ย้อนกลับ
รู้ทัน รักษาได้! อาการตาแพ้แสง ปัญหาที่พบได้บ่อย มีวิธีรักษาอย่างไร?

“ตาแพ้แสง” คือภาวะที่ดวงตาเกิดความไม่สบาย หรือระคายตาเมื่อสัมผัสกับแสงประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด แสงจากหลอดไฟ หรือแม้แต่แสงจากเปลวไฟ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอาการนี้มักไม่รุนแรงและสามารถบรรเทาได้ง่ายๆ ด้วยการสวมแว่นกันแดดคุณภาพดี อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการแพ้แสงอย่างรุนแรงจนรู้สึกเจ็บปวดดวงตาอย่างมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหาสุขภาพตาที่แฝงอยู่ ผู้ป่วยควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

อาการตาแพ้แสงไม่ได้สร้างความรำคาญในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพตาที่ร้ายแรง มาสังเกตอาการ สาเหตุ และวิธีรักษาในบทความนี้กัน!

 

  • ตาแพ้แสง คืออาการที่ดวงตามีความไวต่อแสงผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถทนต่อแสงธรรมชาติ แสงไฟ หรือจอคอมพิวเตอร์ได้ ผู้มีอาการมักหรี่ตาเมื่อเจอแสง มีอาการตาแห้ง เคืองตา หรือน้ำตาไหลมากกว่าปกติ
  • อาการตาแพ้แสงมีสาเหตุทั้งจากพฤติกรรมการใช้สายตาหนักเกินไป เช่น การเพ่งจอนานๆ ทำให้เกิดตาแห้งและตาล้า หรือจากความผิดปกติทางตาอย่างตาอักเสบ ตาติดเชื้อ แผลกระจกตา รวมถึงการใช้ยาบางประเภทเช่นยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ และอาการไมเกรน
  • น้ำตาเทียมเป็นวิธีรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการตาแห้งไม่รุนแรง ในขณะที่การรักษาด้วยยาจะถูกพิจารณาตามสาเหตุ อาจเป็นยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส หรือยาต้านเชื้อรา โดยเริ่มจากยาหยอดตาและอาจเพิ่มยารับประทานหรือสเตียรอยด์ในกรณีที่อาการรุนแรงเพื่อลดการบวมและอักเสบ
  • ป้องกันอาการตาแพ้แสงโดยการหลับตาลงเป็นระยะ รักษาต้นเหตุของอาการ ป้องกันด้วยอุปกรณ์เหมาะสม ปรับสภาพแสงในอาคาร เสริมด้วยโภชนาการที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงคอนแท็กต์เลนส์ ลดการใช้เครื่องสำอางรอบดวงตา

 

ตาแพ้แสง คืออะไร

 

อาการตาแพ้แสง คืออะไร?

ตาแพ้แสง หรือ Photophobia คืออาการที่ดวงตามีความไวต่อแสงมากผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถทนต่อแสงจากธรรมชาติ โคมไฟ หรือแม้แต่จอคอมพิวเตอร์ได้ ผู้ที่มีอาการมักจะประสบกับความไม่สบายตา ต้องหรี่ตาเมื่อเจอแสง อาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย เกิดอาการตาแห้ง เคืองตา หรือมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ โดยมีข้อสังเกตว่าผู้ที่มีดวงตาสีอ่อนมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากมีเม็ดสีน้อยกว่า ทำให้ความสามารถในการปกป้องดวงตาจากแสงลดลง ส่งผลให้แสงสามารถทะลุผ่านเข้าสู่ภายในดวงตาได้มากกว่า

 

สาเหตุของอาการตาแพ้แสง

 

สาเหตุของอาการตาแพ้แสง

อาการตาแพ้แสงมีสาเหตุที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน เริ่มจากพฤติกรรมการใช้สายตาอย่างหนัก เช่น การเพ่งมองหน้าจออิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานานๆ ซึ่งนำไปสู่อาการตาแห้งและตาล้า ส่งผลให้ดวงตาเกิดความไวต่อแสงมากขึ้น

นอกจากนี้ ความผิดปกติทางตาหลายอย่าง เช่น ตาอักเสบ ตาติดเชื้อ หรือแผลกระจกตา รวมถึงการมีรูม่านตาขนาดใหญ่กว่าปกติ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้ามคือการใช้ยาบางประเภท ทั้งยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาทาสิว ยาแก้อักเสบ หรือยาคุมกำเนิด ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้ตาไวต่อแสง รวมถึงการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับดวงตา และผู้ที่มีอาการไมเกรนก็มักพบอาการตาแพ้แสงร่วมด้วยเช่นกัน 

การวินิจฉัยอาการตาแพ้แสง

สำหรับการวินิจฉัยอาการตาแพ้แสงในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการที่เกิดขึ้น เช่น มีสารคัดหลั่งจากดวงตา มีไข้ หรืออาการเจ็บป่วยที่อาจเป็นสาเหตุของตาแพ้แสง ก่อนที่จะทดสอบเพิ่มเติมตามดุลยพินิจทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย

  1. การวัดสายตาเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการตรวจประเมินความสามารถในการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้าง เพื่อวัดระดับสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  2. การตรวจฟิล์มน้ำตาเป็นการประเมินคุณภาพและปริมาณของน้ำตาบนพื้นผิวกระจกตา เพื่อตรวจสอบว่ามีภาวะตาแห้งหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมในการทำเลสิกและการวางแผนการดูแลหลังการผ่าตัด
  3. การตรวจด้วยเครื่อง Slit-Lampเป็นการใช้กล้องจุลทรรศน์พิเศษที่มีลำแสงแคบส่องตรวจดวงตาในระดับลึก เพื่อประเมินการอักเสบหรือบาดเจ็บของดวงตา โดยแพทย์อาจหยดสีย้อมพิเศษเพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือความเสียหายบนผิวกระจกตาได้อย่างละเอียด
  4. การทำเอ็มอาร์ไอ (MRI Scan)เป็นการสร้างภาพดวงตาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความละเอียดสูง ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในดวงตาได้อย่างชัดเจน ช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติที่อาจไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการตรวจทั่วไป

 

วิธีรักษาอาการตาแพ้แสง

 

วิธีรักษาอาการตาแพ้แสง

โดยทั่วไปอาการตาแพ้แสงที่ไม่รุนแรงมากสามารถบรรเทาได้ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น การปรับแสงในห้องให้มืดลงโดยปิดไฟหรือม่าน หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงหรือแสงไฟจ้าในอาคาร และเมื่อจำเป็นต้องอยู่ในที่มีแสงสว่าง อาจใช้วิธีหลับตาชั่วคราวหรือสวมแว่นตากันแดดเพื่อปกป้องดวงตา

 

อย่างไรก็ตาม หากอาการตาแพ้แสงทวีความรุนแรงจนก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากเมื่อสัมผัสกับแสงในรูปแบบต่างๆ ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาอาการตาแพ้แสงตามสาเหตุที่แท้จริง

 

  • น้ำตาเทียมการหยอดน้ำตาเทียมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตาและบรรเทาอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง เป็นวิธีรักษาเบื้องต้นที่ปลอดภัย สามารถใช้ได้บ่อยครั้งตามความจำเป็นเพื่อให้ผิวตามีความชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน
  • การใช้ยารักษาแพทย์จะพิจารณาให้ยาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง เช่น ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านไวรัส หรือยาต้านเชื้อรา โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยยาหยอดตาก่อน แต่ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีการให้ยาชนิดรับประทานหรือยาสเตียรอยด์เพิ่มเติมเพื่อลดอาการบวมและอักเสบ

 

วิธีป้องกันอาการตาแพ้แสง

 

วิธีป้องกันอาการตาแพ้แสง

ตาแพ้แสงเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางอย่างป้องกันได้ยาก เช่น โรคไมเกรน แต่หลายกรณีสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ซึ่งการรู้จักสาเหตุและการป้องกันจะช่วยให้จัดการกับอาการตาแพ้แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

  • หลับตาลงเป็นระยะให้ดวงตาได้พักผ่อนชั่วขณะเมื่อรู้สึกถึงอาการแพ้แสงหรือแสบตา การพักสายตาแม้เพียงไม่กี่นาทีช่วยลดความเครียดและการระคายเคืองที่เกิดจากการสัมผัสแสงจ้าได้
  • รักษาต้นเหตุของอาการแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักของอาการตาแพ้แสง เช่น ภาวะตาแห้ง เยื่อตาอักเสบ หรือโรคอื่นๆ เพื่อช่วยลดความไวต่อแสงและบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ป้องกันด้วยอุปกรณ์เหมาะสมสวมหมวกปีกกว้างร่วมกับแว่นกันแดดเลนส์โพลาไรซ์ (Polarized) ซึ่งมีคุณสมบัติกรองแสงและลดแสงสะท้อน แม้อยู่ในที่ร่มก็ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสงกระจาย
  • ปรับสภาพแสงในอาคารหรี่ไฟหรือปิดไฟในอาคารที่มีความสว่างมากเกินไป ใช้ม่านหรือผ้าม่านปรับแสงที่ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามา เพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองจากความสว่างจ้าได้
  • เสริมด้วยโภชนาการที่เหมาะสมรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารแอนติออกซิแดนท์และวิตามินเอ เช่น ผักใบเขียว แคร์รอต ฟักทอง และปลาทะเล ที่ช่วยบำรุงสายตาและเพิ่มความแข็งแรงให้เซลล์ตา
  • หลีกเลี่ยงคอนแท็กต์เลนส์งดใส่คอนแท็กต์เลนส์เมื่อมีอาการตาแพ้แสง เนื่องจากอาจเพิ่มความระคายตาและทำให้อาการรุนแรงขึ้น แว่นตากรองแสงหรือแว่นตาทั่วไปเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  • ลดการใช้เครื่องสำอางรอบดวงตาโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการระคายตา และทำให้อาการตาแพ้แสงรุนแรงยิ่งขึ้น

อาการตาแพ้แสงแบบไหนที่ควรพบแพทย์

อาการตาแพ้แสงมีความรุนแรงหลากหลายระดับ ตั้งแต่อาการเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ไปจนถึงอาการรุนแรงที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต หากพบว่าตัวเองมีปัญหาในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน เช่น ไม่สามารถขับรถตอนกลางคืนได้ หรือมีอาการปวดตาเป็นประจำ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น แสบตา ตาอักเสบ ปวดหัว หรือมีน้ำตาไหลบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ตรงจุดและทันท่วงที

ตาแพ้แสง มีโอกาสหายไหม?

มีโอกาสหายจากอาการแพ้แสงได้ โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นปัจจัยหลัก หากการรักษาสามารถแก้ไขได้ตรงจุดที่สาเหตุ บางคนอาจหายขาด ขณะที่บางคนอาจมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หรือในบางกรณีอาจหายได้แต่ต้องใช้เวลารักษานานกว่าปกติ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้แสง และไม่ลืมสวมแว่นตาที่มีคุณสมบัติช่วยลดแสง

การใช้คอนแท็กต์เลนส์เกี่ยวข้องกับอาการตาแพ้แสงไหม?

คอนแท็กต์เลนส์ที่สกปรกหรือใช้งานเกินเวลาที่กำหนดเป็นสาเหตุของการระคายตาและภาวะตาแพ้แสง ซึ่งอาจส่งผลให้รู้สึกแสบตา น้ำตาไหล และรู้สึกไม่สบายเมื่อต้องอยู่ในที่ที่มีแสงจ้า การดูแลทำความสะอาดเลนส์อย่างสม่ำเสมอและเปลี่ยนตามกำหนดเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยปกป้องสุขภาพดวงตาและรักษาคุณภาพการมองเห็นในระยะยาว

ตาแพ้แสงควรใส่แว่นแบบไหน?

สำหรับแว่นตาที่เหมาะกับคนตาแพ้แสงมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับค่าสายตาและการใช้งาน

 

  • แว่นกันแดดช่วยกรองแสง UV และแสงสว่างที่กระตุ้นอาการแพ้แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกเฉดสีและความเข้มของเลนส์ตามต้องการ หรือทำเป็นแว่นสายตากันแดดสำหรับผู้มีสายตาผิดปกติ เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้งหรือขับรถในเวลากลางวัน
  • แว่นเลนส์ออโต้ (เลนส์เปลี่ยนสี)ปรับความเข้มของเลนส์อัตโนมัติตามสภาพแสง โดยจะเข้มขึ้นเมื่ออยู่กลางแจ้งและใสขึ้นเมื่ออยู่ในที่ร่ม สามารถกรองทั้ง UV และแสงสีน้ำเงิน มีให้เลือกหลากหลายสี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้แว่นเดียวในทุกกิจกรรมทั้งในร่มและกลางแจ้ง
  • แว่นกรองแสงสีฟ้าออกแบบมาเพื่อลดแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ช่วยลดแสงจ้าและความเมื่อยล้าของดวงตา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอเป็นเวลานานและมีอาการแพ้แสงจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

รักษาอาการตาแพ้แสง ที่ศูนย์รักษาดวงตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร

หากมีอาการตาแพ้แสง มาปรึกษาและรักษาได้ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) เพื่อการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยจักษุแพทย์ผู้มากความรู้เกี่ยวกับดวงตาและและทีมงานที่มีประสบการณ์ และจุดเด่นดังนี้

 

  • โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
  • เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย
  • พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
  • ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง

สรุป

ตาแพ้แสง คืออาการที่ดวงตาไวต่อแสงผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถทนต่อแสงธรรมชาติ แสงไฟ หรือแสงจากจอคอมพิวเตอร์ได้ ผู้ที่มีอาการมักจะหรี่ตาเมื่อเจอแสง เกิดตาแห้ง เคืองตา หรือมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ ตาแพ้แสงอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วยเช่นกัน สาเหตุมีทั้งจากพฤติกรรมการใช้สายตาหนักเกินไป เช่น การเพ่งจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และจากความผิดปกติทางตา เช่น ตาอักเสบ ตาติดเชื้อ แผลกระจกตา รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท

หากมีความผิดปกติของดวงตา มาเช็กสุขภาพตาอย่างละเอียดที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย

calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111