Loading...

Our treatments

ด้วยประสบการณ์ของเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 25 ปี ทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษา พร้อมเทคโนโลยีที่มีการอัพเกรดใหม่ล่าสุดตลอดเวลา
การรักษาต้อกระจก
การรักษาต้อกระจกการรักษาต้อกระจก

ผู้ที่มีอายุ 55-60 ปีขึ้นไป มักประสบกับภาวะ “ต้อกระจก” ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา ทำให้เลนส์ตาซึ่งปกติแล้วจะมีลักษณะโปร่งใสเหมือนกระจก กลายเป็นสีขาวขุ่น ส่งผลให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลงทำให้เกิดอาการตาฟางหรือมืดมัว มองเห็นภาพไม่ชัด

การรักษาโรคต้อกระจก (Phacoemulsification)

การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) สลายต้อกระจกและดูดออกมา แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมแบบพับได้ลงไป ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 2.6-3.0 มิลลิเมตรเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียงร่วมด้วยนั้น แพทย์จะใส่เลนส์ที่มีกำลังขยายพอดีเข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้สามารถกลับมามองเห็นได้ชัดเจนปกติอีกครั้ง

การรักษาโรคต้อกระจก (Phacoemulsification)
การรักษาต้อกระจก

การรักษาโรคต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อ (Phacoemulsification) การรักษาโรคต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อ (Phacoemulsification) เป็นการผ่าตัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เข้าไปสลายเลนส์ที่เสื่อมสภาพในถุงหุ้มเลนส์แล้วดูดออกมาผ่านท่อขนาดเล็กมาก ถุงหุ้มเลนส์ยังคงอยู่ครบสมบูรณ์ทำให้สามารถใส่เลนส์แก้วตาเทียมขนาดเล็กหรือเลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มพับได้เข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาเดิม การผ่าตัดวิธีนี้มักจะไม่ต้องเย็บแผล เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กมากๆ ทำให้แผลสามารถติดกันโดยอัตโนมัติ การรักษาด้วยวิธีนี้ถือเป็นวิธีมาตรฐานที่ Laser Vision เลือกใช้ในการรักษาต้อกระจก

ในบางรายหลังการรักษาแล้ว เยื่อหุ้มเลนส์อาจจะขุ่นได้อีก ทำให้มีอาการคล้ายกับ “ต้อกระจก” อีกครั้ง คือเริ่มมองเห็นไม่ชัดอีก อาการดังกล่าวนี้ เรียกว่า “ภาวะถุงหุ้มเลนส์เสื่อม” (Posterior Capsule Opacification) ซึ่งอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และสามารถรักษาได้โดยการใช้เลเซอร์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า YAG Laser เพื่อไปเปิดช่องเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังออกทำให้แสงที่ผ่านเข้ามาในลูกตาตกที่จอประสาทตาพอดี สามารถมองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง การรักษานี้ใช้เวลายิงเลเซอร์เพียงไม่กี่นาที และไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด

การรักษาต้อกระจก
ข้อดีของการรักษาต้อกระจกด้วยวิธี Phacoemulsification
  1. ใช้เวลาพักฟื้นระยะเวลาสั้น สามารถกลับบ้านได้ทันที่หลังจากทำการผ่าตัดโดยไม่มีความจำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล
  2. สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การเดินทางหรือแม้แต่การออกกำลังกาย
  3. สามารถมองเห็นได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า และใช้สายตาได้ทันที
ข้อดีของการรักษาต้อกระจกด้วยวิธี Phacoemulsification
เลนส์แก้วตาเทียมคืออะไร

เลนส์แก้วตาเทียม คือ วัสดุที่ฝังเข้าไปในลูกตา แทนที่เลนส์ธรรมชาติที่ขุ่น เพื่อให้การมองเห็นเป็นปกติ มีลักษณะเป็นพลาสติกใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มิลลิเมตร ซึ่งจะถูกนำไปใส่ไว้ในดวงตาหลังการผ่าตัดต้อกระจก และจะคงอยู่ในดวงตาอย่างถาวร โดยจะมีขายึด 2 ข้างไว้สำหรับป้องกันการเคลื่อนที่ของเลนส์ภายในดวงตา

เลนส์แก้วตาเทียมคืออะไร
ชนิดของเลนส์แก้วตาเทียมที่ใช้ในการรักษา

Monofocal IOL เป็นเลนส์แก้วตาเทียมชนิดมาตรฐาน หรือโฟกัสระยะเดียว เลนส์ชนิดนี้จะช่วยในการมองระยะไกล ที่ชัดเจน แต่ต้องอาศัยแว่นสายตา ช่วยในการมองระยะใกล้ เช่น การอ่านหนังสือ

 

Multifocal IOL เลนส์แก้วตาเทียมชนิดโฟกัสหลายระยะ พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสายตาของผู้มีภาวะสายตายาวตามอายุ โดยผิวเลนส์ถูกออกแบบพิเศษด้วยเทคโนโลยี Apodized diffractive หรือ Refractive คล้ายขั้นบันได เป็นวงๆตรงกลาง

 

Toric IOL เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแก้ไขสายตาเอียง โดยมากภาวะสายตาเอียง มีสาเหตุจากความโค้งของกระจกตาที่ไม่สมดุล เลนส์แก้วตาเทียมชนิดToric ออกแบบให้มีความโค้งทางด้านหลังเลนส์ไม่เท่ากันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน

 

Multifocal Toric เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเลนส์แก้วตาเทียมที่สามารถแก้ไขภาวะสายตายาวตามอายุร่วมกับภาวะสายตาเอียง ด้วยประสิทธิภาพของเลนส์ที่สามารถปรับภาพชัดได้หลายระยะอยู่ในเลนเดียวกัน

ชนิดของเลนส์แก้วตาเทียมที่ใช้ในการรักษา
การรักษาต้อกระจกด้วยเลเซอร์ - Femtosecond Laser Assisted Cataract Surgery (FLACs)

ในปัจจุบันการผ่าตัดต้อกระจกได้มีการนำเลเซอร์เข้ามาช่วยในการผ่าตัด โดยเป็นการใช้เลเซอร์ที่เรียกว่า Femtosecond Laser มาช่วยในขั้นตอนการเปิดแผล การเปิดถุงทุ้มเลนส์ และการแบ่งเลนส์ต้อให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อการสลาย และดูดออกด้วย Ultrasound ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเครื่อง Femtosecond Laser ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์จึงช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เปิดแผลได้อย่างแม่นยำ สามารถเปิดถุงหุ้มเลนส์ให้มีขนาดตามต้องการและวางเลนส์แก้วตาเทียมให้อยู่ตำแหน่งตรงกลางได้ดียิ่งขึ้น สามารถแก้ไขสายตาเอียงให้ได้ตรงองศาที่ต้องการอีกด้วยดังนั้น การใช้ femtosecond laser ในการรักษาต้อกระจกจึงมีข้อดี คือ ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้น สามารถ ลดอันตรายจากโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ อย่างไรก็ดี การรักษา ต้อกระจกด้วย femtosecond laser ก็ยังคงมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถ ใช้ในผู้ที่มีแผลเป็น ผู้ที่มีกระจกตาดำขุ่นมัวซึ่งแสงเลเซอร์ไม่สามารถทะลุผ่านได้ หรือผู้ที่ไม่สามารถขยายม่านตาได้ และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดต้อกระจกแบบเดิม

การรักษาต้อกระจกด้วยเลเซอร์  - Femtosecond Laser Assisted Cataract Surgery (FLACs)
ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมการรักษา

ที่อยู่
ศูนย์โรคต้อกระจก - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
chat