มุมสุขภาพตา : #Glaucoma

เรียงตาม

กระจกตาเป็นฝ้า : สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ

กระจกตาเป็นฝ้า สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ ณ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ กระจกตาเปรียบเสมือนหน้าต่างบานแรกที่แสงจะผ่านเข้าสู่ดวงตา หาก "กระจกตา" เกิดขุ่นมัว การมองเห็นย่อมได้รับผลกระทบ "กระจกตาเป็นฝ้า" เป็นภาวะที่กระจกตาสูญเสียความใส ทำให้มองเห็นภาพมัว ไม่ชัดเจน หรือเห็นภาพซ้อน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของกระจกตาเป็นฝ้า กระจกตาเป็นฝ้าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ซึ่งอาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการบาดเจ็บที่กระจกตา แผลที่กระจกตา เกิดจากการบาดเจ็บ การระคายเคืองจากฝุ่นละออง สารเคมี หรือการติดเชื้อ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกระจกตาโค้งผิดปกติ (Keratoconus) ทำให้กระจกตาบางและโป่งนูนผิดปกติ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตา เช่น โรคตาอักเสบ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์หยอดตาเป็นเวลานาน การสัมผัสสารเคมี เช่น สารฟอกขาว กรด ด่าง การขาดวิตามินเอ อาการของกระจกตาเป็นฝ้า มองเห็นภาพมัว อาจเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขุ่นมัวของกระจกตา เห็นภาพซ้อน ตาแดง ปวดตา เคืองตา น้ำตาไหล แพ้แสง วิธีการรักษากระจกตาเป็นฝ้า การรักษากระจกตาเป็นฝ้าขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง โดยทั่วไปมีวิธีการรักษาดังนี้ การใช้ยา เช่น ยาหยอดตา ยาป้ายตา เพื่อลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อ หรือรักษาตามสาเหตุ การผ่าตัด การปลูกถ่ายกระจกตา : ในกรณีที่กระจกตาเสียหายมาก การขัดกระจกตาด้วยเลเซอร์ : เช่น PTK การรักษาอื่นๆ เช่น การประคบอุ่น การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษากระจกตาเป็นฝ้าอย่างครบวงจร ด้วย ทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตา : ประสบการณ์สูง เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เทคโนโลยีที่ทันสมัย : เครื่องมือที่ได้มาตรฐานสากล ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาอย่างแม่นยำ ปลอดภัย เครื่องตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Corneal Topography) เครื่องตรวจวัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry) เลเซอร์ Excimer และ เลเซอร์ Femtosecond การดูแลอย่างครบวงจร : ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามผล จนกระทั่งหายเป็นปกติ บริการที่สะดวกสบาย : บรรยากาศเป็นกันเอง ใส่ใจทุกขั้นตอน คืนความใสการมองเห็นที่คมชัดให้กับดวงตาที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 02-511-2111  
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์เลสิก LASER VISION

สุขภาพตากับอายุ

สุขภาพตากับอายุ สุขภาพตากับอายุ      ในขณะที่ผู้สูงอายุมุ่งมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้ห่างจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แต่อวัยวะที่ร่างกายต้องใช้ทุกวันอย่างดวงตา กลับได้รับความสนใจน้อยกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อThe International Agency for the Prevention of Blindness (IAPB) สำรวจสุขภาพตาของคนที่มีอายุ 50ปี ทั่วโลก 45 ล้านคน พบว่า 80% มักมีปัญหาเรื่องสายตาจนถึงขั้นตาบอด   Snellen Chart      ความผิดปกติทางสายตาที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่ผู้สูงวัยควรระวังได้แก่       ต้อกระจก      จะเริ่มตั้งแต่อายุ 40ต้นๆ (หรืออาจจะช้ากว่านั้น) การเกิดต้อกระจกเปรียบเสมือนฝ้าที่เกิดขึ้นบนกระจกใส ทำให้มองเห็นไม่ชัด อาการน่าสงสัยของต้อกระจกคือ ตาสู้แสงได้ไม่ดี โดยเฉพาะเวลาขับรถ        ต้อหิน      เกิดจากความดันภายในดวงตาที่สูงกว่าปกติทำให้ดวงตาแข็งเหมือนหิน เมื่อมองจะเห็นภาพที่อยู่ตรงกลางชัดแต่กลับมองภาพบริเวณรอบๆไม่ได้ ต้อหินมี2ชนิด คือต้อหินมุมปิดและมุมเปิด เรามักพบต้อหินมุมปิดหรือต้อหินเฉียบพลันในหญิงสูงอายุ เนื่องจากผู้หญิงมักมีดวงตาเล็กกว่าผู้ชาย มักมีอาการปวดเมื่อยตามากเวลาที่ใช้สายตามากและมีอาการตาแดงก่อนตามัว แต่พอได้นอนพักผ่อนอาการต่างๆจะหายไป สามารถใช้ชีวิตได้ปกติแต่อีกไม่กี่วันก็จะกลับมีอาการใหม่ ในทางตรงกันข้ามต้อหินมุมเปิดหรือต้อหินเรื้อรัง พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือด ภาวะสายตาสั้นหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหิน ทั้งนี้ต้อหินแบบเรื้อรังอาจเป็นอันตรายมากกว่า เพราะจะไม่แสดงอาการ ดังนั้นจึงมักตรวจพบได้โดยบังเอิญ หรือกว่าจะมารักษาก็เป็นมากจนสายเกินแก้และอาจจะรุนแรงถึงขั้นตาบอด       การเสื่อมของตาเนื่องจากสูงอายุ      เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็น อาการเบื้องต้นคือ มองเห็นภาพรอบๆชัดแต่มองจุดภาพตรงกลางไม่ชัด ซึ่งเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อชั้นในดวงตาที่อยู่กึ่งกลางของเรตินามีความผิดปกติและส่วนหนึ่งเกิดมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง ภาวะน้ำหนักเกินหรือสูบบุหรี่เป็นต้น       จุดหรือเงาดำในตา      ผู้สูงอายุจะเห็นเป็นจุดหรือเงาดำเล็กๆวิ่งผ่าน คล้ายกับมีแมลงหรือยุงบินผ่าน สาเหตุเกิดจากน้ำวุ้นลูกตาที่อยู่ในตาระหว่างเลนส์กับเรตินาไม่จับตัวแน่นเหมือนเดิม ซึ่งเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น แม้การมองเห็นจุดดำจะไม่มีอันตรายต่อสุขภาพตา แต่ถ้าเห็นจุดดำหรือเงาดำมากขึ้นและการมองเห็นไม่ชัดร่วมด้วย ควรจะเข้ามาพบจักษุแพทย์ทันที      สุขภาพตาก็เหมือนสุขภาพร่างกายทั่วไปที่ควร เข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรเข้ารับการตรวจโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

ที่อยู่

ศูนย์โรคต้อกระจก - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ

10/989 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ

LINE
calling
ติดต่อเรา :