မျက်လုံး ကျန်းမာရေး

Sort

วิธีรักษาต้อหิน พร้อมแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดต้อหิน

ต้อหินมักเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม โรคเบาหวาน และความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา ซึ่งล้วนส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น จนไปกดทับเส้นประสาทตา ส่งผลให้เส้นประสาทตาเสื่อมสภาพและถูกทำลายอย่างช้าๆ และเกิดเป็นต้อหินในท้ายที่สุด วิธีรักษาต้อหินรวมทั้งการประคองอาการทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การใช้ยาหยอดตา การจ่ายยาเพื่อรับประทาน การทำเลเซอร์ ไปจนถึงการผ่าตัดระบายน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา ป้องกันต้อหินได้ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพดวงตา และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เลือกกินอาหารบำรุงดวงตา ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหมอนสูง และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อต้องออกแดด แนะนำมารักษาต้อหินได้ที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย ให้คำแนะนำ ตลอดจนการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ   ต้อหิน เป็นภัยเงียบที่สังเกตอาการได้ยาก ผู้ป่วยบางคนอาจรู้ตัวเมื่อสายไป ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้เลยทีเดียว! มาทำความรู้จักกับโรคต้อหินให้มากขึ้น หาสาเหตุและอาการ กลุ่มเสี่ยงเป็นต้อหินที่ควรรู้ ตลอดจากการวินิจฉัยและวิธีการรักษาต้อหิน มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่     รู้จักกับต้อหิน มีสาเหตุและอาการอย่างไร ต้อหินคือหนึ่งในกลุ่มโรคต้อโดยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเส้นประสาทตาที่เป็นตัวนำกระแสการมองเห็นสู่สมอง หากเส้นประสาทตาถูกทำลายก็จะสูญเสียลานสายตา ส่งผลให้เส้นประสาทตาเสื่อมสภาพและถูกทำลายอย่างช้าๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร และไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ ต้อหินมักเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม โรคเบาหวาน และความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา ปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นตอที่ทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นจนกดทับเส้นประสาทตาจนเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา อาจทำให้ความดันตาสูงขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดต้อหินได้เช่นกัน อาการของต้อหินในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเพียงแค่ขอบภาพมัวลง หรือมีจุดบอดเล็กๆ ในสายตา แต่เมื่อปล่อยไว้นานขึ้นโรคก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น อาจมีอาการเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นเป็นแสงวาบได้ ดังนั้น หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตา ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาต้อหิน     กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นต้อหินมากที่สุด แม้ว่าต้อหินเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ แต่ก็มีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นต้อหินมากกว่ากลุ่มคนทั่วไปอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรตรวจสายตาเป็นประจำ หรือ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อสังเกตอาการต้อหินอย่างใกล้ชิด และหาวิธีรักษาต้อหินได้อย่างทันท่วงที   กลุ่มผู้สูงอายุเพราะโครงสร้างของดวงตาจะเสื่อมสภาพตามวัย กลุ่มผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินเพราะพันธุกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ กลุ่มผู้ที่มีความดันตาสูงความดันภายในลูกตาที่สูงขึ้นเรื้อรังจะกดทับเส้นประสาทตา ทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย กลุ่มผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมากรูปร่างของลูกตาที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการระบายน้ำในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นได้ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะโรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดฝอยที่เลี้ยงเส้นประสาทตาได้ กลุ่มผู้ที่เคยผ่าตัดตาเพราะการผ่าตัดบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน กลุ่มผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานานเช่น สเตียรอยด์ที่อาจเพิ่มความดันในลูกตา กลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น มีขั้วตาใหญ่ เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา หรือมีโรคทางระบบอื่นๆ อย่างโรคไทรอยด์เป็นพิษ ระยะเวลาของการเกิดต้อหิน ระยะเวลาในการเกิดต้อหินตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรใช้เวลาประมาณ 5 - 10 ปี โดยเฉพาะโรคต้อหินที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพตามวัย ทั้งนี้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยตรวจพบต้อหินในระยะไหนด้วย หากพบไวก็จะหาวิธีรักษาต้อหินได้ไว แต่หากตรวจพบต้อหินในระยะท้าย อาจหาวิธีการรักษาต้อหินได้ยาก หรืออาจสูญเสียการมองเห็นภายในไม่กี่เดือน     วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาต้อหิน วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาวิธีรักษาต้อหิน แพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติ จากนั้นจะตรวจสายตาโดยละเอียด ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้   การวัดสายตา การวัดความดันในลูกตา การตรวจขั้วประสาทตาและจอตา การตรวจดูลานตา การวัดความหนาของกระจกตา การตรวจมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา     วิธีรักษาต้อหินหรือกลับมาใกล้เคียงปกติ วิธีการรักษาต้อหินหรือประคองอาการไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น และคงการมองเห็นเอาไว้ให้กลับมาใกล้เคียงปกติมีอยู่หลายวิธี โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาการรักษาแต่ละวิธีจากสาเหตุ อาการ และความรุนแรงของอาการ ดังนี้ การรักษาต้อหินโดยใช้ยาหยอดตา โดยทั่วไปแล้ว การรักษาต้อหินมักจะใช้วิธีการจ่ายยาหยอดตาที่มีส่วนช่วยลดความดันภายในลูกตา เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทในดวงตา ตัวยาจะเข้าไปลดการสร้างน้ำในดวงตา หรืออาจช่วยเพิ่มอัตราการไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา โดยมีกลุ่มยาหยอดตาที่แพทย์พิจารณาใช้ ดังนี้   ยาต้านเบต้า (Beta-blockers)ลดการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันภายในลูกตาลดลง ยาคาร์บอนิกแอนไฮเดรสอินฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors)ยับยั้งการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา โปรสตาแกลนดินแอนะล็อก (Prostaglandin Analogs)เพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยงออกจากลูกตา อะดรีนเนอร์จิกอะโกนิสต์ (Adrenergic Agonists)ทำให้รูม่านตาหดตัวและช่วยเพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยง พาราซิมพาโทมิเมติก (Parasympathomimetics)ทำให้รูม่านตาหดตัวและช่วยเพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยง     การรักษาต้อหินโดยการรับประทานยา หากการรักษาต้อหินโดยยาหยอดตาไม่ได้ผล จักษุแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาชนิดรับประทานให้ผู้ป่วย โดยใช้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อิฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors) ที่มีทั้งชนิดเม็ดและยาหยอดตา มีส่วนช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตา ทำให้ความดันภายในตาลดลง การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายน้ำในตาออก ลดความดันภายในดวงตา ซึ่งการใช้เลเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน ดังนี้   ใช้เลเซอร์กับต้อหินมุมปิดโดยจักษุแพทย์จะยิงเลเซอร์เข้าไปรักษาต้อหิน โดยเจาะรูเล็กๆ บนม่านตา เพื่อสร้างช่องทางให้ของเหลวในลูกตาไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ใช้เลเซอร์กับต้อหินมุมเปิดโดยจักษุแพทย์จะยิงเลเซอร์พลังงานต่ำเข้าไปรักษาต้อหิน โดยยิงไปที่บริเวณมุมระบายน้ำของลูกตา เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำทำงานได้ดีขึ้น     การรักษาต้อหินด้วยการผ่าตัด จักษุแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดต้อหินเพื่อสร้างช่องทางระบายน้ำภายในลูกตาที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร เพื่อให้ความดันในลูกตาต่ำลง ลดโอกาสกดทับเส้นประสาทตาที่เป็นต้นตอของต้อหิน โดยจักษุแพทย์จะมีแนวทางการผ่าตัดรักษาต้อหิน ดังนี้ 1. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Trabeculectomy ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Trabeculectomy เป็นวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้มากที่สุด โดยการผ่าตัดสร้างแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มุมระบายน้ำของลูกตา เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้ง่ายขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดความดันภายในลูกตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การรั่วของน้ำหล่อเลี้ยง การติดเชื้อ หรือการเกิดต้อกระจก 2. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Aqueous Shunt Surgery ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Aqueous Shunt Surgery เป็นการผ่าตัดโดยการใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กเข้าไปในลูกตา เพื่อเชื่อมต่อกับช่องว่างใต้เยื่อบุตาขาว ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้โดยตรง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันตาสูงมาก หรือผู้ป่วยที่เคยผ่าตัด Trabeculectomy แล้วไม่ประสบความสำเร็จ 3. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Xen Implantation ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธีXen Implantationเป็นการผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กและยืดหยุ่นเข้าไปในดวงตา เพื่อสร้างทางระบายใหม่สำหรับของเหลวภายในลูกตา จากนั้นของเหลวส่วนเกินก็จะไหลออกจากตัวท่อไปยังใต้เยื่อบุตาขาว ส่งผลให้ความดันตาลดลง     ขั้นตอนการผ่าตัดรักษาต้อหิน การผ่าตัดรักษาต้อหินมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้   วิสัญญีแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณดวงตา หรืออาจให้ยาสลบในบางกรณี จักษุแพทย์จะผ่าตัดเพื่อสร้างช่องทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา โดยวิธีการผ่าตัดจะแตกต่างกันไปตามชนิดของการผ่าตัด หลังจากทำการสร้างช่องทางระบายน้ำแล้ว จักษุแพทย์จะทำการเย็บปิดแผล     ผ่าตัดต้อหินเตรียมตัวอย่างไรและพักฟื้นกี่วัน? ผ่าตัดต้อหินพักฟื้นกี่วัน? โดยทั่วไปแล้วระยะเวลาในการพักฟื้นหลังการผ่าตัดต้อหินจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อาจใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ในการพักฟื้นที่บ้าน และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ในการกลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ   และเพื่อให้วิธีการผ่าตัดรักษาต้อหินหรือประคองอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คนไข้ควรดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี โดยมีแนวทางการดูแลตัวเองดังนี้ การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อหิน แจ้งประวัติสุขภาพทั้งหมดให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่กำลังรับประทาน และอาการแพ้ ตรวจสุขภาพ โดยแพทย์จะทำการตรวจตาและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อประเมินสภาพร่างกายก่อนการผ่าตัด หยุดยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาแอสไพริน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัดตามเวลาที่แพทย์กำหนด หากต้องเข้าพักโรงพยาบาล ให้เตรียมเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น ควรมีญาติหรือเพื่อนมาคอยดูแลหลังการผ่าตัด การดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อหิน หยอดยาตามที่จักษุแพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการอักเสบ หลีกเลี่ยงการขยี้ตา หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการก้มหน้า เพราะการก้มหน้าอาจทำให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เช่น การออกกำลังกายหนัก การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ติดตามผลการผ่าตัดและตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น     แนวทางในการป้องกันต้อหิน อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าต้อหินมีอาการที่สังเกตเห็นได้ยาก บางรายอาจเสี่ยงสูญเสียการมองเห็นก่อนรู้ว่าเป็นต้อหินก็ได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันต้อหินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ โดยมีแนวทางดังนี้     ตรวจสายตาทุก 5 - 10 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ ซึ่งความถี่อาจขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละบุคคล ดังนี้   อายุต่ำกว่า 40 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 5 - 10 ปี อายุ 40 - 54 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 2 - 4 ปี อายุ 55 - 64 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 1 - 3 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 1 - 2 ปี     การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยลดความดันภายในดวงตาลงได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย รับประทานวิตามินบำรุงสายตา ควรเลือกกินอาหารที่มีวิตามินบำรุงสายตา เพื่อรักษาสุขภาพของดวงตาให้แข็งแรง โดยมีวิตามินที่แนะนำ เช่น วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินดี (Vitamin D) และวิตามินอี (Vitamin E) เป็นต้น     สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา หากจำเป็นต้องออกแดด หรือต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยๆ เป็นเวลานานๆ แนะนำให้สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา เช่น แว่นดำ หรือหมวกที่มีปีก เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของดวงตา และป้องกันการเสื่อมสภาพของดวงตาที่เป็นสาเหตุให้เกิดต้อหินได้ หนุนหมอนในระดับที่พอเหมาะ ควรนอนหนุนหมอนที่มีระดับความสูงประมาณ 20 องศา เพื่อลดความดันของลูกตาขณะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาต้อหินที่ศูนย์รักษาต้อหิน Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากเป็นต้อหิน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการได้ที่ศูนย์รักษาต้อหิน Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)จักษุแพทย์ของเรา มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการต้อหินทุกระยะ ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการักษาต้อหินโดยเฉพาะ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหิน ที่มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาต้อหินได้ แต่ผู้ป่วยสามารถรีบรักษาเพื่อประคองและบรรเทาอาการ ป้องกันการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาวได้ โดยควรตรวจสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกกินอาหารที่มีสารอาหารบำรุงสุขภาพดวงตา นอนหมอนที่มีระดับเหมาะสม และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทุกครั้งที่ต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เท่านี้ก็สามารถรักษาดวงตาให้สุขภาพดี ห่างไกลต้อหินได้แล้ว แนะนำมารักษาต้อหินได้ที่ศูนย์รักษาต้อหินBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย ให้คำปรึกษา ตลอดจนการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
Read More
Cataract Center
Retina Center
Laser Vision Lasik Center
Glaucoma Center
Cornea Center
Children's Eye Center
Oculoplastic
Neuroophthalmology

กระจกตาเป็นฝ้า : สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ

  กระจกตาเป็นฝ้า สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ ณ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ กระจกตาเปรียบเสมือนหน้าต่างบานแรกที่แสงจะผ่านเข้าสู่ดวงตา หาก "กระจกตา" เกิดขุ่นมัว การมองเห็นย่อมได้รับผลกระทบ "กระจกตาเป็นฝ้า" เป็นภาวะที่กระจกตาสูญเสียความใส ทำให้มองเห็นภาพมัว ไม่ชัดเจน หรือเห็นภาพซ้อน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของกระจกตาเป็นฝ้า กระจกตาเป็นฝ้าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ซึ่งอาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการบาดเจ็บที่กระจกตา แผลที่กระจกตา เกิดจากการบาดเจ็บ การระคายเคืองจากฝุ่นละออง สารเคมี หรือการติดเชื้อ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกระจกตาโค้งผิดปกติ (Keratoconus) ทำให้กระจกตาบางและโป่งนูนผิดปกติ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตา เช่น โรคตาอักเสบ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์หยอดตาเป็นเวลานาน การสัมผัสสารเคมี เช่น สารฟอกขาว กรด ด่าง การขาดวิตามินเอ อาการของกระจกตาเป็นฝ้า มองเห็นภาพมัว อาจเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขุ่นมัวของกระจกตา เห็นภาพซ้อน ตาแดง ปวดตา เคืองตา น้ำตาไหล แพ้แสง วิธีการรักษากระจกตาเป็นฝ้า การรักษากระจกตาเป็นฝ้าขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง โดยทั่วไปมีวิธีการรักษาดังนี้ การใช้ยา เช่น ยาหยอดตา ยาป้ายตา เพื่อลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อ หรือรักษาตามสาเหตุ การผ่าตัด การปลูกถ่ายกระจกตา : ในกรณีที่กระจกตาเสียหายมาก การขัดกระจกตาด้วยเลเซอร์ : เช่น PTK การรักษาอื่นๆ เช่น การประคบอุ่น การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษากระจกตาเป็นฝ้าอย่างครบวงจร ด้วย ทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตา : ประสบการณ์สูง เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เทคโนโลยีที่ทันสมัย : เครื่องมือที่ได้มาตรฐานสากล ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาอย่างแม่นยำ ปลอดภัย เครื่องตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Corneal Topography) เครื่องตรวจวัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry) เลเซอร์ Excimer และ เลเซอร์ Femtosecond การดูแลอย่างครบวงจร : ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามผล จนกระทั่งหายเป็นปกติ บริการที่สะดวกสบาย : บรรยากาศเป็นกันเอง ใส่ใจทุกขั้นตอน คืนความใสการมองเห็นที่คมชัดให้กับดวงตาที่ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 02-511-2111  
Glaucoma Center

Advanced Retinal Eye Care in Thailand | Bangkok Eye Hospital

เจาะลึกเทคโนโลยีในการตรวจจอประสาทตา เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาโรคตาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การตรวจจอประสาทตา" ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพดวงตา ศูนย์รักษาจอประสาทตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมมอบการดูแลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ 1. Optical Coherence Tomography (OCT) OCT เปรียบเสมือนการทำ "อัลตราซาวด์" แต่ใช้แสงแทนคลื่นเสียง เพื่อสร้างภาพตัดขวางของจอประสาทตาแบบ 3 มิติ เผยให้เห็นรายละเอียดของชั้นต่างๆ ในจอประสาทตาได้อย่างชัดเจน ข้อดีของ OCT •         ตรวจพบความผิดปกติได้อย่างละเอียด: แม้ในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่แสดงอาการ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม, โรคเบาหวานขึ้นตา, ต้อหิน, จอประสาทตาหลุดลอก, รูรั่วที่จอประสาทตา •         ไม่ต้องฉีดสี : จึงปลอดภัย แม้แต่กับผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ หรือหญิงตั้งครรภ์ •         ใช้เวลาตรวจไม่นาน : เพียงไม่กี่นาที •         ได้ภาพที่มีความคมชัดสูง : ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ 2. Fundus Photography Fundus Photography คือการถ่ายภาพจอประสาทตาด้วยกล้องความละเอียดสูง บันทึกภาพสีของจอประสาทตา เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงและประเมินผลการรักษา ข้อดีของ Fundus Photography •         เก็บภาพจอประสาทตา ไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบกับผลการตรวจในครั้งต่อไป •         ติดตามอาการของโรค : เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม •         ประเมินผลการรักษา : และปรับแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม 3. Fluorescein Angiography Fluorescein Angiography คือการฉีดสีชนิดพิเศษเข้าเส้นเลือด แล้วถ่ายภาพจอประสาทตา เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของหลอดเลือด   ข้อดีของ Fluorescein Angiography วินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดในจอประสาทตา เช่น เบาหวานขึ้นตา, จอประสาทตาอุดตัน, เนื้องอกในตา ศูนย์รักษาจอประสาทตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมดูแลสุขภาพดวงตาของคุณ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมจักษุแพทย์เฉพาะทาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-511-2111
Cataract Center
Retina Center
Glaucoma Center
Cornea Center
Children's Eye Center
Oculoplastic
Neuroophthalmology

รายชื่อบริษัทประกันที่สามารถใช้ได้ที่ รพ.จักษุกรุงเทพ

  บริษัทประกันภัย บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด มหาชน บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลูม่าแคร์ จำกัด บริษัท บลูเวนเจอร์ ทีพีเอ จำกัด บริษัท เอดับเบิลยู พี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด Asian Assistance (Thailand) Co., Ltd. APRIL Assistance (Thailand) Co., Ltd. International SOS (Thailand) Co., Ltd. Assist International Services Co., Ltd.
Glaucoma Center

ภาวะความดันสูงในลูกตา: ภัยเงียบที่อาจนำไปสู่โรคต้อหิน

ภาวะความดันสูงในลูกตา: ภัยเงียบที่อาจนำไปสู่โรคต้อหิน หลายท่านอาจคุ้นเคยกับโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ทราบหรือไม่ว่า ดวงตาของเราก็มีความดันเช่นกัน และภาวะความดันสูงในลูกตาที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่โรคต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ความดันในลูกตาสูงเกิดจากอะไร? ภายในลูกตาของเรามีของเหลวใสที่เรียกว่า “Aqueous humor” ซึ่งทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเลนส์แก้วตาและกระจกตา ของเหลวนี้มีการสร้างและระบายออกอย่างสมดุลอยู่เสมอ แต่หากระบบการระบายมีปัญหา ทำให้ของเหลวคั่งค้างภายในลูกตา ก็จะทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น ความดันในลูกตาสูง ส่งผลอย่างไรต่อดวงตา? ความดันในลูกตาสูงเป็นเวลานาน จะไปกดทับเส้นประสาทตา ทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างช้าๆ ส่งผลต่อลานสายตาโดยเริ่มจากการมองเห็นภาพด้านข้างหายไป และค่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็น ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่ามีความดันในลูกตาสูง เนื่องจากในระยะแรกแทบจะไม่มีอาการใดๆ จึงมักมาพบแพทย์เมื่อโรคอยู่ในระยะท้ายๆ แล้ว ใครบ้างที่มีความเสี่ยง? ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคต้อหิน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา ผู้ที่ใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน การป้องกันและรักษา การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจวัดความดันในลูกตา เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หากตรวจพบความดันในลูกตาสูง แพทย์จะให้การรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาหยอดตา ยาเม็ด การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือการผ่าตัด เพื่อควบคุมความดันในลูกตา ป้องกันไม่ให้เส้นประสาทตาถูกทำลาย และลดความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต้อหิน โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมดูแลทุกปัญหาสุขภาพตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต้อหิน พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เราพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต้อหินอย่างครบวงจร เพื่อปกป้องดวงตาของคุณจากภัยเงียบนี้   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ โทร. 02-511-2111
Cataract Center
Retina Center
Laser Vision Lasik Center
Glaucoma Center
Cornea Center
Children's Eye Center
Oculoplastic
Neuroophthalmology

Understanding Pterygium: Causes, Symptoms, and Treatment Options

  How people notice and see Pterygium without knowing it is Pterygium   Have you ever looked in the mirror and noticed a small, fleshy growth on the white part of your eye, usually near the nose? It might appear slightly red, or you might feel like something’s stuck in your eye. This growth can slowly creep onto the clear, center part of your eye, known as the cornea, causing discomfort, dryness, or even blurred vision. Many people mistake these signs for simple irritation, dryness, or tired eyes, unaware that they might be dealing with a condition called pterygium.   1. What is Pterygium? Pterygium (pronounced tuh-RIJ-ee-um) is a common eye condition that looks like a triangular or wedge-shaped growth on the eye’s surface. It usually starts small but can slowly expand toward the cornea. Though it might look concerning, it’s not cancerous. For some, it’s just a minor cosmetic issue, but for others, it can cause vision problems or significant discomfort   2. Why does it happen? Pterygium happens mainly due to long-term exposure to UV light from the sun, which is why it’s often called "surfer’s eye." But you don’t have to be a surfer to get it - anyone who spends a lot of time outdoors, especially without proper eye protection, is at risk. Dust, wind, and dry environments can also irritate the eye and contribute to its development. Genetics can play a part, too, as pterygium is more common in certain families. Pinguecula and pterygium are often mistaken for each other. Pinguecula is a yellowish bump on the conjunctiva, while pterygium extends onto the cornea and can affect vision. Proper diagnosis is key.   3. What to do when you notice it? If you spot a growth on your eye or feel persistent discomfort, dryness, or redness, don’t ignore it. Make an appointment with an eye specialist, especially if it’s growing or starting to affect your vision. The doctor can diagnose pterygium with a simple eye exam and discuss whether it needs to be treated right away or monitored over time.   4. Treatment Options Observation and Protection: In mild cases, protecting your eyes from the sun with sunglasses and using lubricating eye drops can help keep symptoms in check. Medication: If the pterygium becomes red and inflamed, doctors may prescribe anti-inflammatory eye drops to reduce irritation.  Surgery: When pterygium grows too large, affects vision, or causes significant discomfort, surgery to remove the growth may be recommended. This involves removing the tissue and often placing a graft (a small piece of your own conjunctiva) to cover the area and reduce the chance of it coming back.   5. Advice from Bangkok Eye Hospital and Next Steps At Bangkok Eye Hospital, our experienced ophthalmologists often see patients who are unsure what’s causing their eye discomfort or unusual growths. It’s essential to address these concerns early to avoid complications. If surgery is necessary, one of the best innovations available today is using fibrin glue during pterygium surgery, which offers many benefits over traditional stitches.     To learn more about how fibrin glue can improve your recovery and comfort, check out our next article on this advanced treatment here. If you’re experiencing symptoms or want a consultation, don’t hesitate to reach out to Bangkok Eye Hospital - our team is here to guide you through every step of your eye care journey.
Cataract Center
Retina Center
Glaucoma Center
Cornea Center
Children's Eye Center
Oculoplastic
Neuroophthalmology

Monkeypox and Eye Health: What You Need to Know

Monkeypox and Eye Health: What You Need to Know Monkeypox, a rare viral disease similar to smallpox, has been making headlines due to recent outbreaks in various parts of the world. While it primarily affects the skin, the virus can also have serious implications for eye health. Understanding how monkeypox can impact your eyes and knowing the preventive measures can help protect your vision if you are at risk of exposure. What is Monkeypox? Monkeypox is caused by the monkeypox virus, which belongs to the Orthopoxvirus genus. The disease is characterized by fever, headache, muscle aches, and a distinctive rash that progresses from macules to papules, vesicles, and eventually scabs. The rash often begins on the face and spreads to other parts of the body, including the eyes. Fun Fact: Despite its name, monkeypox doesn’t actually come from monkeys. The virus was first identified in laboratory monkeys in 1958, which led to its name. However, the primary carriers of the virus in the wild are rodents, such as rats and squirrels, not monkeys. How Can Monkeypox Affect the Eyes? Monkeypox can lead to several eye-related complications, the most concerning of which is monkeypox keratitis. This condition occurs when the virus infects the cornea, the clear front part of the eye. Symptoms of monkeypox keratitis include redness, pain, blurred vision, and sensitivity to light. If not treated promptly, keratitis can cause scarring of the cornea, leading to permanent vision loss. Other potential eye complications include conjunctivitis (inflammation of the conjunctiva, the membrane covering the white part of the eye) and blepharitis (inflammation of the eyelids). These conditions can cause discomfort and, in severe cases, may also lead to vision impairment.Prevention: Protecting Your Eyes from Monkeypox Preventing monkeypox infection, including its effects on the eyes, involves several key strategies: Avoid Contact with Infected Individuals: Monkeypox spreads through close contact with an infected person’s skin lesions, body fluids, or respiratory droplets. If you are in an area with known monkeypox cases, avoid close contact with infected individuals and wear protective gear if necessary. Practice Good Hygiene: Regular handwashing with soap and water, avoiding touching your face (especially your eyes), and using alcohol-based hand sanitizers can reduce the risk of infection. Vaccination: The smallpox vaccine has been shown to be effective against monkeypox. If you are at high risk (e.g., healthcare workers, people in affected areas), getting vaccinated may provide protection. Protect Your Eyes: If you are caring for someone with monkeypox or are in an area with an outbreak, consider wearing protective eyewear to reduce the risk of the virus coming into contact with your eyes.   Solutions: What to Do If Your Eyes Are Affected If you suspect that monkeypox has affected your eyes, seek medical attention immediately. Early intervention is crucial to prevent serious complications. Treatment may include: Antiviral Medications: While there is no specific treatment for monkeypox, antiviral drugs like tecovirimat (Tpoxx) may be used under certain conditions to reduce the severity of symptoms. Topical Treatments: In cases of keratitis or conjunctivitis, antiviral eye drops or ointments may be prescribed to control the infection and prevent complications. Supportive Care: Managing symptoms like pain and inflammation through over-the-counter medications or prescribed treatments can help alleviate discomfort.   Conclusion   Monkeypox is more than just a skin disease; its effects can extend to the eyes, posing a risk to vision. By understanding how monkeypox can affect the eyes and taking preventive measures, you can protect your vision and overall health. If you experience any eye-related symptoms after exposure to monkeypox, seek medical care immediately to ensure the best possible outcome.Concerned about keratitis or other eye conditions? Don’t wait—schedule a comprehensive eye exam at [Hospital Name] today. Early detection and treatment of keratitis can preserve your vision and keep your eyes healthy. Trust your vision to the experts, call: +66982255691.

ဆေးရုံတည်နေရာ

Glaucoma Center - Bangkok Eye Hospital

10/989 Soi Prasertmanukij 33 Nuanchan Buengkum District Bangkok 10230

ဆက်သွယ်ရန်

calling
ဆက်သွယ်ရန် : +66965426179