มุมสุขภาพตา

เรียงตาม

หนังตากระตุกเกิดจากอะไร? และเคล็ดลับดูแลสายตาเพื่อป้องกันอาการ

หนังตากระตุกคืออาการที่กล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาขยับหรือกระตุกโดยไม่ตั้งใจ โดยมักเกิดที่เปลือกตาบนและเกิดขึ้นเป็นระยะๆ อาจเป็นเพียงชั่วขณะหรือเกิดบ่อยๆ เป็นอาการที่ไม่รุนแรง หนังตากระตุกมักเกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวล นอนหลับไม่เพียงพอ ใช้สายตามากเกินไป ขาดแมกนีเซียม โรคพาร์กินสัน หรือการติดเชื้อที่เปลือกตา อาการเปลือกตากระตุกที่ควรพบจักษุแพทย์ ได้แก่ กระตุกตาต่อเนื่องเกิน 2-3 สัปดาห์ มีอาการปวด หรือทำให้ลืมตาลำบาก ตาแดงหรือมีขี้ตา กระตุกเกิดร่วมกับการเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า หากมีอาการหนังตากระตุกต่อเนื่องหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพบจักษุแพทย์ที่ Bangkok Eye Hospital เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม   การที่หนังตากระตุกเป็นอาการที่หลายคนคุ้นเคย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรใส่ใจ มาดูกันว่าอาการนี้เกิดจากอะไร และเราจะดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการนี้ได้อย่างไร     อาการหนังตากระตุกคืออะไร? ตากระตุก (Eye Twitching) คืออาการที่หนังตาขยับหรือหนังใต้ตากระตุกอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นแค่เพียงเล็กน้อยหรือถี่จนทำให้เกิดความรำคาญได้ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่เปลือกตาบนและล่าง แต่พบมากที่เปลือกตาบน โดยทั่วไปแล้วอาการตากระตุกมักไม่รุนแรงและไม่มีความเจ็บปวด     สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการหนังตากระตุก อาการหนังตากระตุกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันหรือสภาวะร่างกาย ดังนี้ ความเครียดและความวิตกกังวลสะสมเป็นเวลานาน นอนหลับไม่เป็นเวลาหรือนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ใช้สายตามากเกินไป เช่น การมองจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานๆ โดยไม่พักสายตา ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากในปริมาณมาก แสงสว่างที่จ้าเกินไป ลม หรือมลพิษทางอากาศ การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม วิตามินบี 12 หรือวิตามินดี การระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน หรือโรคภูมิแพ้ โรคตาที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ตาแห้ง ที่อาจทำให้เปลือกตากระตุกหรือเกร็งจากการพยายามรักษาความชุ่มชื้นให้กับตา โรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษา     อาการหนังตากระตุกบ่อยๆ บ่งบอกถึงอะไร? แม้ว่าอาการหนังตากระตุกจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองในหลายกรณี แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ควรสังเกตให้ดี เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคทูเร็ตต์ (Tourette's Disorder) โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) โรคกล้ามเนื้อใบหน้าบิดเกร็ง (Facial Dystonia) โรคคอบิดเกร็ง (Cervical dystonia) โรคกล้ามเนื้อช่องปากหรือขากรรไกรบิดเกร็ง (Oromandibular Dystonia) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)     วิธีการรักษาเปลือกตากระตุกและการบรรเทาอาการ การรักษาและบรรเทาอาการเปลือกตากระตุกสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ดังนี้ รับประทานยา การใช้กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อหรือกลุ่มยานอนหลับ อาจช่วยบรรเทาอาการหนังตากระตุกชั่วคราว เช่น ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) และยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จึงควรใช้ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รักษาตามปัจจัยที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อเปลือกตาเกร็งกระตุก การจัดการกับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการเกร็งหรือกระตุกของกล้ามเนื้อเปลือกตา เช่น การใช้น้ำตาเทียมอาการกล้ามเนื้อเปลือกตากระตุกอาจเกิดจากตาแห้ง การใช้น้ำตาเทียมช่วยให้ความชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง และป้องกันการกระตุกของกล้ามเนื้อเปลือกตา การรักษาเปลือกตาอักเสบหากการกระตุกเกิดจากการอักเสบ เช่น โรคภูมิแพ้หรือการติดเชื้อ การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาสเตียรอยด์จะช่วยลดอาการอักเสบและทำให้การกระตุกหายไป การใช้แว่นตาดำ (FL-41)ช่วยกรองแสงจ้า เช่น แสงจากจอคอมพิวเตอร์หรือแสงแดด ลดการกระตุกของกล้ามเนื้อเปลือกตา โดยช่วยให้ตารู้สึกสบายและลดอาการกระตุก ฉีดโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกซ์ได้รับการรับรองในการรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ควบคุมไม่ได้ และปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมและแนะนำมากที่สุดในการรักษาอาการเปลือกตากระตุก แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ลงไปบริเวณกล้ามเนื้อรอบดวงตาที่มีอาการกระตุก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นอ่อนแรงชั่วคราว และไม่สามารถหดเกร็งได้ โบท็อกซ์จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและบล็อกสัญญาณจากเส้นประสาทที่กระตุ้นการกระตุก เมื่อฉีดโบท็อกซ์แล้วอาการตากระตุกจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ผลของโบท็อกซ์จะอยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน เมื่อยาหมดฤทธิ์ อาการอาจกลับมา จึงแนะนำให้กลับไปพบแพทย์หากอาการยังคงมีอยู่ การผ่าตัด การผ่าตัดสำหรับอาการตากระตุกจะพิจารณาในกรณีที่อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโบท็อกซ์หรือวิธีอื่นๆ โดยการผ่าตัดอาจจะทำการตัดเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเปลือกตา เพื่อหยุดการกระตุกที่ไม่สามารถควบคุมได้     หนังตากระตุกหายได้เองไหม? และเมื่อไรที่ควรพบแพทย์? โดยทั่วไปแล้วอาการกล้ามเนื้อเปลือกตากระตุกมักหายได้เองหากหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที หนังตากระตุกที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจนรบกวนหรือมีผลต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน อาการเปลือกตากระตุกที่ไม่หายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ เปลือกตากระตุกที่ทำให้ลืมตายากหรือเปลือกตาปิดสนิท อาการตาเกร็งหรือกะพริบตาค้างจนไม่สามารถลืมตาขึ้นได้เอง ตาแดง หรือมีขี้ตา รวมถึงเปลือกตาตก มีการกระตุกบริเวณอื่นของใบหน้าหรือร่างกายร่วมด้วย     วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเปลือกตากระตุก การป้องกันอาการเปลือกตากระตุกสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อเปลือกตา ดังนี้ ลดเวลาในการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ หรือการฝึกหายใจเพื่อลดความเครียด นวดกล้ามเนื้อรอบดวงตาเพื่อช่วยคลายความตึงเครียด ประคบร้อนหรืออุ่นบริเวณดวงตาประมาณ 10 นาที หากเกิดอาการตาแห้งหรือระคายเคือง สามารถหยอดน้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการ   สรุป หนังตากระตุกคืออาการที่กล้ามเนื้อเปลือกตาขยับโดยไม่ตั้งใจ มักเกิดที่เปลือกตาบน สาเหตุรวมถึงความเครียด การนอนน้อย การใช้สายตานาน ขาดสารอาหาร หรือแสงจ้า โดยวิธีรักษา ได้แก่ ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ น้ำตาเทียม แว่นตากรองแสง โบท็อกซ์ หรือการผ่าตัดในกรณีที่จำเป็น หากมีอาการหนังตากระตุกต่อเนื่องหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพบจักษุแพทย์ที่Bangkok Eye Hospitalเพื่อรับคำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสม
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

รู้จักและเข้าใจจอประสาทตาอักเสบ สาเหตุและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

โรคจอประสาทตาอักเสบ คืออาการที่เส้นประสาทตาอักเสบจนส่งผลให้การส่งข้อมูลการมองเห็นจากดวงตาไปยังสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นไม่ชัด ไปจนถึงอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นแบบถาวร โรคจอประสาทตาอักเสบเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาการบาดเจ็บของดวงตา จักษุแพทย์มีแนวทางการรักษาโรคจอประสาทตาอักเสบได้ด้วยการจ่ายยาตามสาเหตุของการเกิดโรค ทั้งยาแบบกินและแบบฉีด ส่วนกรณีที่มีอาการรุนแรง หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย จักษุแพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) ป้องกันโรคจอประสาทตาอักเสบได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ล้างมือบ่อยๆ ปรับการกิน งดสูบบุหรี่ สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ รักษาโรคจอประสาทตาอักเสบที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalรักษาโดยจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย มั่นใจได้ในผลลัพธ์การรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ   โรคจอประสาทตาอักเสบ โรคร้ายที่มาพร้อมกับเส้นประสาทตาอักเสบ เป็นตัวการของการมองเห็นภาพไม่ชัด ตาไวต่อแสง อาการปวดตา ไปจนถึงอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร! บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโรคจอประสาทตาอักเสบให้มากขึ้น ตั้งแต่อาการ สาเหตุ ตลอดจนการวินิจฉัย การรักษา และแนวทางการป้องกัน     โรคจอประสาทตาอักเสบ คืออะไร โรคจอประสาทตาอักเสบ คืออาการที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทตา ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นใยประสาทที่ส่งข้อมูลการมองเห็นจากดวงตาไปยังสมอง ส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัด โดยเฉพาะบริเวณกลางของภาพ และอาจมีอาการปวดตาเวลาขยับลูกตาร่วมด้วย อาการแบบไหนถึงเรียกว่า จอประสาทตาอักเสบ อาการของโรคจอประสาทตาอักเสบที่พบได้บ่อย มีดังนี้ รู้สึกปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวบริเวณดวงตา มองเห็นจุดดำตรงกลางลานสายตา ตาแดงก่ำหรือแดงเป็นเลือด ตาไวต่อแสง รู้สึกแสบตาเมื่อโดนแสงสว่าง น้ำตาไหลมากผิดปกติ มองเห็นแสงวาบในดวงตาข้างที่มีอาการเส้นประสาทตาอักเสบ สูญเสียการมองเห็นสีบางสี มีปัญหาด้านการแยกแยะสี สูญเสียการมองเห็นด้านข้าง มองเห็นภาพเบลอข้างใดข้างหนึ่งของดวงตา สูญเสียการมองเห็นในตาข้างใดข้างหนึ่ง ไปจนถึงตาบอดสนิท     จอประสาทตาอักเสบมักเกิดจากอะไร? สาเหตุของโรคจอประสาทตาอักเสบเกิดจากสาเหตุทั้งการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ดังนี้ จอประสาทตาอักเสบที่มาจากการติดเชื้อ โรคจอประสาทตาอักเสบเกิดจากตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นทีหลัง โดยมาจากเชื้อ ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเช่น วัณโรค ซิฟิลิส การติดเชื้อราโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อราแคนดิดา การติดเชื้อไวรัสเช่น เริม เอชไอวี โรคหัดเยอรมัน การติดเชื้อปรสิตเช่น โทโคพลาสโมซิส ซึ่งอาจมาจากแมว โรคภูมิต้านทานผิดปกติเช่น โรคเบห์เช็ท และซาร์คอยโดซิส จอประสาทตาอักเสบที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ โรคจอประสาทตาอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ อาการบาดเจ็บบริเวณดวงตา โรคภูมิต้านทานผิดปกติและโรคอักเสบเช่น โรครูมาตอยด์ มะเร็งบางชนิดเช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง     การวินิจฉัยโรคจอประสาทตาอักเสบ ในการวินิจฉัยโรคจอประสาทตาอักเสบก่อนทำการรักษา จักษุแพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียด โดยมีแนวทางการวินิจฉัย ดังนี้ การขยายม่านตาและตรวจจอประสาทตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Slitlamp)โดยจักษุเเพทย์เพื่อดูจอประสาทตาและเส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตา รวมถึงการตรวจวัดความดันลูกตา การตรวจจอประสาทตาด้วยเทคนิค Optical Coherence Tomography (OCT)เป็นการวัดความหนาของจอประสาทตาและการบวมของจอประสาทตาหรือ ดูขั้วประสาทตาได้อย่างชัดเจน การตรวจจอประสาทตาด้วยการฉีดสารเรืองแสงฟลูออเรสซีนเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดและการรั่วของหลอดเลือด การตรวจจอประสาทตาด้วยการฉีดสารเรืองอินโดไซยานีนกรีน(ICG Angiography)เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดขนาดเล็กในจอประสาทตา     จอประสาทตาอักเสบ รักษาได้อย่างไร การรักษาจอประสาทตาอักเสบ ทำได้ทั้งแบบใช้ยาและผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ การใช้ยา การรักษาจอประสาทตาอักเสบด้วยการใช้ยา โดยปกติแล้วจะใช้ยาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยมีตัวยาที่จักษุแพทย์พิจารณาจ่ายให้ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาอักเสบ มีดังนี้ การให้สเตียรอยด์ทางหลอดเลือดดำเป็นการรักษาเริ่มต้นมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคจอประสาทตาอักเสบและเส้นประสาทตาอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทตาและช่วยเร่งการฟื้นตัวของการมองเห็น สเตียรอยด์ชนิดรับประทานในบางกรณีอาจมีการสั่งจ่ายสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหลังจากการรักษาทางหลอดเลือดดำครั้งแรก เพื่อลดการอักเสบและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ การแลกเปลี่ยนพลาสมา (PLEX)หากสเตียรอยด์ทางหลอดเลือดดำไม่ได้ผล อาจพิจารณาทำ PLEX โดยเอาส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด (พลาสมา) ออก จากนั้นแทนที่ด้วยสารทดแทนพลาสมา หรือพลาสมาที่ได้รับบริจาค ยาปรับเปลี่ยนโรค (DMTs)หากโรคเส้นประสาทตาอักเสบเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจแนะนำให้ใช้ DMTs เพื่อจัดการกับโรคประจำตัวและป้องกันไม่ให้เกิดโรคจอประสาทตาอักเสบในอนาคต   การผ่าตัด การรักษาจอประสาทตาอักเสบด้วยการผ่าตัด จักษุแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยวิธีการจ่ายยาทั่วไป รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ อย่าง มีเลือดออกในวุ้นตา หรือมีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตา เป็นต้น โดยการผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) คือการผ่าตัดภายในลูกตา เพื่อนำวุ้นตา (Vitreous) ที่เป็นของเหลวใสภายในลูกตาออก และกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่อาจกดทับหรือดึงรั้งจอประสาทตาออกไป โดยหลังจากการผ่าตัด การอักเสบของจอประสาทตาจะลดลง ลดอาการระคายเคืองของจอประสาทตา หรือในบางกรณียังช่วยฟื้นฟูการมองเห็นที่สูญเสียจากจอประสาทตาอักเสบได้ด้วยเช่นกัน     จอประสาทตาอักเสบสามารถป้องกันได้ไหม? เนื่องจากอาการจอประสาทตาอักเสบเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ บางสาเหตุอาจป้องกันได้แต่บางสาเหตุก็ป้องกันไม่ได้ จึงมีแนวทางการดูแลสุขภาพดวงตาเพื่อลดโอกาสเกิดโรคจอประสาทตาอักเสบ ดังนี้ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ก่อนสัมผัสดวงตา พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หากมีอาการโรคจอประสาทตาอักเสบ สิ่งสำคัญคือต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการวินิจฉัยให้ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่อาจส่งผลให้เกิดจอประสาทตาอักเสบ รักษาโรคจอประสาทตาอักเสบ ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการโรคจอประสาทตาอักเสบ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาครบทุกด้าน ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลเฉพาะทางฯ มีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางดวงตา สายตา และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป อาการโรคจอประสาทตาอักเสบ เกิดจากเส้นประสาทตาที่อักเสบจนส่งผลให้การส่งข้อมูลการมองเห็นจากตาไปยังสมองทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตา ตาแดง ตาไวต่อแสง มองเห็นจุดดำกลางลานสายตา มองเห็นภาพเบลอ หรืออาจสูญเสียการมองเห็นแบบถาวร ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาอักเสบจึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามอาการของผู้ป่วยตั้งแต่การจ่ายยาไปจนถึงการผ่าตัด เพื่อให้ผลลัพธ์การรักษาออกมาปลอดภัย ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค พร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้การรักษาปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพสูงสุด แนะนำมาที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital(โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลคนไข้โรคเฉพาะทางดวงตาคอยให้การดูแล ตั้งแต่ขั้นตอนการปรึกษาตลอดจนการรักษา และยังมีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยเพื่อให้ประสิทธิภาพการรักษาออกมาปลอดภัยและเหมาะสมอีกด้วย
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

กระจกตาเป็นฝ้า : สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ

กระจกตาเป็นฝ้า สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ ณ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ กระจกตาเปรียบเสมือนหน้าต่างบานแรกที่แสงจะผ่านเข้าสู่ดวงตา หาก "กระจกตา" เกิดขุ่นมัว การมองเห็นย่อมได้รับผลกระทบ "กระจกตาเป็นฝ้า" เป็นภาวะที่กระจกตาสูญเสียความใส ทำให้มองเห็นภาพมัว ไม่ชัดเจน หรือเห็นภาพซ้อน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของกระจกตาเป็นฝ้า กระจกตาเป็นฝ้าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ซึ่งอาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการบาดเจ็บที่กระจกตา แผลที่กระจกตา เกิดจากการบาดเจ็บ การระคายเคืองจากฝุ่นละออง สารเคมี หรือการติดเชื้อ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกระจกตาโค้งผิดปกติ (Keratoconus) ทำให้กระจกตาบางและโป่งนูนผิดปกติ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตา เช่น โรคตาอักเสบ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์หยอดตาเป็นเวลานาน การสัมผัสสารเคมี เช่น สารฟอกขาว กรด ด่าง การขาดวิตามินเอ อาการของกระจกตาเป็นฝ้า มองเห็นภาพมัว อาจเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขุ่นมัวของกระจกตา เห็นภาพซ้อน ตาแดง ปวดตา เคืองตา น้ำตาไหล แพ้แสง วิธีการรักษากระจกตาเป็นฝ้า การรักษากระจกตาเป็นฝ้าขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง โดยทั่วไปมีวิธีการรักษาดังนี้ การใช้ยา เช่น ยาหยอดตา ยาป้ายตา เพื่อลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อ หรือรักษาตามสาเหตุ การผ่าตัด การปลูกถ่ายกระจกตา : ในกรณีที่กระจกตาเสียหายมาก การขัดกระจกตาด้วยเลเซอร์ : เช่น PTK การรักษาอื่นๆ เช่น การประคบอุ่น การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษากระจกตาเป็นฝ้าอย่างครบวงจร ด้วย ทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตา : ประสบการณ์สูง เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เทคโนโลยีที่ทันสมัย : เครื่องมือที่ได้มาตรฐานสากล ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาอย่างแม่นยำ ปลอดภัย เครื่องตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Corneal Topography) เครื่องตรวจวัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry) เลเซอร์ Excimer และ เลเซอร์ Femtosecond การดูแลอย่างครบวงจร : ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามผล จนกระทั่งหายเป็นปกติ บริการที่สะดวกสบาย : บรรยากาศเป็นกันเอง ใส่ใจทุกขั้นตอน คืนความใสการมองเห็นที่คมชัดให้กับดวงตาที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 02-511-2111  
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

รายชื่อประกันภัย

  บริษัทประกันภัย บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด มหาชน บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลูม่าแคร์ จำกัด บริษัท บลูเวนเจอร์ ทีพีเอ จำกัด บริษัท เอดับเบิลยู พี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด Asian Assistance (Thailand) Co., Ltd. APRIL Assistance (Thailand) Co., Ltd. International SOS (Thailand) Co., Ltd. Assist International Services Co., Ltd. บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด มหาชน บริษัท ซัมซุงประกันชีวิต(ประเทศไทย) จำกัด มหาชน  บริษัท Euro-Center (Thailand) Co., Ltd. บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) :: สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ::  แผนกประสานสิทธิ์ประกัน 02-511-2111 ต่อ 3803, 3804  UR Nurse 02-511-2111 ต่อ 3805
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

Understanding Pterygium: Causes, Symptoms, and Treatment Options

  How people notice and see Pterygium without knowing it is Pterygium   Have you ever looked in the mirror and noticed a small, fleshy growth on the white part of your eye, usually near the nose? It might appear slightly red, or you might feel like something’s stuck in your eye. This growth can slowly creep onto the clear, center part of your eye, known as the cornea, causing discomfort, dryness, or even blurred vision. Many people mistake these signs for simple irritation, dryness, or tired eyes, unaware that they might be dealing with a condition called pterygium.   1. What is Pterygium? Pterygium (pronounced tuh-RIJ-ee-um) is a common eye condition that looks like a triangular or wedge-shaped growth on the eye’s surface. It usually starts small but can slowly expand toward the cornea. Though it might look concerning, it’s not cancerous. For some, it’s just a minor cosmetic issue, but for others, it can cause vision problems or significant discomfort   2. Why does it happen? Pterygium happens mainly due to long-term exposure to UV light from the sun, which is why it’s often called "surfer’s eye." But you don’t have to be a surfer to get it - anyone who spends a lot of time outdoors, especially without proper eye protection, is at risk. Dust, wind, and dry environments can also irritate the eye and contribute to its development. Genetics can play a part, too, as pterygium is more common in certain families. Pinguecula and pterygium are often mistaken for each other. Pinguecula is a yellowish bump on the conjunctiva, while pterygium extends onto the cornea and can affect vision. Proper diagnosis is key.   3. What to do when you notice it? If you spot a growth on your eye or feel persistent discomfort, dryness, or redness, don’t ignore it. Make an appointment with an eye specialist, especially if it’s growing or starting to affect your vision. The doctor can diagnose pterygium with a simple eye exam and discuss whether it needs to be treated right away or monitored over time.   4. Treatment Options Observation and Protection: In mild cases, protecting your eyes from the sun with sunglasses and using lubricating eye drops can help keep symptoms in check. Medication: If the pterygium becomes red and inflamed, doctors may prescribe anti-inflammatory eye drops to reduce irritation.  Surgery: When pterygium grows too large, affects vision, or causes significant discomfort, surgery to remove the growth may be recommended. This involves removing the tissue and often placing a graft (a small piece of your own conjunctiva) to cover the area and reduce the chance of it coming back.   5. Advice from Bangkok Eye Hospital and Next Steps At Bangkok Eye Hospital, our experienced ophthalmologists often see patients who are unsure what’s causing their eye discomfort or unusual growths. It’s essential to address these concerns early to avoid complications. If surgery is necessary, one of the best innovations available today is using fibrin glue during pterygium surgery, which offers many benefits over traditional stitches.     To learn more about how fibrin glue can improve your recovery and comfort, check out our next article on this advanced treatment here. If you’re experiencing symptoms or want a consultation, don’t hesitate to reach out to Bangkok Eye Hospital - our team is here to guide you through every step of your eye care journey.
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

Monkeypox and Eye Health: What You Need to Know

Monkeypox and Eye Health: What You Need to Know Monkeypox, a rare viral disease similar to smallpox, has been making headlines due to recent outbreaks in various parts of the world. While it primarily affects the skin, the virus can also have serious implications for eye health. Understanding how monkeypox can impact your eyes and knowing the preventive measures can help protect your vision if you are at risk of exposure. What is Monkeypox? Monkeypox is caused by the monkeypox virus, which belongs to the Orthopoxvirus genus. The disease is characterized by fever, headache, muscle aches, and a distinctive rash that progresses from macules to papules, vesicles, and eventually scabs. The rash often begins on the face and spreads to other parts of the body, including the eyes. Fun Fact: Despite its name, monkeypox doesn’t actually come from monkeys. The virus was first identified in laboratory monkeys in 1958, which led to its name. However, the primary carriers of the virus in the wild are rodents, such as rats and squirrels, not monkeys. How Can Monkeypox Affect the Eyes? Monkeypox can lead to several eye-related complications, the most concerning of which is monkeypox keratitis. This condition occurs when the virus infects the cornea, the clear front part of the eye. Symptoms of monkeypox keratitis include redness, pain, blurred vision, and sensitivity to light. If not treated promptly, keratitis can cause scarring of the cornea, leading to permanent vision loss. Other potential eye complications include conjunctivitis (inflammation of the conjunctiva, the membrane covering the white part of the eye) and blepharitis (inflammation of the eyelids). These conditions can cause discomfort and, in severe cases, may also lead to vision impairment.Prevention: Protecting Your Eyes from Monkeypox Preventing monkeypox infection, including its effects on the eyes, involves several key strategies: Avoid Contact with Infected Individuals: Monkeypox spreads through close contact with an infected person’s skin lesions, body fluids, or respiratory droplets. If you are in an area with known monkeypox cases, avoid close contact with infected individuals and wear protective gear if necessary. Practice Good Hygiene: Regular handwashing with soap and water, avoiding touching your face (especially your eyes), and using alcohol-based hand sanitizers can reduce the risk of infection. Vaccination: The smallpox vaccine has been shown to be effective against monkeypox. If you are at high risk (e.g., healthcare workers, people in affected areas), getting vaccinated may provide protection. Protect Your Eyes: If you are caring for someone with monkeypox or are in an area with an outbreak, consider wearing protective eyewear to reduce the risk of the virus coming into contact with your eyes.   Solutions: What to Do If Your Eyes Are Affected If you suspect that monkeypox has affected your eyes, seek medical attention immediately. Early intervention is crucial to prevent serious complications. Treatment may include: Antiviral Medications: While there is no specific treatment for monkeypox, antiviral drugs like tecovirimat (Tpoxx) may be used under certain conditions to reduce the severity of symptoms. Topical Treatments: In cases of keratitis or conjunctivitis, antiviral eye drops or ointments may be prescribed to control the infection and prevent complications. Supportive Care: Managing symptoms like pain and inflammation through over-the-counter medications or prescribed treatments can help alleviate discomfort.   Conclusion   Monkeypox is more than just a skin disease; its effects can extend to the eyes, posing a risk to vision. By understanding how monkeypox can affect the eyes and taking preventive measures, you can protect your vision and overall health. If you experience any eye-related symptoms after exposure to monkeypox, seek medical care immediately to ensure the best possible outcome.Concerned about keratitis or other eye conditions? Don’t wait—schedule a comprehensive eye exam at [Hospital Name] today. Early detection and treatment of keratitis can preserve your vision and keep your eyes healthy. Trust your vision to the experts, call: +66982255691.
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

How to Keep Your Eyes Safe During Sports | Essential Eye Health Tips

  Whether you're an elite athlete or enjoy sports as a weekend hobby, your eyes are one of your most valuable assets. Good vision enhances your performance, while eye injuries can not only sideline you from the game but also affect your daily life. At Bangkok Eye Hospital, we’re dedicated to helping everyone—professional athletes and casual players alike—understand the importance of eye health in sports. This blog provides essential tips to keep your eyes safe and your vision sharp, no matter your level of activity.   Why Eye Health Matters in Sports: Performance Enhancement: Clear and precise vision is key to success in sports, from accurately judging distances to reacting quickly to fast-moving objects. Prevention from Injury: Protecting your eyes can prevent serious injuries that may not only impact your performance but also your overall quality of life. Long-Term Vision Safety: Taking care of your eyes today can prevent vision problems later in life, ensuring you can continue enjoying sports and other activities.   Common Sports-Related Eye Injuries: Blunt Trauma: Sports like basketball, football, and baseball can lead to injuries from impact, which can cause anything from minor bruising to serious conditions like retinal detachment. Serious Injuries: In contact sports like boxing, karate, or taekwondo, direct hits or accidental jabs from opponents can result in severe and dangerous injuries, including cuts, fractures, or even eye injuries that require immediate medical attention. UV Damage: Prolonged exposure to the sun during outdoor sports can lead to harmful effects on the eyes, increasing the risk of cataracts and other conditions. Tips for Keeping Your Eyes Healthy: Stay Hydrated: Proper hydration is important to keep your eyes moist and comfortable, reducing the risk of dry eyes during and after sports. Balanced Diet: Eating a diet rich in vitamins A, C, and E, along with Omega-3 fatty acids, supports eye health and can improve your visual performance. Avoid Touching Your Eyes: During sports, your hands can pick up dirt and bacteria, which can lead to eye infections if you rub your eyes. Always wash your hands thoroughly before touching your eyes.   Need Expert Eye Care? We are here for you. Comprehensive Eye Exams: Our specialists and well-trained medical teams offer detailed eye examinations tailored to your specific needs, whether you’re an athlete or enjoy sports recreationally. Personalized Vision Solutions: From prescription sports eyewear to LASIK surgery, we offer a range of treatment services designed to enhance your visual performance and protect your eyes. Innovative Eye Care Technologies: We operate on a cutting-edge smart hospital concept, integrating AI and advanced technologies to ensure the highest effectiveness in our treatment programs. Our commitment to innovation drives us to take patient care to the next level, providing you with the most advanced and personalized eye care available.   Your Eyes Deserve Expert Care — Call Now to Schedule Your Examination! Whatsapp: +66982255691 Email: info@bangkokeyehospital.com

ที่อยู่

ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ

calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111