครัน โรงพยาบาลตาหรือคลินิกเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานจะสามารถวินิจฉัยภาวะตาบอดสีได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้คุณได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการดูแลสายตาต่อไป
แนะนำให้เข้ามาตรวจตาบอดสีได้ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยบุคลากรทางการแพทย์มากความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับดวงตา และจุดเด่นดังนี้
ตาบอดสีเป็นภาวะที่ส่งผลต่อการแยกแยะสี อาจมีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม โรคทางตา หรือปัจจัยอื่นๆ การตรวจวินิจฉัยทำได้ง่ายด้วยแบบทดสอบ Ishihara และวิธีอื่นๆ ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการควรเข้ารับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินแนวทางการดูแลที่เหมาะสม ศูนย์ตรวจตาที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือสามารถให้การวินิจฉัยและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันกับภาวะตาบอดสีได้อย่างมีคุณภาพ
สำหรับคนที่อยากตรวจตาบอดสี แนะนำมาที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย