ជ្រុងនៃសុខភាពភ្នែក : #แสงสีฟ้า

តម្រៀប

Dry eyes

Dry eyes ទឹកភ្នែកដើរតួនាទីយ៉ាងសំខាន់ក្នុងការរក្សាភ្នែករបស់យើងឱ្យមានសំណើម, ធានាឱ្យឃើញច្បាស់ដោយអនុញ្ញាតឱ្យពន្លឺឆ្លងកាត់កែវភ្នែកប្រកបដោយប្រសិទ្ធភាព និងផ្គត់ផ្គង់អុកស៊ីហ្សែនចិញ្ចឹមភ្នែក។ វាក៏ជួយការពារការឆ្លងមេរោគនិងសារធាតុផ្សេងៗផងដែរ។    នៅពេលដែលភ្នែកស្ងួត, វាជាបញ្ហាទូទៅមួយដែលអាចកើតឡើងពីការផលិតទឹកភ្នែកមិនប្រក្រតីឬទឹកភ្នែកមានការហួតលឿនពេក។ វាអាចធ្វើអោយមានភាពមិនស្រណុក, ក្រហាយ, មានអារម្មណ៍ថាដូចមានអ្វីនៅក្នុងភ្នែករបស់អ្នក, ភ្នែកមានសភាពក្រហម, រោយ, មើលឃើញព្រិលៗដែលទទួលភាពប្រសើរជាមួយការព្រិចភ្នែក, ឬសូម្បីតែមានអារម្មណ៍ថារោយភ្នែក។ ហេតុផលដែលមានភ្នែកស្ងួតអាចមានការប្រែប្រួលនៅពេលកាន់តែចាស់ឬជាស្រ្ដី (យេស៎, យើងងាយនឹងរងនូវភ្នែកស្ងួត) ការអាលាក់ហ្សីជាមួយថ្នាំ, ការចំណាយជាច្រើនពេលទៅលើ Screens, នៅទីកន្លែងដែលមានដី ផ្សែង ឬ មានខ្យល់ខ្លាំងនិងមានពន្លឺច្រើន, រួមបញ្ចូលទាំងអស់។    ប៉ុន្ដែមានដំណឹងល្អនោះគឺជាពិធីនៃការព្យាបាលភ្នែកស្ងួត:   ការចៀសឆ្ងាយពីអ្វីដែលអាចធ្វើអោយវាកាន់តែអាក្រក់ដូចជាខ្យល់ខ្លាំងនិងធូលីដីដោយគ្រាន់តែពាក់វែនតានិងការការពារភ្នែក។ ចងចាំថាត្រូវសំរាកឬព្រិចភ្នែកអោយបានញឹកញាប់ ជាពិសេសនៅពេលអ្នកជាប់ជាមួយ Screen ខណៈណាមួយ។  អ្នកទទួលបាននូវថ្នាំបណ្ដក់ភ្នែកដែលហៅថាទឹកភ្នែកសុប្បនិមិត្ត។ មានពីប្រភេទគឺសម្រាប់ពេលថ្ងៃ (ទឹកច្រើន) និងពេលយប់ (ក្រាស់បន្ដិច) ដែលត្រូវប្រើអាស្រ័យទៅលើស្ថានភាពភ្នែកស្ងួតរបស់អ្នក។  ពេលខ្លះពេទ្យរបស់អ្នកអាចនែនាំថ្នាំបណ្ដក់ភ្នែកពិសេសដែលជំរុញអោយភ្នែករបស់អ្នកបង្កើតទឹកភ្នែកបានច្រើន។  ផ្ដល់ការព្យាបាលភ្នែករបស់អ្នកជាមួយក្រណាត់ស្អាតហើយក្ដៅឧន្ឌៗ រួចស្អំលើភ្នែកដើម្បីជូយអោយមានអារម្មណ៍ល្អប្រសើរ។ ប្រសិនបើភ្នែកស្ងួតកាន់តែខ្លាំងហើយមិនប្រសើរឡើង ការជជែកជាមួយគ្រូពេទ្យភ្នែកគឺជារឿងល្អ។   សរុបមក ភ្នែកស្ងួតអាចជាបញ្ហារំខានមួយ ប៉ុន្តែមានដំណោះស្រាយនៅទីនោះ។ វាជារឿងសំខាន់ក្នុងការថែរក្សាភ្នែករបស់អ្នកឱ្យបានល្អ ជាពិសេសនៅពេលដែលមានសភាពស្ងួតនៅខាងក្រៅ (អាកាសធាតុស្ងួត)។ ប្រសិនបើអ្នកសង្ស័យថាអ្នកមានបញ្ហាភ្នែកស្ងួត ការជជែកជាមួយអ្នកជំនាញផ្នែកថែរក្សាភ្នែកគឺជាទង្វើដ៏ឆ្លាតវៃ។
អាន​បន្ថែម

รู้จักกับแสงสีฟ้าในชีวิตประจำวัน และวิธีลดผลกระทบต่อสุขภาพดวงตา

แสงสีฟ้าคือคลื่นแสงพลังงานสูงที่มีความยาวคลื่นสั้น อยู่ในช่วง 415-455 นาโนเมตร พบได้ทั้งจากแหล่งธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ และจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเลต สมาร์ตโฟน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและการนอนหลับได้ แสงสีฟ้าอาจทำให้ดวงตาล้า ตาแห้ง มองเห็นไม่ชัด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อม และรบกวนการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ส่งผลให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท การป้องกันแสงสีฟ้าทำได้โดยปรับความสว่างหน้าจอให้เหมาะสม ใช้โหมดแสงสีโทนอุ่น สวมแว่นกรองแสงสีฟ้า พักสายตาด้วยกฎ 20-20-20 ใช้น้ำตาเทียมบรรเทาตาแห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอก่อนนอน Bangkok Eye Hospital มีบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการตาล้า ตาแห้ง และปัญหาสายตาจากแสงสีฟ้า ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมในอนาคต   ยุคที่เทคโนโลยีและการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น แสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากหน้าจอเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่เราสัมผัสอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าแสงสีฟ้าจะมีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มีผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาและการนอนหลับหากได้รับในปริมาณมากเกินไป มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแสงสีฟ้าและวิธีการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาและการใช้ชีวิตประจำวันกัน     แสงสีฟ้าคืออะไร? ทำไมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพดวงตา แสงสีฟ้า (Blue Light) คือคลื่นแสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 415-455 nm แสงสีฟ้ามีพลังงานสูงและคล้ายคลึงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จึงสามารถทะลุผ่านอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะดวงตาและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตา     แหล่งที่มาของแสงสีฟ้าในชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวัน การหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแสงสีฟ้ามีทั้งที่มาจากแหล่งธรรมชาติและสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ ซึ่งแต่ละแหล่งจะมีระดับความเข้มข้นของแสงสีฟ้าที่แตกต่างกันไป ดังนี้ แสงสีฟ้าจากธรรมชาติ นอกจากแสงสีฟ้าที่มาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว แสงสีฟ้ายังสามารถพบได้จากธรรมชาติอีกด้วย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีพลังงานสูงและความยาวคลื่นสั้น เมื่อแสงเหล่านี้ปะทะกับโมเลกุลของน้ำและอากาศ จะกระจายฟุ้งออกทั่วท้องฟ้าในเวลากลางวัน ทำให้เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แสงสีฟ้าที่มาจากหน้าจอของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สมาร์ตโฟน อุปกรณ์ทัชสกรีนต่างๆ หรือแม้กระทั่งหลอดไฟฟ้า ความเข้มข้นของแสงสีฟ้าในแต่ละอุปกรณ์อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของอุปกรณ์นั้นๆ     ผลกระทบของแสงสีฟ้าต่อสุขภาพดวงตาและการนอนหลับ อันตรายจากแสงสีฟ้าคือการที่คลื่นพลังงานสูงสามารถทำลายเซลล์ในเลนส์ตา โดยเฉพาะจอตา (Retina) ส่งผลให้การส่งภาพไปยังประสาทตาไม่แม่นยำ ทำให้มองเห็นภาพเบลอ ตามัว หรือปรับแสงไม่ทัน ซึ่งอาจทำให้ดวงตาต้องใช้เวลาปรับตัวกับสภาพแสงใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพดวงตาและการนอนหลับได้ดังนี้ อาการตาล้าและตาแห้ง อาการตาล้า (Asthenopia)และตาแห้ง (Dry Eyes)มักเกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีรังสี UV และคลื่นแสงสีฟ้าที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการคันตาและตาแดง หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะผิวกระจกตาอักเสบพร้อมรอยแผลบนกระจกตา และทำให้พื้นผิวกระจกตามีความขรุขระ ส่งผลให้เกิดความระคายเคืองและความรำคาญขณะใช้สายตาในชีวิตประจำวัน จอประสาทตาเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration)เกิดจากภาวะจอตาบวมและจุดภาพชัด (Macula) ที่รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้าจากหน้าจอ โดยไม่ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้าหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพในการส่งสัญญาณการมองเห็นไปยังเส้นประสาทตา ส่งผลให้เกิดอาการตามัวและการมองเห็นที่เสื่อมลง เช่น เห็นภาพสีเพี้ยน มองไม่ชัด หรือเห็นจุดดำตรงกลางภาพ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการแพ้แสงสีฟ้า เช่น ตาแสบ ตาร้อน และตาแห้ง หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การตาบอดในที่สุด นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท การได้รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้ามากเกินไปสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ (Insomnia) โดยการรบกวนระบบนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ของร่างกาย แสงสีฟ้าจากหน้าจอจะทำให้ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ที่ผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ซึ่งอาจทำให้สุขภาพโดยรวมเสื่อมลงหากไม่ได้รับการดูแล     วิธีป้องกันแสงสีฟ้าจากหน้าจอ การป้องกันแสงสีฟ้าจากหน้าจอเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยถนอมดวงตาและหลีกเลี่ยงผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หน้าจอนานๆ ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถช่วยลดการสัมผัสกับแสงสีฟ้า ได้แก่ ใส่แว่นกรองแสงสีฟ้า การเลือกใช้เลนส์กรองแสงสีฟ้าสามารถช่วยลดความเครียดของดวงตาและอาการอักเสบ เช่น ตาแดงได้ โดยควรเลือกเลนส์ที่มีประสิทธิภาพในการกรองแสงสีฟ้าระหว่าง 10-65% การทดสอบคุณภาพสามารถทำได้โดยการวัดผลสเปกตรัม RGB ทดสอบเม็ดสีของเลนส์ หรือการสะท้อนแสงสีฟ้าจากเลนส์เพื่อเช็คประสิทธิภาพการกรองแสง ปรับความสว่างหน้าจอให้พอดี ควรปรับระดับแสงจากหน้าจอให้เป็นโทน Warm light เพื่อให้สอดคล้องกับแสงในห้องที่ใช้งาน หากทำงานในเวลากลางคืน ควรเปิดโคมไฟแสงสีขาวร่วมกับการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ พักสายตาตามหลัก 20-20-20 การถนอมสายตาด้วยกฎ 20-20-20 คือการพักดวงตาที่ได้รับรังสีแสงสีฟ้าจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือทำกิจกรรมที่ใช้สายตามากเกินไป โดยเริ่มจากการหลับตาหรือมองออกไปยังทิวทัศน์ที่มีระยะห่างอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที ทุกๆ 20 นาทีในระหว่างทำกิจกรรม ติดฟิล์มกรองแสงสีฟ้า ฟิล์มกรองแสงบนจอคอมพิวเตอร์ช่วยป้องกันแสงสีฟ้าที่มีคลื่นรังสี UV และพลังงานสูง ซึ่งสามารถลดอาการตาล้า สายตามัว และตาเบลอจากการจ้องจอนานๆ นอกจากนี้ยังช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของดวงตา และเพิ่มอายุการใช้งานของสายตาให้ยาวนานขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดภาระการปรับตัวโฟกัสของสายตาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง     หยอดน้ำตาเทียม น้ำตาเทียม (Artificial tears)เป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับน้ำตาธรรมชาติ ช่วยหล่อลื่นและเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ดวงตา บรรเทาอาการตาล้า ตาแห้ง และอาการแพ้แสงสีฟ้าจากการใช้จอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยช่วยลดความระคายเคืองในดวงตาและทำให้อาการตาล้าบรรเทาลงได้ รับประทานอาหารบำรุงสายตา สารอาหารบำรุงสายตาที่ช่วยลดอาการตาแห้ง ตาล้า และต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ การรับสารอาหาร Omega-3 fatty acids ที่มักพบใน ปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ที่มีสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในดวงตา รวมไปถึง Lutein และ Zeaxanthin ที่มักพบในผักใบเขียว ช่วยลดอาการตาล้า และดวงตาฟื้นตัวเร็วขึ้นจากการใช้งานหนัก ตรวจสุขภาพดวงตาสม่ำเสมอ ผู้ที่ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ ฟรีแลนซ์ในสายงานดิจิทัล โปรแกรมเมอร์ และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องจดจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปอาจเกิดภาวะตาล้าสะสมได้ รวมถึงคนที่มีภาวะสายตาสั้นหรืออายุ 40 ปีขึ้นไปที่เริ่มมีอาการสายตายาว ควรนัดตรวจสุขภาพตาประจำปี เพื่อประเมินสภาพการทำงานของดวงตา พร้อมรับคำแนะนำในการถนอมสายตาจากแสงสีฟ้า เช่น การสวมแว่นตาที่มีเลนส์กรองแสงสีฟ้า และการให้ยาบำรุงสายตา   สรุป แสงสีฟ้า (Blue Light) คือแสงที่มาจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ เช่น แสงแดด และจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ แสงสีฟ้ามีความเข้มข้นสูงและสามารถทะลุผ่านดวงตาไปยังจอตา ทำให้เกิดอาการตาล้า ตาแห้ง และเสี่ยงต่อโรคตาเสื่อมและปัญหาการนอนหลับ วิธีป้องกัน ได้แก่ การใช้เลนส์กรองแสงสีฟ้า การพักสายตา และปรับความสว่างหน้าจอให้เหมาะสม   โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพมีบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการตาล้าและตาแห้งจากแสงสีฟ้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อป้องกันและรักษาอาการเหล่านี้ก่อนที่จะลุกลามและกลายเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว   FAQ แสงสีฟ้าที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราในชีวิตประจำวัน หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับแสงสีฟ้า นี่คือคำตอบสำหรับคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแสงสีฟ้า เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและรับมือได้ดีขึ้น แสงสีฟ้าอันตรายและทำลายตาจริงไหม? แสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าทำลายเซลล์รับแสงในจอตา ซึ่งอาจส่งผลให้การมองเห็นในส่วนกลางของภาพเสื่อมลงได้ แว่นตัดแสงสีฟ้า จำเป็นไหม แว่นตัดแสงสีฟ้ายังไม่จำเป็นสำหรับบุคคลทั่วไป แต่เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้หน้าจอเป็นเวลานาน หรือผู้ที่มีปัญหาจอตาเสื่อมอยู่แล้ว ทำไมแสงสีฟ้าทำให้นอนไม่หลับ   เมื่อดวงตามองเห็นแสงสีฟ้า มันจะส่งสัญญาณไปยังสมองว่าเป็นเวลากลางวัน ซึ่งจะไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมนาฬิกาชีวิตของเรา โดยเฉพาะการนอนหลับและการตื่นนอน เมื่อมีแสงสีฟ้ามากเกินไปในช่วงเย็น จะทำให้การผลิตเมลาโทนินลดลง จึงทำให้เรานอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
Laser Vision LASIK Centre

เทคนิคการเลือกแว่นตาหลังทำเลสิก

เทคนิคการเลือกแว่นตาหลังทำเลสิก หลังจากที่ทำเลสิกแล้วเพื่อให้แผลหายเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การรักษาความสะอาดคือการหลีกเลี่ยงแสงแดด การใส่แว่นกันแดดเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถทำเพื่อดูแลดวงตาของคุณหลังการผ่าตัดได้ โดยมีเทคนิคการเลือกแว่นกันแดดดังนี้   🌞 เลือกเลนส์ที่สามารถป้องกันแสง UV ได้ 99-100% แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถทำอันตรายต่อดวงตาได้ แม้ว่าจะทำเลสิกแล้วก็ตาม การใส่แว่นกันแดดที่มีเลนส์ป้องกัน UV จึงเป็นสิ่งสำคัญ 🌞 ถ้าอยู่ในที่ ๆ มีแสงสะท้อนเยอะ ควรเลือกเลนส์โพลาไรซ์ซึ่งช่วยตัดแสงสะท้อนจะทำให้สบายตามากขึ้น 🌞 เลือกสีให้เหมาะกับการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสีดำมืดก็ได้ 🌞 เลือกขนาดที่เหมาะกับใบหน้า เลนส์ควรมีความกว้างเท่ากับใบหน้าของคุณ สันจมูกควรสวมได้พอดีโดยไม่รัดแน่นเกินไป และขาแว่นควรสวมได้พอดีโดยไม่กดทับใบหน้า   สามารถมาเลือกแว่นตากันแดดแบรนด์ชั้นนำได้ที่ร้าน WALTZ ในโรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ Bangkok Eye Hospital ชั้น 3 เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 10.00 -19.00 น.  
calling
ទំនាក់ទំនងមកយើងខ្ញុំ : +662 511 2111