มุมสุขภาพตา : #โรคตาเด็ก

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาตาเด็ก

เข้าใจตาขี้เกียจในเด็ก ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงและวิธีป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม

โรคตาขี้เกียจในเด็ก คือภาวะที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นไม่คมชัด เนื่องจากการพัฒนาการด้านการมองเห็นในช่วงวัยเด็กไม่ได้รับการกระตุ้นเต็มที่ โรคตาขี้เกียจในเด็กเกิดจากปัญหาการมองเห็นที่ไม่สมดุลระหว่างตาข้างซ้ายและขวา เช่น สายตาสั้น ตาเอียง หรือการที่ตาไม่สามารถโฟกัสได้เท่ากัน การรักษาตาขี้เกียจในเด็กมักจะใช้วิธีการกระตุ้นการมองเห็น เช่น การใช้แว่นสายตา การปิดตาข้างที่มองเห็นได้ดี เพื่อฝึกการใช้ตาข้างที่อ่อนแอ ใช้ยาหยอดตา และผ่าตัดดวงตา ภาวะตาขี้เกียจมักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก ซึ่งหากตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยให้การพัฒนาการมองเห็นของเด็กกลับมาเป็นปกติได้ บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดตาขี้เกียจในเด็ก พร้อมทั้งวิธีการป้องกันและดูแลลูกน้อยของคุณตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้พวกเขามีพัฒนาการทางสายตาที่ดีที่สุด     โรคตาขี้เกียจในเด็กคืออะไร? ภาวะสายตาที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็ก ตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) คือภาวะที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นไม่ชัดเท่าข้างที่เหลือ ซึ่งเกิดจากการสูญเสียพัฒนาการของการมองเห็นในช่วงวัยเด็ก โดยทั่วไปพัฒนาการการมองเห็นในเด็กจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาในช่วงนี้ อาจส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติหรือสูญเสียการมองเห็นในระยะยาว     อาการที่บ่งชี้ว่าลูกเป็นตาขี้เกียจในเด็ก โรคตาขี้เกียจในเด็กมักสังเกตได้ยาก และเด็กเองก็อาจไม่ทราบว่ามีปัญหากับการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง ยกเว้นในกรณีที่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน โดยมักมีอาการดังนี้ การมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างลดลง มีอาการตาเหล่ เด็กอาจต้องเอียงศีรษะหรือปิดตาข้างหนึ่งเพื่อให้มองเห็นได้ชัด การกะระยะหรือการวัดระยะห่างระหว่างวัตถุทำได้ยาก ดวงตามักเบนเข้าหรือออกจากกัน ปวดศีรษะบ่อยครั้งจากการพยายามมอง     โรคตาขี้เกียจในเด็กเกิดจากอะไร? สาเหตุหลักและปัจจัยเสี่ยง การทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าสาเหตุอะไรบ้างที่สามารถทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาขี้เกียจในเด็ก ภาวะสายตาผิดปกติที่แตกต่างกัน เด็กที่มีสายตาผิดปกติและค่าสายตาทั้งสองข้างแตกต่างกันมากอาจเสี่ยงต่อการเกิดตาขี้เกียจในเด็ก เนื่องจากแสงที่เข้าสู่เลนส์ตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ทำให้สมองตอบสนองกับตาข้างที่สามารถรับแสงได้ดีขึ้น ส่วนดวงตาอีกข้างที่มองเห็นไม่ชัดจะไม่ได้รับการใช้งานเท่าที่ควร ส่งผลให้การพัฒนาการของดวงตาข้างนั้นช้ากว่าข้างที่ใช้งานมากขึ้น จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคตาขี้เกียจได้ ตาเขและตาเหล่ การที่ดวงตาทั้งสองข้างไม่ประสานกันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดตาขี้เกียจในเด็ก โดยปกติแล้วดวงตาทั้งสองข้างจะมองตรงและรวมภาพให้เป็นหนึ่งเดียว แต่หากตาข้างใดข้างหนึ่งมองตรงในขณะที่อีกข้างมองเบี่ยงไปด้านข้าง ด้านบน หรือด้านล่าง ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อตาผิดปกติ จะทำให้มองเห็นภาพซ้อน เด็กที่มีอาการตาเขหรือตาเหล่มักเลือกใช้ตาข้างที่มองตรงเพียงข้างเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงการเห็นภาพซ้อน หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการมองเห็นของเด็ก ความผิดปกติที่ทำให้การมองเห็นไม่ชัด โรคตาขี้เกียจในเด็กนี้เกิดจากสิ่งบางอย่างที่บดบังการมองเห็นของดวงตา ทำให้แสงไม่สามารถรวมตัวกันและตกลงบนจอตาได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด เช่น การเป็นต้อกระจก หนังตาตกแต่กำเนิด หรือมีแผลที่กระจกตา     การรักษาตาขี้เกียจในเด็ก วิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น แนวทางการรักษาโรคตาขี้เกียจในเด็กจะมุ่งไปที่การแก้ไขความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของอาการ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้งานดวงตาข้างที่มีปัญหามากขึ้น เพื่อช่วยให้สมองประสานการทำงานกับดวงตาข้างนั้น เช่น สวมแว่นสายตา การสวมแว่นสายตาหรือคอนแท็กต์เลนส์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสายตาของผู้ป่วยที่มีความแตกต่างระหว่างสายตาทั้งสองข้างได้ โดยช่วยให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และกระตุ้นให้สมองทำงานประสานกับดวงตาข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจมากขึ้น ซึ่งจะช่วยพัฒนาการทำงานของสายตาทั้งสองข้างให้มีความสมดุลและเป็นปกติ ปิดหรือครอบตา แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยสวมที่ครอบตาหรือปิดตาข้างที่ปกติเป็นระยะเวลาประมาณ 2-6 ชั่วโมงต่อวันในช่วงเวลาที่ใช้งานดวงตา เพื่อกระตุ้นให้ดวงตาเด็กข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจได้ใช้งานมากขึ้น วิธีนี้ช่วยกระตุ้นการพัฒนาของดวงตาข้างที่ผิดปกติจนการมองเห็นทั้งสองข้างเท่ากันได้ จักษุแพทย์จะวางแผนการรักษาและประเมินผลเป็นระยะ เนื่องจากอาการและการตอบสนองต่อการรักษาอาจแตกต่างกันไปตามอายุและความรุนแรงของโรคในเด็กแต่ละคน ใช้ยาหยอดตา ยาหยอดตาที่มีสารอะโทรปีนจะหยอดลงในตาข้างที่ปกติสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อทำให้ภาพเบลอชั่วคราว ซึ่งช่วยให้ดวงตาข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจได้ใช้งานมากขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้อาจทำให้ตาข้างที่หยอดมีความไวต่อแสงมากขึ้นในช่วงเวลานั้น ผ่าตัดดวงตา หากการรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ช่วยให้ตำแหน่งของดวงตากลับมาเป็นปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อดวงตา เพื่อให้ดวงตาทำงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะในกรณีของเด็กที่มีภาวะตาเข ตาเหล่ ต้อกระจก หรือหนังตาตก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของตาขี้เกียจในเด็ก การผ่าตัดกล้ามเนื้อดวงตาจึงช่วยให้ดวงตากลับมาทำงานได้เป็นปกติ     ป้องกันตาขี้เกียจในเด็ก ดูแลและตรวจสอบตั้งแต่แรกเริ่ม การป้องกันการเกิดตาขี้เกียจในเด็กตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถทำได้ เพื่อให้การพัฒนาการการมองเห็นเป็นไปอย่างเต็มที่ ดังนี้ สังเกตดวงตาเด็กตั้งแต่แรกเกิดว่ามีขนาดปกติหรือไม่ และตรวจสอบว่ามีสิ่งใดบดบังตาดำของเด็กหรือไม่ เมื่อเด็กอายุ 2-3 เดือน ควรสังเกตว่าเด็กสามารถจ้องมองเราขณะให้นมหรือไม่ หากไม่ ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน ควรสังเกตว่าเด็กสามารถจ้องมองตามวัตถุได้ในขณะที่ตาอยู่นิ่ง หากตาไม่คงที่ ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 ปี สายตาจะใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ ควรทดสอบสายตาด้วยการให้มองภาพขนาดต่างๆ และพาเด็กไปพบจักษุแพทย์เพื่อประเมินระดับการมองเห็น สรุป ตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) คือภาวะที่การมองเห็นของดวงตาข้างหนึ่งพัฒนาช้าหรือไม่ดีเท่าดวงตาข้างอื่น ซึ่งมักเกิดในช่วงอายุ 1-7 ปี สาเหตุหลักๆ ได้แก่ สายตาผิดปกติที่มีความแตกต่างกันมาก ตาเขหรือตาเหล่ และปัญหาทางกายภาพอื่นๆ เช่น ต้อกระจกหรือหนังตาตก การรักษามักเริ่มด้วยการสวมแว่นสายตาหรือใช้การปิดตา (ครอบตา) เพื่อกระตุ้นให้ดวงตาข้างที่มีปัญหาทำงานมากขึ้น ในบางกรณีอาจต้องใช้ยาหยอดตาหรือผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตา หากต้องการวินิจฉัยและรักษาตาขี้เกียจในเด็กBangkok Eye Hospitalมีจักษุแพทย์ที่ชำนาญการพร้อมบริการพร้อมให้บริการด้วยมาตรฐานสูง เพื่อให้ลูกของคุณได้รับการดูแลที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการ
ศูนย์รักษาตาเด็ก

รู้ทันโรคตาในเด็กที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง พร้อมวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มที่ หากลูกของคุณมีปัญหาทางสายตาตั้งแต่เด็ก อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของพวกเขา ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “โรคตาในเด็ก” และวิธีดูแลรักษาสุขภาพตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้พาไปรู้จักกับโรคตาในเด็กที่พบบ่อย อาการที่ต้องสังเกต วิธีรักษา และแนวทางป้องกัน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพดวงตาของลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคตาในเด็กมีหลายประเภท เช่น ตาขี้เกียจ ตาเข และสายตาผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งมีสาเหตุจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้สายตา และปัจจัยภายนอก สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต ได้แก่ การขยี้ตาบ่อย การหรี่ตาหรือเอียงศีรษะเมื่อมอง อาการปวดศีรษะหรือปวดตาประจำ และการนั่งใกล้โทรทัศน์หรือถือหนังสือชิดตามากเกินไป การรักษามีหลายวิธี ทั้งการใช้แว่นตา การปิดตาข้างดี และการผ่าตัด โดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรคและระดับความรุนแรง ควรพาเด็กตรวจตาตามช่วงวัย คือ แรกเกิดถึง 6 เดือน อายุ 3 ปี อายุ 5 - 6 ปี และหลังจากนั้นทุก 1 - 2 ปี หรือบ่อยกว่านั้นหากมีปัญหาสายตา     โรคตาในเด็กมีอะไรบ้าง? สาเหตุเกิดจากอะไร โรคตาในเด็กมีสาเหตุมากมาย ทั้งจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พฤติกรรมการใช้สายตาที่ไม่ถูกต้องหรือมากเกินไป และปัจจัยภายนอกซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญ เช่น การติดเชื้อที่เกิดขึ้นในดวงตาหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาโดยตรง ซึ่งโรคตาประเภทต่างๆ เหล่านี้มักพบได้บ่อยในวัยเด็ก และมีความหลากหลายในรูปแบบของอาการและความรุนแรง ดังนี้ 1. ตาขี้เกียจ (Amblyopia) ตาขี้เกียจเป็นภาวะที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมีพัฒนาการด้านการมองเห็นที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้สายตาข้างนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แม้ไม่มีปัญหาทางกายภาพของดวงตา สาเหตุหลักของภาวะนี้มีหลายประการ ได้แก่ สายตาสั้นหรือยาวแต่กำเนิดในข้างใดข้างหนึ่ง ภาวะตาเข (Strabismus) หรือการมีโรคทางตาตั้งแต่กำเนิด เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญมากต่อการป้องกันปัญหาการมองเห็นในระยะยาว 2. ตาเข (Strabismus) ภาวะตาเขเกิดขึ้นเมื่อดวงตาทั้งสองข้างไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุล ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติและมีอาการตาเหล่อย่างชัดเจน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที อาจนำไปสู่การพัฒนาเป็นภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองเลือกละเลยภาพจากตาข้างที่มีปัญหา ทำให้การมองเห็นและการประมวลผลภาพบกพร่องในระยะยาว 3. สายตาสั้นหรือสายตายาวแต่กำเนิด เด็กบางรายอาจมีภาวะสายตาสั้นหรือสายตายาวมาตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้ประสบปัญหาการมองเห็นไม่ชัดเจน ซึ่งอาจกระทบต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ในระยะยาว หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและแก้ไขอย่างทันท่วงที ความบกพร่องทางสายตาเหล่านี้สามารถเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรับรู้สิ่งแวดล้อม การอ่านหนังสือ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ     อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหาทางสายตา พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจหาสัญญาณบ่งชี้ปัญหาทางสายตา สัญญาณเตือนที่พบบ่อยประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปดูกัน! การขยี้ตาโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน การหรี่ตาหรือเอียงศีรษะเมื่อมองวัตถุ อาการปวดศีรษะหรือปวดตาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ พฤติกรรมการนั่งใกล้โทรทัศน์หรือถือหนังสือชิดตามากเกินไป มีความยากลำบากในการมองเห็นภายใต้สภาวะแสงน้อย หากผู้ปกครองสังเกตเห็นอาการใดๆ เหล่านี้ การพาลูกไปพบหมอรักษาตาเด็กเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างครอบคลุมเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อป้องกันปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลระยะยาว     วิธีการรักษาโรคตาในเด็ก การรักษาโรคตาในเด็กขึ้นอยู่กับประเภทของโรคและระดับความรุนแรง วิธีการรักษาที่พบบ่อยมีดังนี้ การใช้แว่นตาสำหรับเด็กที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง แว่นตาช่วยปรับแก้ความผิดปกติของการหักเหแสงในดวงตา ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น การปิดตาข้างดีใช้ในการรักษาตาขี้เกียจ เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่มีปัญหาทำงานหนักขึ้น วิธีนี้ช่วยบังคับให้สมองรับสัญญาณจากตาข้างที่อ่อนแอ เสริมสร้างการเชื่อมต่อระหว่างตาและสมอง การผ่าตัดในกรณีที่มีปัญหาต้อกระจกแต่กำเนิดหรือตาเขที่รุนแรง การผ่าตัดช่วยแก้ไขความผิดปกติทางโครงสร้าง ฟื้นฟูการมองเห็น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว วิธีป้องกันโรคตาในเด็ก วิธีป้องกันโรคตาในเด็กสามารถทำได้ดังนี้ หลีกเลี่ยงการให้เด็กใช้สายตาหนักเกินไปจำกัดเวลาการใช้หน้าจอดิจิทัลและสนับสนุนให้พักสายตาทุก 20 นาทีด้วยการมองไกลอย่างน้อย 20 วินาที เพื่อลดความเมื่อยล้าและความเครียดของกล้ามเนื้อตา ให้เด็กได้รับสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตาเสริมอาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอจากผักใบเขียว แคร์รอต ฟักทอง และเพิ่มแหล่งโอเมก้า-3 จากปลาทะเลน้ำลึก ถั่วและเมล็ดพืช ซึ่งช่วยในการพัฒนาและบำรุงเซลล์ประสาทตา กระตุ้นให้เด็กเล่นกลางแจ้งส่งเสริมกิจกรรมนอกบ้านอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ชั่วโมง เนื่องจากแสงธรรมชาติและการมองในระยะไกลช่วยชะลอการเกิดสายตาสั้นและส่งเสริมการพัฒนาการมองเห็นที่สมดุล ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำพาเด็กไปพบหมอรักษาตาเด็กเพื่อตรวจวัดสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง และทันทีที่สังเกตเห็นอาการผิดปกติ เช่น การขยี้ตาบ่อย การมองใกล้เกินไป หรือการร้องเรื่องปวดศีรษะ     อาการผิดปกติแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์? หากลูกๆ ของคุณมีอาการต่อไปนี้ ควรพาไปพบหมอรักษาตาเด็กโดยเร็ว ตาแดง บวม หรือมีขี้ตามากผิดปกติอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบของดวงตา ซึ่งหากปล่อยไว้อาจลุกลามและส่งผลเสียต่อการมองเห็นได้ มองเห็นภาพซ้อนภาวะมองเห็นภาพซ้อนอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อตา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ตาไวต่อแสงหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติอาการแพ้แสงหรือน้ำตาไหลมากเกินปกติอาจเป็นอาการของโรคตาหลายชนิด รวมถึงภาวะตาแห้งหรือการติดเชื้อที่ต้องการการรักษา ไม่สามารถจ้องมองหรือโฟกัสสิ่งของได้ปัญหาในการโฟกัสอาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติของการมองเห็นที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก มีปัญหาการมองเห็นกลางคืนประสิทธิภาพการมองเห็นในที่มืดลดลงอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของจอประสาทตาหรือเลนส์ตา ซึ่งควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์     ควรพาลูกไปตรวจตาเมื่อไร จำเป็นต้องตรวจเป็นประจำไหม? ส่วนใหญ่หมอรักษาตาเด็กจะแนะนำให้เด็กตรวจสุขภาพตาตามช่วงวัยดังนี้ แรกเกิดถึง 6 เดือนตรวจคัดกรองปัญหาทางตาตั้งแต่แรกเกิด เพื่อตรวจจับความผิดปกติเบื้องต้น เช่น ต้อกระจก หรือปัญหาโครงสร้างลูกตา ซึ่งเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อายุ 3 ปีตรวจสุขภาพตาเพื่อดูพัฒนาการของการมองเห็น ประเมินความสามารถในการมองเห็นและสุขภาพตาโดยรวม รวมถึงตรวจหาภาวะตาเขและสายตาผิดปกติที่อาจเริ่มปรากฏในวัยนี้ อายุ 5 - 6 ปีตรวจสายตาก่อนเข้าโรงเรียน เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กไม่มีปัญหาสายตาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะการอ่านและการมองกระดานในห้องเรียน หลังจากนั้นควรตรวจทุก 1 - 2 ปี หรือบ่อยกว่านั้นหากมีปัญหาสายตา เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสายตาในช่วงเติบโต และปรับแก้ไขความผิดปกติได้ทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้สายตามากขึ้น รักษาโรคตาในเด็ก ที่ศูนย์รักษาตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากต้องการรักษาโรคตาในเด็ก แนะนำมาปรึกษาและรักษาได้ที่ศูนย์รักษาตาเด็ก Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยจักษุแพทย์ผู้มากความรู้เกี่ยวกับดวงตาและและทีมงานที่มีประสบการณ์ และจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป โรคตาในเด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากดวงตาที่แข็งแรงมีผลต่อพัฒนาการของลูก การสังเกตอาการผิดปกติ การป้องกันที่เหมาะสม และการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสายตาได้ หากคุณสงสัยว่าลูกของคุณมีปัญหาทางสายตา ควรพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และอย่าลืมดูแลสุขภาพดวงตาของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ หากต้องการรักษาโรคตาในเด็ก แนะนำมาที่ศูนย์โรคตาเด็กBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
ศูนย์รักษาตาเด็ก

3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา

3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา   หรี่ตาหรือเอียงคอมอง: ถ้าลูกชอบหรี่ตาหรือเอียงคอเวลาจะมองอะไรไกลๆ เช่น ดูทีวีหรือมองกระดาน อาจเป็นสัญญาณว่ามองไม่ค่อยชัด ชอบเอาของมาดูใกล้ๆ: ถ้าลูกชอบเอาหนังสือหรือของเล่นมาจ่อใกล้หน้า หรือต้องเข้าไปดูทีวีใกล้กว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตา ขยี้ตาบ่อยๆ: ถึงแม้บางทีเด็กๆ จะขยี้ตาเพราะง่วงหรือเมื่อยล้า แต่ถ้าขยี้ตาบ่อยเกินไป ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตาได้เหมือนกัน   สัญญาณอื่นๆ ที่พ่อแม่ควรสังเกต   สมาธิสั้นเวลาต้องใช้สายตา: เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือวาดรูป อ่านหนังสือแล้วชอบหลงบรรทัด: หรืออ่านข้ามๆ ไปบ้าง ไม่อยากทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา: เช่น ต่อจิ๊กซอว์ ระบายสี หรือเล่นตัวต่อ   ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ในตัวลูก อย่ารอช้า รีบพาลูกไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสายตานะคะ การตรวจพบและรักษาปัญหาสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสายตาที่ดี และเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีค่ะ ติดต่อ ศูนย์รักษาสายตาเด็ก - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ โทร 02-023-9929, 02-511-2111
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111