ត្រឡប់មកវិញ
อาการตาแพ้แสง (Photophobia) เป็นอย่างไรและต้องรักษายังไง?

ภาวะตาแพ้แสง (Photophobia) เป็นภาวะที่ดวงตามีความไวต่อแสง ไม่สามารถสู้แสงได้ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด แสงจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ้ค ซึ่งเมื่อดวงตาต้องเจอแสงเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบ และมีน้ำตาไหล เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องใช้สายตาบ่อย ไม่ค่อยได้หยุดพักระหว่างวัน ซึ่งผู้ที่มีดวงตาสีอ่อนจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาแพ้แสงมากกว่าผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากตาสีอ่อนมีเม็ดสีน้อยกว่า จึงปกป้องดวงตาจากแสงได้น้อยกว่านั่นเอง

 

ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการตาแพ้แสงมาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรม โรค ยา การผ่าตัดและอื่น ๆ ดังนั้นมาลองดูกันว่าสาเหตุของการเกิดตาแพ้แสงนั้นมีอะไรบ้าง และมีพฤติกรรมไหนบ้างที่อาจจะทำให้คุณเสี่ยงมีภาวะตาแพ้แสงในอนาคต จะได้หลีกเลี่ยง เพื่อป้องกัน รวมถึงมาดูว่าหากคุณกำลังมีภาวะตาแพ้แสงอยู่ในขณะนี้จะรักษาได้อย่างไรบ้าง

 

สาเหตุหรือที่มาของการเกิดอาการตาแพ้แสง

  • เยื่อบุตาหรือม่านตาอักเสบ

  • ความผิดปกติของกระจกตา หรือการเกิดอุบัติเหตุทางตาทำให้มีแผลบนกระจกตา

  • ตาอักเสบหรือติดเชื้อจากสิ่งสกปรก

  • รูม่านตาขนาดใหญ่กว่าปกติ

  • ตาแห้งจากการใช้สายตาหรือจ้องหน้าจอ/แสงนาน ๆ 

  • อาการตาแพ้แสงสืบเนื่องจากไมเกรน

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ส่งผลต่อตา เช่น ยาทาสิว ยาแก้อักเสบ ยาคุม

  • ใส่คอนแทคเลนส์ที่มีขนาด หรือรูปทรงไม่เหมาะสมกับตา จนทำให้เกิดการระคายเคือง

  • ใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์

  • มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยทางสมองที่อาจส่งผลต่ออาการตาแพ้แสง เช่น เนื้องอกในต่อมใต้สมอง ก้านสมองเสื่อม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือการได้รับบาดเจ็บที่รุนแรงทางสมอง

 

วิธีรักษาและบรรเทาอาการตาแพ้แสง

หากสงสัยว่าอาการแสบตา ระคายเคืองตา หรือน้ำตาไหลบ่อย ๆ เมื่อต้องเจอกับแสง อาจเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยในเบื้องต้น แพทย์อาจซักถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และอาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจฟิล์มน้ำตาเพื่อดูปริมาณน้ำตา การตรวจด้วยเครื่อง Slit-Lamp เพื่อหาอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบบนผิวดวงตา หรือการทำ MRI เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ

 

แต่โดยทั่วไปแล้วอาการตาแพ้แสงที่ไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น

  • หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้าทั้งแสงแดดและหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  • หากจำเป็นต้องอยู่กับแสงแดดหรือแสงจากหน้าจอเป็นเวลานาน ให้พักสายตาเป็นระยะ ๆ แต่ละรอบอาจจะพักสายตาไม่นานแต่เน้นทำบ่อย ๆ

  • อ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ รวมถึงใช้จอคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ

  • รับประทานอาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์ เช่น แครอท ผักบุ้ง ปวยเล้ง หรือผักผลไม้ที่มีสีส้มสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่เยอะ ๆ เพื่อบำรุงสายตาให้แข็งแรง

  • ใส่แว่นกันแดด กัน UV หรือแว่นที่เป็นเลนส์ปรับแสง เพื่อช่วยถนอมสายตาเมื่อต้องออกกลางแจ้ง

  • เลือกคอนแทคเลนส์ที่มีค่าอมน้ำสูง หรือลดการใส่คอนแทคเลนส์แล้วหันมาใส่แว่นแทนหากอยู่ในช่วงที่มีอาการตาแพ้แสง

  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณรอบดวงตา การต่อขนตา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการระคายเคือง หรือหากมีอาการรุนแรง เช่น เจ็บปวดดวงตาเมื่อต้องเจอกับแสงในรูปแบบต่าง ๆ อาจต้องมีการใช้น้ำตาเทียม หรือยารักษาตามสาเหตุที่ทำให้ตาเกิดอาการแพ้แสง

 

ทำเลสิกทั้งทีต้องที่ Laser Vision

เพราะดวงตาคืออวัยวะสำคัญที่ทำให้เรามองเห็น และยังเป็นอวัยวะที่บอบบางอีกด้วย เราจึงต้องรักษาดูแลและถนอมดวงตาไว้ให้มาก ๆ ดังนั้นหากจะทำการผ่าตัดเพื่อปรับแก้ไขค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติทั้งที ก็ต้องเลือกศูนย์เลสิกที่ไว้ใจได้ มีใบรับรอง มีการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีบริการที่ใส่ใจ และทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็คงหนีไม่พ้น ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการรักษาดวงตามาแล้วกว่า 25 ปี ที่สำคัญยังมีเทคโนโลยีเฉพาะอย่าง NanoRelex® ที่มีเฉพาะศูนย์เลเซอร์วิชั่น ให้การผ่าตัดที่แผลเล็ก ฟื้นตัวง่าย

calling
ទំនាក់ទំនងមកយើងខ្ញុំ : +662 511 2111