Back
วิธีรักษาต้อหิน พร้อมแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดต้อหิน
  • ต้อหินมักเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม โรคเบาหวาน และความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา ซึ่งล้วนส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น จนไปกดทับเส้นประสาทตา ส่งผลให้เส้นประสาทตาเสื่อมสภาพและถูกทำลายอย่างช้าๆ และเกิดเป็นต้อหินในท้ายที่สุด

  • วิธีรักษาต้อหินรวมทั้งการประคองอาการทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การใช้ยาหยอดตา การจ่ายยาเพื่อรับประทาน การทำเลเซอร์ ไปจนถึงการผ่าตัดระบายน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา

  • ป้องกันต้อหินได้ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพดวงตา และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เลือกกินอาหารบำรุงดวงตา ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหมอนสูง และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อต้องออกแดด

  • แนะนำมารักษาต้อหินได้ที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย ให้คำแนะนำ ตลอดจนการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ

 

ต้อหิน เป็นภัยเงียบที่สังเกตอาการได้ยาก ผู้ป่วยบางคนอาจรู้ตัวเมื่อสายไป ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้เลยทีเดียว! มาทำความรู้จักกับโรคต้อหินให้มากขึ้น หาสาเหตุและอาการ กลุ่มเสี่ยงเป็นต้อหินที่ควรรู้ ตลอดจากการวินิจฉัยและวิธีการรักษาต้อหิน มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่

 

รู้จักกับต้อหิน มีสาเหตุและอาการอย่างไร

 

รู้จักกับต้อหิน มีสาเหตุและอาการอย่างไร

ต้อหินคือหนึ่งในกลุ่มโรคต้อโดยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเส้นประสาทตาที่เป็นตัวนำกระแสการมองเห็นสู่สมอง หากเส้นประสาทตาถูกทำลายก็จะสูญเสียลานสายตา ส่งผลให้เส้นประสาทตาเสื่อมสภาพและถูกทำลายอย่างช้าๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร และไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้

ต้อหินมักเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม โรคเบาหวาน และความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา ปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นตอที่ทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นจนกดทับเส้นประสาทตาจนเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา อาจทำให้ความดันตาสูงขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดต้อหินได้เช่นกัน

อาการของต้อหินในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเพียงแค่ขอบภาพมัวลง หรือมีจุดบอดเล็กๆ ในสายตา แต่เมื่อปล่อยไว้นานขึ้นโรคก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น อาจมีอาการเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นเป็นแสงวาบได้ ดังนั้น หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตา ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาต้อหิน

 

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นต้อหินมากที่สุด

 

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นต้อหินมากที่สุด

แม้ว่าต้อหินเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ แต่ก็มีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นต้อหินมากกว่ากลุ่มคนทั่วไปอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรตรวจสายตาเป็นประจำ หรือ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อสังเกตอาการต้อหินอย่างใกล้ชิด และหาวิธีรักษาต้อหินได้อย่างทันท่วงที

 

  • กลุ่มผู้สูงอายุเพราะโครงสร้างของดวงตาจะเสื่อมสภาพตามวัย

  • กลุ่มผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินเพราะพันธุกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้

  • กลุ่มผู้ที่มีความดันตาสูงความดันภายในลูกตาที่สูงขึ้นเรื้อรังจะกดทับเส้นประสาทตา ทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย

  • กลุ่มผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมากรูปร่างของลูกตาที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการระบายน้ำในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นได้

  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะโรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดฝอยที่เลี้ยงเส้นประสาทตาได้

  • กลุ่มผู้ที่เคยผ่าตัดตาเพราะการผ่าตัดบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน

  • กลุ่มผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานานเช่น สเตียรอยด์ที่อาจเพิ่มความดันในลูกตา

  • กลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น มีขั้วตาใหญ่ เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา หรือมีโรคทางระบบอื่นๆ อย่างโรคไทรอยด์เป็นพิษ

ระยะเวลาของการเกิดต้อหิน

ระยะเวลาในการเกิดต้อหินตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรใช้เวลาประมาณ 5 - 10 ปี โดยเฉพาะโรคต้อหินที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพตามวัย ทั้งนี้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยตรวจพบต้อหินในระยะไหนด้วย หากพบไวก็จะหาวิธีรักษาต้อหินได้ไว แต่หากตรวจพบต้อหินในระยะท้าย อาจหาวิธีการรักษาต้อหินได้ยาก หรืออาจสูญเสียการมองเห็นภายในไม่กี่เดือน

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาต้อหิน

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาต้อหิน

วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาวิธีรักษาต้อหิน แพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติ จากนั้นจะตรวจสายตาโดยละเอียด ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้

 

  • การวัดสายตา

  • การวัดความดันในลูกตา

  • การตรวจขั้วประสาทตาและจอตา

  • การตรวจดูลานตา

  • การวัดความหนาของกระจกตา

  • การตรวจมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา

 

วิธีรักษาต้อหินหรือกลับมาใกล้เคียงปกติ

 

วิธีรักษาต้อหินหรือกลับมาใกล้เคียงปกติ

วิธีการรักษาต้อหินหรือประคองอาการไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น และคงการมองเห็นเอาไว้ให้กลับมาใกล้เคียงปกติมีอยู่หลายวิธี โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาการรักษาแต่ละวิธีจากสาเหตุ อาการ และความรุนแรงของอาการ ดังนี้

การรักษาต้อหินโดยใช้ยาหยอดตา

โดยทั่วไปแล้ว การรักษาต้อหินมักจะใช้วิธีการจ่ายยาหยอดตาที่มีส่วนช่วยลดความดันภายในลูกตา เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทในดวงตา ตัวยาจะเข้าไปลดการสร้างน้ำในดวงตา หรืออาจช่วยเพิ่มอัตราการไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา โดยมีกลุ่มยาหยอดตาที่แพทย์พิจารณาใช้ ดังนี้

 

  • ยาต้านเบต้า (Beta-blockers)ลดการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันภายในลูกตาลดลง

  • ยาคาร์บอนิกแอนไฮเดรสอินฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors)ยับยั้งการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา

  • โปรสตาแกลนดินแอนะล็อก (Prostaglandin Analogs)เพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยงออกจากลูกตา

  • อะดรีนเนอร์จิกอะโกนิสต์ (Adrenergic Agonists)ทำให้รูม่านตาหดตัวและช่วยเพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยง

  • พาราซิมพาโทมิเมติก (Parasympathomimetics)ทำให้รูม่านตาหดตัวและช่วยเพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยง

 

การรักษาต้อหินโดยการรับประทานยา

 

การรักษาต้อหินโดยการรับประทานยา

หากการรักษาต้อหินโดยยาหยอดตาไม่ได้ผล จักษุแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาชนิดรับประทานให้ผู้ป่วย โดยใช้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อิฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors) ที่มีทั้งชนิดเม็ดและยาหยอดตา มีส่วนช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตา ทำให้ความดันภายในตาลดลง

การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์

การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายน้ำในตาออก ลดความดันภายในดวงตา ซึ่งการใช้เลเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน ดังนี้

 

  • ใช้เลเซอร์กับต้อหินมุมปิดโดยจักษุแพทย์จะยิงเลเซอร์เข้าไปรักษาต้อหิน โดยเจาะรูเล็กๆ บนม่านตา เพื่อสร้างช่องทางให้ของเหลวในลูกตาไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน

  • ใช้เลเซอร์กับต้อหินมุมเปิดโดยจักษุแพทย์จะยิงเลเซอร์พลังงานต่ำเข้าไปรักษาต้อหิน โดยยิงไปที่บริเวณมุมระบายน้ำของลูกตา เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำทำงานได้ดีขึ้น

 

การรักษาต้อหินด้วยการผ่าตัด

 

การรักษาต้อหินด้วยการผ่าตัด

จักษุแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดต้อหินเพื่อสร้างช่องทางระบายน้ำภายในลูกตาที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร เพื่อให้ความดันในลูกตาต่ำลง ลดโอกาสกดทับเส้นประสาทตาที่เป็นต้นตอของต้อหิน โดยจักษุแพทย์จะมีแนวทางการผ่าตัดรักษาต้อหิน ดังนี้

1. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Trabeculectomy

ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Trabeculectomy เป็นวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้มากที่สุด โดยการผ่าตัดสร้างแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มุมระบายน้ำของลูกตา เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้ง่ายขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดความดันภายในลูกตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การรั่วของน้ำหล่อเลี้ยง การติดเชื้อ หรือการเกิดต้อกระจก

2. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Aqueous Shunt Surgery

ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Aqueous Shunt Surgery เป็นการผ่าตัดโดยการใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กเข้าไปในลูกตา เพื่อเชื่อมต่อกับช่องว่างใต้เยื่อบุตาขาว ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้โดยตรง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันตาสูงมาก หรือผู้ป่วยที่เคยผ่าตัด Trabeculectomy แล้วไม่ประสบความสำเร็จ

3. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Xen Implantation

ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธีXen Implantationเป็นการผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กและยืดหยุ่นเข้าไปในดวงตา เพื่อสร้างทางระบายใหม่สำหรับของเหลวภายในลูกตา จากนั้นของเหลวส่วนเกินก็จะไหลออกจากตัวท่อไปยังใต้เยื่อบุตาขาว ส่งผลให้ความดันตาลดลง

 

ขั้นตอนการผ่าตัดรักษาต้อหิน

 

ขั้นตอนการผ่าตัดรักษาต้อหิน

การผ่าตัดรักษาต้อหินมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

 

  1. วิสัญญีแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณดวงตา หรืออาจให้ยาสลบในบางกรณี

  2. จักษุแพทย์จะผ่าตัดเพื่อสร้างช่องทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา โดยวิธีการผ่าตัดจะแตกต่างกันไปตามชนิดของการผ่าตัด

  3. หลังจากทำการสร้างช่องทางระบายน้ำแล้ว จักษุแพทย์จะทำการเย็บปิดแผล

 

ผ่าตัดต้อหินเตรียมตัวอย่างไรและพักฟื้นกี่วัน?

 

ผ่าตัดต้อหินเตรียมตัวอย่างไรและพักฟื้นกี่วัน?

ผ่าตัดต้อหินพักฟื้นกี่วัน? โดยทั่วไปแล้วระยะเวลาในการพักฟื้นหลังการผ่าตัดต้อหินจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อาจใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ในการพักฟื้นที่บ้าน และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ในการกลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ

 

และเพื่อให้วิธีการผ่าตัดรักษาต้อหินหรือประคองอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คนไข้ควรดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี โดยมีแนวทางการดูแลตัวเองดังนี้

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อหิน

  • แจ้งประวัติสุขภาพทั้งหมดให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่กำลังรับประทาน และอาการแพ้

  • ตรวจสุขภาพ โดยแพทย์จะทำการตรวจตาและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อประเมินสภาพร่างกายก่อนการผ่าตัด

  • หยุดยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาแอสไพริน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก

  • งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัดตามเวลาที่แพทย์กำหนด

  • หากต้องเข้าพักโรงพยาบาล ให้เตรียมเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น

  • ควรมีญาติหรือเพื่อนมาคอยดูแลหลังการผ่าตัด

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อหิน

  • หยอดยาตามที่จักษุแพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

  • หลีกเลี่ยงการก้มหน้า เพราะการก้มหน้าอาจทำให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เช่น การออกกำลังกายหนัก

  • การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

  • ติดตามผลการผ่าตัดและตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

 

แนวทางในการป้องกันต้อหิน

 

แนวทางในการป้องกันต้อหิน

อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าต้อหินมีอาการที่สังเกตเห็นได้ยาก บางรายอาจเสี่ยงสูญเสียการมองเห็นก่อนรู้ว่าเป็นต้อหินก็ได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันต้อหินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ โดยมีแนวทางดังนี้

 

ตรวจสายตาทุก 5 - 10 ปี

 

ตรวจสายตาทุก 5 - 10 ปี

ควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ ซึ่งความถี่อาจขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละบุคคล ดังนี้

 

  • อายุต่ำกว่า 40 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 5 - 10 ปี

  • อายุ 40 - 54 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 2 - 4 ปี

  • อายุ 55 - 64 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 1 - 3 ปี

  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 1 - 2 ปี

 

การออกกำลังกาย

 

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยลดความดันภายในดวงตาลงได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย

รับประทานวิตามินบำรุงสายตา

ควรเลือกกินอาหารที่มีวิตามินบำรุงสายตา เพื่อรักษาสุขภาพของดวงตาให้แข็งแรง โดยมีวิตามินที่แนะนำ เช่น วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินดี (Vitamin D) และวิตามินอี (Vitamin E) เป็นต้น

 

สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา

 

สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา

หากจำเป็นต้องออกแดด หรือต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยๆ เป็นเวลานานๆ แนะนำให้สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา เช่น แว่นดำ หรือหมวกที่มีปีก เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของดวงตา และป้องกันการเสื่อมสภาพของดวงตาที่เป็นสาเหตุให้เกิดต้อหินได้

หนุนหมอนในระดับที่พอเหมาะ

ควรนอนหนุนหมอนที่มีระดับความสูงประมาณ 20 องศา เพื่อลดความดันของลูกตาขณะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รักษาต้อหินที่ศูนย์รักษาต้อหิน Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร

หากเป็นต้อหิน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการได้ที่ศูนย์รักษาต้อหิน Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)จักษุแพทย์ของเรา มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการต้อหินทุกระยะ ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการักษาต้อหินโดยเฉพาะ มีจุดเด่นดังนี้

  • โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหิน ที่มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  • เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย

  • พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

  • ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง

สรุป

แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาต้อหินได้ แต่ผู้ป่วยสามารถรีบรักษาเพื่อประคองและบรรเทาอาการ ป้องกันการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาวได้ โดยควรตรวจสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกกินอาหารที่มีสารอาหารบำรุงสุขภาพดวงตา นอนหมอนที่มีระดับเหมาะสม และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทุกครั้งที่ต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เท่านี้ก็สามารถรักษาดวงตาให้สุขภาพดี ห่างไกลต้อหินได้แล้ว

แนะนำมารักษาต้อหินได้ที่ศูนย์รักษาต้อหินBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย ให้คำปรึกษา ตลอดจนการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ

calling
ဆက်သွယ်ရန် : +66965426179