Blogs : #ตาขี้เกียจ

Sort

Dry eyes

Dry eyes Tears play a crucial role in keeping our eyes moist, ensuring clear vision by letting light effectively pass through the eye's lens, and supplying oxygen to nourish the eye. They also help fend off infections and keep foreign substances at bay.   Now, when it comes to dry eyes, it's a pretty common issue that can stem from abnormal tear production or tears evaporating too quickly. This can lead to discomfort, irritation, that feeling like there's something foreign in your eye, redness, pain, blurry vision that gets better with blinking, or even feeling like your eyes are tired and heavy. What causes dry eyes can vary—getting older, being a woman (yeah, we're more prone to it), certain allergy medications, spending loads of time on screens, being in places with dust and smoke, gusty winds, and bright lights, they can all have a hand in it.   But hey, the good news is there are ways to tackle dry eyes:   Keep away from things that can make it worse, like strong winds and dust, by popping on some sunglasses and protecting those peepers. Remember to take breaks or blink more often, especially when you're glued to screens for a while. You've got these cool eye drops called artificial tears. There's a type for daytime (more watery) and nighttime (a bit thicker). Which one to use depends on how serious your dry eye situation is. Sometimes your doc might suggest special eye drops that encourage your eyes to make more tears. Give your eyes a treat with warm, clean cloths over your closed eyelids to help them feel better. If the dry eye struggle is real and isn't improving, it's wise to chat with an eye doctor.   All in all, dry eyes can be a bother, but there are solutions out there. It's important to take good care of your eyes, especially when it's all dry outside. If you suspect you've got dry eyes, having a chat with an eye care expert is a smart move.      
Read More

รู้เท่าทันโรคตาขี้เกียจ! วิธีสังเกตอาการ พร้อมหาสาเหตุและวิธีรักษา

โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eyes คือโรคที่พบบ่อยในเด็ก หากปล่อยไว้นานโดยไม่ทำการรักษาจะมีผลต่อกล้ามเนื้อตาในระยะยาวได้ ผู้ปกครองจึงควรสังเกตอาการและพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเพ่งมองสิ่งต่างๆ ปวดศีรษะร่วมกับปวดตา และมองเห็นชัดข้างเดียว ควรพาพบแพทย์เนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคตาขี้เกียจได้ มาดูว่าโรคตาขี้เกียจคืออะไร มีอาการอย่างไร การวินิจฉัย พร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่ โรคตาขี้เกียจคืออาการที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างสูญเสียประสิทธิภาพการมองเห็นจนสมองปิดการรับรู้ อาการของตาขี้เกียจที่สังเกตได้ เช่น ต้องเพ่งมอง ตาล้า ปวดศีรษะง่ายหรืออาจพบต้อในตาได้ โรคตาขี้เกียจรักษาได้หลายวิธี ทั้งการปิดตาหนึ่งข้าง การใส่แว่น การใช้ยาหยอดตาขยายรูม่านตา เป็นต้น อาการตาขี้เกียจป้องกันได้โดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กหรือหมั่นตรวจสุขภาพและสายตาอย่างสม่ำเสมอ รักษาโรคตาขี้เกียจที่ศูนย์รักษาโรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospital มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ประสบการณ์สูงในเรื่องการรักษาตาขี้เกียจ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับการรักษาที่ทันสมัย ใส่ใจการให้บริการในทุกเคส     โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) คืออะไร โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Lazy Eyes คืออาการที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมองเห็นไม่ชัดจนทำให้สมองปิดการรับรู้ หรือทำให้ประสาทสัมผัสปิดการใช้งานและพัฒนาด้านอื่นแทน จนทำให้กล้ามเนื้อตานั้นอ่อนแอและมีการมองเห็นที่แย่ลง เป็นโรคสายตาที่พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีได้ 2 - 5% โรคตาขี้เกียจ มีอาการอย่างไร ตาขี้เกียจมีอาการที่สามารถสังเกตที่บ่งชี้ได้ โดยสังเกตได้จากการพฤติกรรมการมองของเด็ก ดังนี้ เพ่งตามองสิ่งต่างๆ ในระยะใกล้ หรือเอียงคอมอง ปิดตาข้างใดข้างหนึ่งเพื่อมองให้ชัดเจน ตาเหล่หรือตาเข ปวดศีรษะร่วมกับอาการตาล้าหรือปวดตาบ่อยๆ     สาเหตุโรคตาขี้เกียจ เกิดจากอะไร สาเหตุของโรคตาขี้เกียจอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. ค่าสายตาผิดปกติตั้งแต่เด็ก หากมีค่าสายตามากทั้งสองข้างตั้งแต่เด็กจะทำให้สมองปิดการรับรู้จนหยุดพัฒนาค่าสายตาและพัฒนาประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ทดแทน หรือหากมีค่าสายตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งที่มากตั้งแต่เด็กจะทำให้การพัฒนาการมองเห็นมีเพียงข้างเดียวและส่งผลให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแอได้ในระยะยาว 2. อาการตาเหล่ ตาเข อาการตาเหล่หรือตาเขข้างเดียวเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้มากที่สุด เนื่องจากอาการตาเหล่หรือ ตาเขข้างเดียวจะทำให้ดวงตานั้นมีการใช้สายตาเพียงข้างเดียว หากเกิดขึ้นกับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะทำให้การพัฒนาสายตาด้านการรับรู้ภาพ 3 มิตินั้นไม่เต็มที่ หากไม่รักษาดวงตาที่ไม่สามารถรับภาพ 3 มิติได้จะกลายเป็นโรคตาขี้เกียจที่รักษาได้ยาก 3. ภาวะเปลือกตาตก ภาวะเปลือกตาตก หากมีอาการเปลือกตาตกจะทำให้ถูกบดบังการมองเห็นหรือมองเห็นได้ไม่เต็มที่ ทำให้สายตานั้นทำงานได้แย่ลง จนเกิดเป็นโรคตาขี้เกียจได้ทั้งสองข้าง 4. ระบบประสาทผิดปกติ สาเหตุของตาขี้เกียจจากระบบประสาทผิดปกติ หากมีความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง กระแสประสาทหรือเส้นประสาทดวงตา ทำให้สมองไม่สามารถประมวลผลหรือรับภาพได้ตามปกติ จะทำให้การพัฒนาของสายตาทำได้ไม่เต็มที่จนเกิดโรคตาขี้เกียจ 5. โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โรคทางสายตาอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้ เช่นต้อกระจกเลนส์ตาผิดปกติหรือจอประสาทตาเสื่อมในเด็ก ทำให้การมองเห็นของดวงตาผิดปกติหรือไม่ชัดเจน จนเกิดเป็นโรคตาขี้เกียจได้     ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคตาขี้เกียจ ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาขี้เกียจคืออาจทำให้สูญเสียการมองเห็นแบบภาพ 3 มิติและสายตาสั้นผิดปกติได้ หากไม่รักษาตั้งแต่ก่อนอายุ 2 ปีก็จะทำให้รักษาไม่ค่อยเห็นผล และมีผลต่อการมองเห็นได้มาก จึงควรสังเกตอาการตั้งแต่ยังเด็กและรีบรักษาให้เร็วที่สุด การวินิจฉัยอาการตาขี้เกียจจากแพทย์ การวินิจฉัยโรคตาขี้เกียจโดยแพทย์นั้นจะทำการตรวจดูอาการตาเหล่ ตาเข เปลือกตา หรือส่วนอื่นๆ ในดวงตาที่อาจบดบังหรือทำให้การมองเห็นไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังต้องวินิจฉัยอาการตาขี้เกียจจากการวัดค่าสายตาของดวงตาทั้งสองข้างด้วย     แนวทางการรักษาโรคตาขี้เกียจ การรักษาโรคตาขี้เกียจนั้น หากยิ่งพบแพทย์และทำการวินิจฉัยการรักษาเร็วก็ยิ่งได้ประสิทธิภาพ โดยแพทย์จะทำการประเมินโรคตาขี้เกียจจากสาเหตุและอาการต่างๆ เพื่อเลือกวิธีรักษา ดังนี้ การสวมใส่แว่น การสวมใส่แว่นจะเป็นการรักษาตาขี้เกียจที่เกิดจากค่าสายตาที่มากผิดปกติ โดยการใส่แว่นจะช่วยปรับให้ดวงตาที่มีอาการตาขี้เกียจนั้นถูกกระตุ้นและใช้งานได้ดีขึ้นจนทำให้เกิดการพัฒนาการมองเห็นขึ้นตามลำดับ วิธีการรักษาตาขี้เกียจด้วยการสวมแว่นอาจทำร่วมกับการปิดตาข้างหนึ่งหากอาการตาขี้เกียจนั้นเกิดจากค่าสายตามากข้างเดียวหรืออาการตาเหล่ตาเขข้างเดียว การปิดตาข้างเดียว การปิดตาข้างเดียว เป็นการกระตุ้นในกรณีที่มีอาการโรคตาขี้เกียจข้างเดียว เนื่องจากอาการตาขี้เกียจคือการหยุดใช้งานดวงตา การปิดตาข้างเดียวจะเป็นการกระตุ้นให้ดวงตาที่หยุดการทำงานหรือการพัฒนานั้นกลับมาถูกกระตุ้นและใช้งานมากขึ้นเพื่อให้เทียบเท่ากับดวงตาที่มีการใช้งานปกติ การรักษาตาขี้เกียจด้วยการปิดตาข้างเดียวนั้นอาจใช้ระยะเวลา 5 - 6 ชั่วโมงต่อวันหรือตามที่แพทย์แนะนำ ในระหว่างการรักษาด้วยการปิดตาข้างเดียวในแต่ละวันนั้นควรที่จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กที่รับการรักษาได้ถูกกระตุ้นให้ใช้ดวงตาตามปกติมากที่สุด วิธีการรักษาตาขี้เกียจด้วยการปิดตาข้างเดียวต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการรักษาและอาจใช้ระยะเวลาหลายเดือนหรือเป็นปีจนกว่าอาการตาขี้เกียจจะถูกกระตุ้นจนสามารถพัฒนาต่อได้ หยอดยาขยายรูม่านตา การหยอดยาขยายรูม่านตา ใช้ในกรณีที่คล้ายคลึงกันกับการปิดตาข้างเดียว คือการลดการมองเห็นของดวงตาข้างที่ถนัดเพื่อเปิดการกระตุ้นการใช้งานดวงตาที่มีอาการของโรคตาขี้เกียจให้มากขึ้น เนื่องจากการขยายรูม่านตาจะทำให้การมองเห็นนั้นน้อยลง การผ่าตัดรักษาตาขี้เกียจ การผ่าตัดรักษาโรคตาขี้เกียจ เป็นการแก้ไขอาการตาขี้เกียจที่เกิดจากอาการตาเหล่ ตาเข หรือหนังตาตกโดยแก้ที่สาเหตุของโรค เมื่อผ่าตัดรักษาอาการตาเหล่ ตาเข และหนังตาตกที่บดบังการมองเห็นหรือทำให้การมองเห็นไม่สมบูรณ์แล้ว ก็จะทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้นและมีการกระตุ้นสายตาให้พัฒนาขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับอาการตาขี้เกียจในวัยผู้ใหญ่ที่มีการพัฒนาการมองเห็นเต็มที่แล้ว ป้องกันอาการตาขี้เกียจได้อย่างไร การรักษาอาการตาขี้เกียจอาจทำได้ยาก แพทย์จึงแนะนำให้ป้องกันอาการตาขี้เกียจตั้งแต่เนิ่นๆ โดยมีแนวทางในการป้องกัน ได้แก่ ตรวจสุขภาพและค่าสายตาเป็นประจำ โดยเฉพาะเด็กก่อนอายุ 2 - 3 ปี หมั่นสังเกตอาการที่อาจบ่งชี้ถึงโรคตาขี้เกียจ เช่น อาการเพ่งหรือเอียงคอมองสิ่งต่างๆ อาการปวดศีรษะหรือดวงตา สังเกตการค่าสายตาที่แตกต่างกันของดวงตาทั้งสองข้าง สอนให้เด็กรู้จักการสังเกตการมองเห็นของตนเองเพื่อให้รับรู้ได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่พบความผิดปกติซึ่งอาจนำไปสู่โรคตาขี้เกียจได้ รักษาโรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) ที่ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการตาขี้เกียจ (Amblyopia) แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตาเข มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy eyes คือ อาการที่การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างนั้นมีปัญหาจนทำให้สมองปิดการรับรู้หรือหยุดพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและนำไปพัฒนาด้านอื่นทดแทน หากปล่อยไว้นานและไม่ทำการรักษาจะส่งผลในระยะยาวคือทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแอหรือสายตาสั้นผิดปกติ หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็นของลูก แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยการรักษามีหลากหลายวิธี เช่น การใส่แว่น การปิดตาหนึ่งข้าง หรือการหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อเป็นการปรับการมองเห็น และกระตุ้นสายตาข้างที่มีอาการของโรคตาขี้เกียจให้มีการใช้งานและพัฒนาการมองเห็นให้ดีขึ้น ที่ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospitalมีการดูแลจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือในการรักษาที่ทันสมัย ดูแลอย่างครบวงจรตั้งแต่ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา การวินิจฉัย และการรักษาโรคตาขี้เกียจ ด้วยใจบริการที่ใส่ใจในทุกเคสภายใต้สถานที่ที่มีความเป็นกันเอง ทำให้มั่นใจในการรักษาได้อย่างผ่อนคลายไร้กังวล
calling
Contact Us : +66 84 979 3594