จอประสาทตาฉีกขาดหรือจอประสาทตาหลุดลอก ต้นตอของปัญหาตาพร่ามัว การมองเห็นผิดปกติ และอาจส่งผลให้เลือดออกในตา บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับจอประสาทตาฉีกขาดให้มากขึ้น ตั้งแต่นิยาม อาการ สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง ตลอดจนแนวทางการรักษาจอประสาทตาฉีกขาดอย่างเหมาะสม รวมถึงวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะจอประสาทตาฉีกขาดได้ในบทความนี้
|
จอประสาทตา หรือ จอตา (Retina) เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่มีลักษณะเป็นชั้นบางอยู่ในลูกตา ทำหน้าที่รับภาพและส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อประมวลผล โดยที่เนื้อเยื่อจะมีตัวกลางเรียกว่าวุ้นตา ซึ่งในคนที่มีอายุน้อยส่วนของวุ้นตาจะมีลักษณะขาวใสสีไข่ขาวดิบ
เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาจะสูญเสียการคงตัวและมีลักษณะเหลวขึ้น หากมีการขยับดวงตาแรงก็อาจเกิดการฉีกขาดและทำให้ ‘วุ้นตาเสีย’ และทำให้จอประสาทตาฉีกขาด ตามมาด้วยปัญหาการมองเห็นที่ผิดปกติ ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาวะจอประสาทตาฉีกขาดไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยเรื่องอายุเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดขึ้นได้จากอีกหลายสาเหตุเช่นกัน
เมื่อมีภาวะอาการจอประสาทตาฉีกขาด มักจะส่งผลต่อดวงตาและส่งผลกับการมองเห็น โดยมีลักษณะอาการที่สังเกตได้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้
มีอาการตาพร่ามัว
มีตะกอนสีดำในดวงตา
มีจุดดำหรือเส้นสีดำขวางการมองเห็น
มีอาการมองเห็นภาพไฟกะพริบหรือฟ้าแล่บ
มีอาการเลือดออกในดวงตา
อย่างที่รู้กันไปแล้วว่าภาวะจอประสาทตาฉีกขาดมีสาเหตุจากปัญหาวุ้นตาสูญเสียการคงตัวและทำให้จอตาฉีกขาดหากขยับดวงตาแรง ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดจอประสาทตาฉีกขาดร่วมด้วย ดังนี้
มีภาวะสายตาสั้นมาก ๆ
คนในครอบครัวมีประวัติจอประสาทตาลอก
เคยมีประวัติผ่าตัดลูกตา
ปัจจัยด้านสุขภาพ อย่างโรคเบาหวาน อักเสบติดเชื้อในลูกตา เนื้องอกบริเวณลูกตา มะเร็งในลูกตา หรือโรคจอประสาทตาหลุดลอก
เกิดอุบัติเหตุกระทบกับดวงตาอย่างรุนแรง
ภาวะจอประสาทตาฉีกขาดเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทำให้ภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนปกติ ได้แก่ กลุ่มคนที่มีปัญหาสายตาสั้น กลุ่มคนที่เคยเข้ารับการผ่าตัดดวงตา กลุ่มคนที่เคยมีประวัติเป็นโรคจอประสาทตาลอก หรือคนที่มีคนในครอบครัวพบภาวะโรคจอประสาทตาฉีกขาด
เนื่องจากภาวะจอประสาทตาฉีกขาด เป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากการสังเกตภายนอกและสังเกตอาการได้ยาก เพราะมีอาการคล้ายกับโรคตาอื่นๆ จักษุแพทย์จึงต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะในการตรวจจอประสาทตาฉีกขาด ได้แก่ เครื่องมือตรวจจอประสาทตา Ophthalmoscope ที่มีแสงสว่างและกำลังขยายสูงในการตรวจหรือใช้รวมกับเครื่องมือชนิดพิเศษอื่น ๆ เช่น กล้องจุลทรรศน์ (Slit Lamp) ประกอบกับการใช้คอนแท็กต์เลนส์พิเศษ เครื่องตรวจตาความถี่สูง (Ultrasound) หรือการถ่ายภาพอัลตราซาวนด์กรณีที่มีปัญหาเลือดออกในตา
กรณีที่มีจอประสาทตาฉีกขาดอาการที่ไม่รุนแรง ม่านตายังไม่เกิดรู หรือการฉีกขาด สามารถรักษาอาการจอประสาทตาฉีกโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ดังนี้
การฉายแสงเลเซอร์หรือ Photocoagulation หรือ Laser surgery เป็นการรักษาโดยการยิงเลเซอร์ไปยังรอยขาดของจอประสาทตา ซึ่งข้อดีของการรักษาด้วยแสงเลเซอร์คือ มีความเสี่ยงน้อยเพราะไม่ใช่วิธีการผ่าตัด ผู้เข้ารับการรักษาไม่จำไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เดินทางกลับบ้านได้ทันทีหลังรักษาเสร็จ
การใช้ความเย็นจี้หรือ Cryopexy เป็นการรักษาด้วยการใช้ความเย็นจี้ไปยังบริเวณที่ฉีกขาดเช่นเดียวกับการฉายแสงเลเซอร์
การฉีดแก๊สหรือ Pneumatic Retinopexy เป็นการรักษาด้วยการฉีกแก๊สหรืออากาศเข้าสู่ดวงตา เพื่อหยุดของเหลวไม่ให้ไหลเข้าไปในช่องว่างหลังจากประสาทตาทำร่วมกับการรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์หรือการจี้ด้วยความเย็น และทำในผู้ป่วยจอประสาทตาฉีกขาดบางราย ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น
สำหรับการรักษาจอประสาทตาฉีกขาดด้วยการผ่าตัดเป็นการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ม่านตาเกิดการฉีกขาด โดยปัจจุบันการรักษาด้วยการผ่าตัดมีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่
การผ่าตัดจอประสาทตาหรือ Scleral Buckling เป็นการผ่าตัดเพื่อดันให้ผนังดวงตากลับมาติดกับจอประสาทตา โดยใช้วัสดุมาหนุนที่รอบนอกของดวงตา แต่ในการผ่าตัดแพทย์อาจทำร่วมกับการฉายเลเซอร์หรือใช้ความเย็นเพื่อปิดรอยฉีกขาด
การผ่าตัดโดยการส่องกล้องผ่าตัดวุ้นตาและจอประสาทตาหรือ Aitrectomy Machine เป็นการผ่าตัดรักษาจอประสาทตาฉีกขาดด้วยการใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในตาดำหลังจากได้รับยาสลบ ซึ่งจุดเด่นของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ เครื่องมือที่ใช้มีขนาดเล็ก จึงไม่ต้องเย็บแผลให้เกิดการระคายเคือง อีกทั้งยังไม่ต้องพักฟื้นอีกด้วย
เนื่องด้วยจอประสาทตาฉีกขาดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น จึงทำให้หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงควรป้องกันและลดความเสี่ยงด้วยการสวมแว่นตานิรภัยหรืออุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่อยู่ในสถานที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา นอกจากนั้นควรตรวจสุขภาพดวงตาเพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าปัญหาจอประสาทตาฉีกขาดให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่อาการจะมีความรุนแรงและกระทบกับการมองเห็น
หากมีประสาทตาฉีกขาด แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้
โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย
พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง
จอประสาทตาฉีกขาดเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัญหาสายตาสั้น โรคประจำตัว โรคตา และการประสบอุบัติเหตุ ด้วยเหตุนี้การป้องกันภาวะจอประสาทตาฉีกขาดที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำและหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากมีความผิดปกติให้รีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
มาที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalที่นี่นอกจากจะมีจักษุแพทย์และทีมงานรักษาที่เชี่ยวชาญด้านโรคตาโดยเฉพาะแล้ว ยังมาพร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ครบวงจร มั่นใจได้ในประสิทธิภาพการรักษาดวงตาของคุณ