Our treatments
Following LASIK experiences more than 25 years and international standard ISO 9001 accepted by ophthalmologists and patients worldwide, our highly skilled refractive surgery specialists and staff aim to achieve the best result for you, our patient.ผู้ที่มีอายุ 55-60 ปีขึ้นไป มักประสบกับภาวะ “ต้อกระจก” ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา ทำให้เลนส์ตาซึ่งปกติแล้วจะมีลักษณะโปร่งใสเหมือนกระจก กลายเป็นสีขาวขุ่น ส่งผลให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลงทำให้เกิดอาการตาฟางหรือมืดมัว มองเห็นภาพไม่ชัด
การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) สลายต้อกระจกและดูดออกมา แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมแบบพับได้ลงไป ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 2.6-3.0 มิลลิเมตรเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียงร่วมด้วยนั้น แพทย์จะใส่เลนส์ที่มีกำลังขยายพอดีเข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้สามารถกลับมามองเห็นได้ชัดเจนปกติอีกครั้ง
การรักษาโรคต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อ (Phacoemulsification) การรักษาโรคต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อ (Phacoemulsification) เป็นการผ่าตัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เข้าไปสลายเลนส์ที่เสื่อมสภาพในถุงหุ้มเลนส์แล้วดูดออกมาผ่านท่อขนาดเล็กมาก ถุงหุ้มเลนส์ยังคงอยู่ครบสมบูรณ์ทำให้สามารถใส่เลนส์แก้วตาเทียมขนาดเล็กหรือเลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มพับได้เข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาเดิม การผ่าตัดวิธีนี้มักจะไม่ต้องเย็บแผล เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กมากๆ ทำให้แผลสามารถติดกันโดยอัตโนมัติ การรักษาด้วยวิธีนี้ถือเป็นวิธีมาตรฐานที่ Laser Vision เลือกใช้ในการรักษาต้อกระจก
ในบางรายหลังการรักษาแล้ว เยื่อหุ้มเลนส์อาจจะขุ่นได้อีก ทำให้มีอาการคล้ายกับ “ต้อกระจก” อีกครั้ง คือเริ่มมองเห็นไม่ชัดอีก อาการดังกล่าวนี้ เรียกว่า “ภาวะถุงหุ้มเลนส์เสื่อม” (Posterior Capsule Opacification) ซึ่งอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และสามารถรักษาได้โดยการใช้เลเซอร์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า YAG Laser เพื่อไปเปิดช่องเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังออกทำให้แสงที่ผ่านเข้ามาในลูกตาตกที่จอประสาทตาพอดี สามารถมองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง การรักษานี้ใช้เวลายิงเลเซอร์เพียงไม่กี่นาที และไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด
เลนส์แก้วตาเทียม คือ วัสดุที่ฝังเข้าไปในลูกตา แทนที่เลนส์ธรรมชาติที่ขุ่น เพื่อให้การมองเห็นเป็นปกติ มีลักษณะเป็นพลาสติกใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มิลลิเมตร ซึ่งจะถูกนำไปใส่ไว้ในดวงตาหลังการผ่าตัดต้อกระจก และจะคงอยู่ในดวงตาอย่างถาวร โดยจะมีขายึด 2 ข้างไว้สำหรับป้องกันการเคลื่อนที่ของเลนส์ภายในดวงตา
Monofocal IOL เป็นเลนส์แก้วตาเทียมชนิดมาตรฐาน หรือโฟกัสระยะเดียว เลนส์ชนิดนี้จะช่วยในการมองระยะไกล ที่ชัดเจน แต่ต้องอาศัยแว่นสายตา ช่วยในการมองระยะใกล้ เช่น การอ่านหนังสือ
Multifocal IOL เลนส์แก้วตาเทียมชนิดโฟกัสหลายระยะ พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสายตาของผู้มีภาวะสายตายาวตามอายุ โดยผิวเลนส์ถูกออกแบบพิเศษด้วยเทคโนโลยี Apodized diffractive หรือ Refractive คล้ายขั้นบันได เป็นวงๆตรงกลาง
Toric IOL เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแก้ไขสายตาเอียง โดยมากภาวะสายตาเอียง มีสาเหตุจากความโค้งของกระจกตาที่ไม่สมดุล เลนส์แก้วตาเทียมชนิดToric ออกแบบให้มีความโค้งทางด้านหลังเลนส์ไม่เท่ากันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
Multifocal Toric เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเลนส์แก้วตาเทียมที่สามารถแก้ไขภาวะสายตายาวตามอายุร่วมกับภาวะสายตาเอียง ด้วยประสิทธิภาพของเลนส์ที่สามารถปรับภาพชัดได้หลายระยะอยู่ในเลนเดียวกัน
ในปัจจุบันการผ่าตัดต้อกระจกได้มีการนำเลเซอร์เข้ามาช่วยในการผ่าตัด โดยเป็นการใช้เลเซอร์ที่เรียกว่า Femtosecond Laser มาช่วยในขั้นตอนการเปิดแผล การเปิดถุงทุ้มเลนส์ และการแบ่งเลนส์ต้อให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อการสลาย และดูดออกด้วย Ultrasound ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเครื่อง Femtosecond Laser ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์จึงช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เปิดแผลได้อย่างแม่นยำ สามารถเปิดถุงหุ้มเลนส์ให้มีขนาดตามต้องการและวางเลนส์แก้วตาเทียมให้อยู่ตำแหน่งตรงกลางได้ดียิ่งขึ้น สามารถแก้ไขสายตาเอียงให้ได้ตรงองศาที่ต้องการอีกด้วยดังนั้น การใช้ femtosecond laser ในการรักษาต้อกระจกจึงมีข้อดี คือ ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้น สามารถ ลดอันตรายจากโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ อย่างไรก็ดี การรักษา ต้อกระจกด้วย femtosecond laser ก็ยังคงมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถ ใช้ในผู้ที่มีแผลเป็น ผู้ที่มีกระจกตาดำขุ่นมัวซึ่งแสงเลเซอร์ไม่สามารถทะลุผ่านได้ หรือผู้ที่ไม่สามารถขยายม่านตาได้ และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดต้อกระจกแบบเดิม
10/989 Soi Prasertmanukij 33 Nuanchan Buengkum District Bangkok 10230