ตากุ้งยิงอาการเริ่มต้นคือการพบตุ่มหนองหรือมีอาการบวมคันบริเวณเปลือกตา ตากุ้งยิงพบได้ง่ายและหายเองได้ แต่อาการตากุ้งยิงในบางคนอาจเกิดความเจ็บปวดหรือคันที่รุนแรงกว่าปกติ ในกรณีเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและให้ความดูแลเพิ่มเติม บทความนี้จะพาไปรู้จักกับอาการตากุ้งยิงและวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมหากพบตากุ้งยิงไปจนถึงวิธีรักษาตากุ้งยิงเพื่อลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น
ตากุ้งยิงเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบริเวณเปลือกตา มีลักษณะเป็นตุ่มฝีหรือหนอง มักเกิดขึ้นบริเวณเปลือกตาที่มีผิวบอบบางและถูกสัมผัสด้วยมือที่ไม่สะอาดหรือช่วงที่ภูมิคุ้มกันตกและร่างกายอ่อนแอ
โดยวิธีรักษาตากุ้งยิงอาจทำได้ด้วยตนเองคือระบายหนองในตุ่มเหล่านั้นออก แต่หากมีความรุนแรงมากหรือเป็นอาการตากุ้งยิงไม่มีหัวจะก่อให้เกิดความระคายเคืองและติดเชื้อได้
ตากุ้งยิงยังมี 2 ประเภทที่จำแนกจากสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งจะส่งผลต่อการวินิจฉัยและแนวทางในการรักษาด้วย
ตากุ้งยิงแบบติดเชื้อ (Hordeolum) เกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus ที่บริเวณต่อมไขมันและรูขุมขนบริเวณดวงตาจนบวมแดงและเจ็บปวด การรักษาทำได้ควบคู่กับการรับยาจากแพทย์ร่วมด้วยเพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อซ้ำ โดยการติดเชื้อนี้จำแนกออกได้ ดังนี้
ตากุ้งยิงแบบไม่ติดเชื้อ (Chalazion) มีสาเหตุมาจากฝุ่นผงที่อุดตามรูขุมขนและทำให้ไม่สามารถระบายไขมันออกมาได้จนเกิดเป็นตุ่มหนองแต่มักจะไม่เจ็บปวด สามารถระบายหนองหรือไขมันอุดตันออกได้เองแต่ต้องใส่ใจความสะอาดเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่นำไปสู่การติดเชื้อและกลายเป็นตากุ้งยิงชนิดติดเชื้อในอนาคต
ตากุ้งยิงอาการเริ่มต้นจะมีลักษณะคล้ายสิว แต่หลายคนอาจมีไข้ร่วมด้วยหากมีความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยอาการของตากุ้งยิงมีดังนี้
ตากุ้งยิงอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมไขมันหรือรูขุมขนบริเวณเปลือกตา เช่น
ตากุ้งยิงสามารถหายเองได้ โดยตุ่มหนองอาจแตกและยุบเองในระยะเวลา 3 - 4 วัน ผู้ที่มีอาการตากุ้งยิงอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเพิ่มที่บริเวณดวงตาเพื่อช่วยระบายหนองและไขมันที่อุดตันออก อย่างไรก็ตาม หากมีการระบายหนองและไขมันออก จะต้องให้ความสำคัญกับความสะอาดเพื่อป้องกันการกลับมาติดเชื้อซ้ำ และหากมีการระบายหนองออกไม่หมด ตุ่มไม่ยุบตัวลงและเกิดหนองคั่งค้าง อาจเกิดอาการที่ตุ่มหนองแข็งเป็นไต อาการติดเชื้ออาจขยายวงกว้างและลุกลามไปยังบริเวณแก้มเพิ่มได้ โดยจะทำให้มีอาการเจ็บปวดมากขึ้นและติดเชื้อรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการและทำการรักษา
การวินิจฉัยการรักษาตากุ้งยิงโดยแพทย์นั้น เนื่องจากผู้ป่วยตากุ้งยิงอาจมีอาการติดเชื้อในวงกว้างหรือมีความเจ็บปวดมาก บางคนอาจเกิดอาการตาพร่ามัว มองไม่ชัด หรือตากุ้งยิงบวมมากจนหนังตาปิด แพทย์จะรักษาด้วยยาหยอดหรือยาป้าย และอาจใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยหากผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมาก หรือวินิจฉัยตำแหน่งของตากุ้งยิงภายในและภายนอกเพิ่มเติม ร่วมกับการสังเกตการติดเชื้อหรืออุดตัน
แพทย์จะทำการเจาะตุ่มหนองและขูดเอาหนองที่ตกค้างออกเพื่อระบายส่วนที่อุดตันให้หมดและไม่เกิดอาการซ้ำ โดยขั้นตอนนี้ควรอยู่ในการปฏิบัติงานโดยจักษุแพทย์เท่านั้น เนื่องจากหากความสะอาดไม่เพียงพออาจเกิดการติดเชื้อซ้ำได้ จากนั้นอาจมีการใช้ยาหยอด ยาป้าย หรือยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมตามการวินิจฉัย
ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาตากุ้งยิงหรือก่อนการเจาะตากุ้งยิง ควรมีการเตรียมตัว ดังนี้
เมื่อเข้ารับการรักษาตากุ้งยิงแล้ว เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ทำให้เกิดการอุดตันหรือติดเชื้อซ้ำ ควรดูแลตนเองหลังการเจาะตากุ้งยิง ดังนี้
วิธีปฏิบัติตนเบื้องต้นที่จะป้องกันไม่ให้เกิดตากุ้งยิงหรือเพื่อไม่ให้เป็นตากุ้งยิงซ้ำ ทำได้ดังนี้
ตากุ้งยิง อาการทั่วไปที่อาจพบได้ไม่ยากแต่สามารถสร้างความรุนแรงได้หากรักษาไม่ถูกวิธีหรือปล่อยไว้จนกระจายเป็นวงกว้าง หากพบอาการตากุ้งยิงที่รุนแรงหรือมีอาการอื่นร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนสายเกินแก้ แนะนำให้เข้ามารักษาที่ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้วยจุดเด่นดังนี้
ตากุ้งยิง คือการเกิดตุ่มหนองบริเวณเปลือกตาหรือรอบดวงตา เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อหรือการอุดตันของต่อมไขมันและรูขุมขน ตากุ้งยิงเป็นอาการที่หายเองได้เมื่อตุ่มหนองแตกเองและมีการยุบตัว แต่ในผู้ป่วยตากุ้งยิงหลายคนอาจระบายหนองไม่หมดและเกิดตากุ้งยิงซ้ำได้ เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดี ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษา และควรดูแลตัวเองตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดตากุ้งยิงซ้ำหรือการเกิดตากุ้งยิงที่รุนแรงจนถึงขั้นรบกวนการมองเห็นและดวงตาพร่ามัว
รักษาตากุ้งยิงได้ที่ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่มีจักษุแพทย์ที่มากไปด้วยประสบการณ์ มีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและการบริการที่เอาใจใส่ตลอดการรักษา