Blogs : #กระจก

Sort

Dry eyes

Dry eyes Tears play a crucial role in keeping our eyes moist, ensuring clear vision by letting light effectively pass through the eye's lens, and supplying oxygen to nourish the eye. They also help fend off infections and keep foreign substances at bay.   Now, when it comes to dry eyes, it's a pretty common issue that can stem from abnormal tear production or tears evaporating too quickly. This can lead to discomfort, irritation, that feeling like there's something foreign in your eye, redness, pain, blurry vision that gets better with blinking, or even feeling like your eyes are tired and heavy. What causes dry eyes can vary—getting older, being a woman (yeah, we're more prone to it), certain allergy medications, spending loads of time on screens, being in places with dust and smoke, gusty winds, and bright lights, they can all have a hand in it.   But hey, the good news is there are ways to tackle dry eyes:   Keep away from things that can make it worse, like strong winds and dust, by popping on some sunglasses and protecting those peepers. Remember to take breaks or blink more often, especially when you're glued to screens for a while. You've got these cool eye drops called artificial tears. There's a type for daytime (more watery) and nighttime (a bit thicker). Which one to use depends on how serious your dry eye situation is. Sometimes your doc might suggest special eye drops that encourage your eyes to make more tears. Give your eyes a treat with warm, clean cloths over your closed eyelids to help them feel better. If the dry eye struggle is real and isn't improving, it's wise to chat with an eye doctor.   All in all, dry eyes can be a bother, but there are solutions out there. It's important to take good care of your eyes, especially when it's all dry outside. If you suspect you've got dry eyes, having a chat with an eye care expert is a smart move.      
Read More

What Is Keratoconus?

กระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วยส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติไป หากปล่อยไว้นานอาจสายเกินแก้อาจนำไปสู่อาการสายตาสั้นหรือสายตาเอียง บทความนี้จะพามาหาสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา เพื่อให้สามารถดูแลและลดความเสี่ยงต่อปัญหากระจกตาโก่งได้อย่างถูกต้อง   กระจกตาโก่ง เป็นภาวะที่กระจกตาบางลงเป็นรูปทรงกรวยหรือโก่งนูน จนแสงหักเหเข้าสู่ดวงตาอย่างผิดปกติ กระจกตาโก่งจะส่งผลให้การมองเห็นถดถอย มองเห็นภาพไม่ชัด ผิดเพี้ยน และมีค่าสายตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคกระจกตาโก่ง คือกลุ่มวัยรุ่นที่มีโครงสร้างกระจกตาเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ผู้ที่ขยี้ตาแรงบ่อยๆ รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น ดาวน์ซินโดรม ควรรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการกระจกตาโก่งร่วมกับการเคืองตา ตาแดง ปวดศีรษะ และการมองเห็นแย่ลงอย่างรวดเร็ว     กระจกตาโก่ง คืออะไร โดยปกติแล้วกระจกตาจะมีความหนาโดยเฉลี่ยที่ 530-550 ไมครอน หรือประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และมีรูปทรงโค้งที่สม่ำเสมอ ซึ่งทำให้แสงหักเหอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เห็นภาพที่คมชัด แต่กระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วย (Keratoconus) คือภาวะที่กระจกตาเริ่มบางลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นรูปทรงกรวยหรือโก่งนูนผิดปกติ ทำให้แสงหักเหเข้าสู่ดวงตาได้ไม่ถูกต้อง มองเห็นเป็นภาพเบลอ บิดเบี้ยว ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นาน อาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนมีปัญหาด้านการมองเห็นได้ ผลกระทบจากกระจกตาโก่ง อาการกระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วยส่งผลต่อการมองเห็นได้ การที่กระจกตาที่บางและเปลี่ยนเป็นรูปทรงกรวยนั้น ทำให้การหักเหแสงผิดพลาด ไม่รวมจุดโฟกัสให้เป็นภาพเดียว ทำให้มองเห็นภาพเบลอ ผิดเพี้ยน เกิดเป็นปัญหาสายตาเอียง สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยๆ นอกจากนี้อาการกระจกตาโก่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ จากการที่โครงสร้างกระจกตาเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เป็นแผลที่กระจกตากระจกตาติดเชื้อกระจกตาบางจนบวมน้ำและแตกออก หรือเกิดวงแหวนในกระจกตา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่งผลต่อการมองเห็นให้ถดถอยลงอย่างมาก และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้     สังเกตอาการกระจกตาโก่งได้อย่างไร กระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วยจะเริ่มแสดงอาการชัดเจนขึ้นเมื่อมีอายุ 13 ปี หรือเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น และจะแสดงอาการยาวนานจนถึง 10 - 20 ปี โดยผู้ที่มีภาวะกระจกตาโก่ง โดยสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ ภาพที่มองเห็นมีความเบลอ มัว และผิดเพี้ยนตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น ต้องเปลี่ยนแว่นสายตาหรือคอนแท็กต์เลนส์บ่อยครั้ง เนื่องจากค่าสายตาเอียง สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตาไวต่อแสง ไม่สามารถมองสู้แสงได้ มีอาการเคืองตา แสบตา มีอาการปวดตาร่วมกับปวดศีรษะ หากมีอาการหนักจนเกิดแผลที่กระจกตา หรือกระจกตาบวมน้ำจนแตก การมองเห็นจะเสื่อมลงอย่างรุนแรง สาเหตุของอาการกระจกตาโก่ง กระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วยเกิดจากความผิดปกติของเส้นใยคอลลาเจนของกระจกตา ที่มีความอ่อนแอลง หรือมีการเรียงตัวที่ไม่สม่ำเสมอ กระจกตาจึงไม่แข็งแรง เมื่อปล่อยไว้นาน กระจกตาจะบางลงเรื่อยๆ และโก่งนูนออกมา ซึ่งที่มาของการเกิดโรคกระจกตาโก่งนั้นยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ปัจจัยบางอย่างอาจก่อให้เกิดอาการกระจกตาโก่งได้ เช่น เกิดจากพันธุกรรม ครอบครัวมีประวัติการเป็นกระจกตาโก่ง การขยี้ตาแรงๆ บ่อยๆ เป็นเวลานาน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ขึ้นตา ที่มักจะคันตาอยู่เสมอ ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป มีอาการกระจกตาโก่งร่วมกับบางโรค เช่น ดาวน์ซินโดรม โรคหนังยืดผิดปกติ โรคหืด     กลุ่มเสี่ยงกระจกตาโก่ง มีใครบ้าง กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระจกตาโก่งนั้น มักเป็นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของกระจกตา เช่น ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระจกตามากที่สุด ผู้ที่ขยี้ตาแรงๆ บ่อยๆ จากโรคภูมิแพ้ขึ้นตา หรือเมื่อมีอาการคันตา ผู้ที่ใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานาน ซึ่งทำให้กระจกตาบางลงได้ ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงหรือสายตาสั้น ร่วมกับมีค่าสายตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยๆ ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม มีแนวโน้มเกิดอาการกระจกตาโก่งได้มากกว่าปกติ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียงตัวของคอลลาเจน เช่น ผู้ป่วยกล้ามเนื้อ หลอดเลือด น้ำเหลือง และเส้นประสาท ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางโรคตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคครูซอง โรคหนังยืดผิดปกติ โรคกระดูกเปราะพันธุกรรม เป็นต้น อาการกระจกตาโก่งแบบไหนต้องรีบพบแพทย์ หากการมองเห็นแย่ลงอย่างรวดเร็ว หรือมีอาการผิดปกติบนดวงตา เช่น เคืองตา ตาแดง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากโรคกระจกตาโก่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด หากแพทย์พบการเปลี่ยนแปลงของกระจกตาได้เร็วเท่าไร ก็จะยิ่งรักษาได้เร็วเท่านั้น     วินิจฉัยกระจกตาโก่งโดยแพทย์ โรคกระจกตาโก่งมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจประเมินสภาพดวงตาเพื่อทำเลสิก หรือเพื่อรักษาโรคทางตาอื่นๆ เมื่อแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นกระจกตาโก่ง จะตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดด้วยเครื่องตรวจวัดพื้นผิวและความหนากระจกตา (Corneal topography) ต่อมาการวินิจฉัยโรคกระจกตาโก่งเริ่มต้นด้วยการซักประวัติโรคทางตาของคนในครอบครัว สอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงตรวจสายตาด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้ 1. ทดสอบความสามารถในการมองเห็น (Visual Acuity) เป็นการทดสอบด้วยการอ่านแผนภูมิวัดสายตา Snellen Chart ซึ่งเป็นแผนภูมิที่มีชุดตัวเลข 8 แถว และจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ในแต่ละแถว โดยจะวาง Snellen Chart ห่างออกในระยะ 6 เมตร จากนั้นเริ่มวัดสายตาทีละข้าง เพื่อประเมินระดับการมองเห็นที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมีการทดสอบสายตาด้วยการใช้เครื่องมือ Phoropter ที่เปลี่ยนเลนส์เพื่อแก้ไขการหักเหแสงของดวงตาได้ เมื่อผู้ที่รับการตรวจด้วย Phoropter เริ่มรู้สึกว่ามองเห็นชัดขึ้นตามปกติ แพทย์ก็จะนำค่าสายตาที่วัดได้ไปอ้างอิงในการตัดแว่นสายตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ต่อไป ผู้ที่มีอาการกระจกตาโก่งมักจะมีปัญหาสายตาสั้น สายตาเอียง การทดสอบความสามารถในการมองเห็นเหล่านี้ จะช่วยระบุได้ว่ามีสายตาที่ผิดปกติอย่างไร และมีค่าสายตาเท่าใด 2. วัดความโค้งกระจกตา (Keratometry) การตรวจโดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่าเคอราโตมิเตอร์ (Keratometer) ส่องแสงเข้าไปในกระจกตา เพื่อดูการหักเหของแสง และวัดความโค้งของกระจกตาจากการสะท้อนของแสง ผู้ที่มีความโค้งหรือรูปร่างกระจกตาที่ผิดปกติ จะมีปัญหาสายตาต่างๆ เช่น สายตาสั้น สายตาเอียง และมีแนวโน้มที่จะเป็นกระจกตาโก่งได้ 3. การส่องกล้องจุลทรรศน์ดวงตา (Slit Lamp Examination) Slit Lamp คือกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่ส่องดวงตาให้เห็นทั้งภายนอกและภายในเป็นรูปแบบสามมิติ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะวางคางและหน้าผากให้แนบชิดกับเครื่อง จากนั้นแพทย์จะบังคับกล้องไปยังจุดที่ต้องการตรวจ แล้วปรับลำแสงให้กว้างขึ้นหรือแคบลงตามความต้องการเพื่อตรวจดูส่วนต่างๆ ของดวงตาอย่างชัดเจน หากผู้เข้ารับการตรวจมีลักษณะดวงตาที่เปลี่ยนไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระจกตาโก่งได้ 4. วัดกำลังสายตา (Retinoscope) เรติโนสโคป (Retinoscope) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการหักเหของแสงในดวงตา โดยการใช้แสงจากเครื่องส่องไปที่ดวงตาของผู้เข้ารับการตรวจ แล้วสังเกตการสะท้อนกลับจากกระจกตา เพื่อประเมินว่าแสงถูกหักเหอย่างไรบ้าง ซึ่งมีหลักการคล้ายกับการตรวจด้วย Keratometer แตกต่างกันที่ Keratometer นั้นใช้ในการวัดรูปร่างและความโค้งของกระจกตา แต่ Retinoscope ใช้เพื่อตรวจดูความผิดปกติของการหักเหแสงในดวงตา ซึ่งผู้ที่มีอาการกระจกตาโก่ง ก็จะมีการหักเหของแสงในดวงตาที่ผิดเพี้ยนไป     แนวทางการรักษากระจกตาโก่ง แนวทางการรักษากระจกตาโก่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยหลังจากแพทย์ประเมินอาการและแล้วจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้ดังนี้ 1. การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์ หากอาการกระจกตาโก่งยังอยู่ในระยะเริ่มต้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการสวมใส่แว่นสายตา หรือคอนแท็กต์เลนส์ชนิดพิเศษ ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิด เช่น Scleral Lens, RGP Lens เป็นต้น การจะใช้คอนแท็กต์เลนส์ชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามที่แพทย์ประเมินให้ 2. การฉายแสง การฉายแสงที่กระจกตา (Corneal Cross-Linking) เป็นวิธีการรักษากระจกตาโก่งโดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับวิตามินบี (Riboflavin) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของเส้นใยคอลลาเจนในกระจกตา เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และยังให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพด้วย ทั้งนี้ การฉายแสงเหมาะสำหรับผู้ที่กระจกตายังคงมีความหนาและไม่มีแผลที่ผิวกระจกตาเท่านั้น ผู้ที่มีกระจกตาหนาน้อยกว่า 400 ไมครอน หรือเคยมีการติดเชื้อที่กระจกตา ไม่เหมาะแก่การรักษาด้วยวิธีนี้ 3. การผ่าตัดใส่วงแหวนขึงกระจกตา การใส่วงแหวนขึงกระจกตา เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาโก่งมาก หรือสายตาเอียงมากจนไม่สามารถสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์ได้ วิธีนี้ที่ช่วยปรับรูปร่างของกระจกตาให้แบนลงและกลับมาใกล้เคียงกับกระจกตาปกติ เพื่อให้ผู้ที่มีกระจกตาโก่งมากสวมใส่แว่นหรือคอนแท็กต์เลนส์แก้ไขปัญหาสายตาได้ และจะรักษาด้วยการสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์หรือแว่นต่อไป 4. การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ในกรณีที่อาการกระจกตาโก่งมีความรุนแรงมาก มีแผลเป็นที่กระจกตา และการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ได้ผล อาจต้องทำการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ซึ่งเป็นการรักษาที่ช่วยให้ความโค้งของกระจกตากลับมาใกล้เคียงกับปกติและช่วยให้มองเห็นได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายกระจกตานั้นมีความซับซ้อน และต้องรอรับการบริจาคกระจกตา อีกทั้งยังต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูกระจกตานานมากกว่า 1 ปี การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการกระจกตาโก่ง อาการกระจกตาโก่งไม่สามารถป้องกันได้ แต่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลตัวเองดังนี้ หลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรงๆ บ่อยๆ ไม่สวมใส่คอนแท็กต์เลนส์ข้ามคืน ลดการใช้สายตาหนักๆ จนตาล้า บริหารดวงตาด้วยการกลอกตาไปมา แทนการใช้นิ้วกดหรือนวดไปที่ดวงตา ปกป้องดวงตาจากแสงแดด และแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือ หมั่นตรวจสุขภาพตา และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาว่าเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือไม่ รักษาอาการกระจกตาโก่ง ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการที่เข้าข่ายเป็นโรคกระจกตาโก่ง แนะนำให้เข้ามาปรึกษา วินิจฉัย และรักษาได้ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospitalศูนย์เฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพดวงตา ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมีจุดเด่นดังนี้ ทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมเครื่องมือมาตรฐานระดับสากล เพื่อความแม่นยำและความปลอดภัยในการรักษา ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง การบริการที่ใส่ใจ พร้อมบรรยากาศโรงพยาบาลที่อบอุ่นและเป็นกันเอง สรุป โรคกระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วย เป็นภาวะที่กระจกตาบางลงจนโก่งนูน ส่งผลให้มองเห็นเป็นภาพเบลอ ผิดเพี้ยน โดยสาเหตุการเกิดโรคนี้ยังไม่แน่ชัด แต่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การขยี้ตา และการป่วยเป็นโรคบางชนิด ซึ่งการรักษากระจกตาโก่งทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ตั้งแต่การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์ การฉายแสง ไปจนถึงการผ่าตัดใส่วงแหวน หรือผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา หากกำลังสงสัยว่ามีอาการเข้าข่ายกระจกตาโก่ง แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospitalที่นี่มีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการบริการที่ครบวงจร เพื่อให้ดวงตาคู่สำคัญได้รับการดูแลที่ดีและปลอดภัย

What Is a Corneal Ulcer?

แผลที่กระจกตาอันตรายมากกว่าที่คิด อาจทำให้กระจกตาติดเชื้อจนอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้! บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการกระจกตาเป็นแผลว่าคืออะไร มีอาการอย่างไร พร้อมหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ตลอดจนการดูแลดวงตาเพื่อลดความเสี่ยงเป็นแผลที่กระจกตา หาคำตอบได้ที่นี่   แผลที่กระจกตา คือ การที่กระจกตาได้รับบาดเจ็บจนเกิดเป็นแผล มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น แผลที่กระจกตามีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป หากเป็นแผลเพียงเล็กน้อยจะรักษาได้ด้วยการทานยา แต่หากมีอาการรุนแรงก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ แผลที่กระจกตาที่สังเกตได้ เช่น ปวดตา ตาอักเสบ ตาแดง มีน้ำตาไหลออกมา หรือมีหนองในดวงตา เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดจากแผลที่กระจกตา เช่น การติดเชื้อภายในลูกตา โรคต้อหิน หรือกระจกตาทะลุ ตลอดจนเป็นสาเหตุที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร การรักษากระจกตาเป็นแผลทำได้ 2 วิธี คือ การรักษากระจกตาเป็นแผลด้วยยาในกรณีที่อาการไม่รุนแรง และการรักษากระจกตาเป็นแผลด้วยการผ่าตัดในกรณีที่มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง     ทำความรู้จักแผลที่กระจกตา คืออะไร กระจกตาของคนเราเปรียบเหมือนกระจกหน้ารถยนต์ที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากภายนอก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดการติดเชื้อขึ้น อาจส่งผลให้กระจกตาเป็นแผลได้ โดยแผลที่กระจกตาคือรอยโรคที่เกิดขึ้นบริเวณกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่ใสและโค้งของผิวดวงตา มีหน้าที่ช่วยในการหักเหแสง หากเป็นแผลจะทำให้รู้สึกปวดตา ตาแดง และมองเห็นผิดปกติได้ ดังนั้นการรักษาแผลที่กระจกตาเป็นสิ่งที่จำเป็น และควรรีบซ่อมแซมอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ด่านหน้าที่ช่วยป้องกันดวงตาสามารถกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง อาการแผลที่กระจกตา เป็นอย่างไร อาการกระจกตาเป็นแผล สังเกตได้จากอาการผิดปกติเหล่านี้   ปวดตา โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมาก ระคายเคือง คันบริเวณรอบดวงตา ตาอักเสบ ตาแดง เปลือกตาบวม แสบตา น้ำตาไหลอยู่ตลอด มีหนองในตา หรือมีของเหลวไหลออกจากดวงตา บางรายอาจพบว่ามีจุดสีขาว หรือสีเทาขนาดเล็กในดวงตา     หาสาเหตุแผลที่กระจกตา เกิดจากอะไรได้บ้าง แผลที่กระจกตาเกิดได้จากหลายสาเหตุใดบ้าง? โดยปกติแล้วสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดแผลที่กระจกตาได้ ดังนี้ แผลที่กระจกตาจากการติดเชื้อ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อ โดยสามารถแบ่งเชื้อโรคได้หลายชนิด ได้แก่ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเช่น เชื้อไวรัสโรคงูสวัด เชื้อเริม แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแบคทีเรียจะผลิตสารที่เป็นพิษเข้าไปทำลายดวงตา ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดแผลที่กระจกตาได้ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อรามักเกิดในกรณีที่กระจกตาถูกกระทบจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ใบไม้ ใบหญ้าเข้าตา แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิตเช่น เชื้ออะมีบา ทั้งนี้การเกิดแผลที่กระจกตาจากการติดเชื้ออะมีบานั้น เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย แต่เมื่อเกิดแล้ว จะมีอันตรายมากกว่าการติดเชื้อแบบอื่นๆ แผลที่กระจกตาจากปัจจัยอื่น ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดแผลที่กระจกตา ได้แก่ ผู้ที่มีขนตายาวมากจนขนตาทิ่มเข้าไปในดวงตา เกิดการระคายเคืองจนส่งผลให้เกิดแผลที่กระจกตา ผู้ที่สวมคอนแท็กต์เลนส์เกิดจากการดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่เพียงพอ ทำให้ดวงตาอักเสบหรือติดเชื้อ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา เช่น ฝุ่นหรือก้อนหินกระเด็นเข้าตา หรือมีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ กระเด็นเข้ามาที่ดวงตา ผู้ที่มีภาวะตาแห้งร่างกายสร้างน้ำตาหล่อลื่นได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ดวงตาระคายเคืองได้ง่าย ส่งผลทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้     ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากแผลที่กระจกตา ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากแผลที่กระจกตา มีดังนี้ กระจกตาทะลุคือการที่กระจกตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนกระจกตาทะลุ กระจกตาติดเชื้อคือการที่เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรียต่างๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตา ตาแดง ตามัว ไม่สามารถสู้แสงได้ โรคต้อหินคือการที่ร่างกายมีค่าความดันลูกตาสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าเป็น จนกว่าจะเริ่มมีอาการอื่นๆ เช่น เริ่มมองเห็นไม่ชัด มองเห็นได้ในระยะแคบลง หรือในกรณีที่เกิดโรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ตาแดง มองเห็นเฉพาะทางตรง ภาวะม่านตาอักเสบคือภาวะที่มีการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อส่วนกลางภายในลูกตา ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนนี้ประกอบไปด้วยเส้นเลือดจำนวนมาก เมื่อเกิดการอักเสบจึงส่งผลต่อการมองเห็นเป็นอย่างมาก การวินิจฉัยแผลที่กระจกตาโดยแพทย์ เมื่อเกิดแผลที่กระจกตา คนไข้จะมีอาการเจ็บที่ตา หรือตาอักเสบได้ ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคทางดวงตาโดยทั่วไป ทั้งนี้แพทย์จะเริ่มทำการวินิจฉัยโดยอิงจากขั้นตอน ดังต่อไปนี้ แพทย์ซักประวัติเบื้องต้นเช่น โรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา หรือประวัติการใช้ยาต่างๆ แพทย์สืบหาสาเหตุเช่น มีอาการผิดปกติจากอะไร พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงทำให้เกิดแผลที่กระจกตา แพทย์ตรวจตาอย่างละเอียดด้วยกล้องตรวจตาชนิดลำแสงแคบ (Slit lamp biomicroscope) เพื่อดูความเสียหายที่เกิดขึ้น แพทย์ขูดกระจกตาเพื่อนำตัวอย่างเชื้อออกมา แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาต้นตอของการติดเชื้อว่ามาจากเชื้อชนิดใด แพทย์แจ้งผลการวินิจฉัยพร้อมแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด แนวทางการรักษาแผลที่กระจกตา สำหรับแนวทางการรักษาแผลที่กระจกตา สามารถรักษาได้ทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่ การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยยา การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยการผ่าตัด โดยมีรายละเอียดดังนี้ การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยยา วิธีการรักษาแผลที่กระจกตาด้วยยาเป็นวิธีการรักษาแบบเบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลที่กระจกตาเพียงเล็กน้อย มีรอยแผลตื้น กระจกตาไม่ได้ถูกฉีกขาดอย่างหนัก สามารถทานยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสเพื่อรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยการผ่าตัด วิธีการรักษาแผลที่กระจกตาด้วยการผ่าตัดเป็นการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง โดยแพทย์จะนำเนื้อเยื่อกระจกตาเดิมออก จากนั้นทำการเปลี่ยนเนื้อเยื่อกระจกตาใหม่ด้วยการใช้เนื้อเยื่อกระจกตาของผู้ที่บริจาคเข้าไปแทน     ดูแลดวงตาอย่างไร ให้ห่างไกลแผลที่กระจกตา วิธีการดูแลรักษาดวงตาเพื่อลดความเสี่ยงกระจกตาเป็นแผล มีดังนี้ สวมอุปกรณ์ป้องกันรอบดวงตาเมื่อต้องทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น งานช่าง งานสัมผัสสารเคมี เป็นต้น หมั่นดูแลรักษาความสะอาดบริเวณดวงตา หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือลูบคลำบริเวณรอบดวงตา สำหรับผู้ที่สวมคอนแท็กต์เลนส์ ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมใส่และควรทำความสะอาดเลบนส์หลังใช้งานทุกครั้ง ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้า เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ รักษาแผลที่กระจกตา ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการแผลที่กระจกตา เข้ามารักษาได้ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospitalเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาดวงตาอย่างครบวงจร โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ ที่พร้อมดูแลตลอดทุกขั้นตอนจนถึงการติดตามผลการรักษา โรงพยาบาลมีเทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย โรงพยาบาลพร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ โรงพยาบาลใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศที่เป็นกันเอง สรุป แผลที่กระจกตา คืออาการกระจกตาได้รับบาดเจ็บจนเกิดเป็นแผล มีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตลอดจนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ หากเป็นแผลขนาดเล็กสามารถรักษาได้ด้วยการทานยา แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง ร่วมกับการติดเชื้อ แพทย์จะแนะนำให้่าตัดเพื่อรักษา อาการกระจกตาเป็นแผลไม่ควปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงต้อหินและการสูญเสียการมองเห็นได้ เข้ามารักษาอาการแผลที่กระจกตาได้ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospitalที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการด้วยความใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนการติดตามผล

Types of Cataract Surgery & Best Places for Treatment

Types of Cataract Surgery & Best Places for Treatment Understanding Cataracts Cataracts are a common eye condition that causes clouding of the eye's natural lens, leading to blurry vision, sensitivity to light, and difficulty seeing at night. This condition typically develops with age but can also result from injury, certain medications, or medical conditions such as diabetes. Risk Factors for Cataracts Several factors can increase the risk of developing cataracts, including: Aging – Most common cause, usually affecting people over 60. Genetics – A family history of cataracts can raise the risk. Diabetes – High blood sugar levels can contribute to cataract formation. Excessive Sun Exposure – UV radiation may accelerate lens clouding. Smoking and Alcohol Use – These habits increase oxidative stress, damaging the eye. Eye Injuries and Surgeries – Trauma or past eye procedures can lead to cataracts. Symptoms of Cataracts Symptoms may vary depending on the severity of the cataract, but common signs include: Blurry or cloudy vision Increased sensitivity to light and glare Difficulty seeing at night Faded or yellowed colors Frequent changes in eyeglass prescription Double vision in one eye Types of Cataract Surgery Cataract surgery is the only effective treatment for restoring clear vision. There are two primary surgical techniques: 1. Phacoemulsification (Phaco) Phacoemulsification is the most common and advanced cataract surgery method. It involves: Making a small incision in the cornea. Using ultrasound waves to break up the cloudy lens. Removing the lens fragments through suction. Implanting an artificial intraocular lens (IOL). Advantages: Minimally invasive with a quick recovery time. Requires only a small incision. Typically performed under local anesthesia. 2. Extracapsular Cataract Extraction (ECCE) ECCE is an older technique used for more advanced cataracts. This method includes: Making a larger incision to remove the entire lens in one piece. Implanting an IOL to restore vision. Advantages: Effective for severe cataracts. Suitable for patients with certain eye conditions that prevent the use of phacoemulsification. 3. Laser-Assisted Cataract Surgery This modern approach uses femtosecond laser technology to: Create precise corneal incisions. Soften and break up the cataract for easier removal. Enhance accuracy in IOL placement. Advantages: Greater precision and safety. Faster healing and reduced complications. Best Places for Cataract Surgery Treatment Choosing the right hospital or clinic for cataract surgery is crucial for ensuring successful outcomes. Below are factors to consider when selecting a treatment facility: 1. Specialized Eye Hospitals and Clinics Hospitals with dedicated ophthalmology departments often provide the best care. Look for institutions with: Experienced ophthalmologists specializing in cataract surgery. Advanced diagnostic and surgical technology. A strong track record of successful procedures. 2. Reputable Private Hospitals Many private hospitals offer premium cataract surgery services, including: Customized treatment plans. State-of-the-art surgical techniques. Shorter wait times and personalized patient care. 3. University and Teaching Hospitals These institutions often have some of the best ophthalmologists and the latest research-driven treatments. Patients may also have access to clinical trials and emerging surgical techniques. 4. Government and Public Hospitals For patients looking for cost-effective options, government hospitals provide quality cataract treatment at subsidized rates. Many accept insurance and government healthcare programs. Diagnosis and Consultation Process Step 1: Comprehensive Eye Examination Patients undergo a detailed eye assessment, including: Visual acuity tests. Slit-lamp examination to inspect the lens and retina. Tonometry to check intraocular pressure. Step 2: Treatment Recommendation Based on the severity of the cataract, the ophthalmologist will recommend the most suitable surgical approach. Step 3: Choosing an Intraocular Lens (IOL) Patients can choose from various IOL options, including: Monofocal Lenses – Provide clear vision at a single distance. Multifocal Lenses – Allow for near, intermediate, and distance vision. Toric Lenses – Correct astigmatism for sharper vision. Cost and Insurance Coverage The cost of cataract surgery varies depending on: The type of procedure (Phaco, ECCE, or Laser-assisted). Choice of hospital or clinic. Type of IOL implanted. Insurance and healthcare coverage. Many hospitals offer flexible payment options and insurance assistance to help patients manage treatment costs effectively. Why Choose a Leading Eye Hospital? Selecting a reputable hospital ensures: Expert ophthalmologists with extensive experience. Cutting-edge technology for precise surgery. Comprehensive post-operative care and follow-up. Book an Appointment Scheduling a consultation is easy. Patients can: Call the hospital’s ophthalmology department. Book an appointment through an online portal. Visit the hospital’s reception for walk-in consultations. Conclusion   Cataract surgery is a safe and effective way to restore clear vision and improve quality of life. By understanding the different types of cataract surgery and selecting a trusted medical institution, patients can achieve the best possible outcomes for their eye health.

ทำความเข้าใจอาการกระจกตาเสื่อม สาเหตุ วิธีการดูแลรักษาและป้องกัน

สาเหตุที่ทำให้กระจกตาถลอก พร้อมวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

กระจกตาคืออะไร? มีหน้าที่สำคัญกับดวงตาอย่างไร และวิธีดูแลกระจกตา

calling
Contact Us : +66 84 979 3594