มุมสุขภาพตา : #Dry eyes

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION

หลังทำเลสิก ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

หลังทำเลสิก ต้องดูแลตัวเองอย่างไร หลังทำเลสิก ต้องดูแลตัวเองอย่างไร      ภายหลังจากทำเลสิก ดวงตาของเราจะเปราะบางเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากสวิซเซอร์แลนด์ NanoRelex และ NanoLASIK ที่มีการใช้เลเซอร์พลังงานต่ำ จึงทำให้อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังทำเลสิกลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ ด้วยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ทำเลสิกมากกว่า 26 ปี การทำเลสิกกับ Laser Vision จึงมีความละเอียดและปลอดภัยในทุกขั้นตอน ในการรักษาการมองเห็นที่สดใสของดวงตาคุณให้กลับคืนมา   อาการข้างเคียงเบื้องต้นหลังการทำเลสิก      อย่างไรก็ตามการทำเลสิกอาจจะทำให้เกิดอาการค้างเคียงภายหลังทำเลสิกให้กับคนไข้ ซึ่งอาจจะมีอาการแตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคล ในระยะสั้น อาการที่พบบ่อย มีดังนี้ อาการระคายเคืองตา เป็นอาการที่พบได้ในช่วง 24 ช.ม.แรก ภายหลังทำเลสิก สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ใช้ทิชชู่ซับน้ำตารอบฝาครอบ หากมีน้ำตาไหลออกมา อาการนี้ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน สายตาไม่ชัด หรือมีอาการตาพร่ามัว อาการนี้มักเกิดขึ้นภายในสัปดาห์แรก ซึ่งเกิดมาจากอาการตาแห้งที่เกิดขึ้นจากการทำเลสิก เมื่อแผลสมานและหายดีแล้ว การมองเห็นก็จะชัดเจนดีขึ้นตามลำดับ การมองเห็นแสงไฟแตกกระจายในตอนกลางคืน อาการนี้มักพบใน 2 ลักษณะ คือ อาการมองเห็นแสงเป็นรูปแบบของแสงกระจาย (Glare) หรือ แสงรัศมีรอบดวงไฟ (Halo)  ซึ่งเกิดขึ้นจากผิวกระจกตาที่ไม่เรียบเพราะถูกแสงเลเซอร์เจียระไนปรับความโค้งของกระจกตา แต่เมื่อเวลาผ่านไป กระจกตาจะมีการปรับเนื้อเยื่อจนเรียบเนียนขึ้น แสงที่แตกก็จะหายไปเป็นปกติ ในบางท่านอาจส่งผลต่อการขับขี่ตอนกลางคืน ควรงดการขับขี่ยานพาหนะชั่วคราว อาการตาแห้ง ภายหลังจากการทำเลสิกอาจทำให้เกิดสภาวะต่อมน้ำตาผลิตน้ำตาน้อยลงกว่าปกติทำให้ตาแห้ง สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ซึ่งอาการนี้ดีขึ้นและหายไปเมื่อเวลาผ่านไป   อาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจะเป็นกังวล ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที      ถ้าหากคนไข้พบอาการในลักษณะดังกล่าวต่อไปนี้ ควรติดต่อแพทย์และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที อาการปวดตา หรือเคืองตา ตาบวม หรือ ตาแดงมากขึ้น กว่าวันแรกหลังผ่าตัด พบว่า ตามัวลง และมีสีของขี้ตาผิดปกติ ได้รับอุบัติเหตุโดนกระแทกบริเวณตาข้างที่ทำผ่าตัด      ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยให้อาการค้างเคียงที่เกิดขึ้นลดน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามดวงตาภายหลังการทำเลสิกยังมีความเปราะบาง จำเป็นต้องใช้เวลาและดูแลรักษาอย่างอ่อนโยนเพื่อฟื้นฟูดวงตาให้กลับมาใช้งานได้อย่างเต็มที่ ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญ การเลือกทำเลสิกควรเลือกสถานที่ศูนย์เลสิกที่สะอาด มาตรฐาน มีประสบการณ์ดำเนินการโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาโดยตรง มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาได้อย่างละเอียดครบถ้วนทุกขั้นตอนตั้งแต่ก่อนทำเลสิก และหลังทำเลสิก
ศูนย์เลสิก LASER VISION

เรื่องของน้ำตา

เรื่องของน้ำตา น้ำตาธรรมชาติ ผลิตจากต่อมน้ำตาของคนเรา มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือ ให้ความชุ่มชื้นแก่กระจกตาและเยื่อบุตา ปรับสภาพของกระจกตาให้มีความเรียบ เพื่อให้แสงผ่านได้สะดวก การมองเห็นชัดเจน ให้สารอาหารและออกซิเจน รวมทั้งขจัดของเสียออกจากกระจกตา มีสารอย่างอ่อนป้องกันการติดเชื้อของกระจกตา      น้ำตาธรรมชาติมีความสำคัญมาก เมื่อตาของคนเราเกิดจุดแห้งขึ้นจากการที่น้ำตาธรรมชาติบนกระจกตาหรือเยื่อบุตาระเหยไป ระบบอัตโนมัติในร่างกายเราจะสั่งการให้เกิดการกระพริบตา การกระพริบตาเป็นการกระจายน้ำตาธรรมชาติให้กระจายไปทั่วกระจกตาและเยื่อบุตา เราจึงรู้สึกสบายตา      เมื่อร่างกายผลิตน้ำตาธรรมชาติที่ใช้ในการหล่อลื่นกระจกตาและเยื่อบุตาไม่เพียงพอ  จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง  ตาแดง  ระคายเคืองตา  แสบตา ตาพร่า  ตาสู้แสงไม่ได้  หากท่านมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ   น้ำตาเทียม      น้ำตาเทียม เป็นสารที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนน้ำตาธรรมชาติในผู้ที่ผลิตน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ หรือมีภาวะตาแห้ง  ใช้หล่อลื่นและให้ความชุ่มชื่นแก่กระจกตา  ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการเคืองตา หรืออาการรู้สึกไม่สบายตา เนื่องจากตาโดนลมและแสง   น้ำตาเทียมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ น้ำตาเทียมชนิดที่มีสารกันเสีย สารกันเสีย ช่วยให้น้ำตาเทียมคงสภาพอยู่ได้นาน และป้องกันการเติบโตของเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนเข้าไปขณะหยอด หลังจากเปิดขวดใช้งานแล้ว สามารถเก็บได้นาน 1 เดือน และสามารถใช้ได้ไม่เกินวันละ 5 ครั้ง น้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสีย มีลักษณะเป็นหลอดขนาดเล็กๆใช้หยอดในแต่ละวันแล้วทิ้งไปเลย มักให้ความรู้สึกสบายตากว่า เนื่องจากไม่มีสารกันเชื้อแบคทีเรียผสมอยู่จึงต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง สามารถใช้ได้บ่อยทุก 2 ชั่วโมง ข้อดีคือผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพ้เลย แต่มักมีราคาสูงกว่าน้ำตาเทียมชนิดแรก   โดยทั่วๆไปน้ำตาเทียม มีทั้งรูปแบบสารละลาย เจล และขี้ผึ้ง รูปแบบสารละลาย ให้ความสะดวกในการใช้ รูปแบบเจล หรือขี้ผึ้ง มีคุณสมบัติหล่อลื่นและรักษาความชุ่มชื้นที่ตาได้นานกว่าสารละลาย      เมื่อใช้น้ำตาเทียมไม่ว่าจะเป็นชนิดหยอด เจล  หรือ ขี้ผึ้ง น้ำตาเทียมจะทำหน้าที่เคลือบอยู่บนผิวกระจกตา  และต้องใช้เวลาในการกระจายตัวไปทั่วผิวตา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตามัวได้ชั่วคราว การที่น้ำตาเทียมทำหน้าที่เคลือบผิวกระจกตาไว้นั้น  ก็เพื่อทำให้เกิดการเก็บรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตา ซึ่งจะทำให้รู้สึกสบายตามากขึ้น   วิธีใช้น้ำตาเทียม ล้างมือให้สะอาดก่อนหยอดน้ำตาเทียม เขย่าขวดยาถ้ายานั้นระบุว่ให้เขย่าขวดก่อนใช้ เปิดขวดยา อย่าให้นิ้วสัมผัสกับปลายขวดยาเพื่อหลึกเลี่ยงการปนเปื้อนของน้ำยา นอนหรือนั่ง แหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงเปลือกตาล่างให้เป็นกระพุ้งหยอดตาแต่ละข้าง ข้างละ 1 – 2 หยด หรือตามที่แพทย์สั่ง ปล่อยมือจากการดึงเปลือกตาล่างและอย่ากระพริบตาสักครู่ (อย่างน้อย 30 วินาที) หรือทำตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เมื่อหยอดตาแล้วอาจมีอาการตาพร่ามัวชั่วขณะ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเมื่อขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล   วิธีเก็บรักษาน้ำตาเทียม ให้เก็บยาในที่เย็น ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ห้ามใช้เมื่อน้ำยาเปลี่ยนสี หรือสีขุ่น   คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับน้ำตาเทียม คำถาม: ในคนปกติทั่วๆไป จำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมหรือไม่? ตอบ น้ำตาเทียมเป็นยาหยอดตาประเภทหนึ่งซึ่งช่วยให้ความชุ่มชื่นกับดวงตา โดยปกติคนเราจะมีการกระพริบตาเฉลี่ยนาทีละ 10 -15 ครั้งเพื่อให้น้ำหล่อเลี่ยงลูกตามาฉาบดวงตา ดังนั้นในคนปกติทั่วๆไปที่รู้สึกเคืองตา หรือระคายเคืองตา อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่า “ตาแห้ง หรือ Dry Eye” การใช้น้ำตาเทียมก็จะช่วยให้รู้สึกสบายตา และลดอาการดังกล่าวได้   คำถาม: ใครบ้างที่ควรใช้น้ำตาเทียม? ตอบ สำหรับผู้ที่ควรใช้น้ำตาเทียมนอกจากผู้ที่ใช้ตามคำสั่งแพทย์แล้ว ยังมีผู้สูงอายุ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับจอคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาแห้ง เนื่องจากปัญหาการทำงานของต่อมน้ำตาลดลงตามอายุ ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนจะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาลดลงกว่าคนปกติทั่วๆไป   กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มนี้อาจเกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีการกระพริบตาน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะตาแห้งได้ ในผู้ทีต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ควรพักสายตาทุกครึ่งชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกแสบตา เคืองตา ควรหลับตาพักสัก 3 -5 วินาที เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว   คำถาม: น้ำตาเทียมใช้ได้บ่อยครั้งแค่ไหน? ตอบ สำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไป ที่หยอดน้ำตาเทียมเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น และรู้สึกสบายตา สามารถใช้งานได้โดยเฉลี่ยไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะตาแห้ง หรือช่วยในการรักษาตาผิดปกติอื่นๆ สามารถใช้ได้บ่อยตามคำสั่งแพทย์        สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีเลสิค หรือ เลสิก (LASIK) แพทย์จะสั่งให้หยอดน้ำตาเทียม เพื่อช่วยรักษาอาการตาแห้งในระยะแรกซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้น ในช่วงระยะเวลา 3 – 6 เดือน    
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111