มุมสุขภาพตา : #ศูนย์รักษาโรคจอประสาทตา

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

ตรวจตาบอดสีเมื่อไร? ตาบอดสีเกิดจากอะไร ความเสี่ยงที่หลายคนไม่รู้!

ภาวะตาบอดสีเป็นหนึ่งในปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการแยกแยะสี ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานหรือการขับขี่ยานพาหนะ สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะตาบอดสี การตรวจตาบอดสีเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้ถึงภาวะนี้ได้อย่างชัดเจน บทความนี้พามาเจาะลึกสาเหตุของภาวะตาบอดสี ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยภายนอก พร้อมแนะนำวิธีตรวจตาบอดสีที่แม่นยำและเชื่อถือได้ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลที่เหมาะสม โรคตาบอดสีคืออาการความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่ความสามารถในการมองเห็นวัตถุและรูปร่างยังปกติ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นประเภทที่พบมากที่สุด ทำให้แยกแยะระหว่างสีแดงและเขียวได้ยาก ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของ Cone cell หรือ เซลล์รูปกรวย ตาบอดสีน้ำเงิน-เหลืองจะพบน้อยกว่า มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ทำให้แยกแยะสีน้ำเงินกับเขียว และสีเหลืองกับแดงได้ยาก ตาบอดสีทั้งหมด (Monochromacy) เป็นภาวะที่พบน้อยมาก ทำให้เห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด เกิดจากเซลล์รูปกรวยไม่ทำงาน ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวข้องกับสี แต่สามารถเรียนวิชาอื่นได้ปกติ การขับขี่ยานพาหนะอาจมีความยากลำบาก ต้องอาศัยการสังเกตความเข้มของไฟจราจรแทนการแยกสี การประกอบอาชีพอาจมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน นักเคมี หรือนักออกแบบกราฟิก     อาการของโรคตาบอดสีเป็นอย่างไร โรคตาบอดสี (Color blindness) คือความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน ทั้งนี้แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่การมองเห็นวัตถุ รูปร่าง และภาพโดยรวมยังคงชัดเจนเหมือนคนปกติ โรคนี้ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการตาบอดสีสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับดังนี้ ความรุนแรงระดับต่ำยังสามารถบอกหรือคาดเดาสีที่เห็นได้ โดยอาจเห็นสีเพี้ยนไปจากความเป็นจริงไม่มาก ความรุนแรงระดับกลางเริ่มแยกสีได้ยากขึ้น อาจไม่สามารถคาดเดาสีได้และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ความรุนแรงระดับสูงตาบอดสีประเภทนี้จะเห็นสีเพียงแค่สีขาวดำ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ตาบอดสีเกิดจากอะไรได้บ้าง? สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้ กรรมพันธุ์หรือเป็นตาบอดสีมาแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุด โดยพบในเพศชาย 7% และในเพศหญิงประมาณ 0.5 - 1% อายุเมื่ออายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เซลล์ต่างๆ ในดวงตาเกิดการเสื่อมสภาพลง โรคเกี่ยวกับดวงตาเช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก โรคทางกายเช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม เบาหวาน อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน การเกิดอุบัติเหตุกระทบบริเวณดวงตาหรือดวงตาได้รับการบาดเจ็บเสียหาย ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่น ยารักษาวัณโรค ยาต้านอาการทางจิตและยาปฏิชีวนะ สารเคมีบางชนิดเช่น สาร Styrene ที่พบในผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือโฟม 3 ประเภทของภาวะตาบอดสี หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีมองเห็นสีอย่างไร? ซึ่งก่อนจะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องรู้ก่อนว่าตาบอดสีไม่ได้มีแค่แบบเดียว ในทางการแพทย์ โรคตาบอดสีถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก แต่ละประเภทส่งผลต่อการมองเห็นสีที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้     1. ตาบอดสีแดง - เขียว (Red-Green Color Blindness) ผู้ที่มีอาการตาบอดสีแดง - เขียวจะมีความยากลำบากในการแยกแยะระหว่างสองสีนี้ โดยขึ้นอยู่กับเซลล์ Cone ที่ผิดปกติ ผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีแดงน้อย (Protanomaly) จะเห็นโทนสีแดง ส้ม และเหลืองเป็นโทนสีเขียว หรือหากขาดเซลล์นี้ไป (Protanopia) จะเห็นสีแดงเป็นสีดำ ในทางกลับกัน คนที่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียวน้อย (Deuteranomaly) จะมองเห็นโทนสีเขียวเป็นโทนสีแดง และหากขาดเซลล์นี้ไปเลยจะเห็นสีเขียวเป็นสีดำ     2. ตาบอดสีน้ำเงิน - เหลือง (Blue-Yellow Color Blindness) การตาบอดสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน (Tritanomaly) และตาบอดสีเหลือง (Tritanopia) เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่น มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ผู้ที่มีภาวะนี้จะประสบปัญหาในการแยกแยะระหว่างสีน้ำเงินกับสีเขียว และสีเหลืองกับสีแดง โดยผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินน้อยจะแยกสีน้ำเงินกับสีเขียวได้ยาก ส่วนผู้ที่ไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินเลยจะมีปัญหาในการแยกโทนสีที่มีสีน้ำเงินและสีเหลืองผสมอยู่ เช่น สีน้ำเงินกับสีเขียว หรือสีม่วงกับสีแดง     3. ตาบอดสีทั้งหมด (Complete Color Blindness) ผู้ที่มีอาการตาบอดสีทั้งหมด หรือ Monochromacy เกิดจากการที่เซลล์รูปกรวยทั้งหมดไม่ทำงานหรือขาดหายไปจากดวงตา ซึ่งพบได้น้อยมากในปัจจุบัน คนกลุ่มนี้จะเห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด มีการมองเห็นสลับสีกัน เช่น ระหว่างสีเขียวกับสีน้ำเงิน สีแดงกับสีดำ สีเหลืองกับสีขาว และบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความไวต่อแสงของดวงตาอีกด้วย     ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะตาบอดสี ภาวะตาบอดสีอาจไม่ได้สร้างผลกระทบในเรื่องของการแยกแยะสีเท่านั้น เพราะเมื่อแยกสีได้ลำบากอาจส่งผลกระทบอื่นตามมาด้วย ดังนี้ ปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผู้ที่มีภาวะตาบอดสี โดยเฉพาะในวัยเด็ก มักถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ เนื่องจากคำตอบหรือการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสีไม่ตรงกับเด็กทั่วไป ซึ่งแท้จริงแล้วยังสามารถเรียนรู้ได้ปกติ เพียงแต่รับรู้สีที่แตกต่างออกไป ทำให้ได้รับผลกระทบในวิชาศิลปะ การประเมินพัฒนาการทางภาษา และการเรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสี ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เน้นสีสันนั้นก็สามารถทำได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ขับขี่ยานพาหนะลำบาก โรคตาบอดสีส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการขับขี่รถยนต์ ผู้ที่มีภาวะนี้ต้องพยายามสังเกตความแตกต่างของไฟจราจรจากความเข้มของสีที่ไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าสังเกตได้ก็จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ การทดสอบตาบอดสีสำหรับใบขับขี่จึงต้องมีการประเมินความสามารถในการแยกแยะสัญญาณไฟจราจรและเกณฑ์อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน การประกอบอาชีพจำกัด ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงบางอาชีพเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น รวมถึงเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน อาชีพที่ต้องพึ่งพาการแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน ผู้ทำงานกับสารเคมี จิตรกร หรือนักออกแบบกราฟิก อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะนี้ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนในการมองเห็นสีอาจส่งผลต่อคุณภาพงานหรือก่อให้เกิดอันตรายได้ ตาบอดสีสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อายุเท่าไร? โดยปกติ ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์สามารถสังเกตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กอาจแสดงอาการผ่านการแยกสีของวัตถุ ของเล่น หรือสีในหนังสือภาพไม่ถูกต้อง คุณครูและผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมเช่นการเลือกสีผิดหรือสับสนระหว่างสีที่ใกล้เคียงกัน หากมีข้อสงสัยควรพาเด็กไปตรวจตาเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด ตาบอดสีรักษาได้ไหม? รักษาได้อย่างไร โรคตาบอดสีที่เกิดจากพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติของเซลล์รูปกรวยที่น้อยหรือขาดหายไป ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีทดแทน ส่วนตาบอดสีที่เกิดจากโรคหรือยาบางชนิด อาจมีโอกาสดีขึ้นหากรักษาสาเหตุ อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น แว่นกรองสีหรือคอนแท็กต์เลนส์สีชั่วคราว ที่ช่วยเพิ่มความเข้มของสีทำให้แยกสีได้ดีขึ้น จักษุแพทย์จะทำการตรวจสายตาเพื่อประเมินและวินิจฉัยภาวะตาบอดสี โดยเริ่มจากการใช้แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara test) ให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขหรือลากเส้นภาพที่มีสีที่คนตาบอดสีมักสับสน ต่อมาใช้เครื่อง Anomaloscope ทดสอบการผสมสีเพื่อวัดความบกพร่องในการมองเห็นสีแดงและสีเขียว และสุดท้ายทำการทดสอบ Farnsworth Munsell โดยให้เรียงฝาครอบสีที่คล้ายกันต่อเนื่องกัน เพื่อคัดกรองระดับความบกพร่องในการมองเห็นสีตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงมาก     วิธีทดสอบตาบอดสีด้วยตัวเอง แบบทดสอบ Ishihara ใช้งานอย่างไร? แบบทดสอบIshiharaเป็นวิธีตรวจตาบอดสีที่ได้รับความนิยม ประกอบด้วยภาพวงกลมที่มีจุดสีต่างๆ ซึ่งซ่อนตัวเลขหรือลวดลายไว้ภายใน ผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะมองเห็นตัวเลขผิดไปจากคนปกติหรือมองไม่เห็นเลย สามารถทดสอบเบื้องต้นได้ผ่านแบบทดสอบออนไลน์ แต่หากต้องการผลที่แม่นยำควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยตรง เมื่อไรที่ควรตรวจตาบอดสี? เมื่อไรควรตรวจตาบอดสี? เด็กที่มีปัญหาเรื่องการแยกสีตั้งแต่อายุยังน้อยควรเข้ารับการตรวจ รวมถึงผู้ที่ต้องการสอบเข้าวิชาชีพที่ต้องใช้การแยกสี เช่น นักบิน วิศวกร หรือช่างเทคนิค ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะตาบอดสี และผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือได้รับยาที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นสีก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน เลือกตรวจตาบอดสีที่ไหนดี? การเลือกสถานที่ตรวจตาบอดสีควรคำนึงถึงคุณภาพและความเชี่ยวชาญเป็นหลัก โดยควรเลือกศูนย์ตรวจตาที่มีจักษุแพทย์เฉพาะทางและอุปกรณ์ทันสมัยครบครัน โรงพยาบาลตาหรือคลินิกเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานจะสามารถวินิจฉัยภาวะตาบอดสีได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้คุณได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการดูแลสายตาต่อไป ตรวจตาบอดสีที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร แนะนำให้เข้ามาตรวจตาบอดสีได้ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยบุคลากรทางการแพทย์มากความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับดวงตา และจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป ตาบอดสีเป็นภาวะที่ส่งผลต่อการแยกแยะสี อาจมีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม โรคทางตา หรือปัจจัยอื่นๆ การตรวจวินิจฉัยทำได้ง่ายด้วยแบบทดสอบ Ishihara และวิธีอื่นๆ ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการควรเข้ารับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินแนวทางการดูแลที่เหมาะสม ศูนย์ตรวจตาที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือสามารถให้การวินิจฉัยและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันกับภาวะตาบอดสีได้อย่างมีคุณภาพ สำหรับคนที่อยากตรวจตาบอดสี แนะนำมาที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111