มุมสุขภาพตา : #โรคจอประสาทตา

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และพฤติกรรมที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

ตรวจตาบอดสีเมื่อไร? ตาบอดสีเกิดจากอะไร ความเสี่ยงที่หลายคนไม่รู้!

ภาวะตาบอดสีเป็นหนึ่งในปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการแยกแยะสี ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานหรือการขับขี่ยานพาหนะ สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะตาบอดสี การตรวจตาบอดสีเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้ถึงภาวะนี้ได้อย่างชัดเจน บทความนี้พามาเจาะลึกสาเหตุของภาวะตาบอดสี ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยภายนอก พร้อมแนะนำวิธีตรวจตาบอดสีที่แม่นยำและเชื่อถือได้ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลที่เหมาะสม โรคตาบอดสีคืออาการความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่ความสามารถในการมองเห็นวัตถุและรูปร่างยังปกติ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นประเภทที่พบมากที่สุด ทำให้แยกแยะระหว่างสีแดงและเขียวได้ยาก ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของ Cone cell หรือ เซลล์รูปกรวย ตาบอดสีน้ำเงิน-เหลืองจะพบน้อยกว่า มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ทำให้แยกแยะสีน้ำเงินกับเขียว และสีเหลืองกับแดงได้ยาก ตาบอดสีทั้งหมด (Monochromacy) เป็นภาวะที่พบน้อยมาก ทำให้เห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด เกิดจากเซลล์รูปกรวยไม่ทำงาน ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวข้องกับสี แต่สามารถเรียนวิชาอื่นได้ปกติ การขับขี่ยานพาหนะอาจมีความยากลำบาก ต้องอาศัยการสังเกตความเข้มของไฟจราจรแทนการแยกสี การประกอบอาชีพอาจมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน นักเคมี หรือนักออกแบบกราฟิก     อาการของโรคตาบอดสีเป็นอย่างไร โรคตาบอดสี (Color blindness) คือความบกพร่องในการมองเห็นและแยกแยะสี โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถมองเห็นสีแดง เขียว หรือน้ำเงินได้ชัดเจน ทั้งนี้แม้จะมีปัญหาในการรับรู้สี แต่การมองเห็นวัตถุ รูปร่าง และภาพโดยรวมยังคงชัดเจนเหมือนคนปกติ โรคนี้ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการตาบอดสีสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับดังนี้ ความรุนแรงระดับต่ำยังสามารถบอกหรือคาดเดาสีที่เห็นได้ โดยอาจเห็นสีเพี้ยนไปจากความเป็นจริงไม่มาก ความรุนแรงระดับกลางเริ่มแยกสีได้ยากขึ้น อาจไม่สามารถคาดเดาสีได้และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ความรุนแรงระดับสูงตาบอดสีประเภทนี้จะเห็นสีเพียงแค่สีขาวดำ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ตาบอดสีเกิดจากอะไรได้บ้าง? สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้ กรรมพันธุ์หรือเป็นตาบอดสีมาแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุด โดยพบในเพศชาย 7% และในเพศหญิงประมาณ 0.5 - 1% อายุเมื่ออายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เซลล์ต่างๆ ในดวงตาเกิดการเสื่อมสภาพลง โรคเกี่ยวกับดวงตาเช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก โรคทางกายเช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม เบาหวาน อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน การเกิดอุบัติเหตุกระทบบริเวณดวงตาหรือดวงตาได้รับการบาดเจ็บเสียหาย ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่น ยารักษาวัณโรค ยาต้านอาการทางจิตและยาปฏิชีวนะ สารเคมีบางชนิดเช่น สาร Styrene ที่พบในผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือโฟม 3 ประเภทของภาวะตาบอดสี หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีมองเห็นสีอย่างไร? ซึ่งก่อนจะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องรู้ก่อนว่าตาบอดสีไม่ได้มีแค่แบบเดียว ในทางการแพทย์ โรคตาบอดสีถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก แต่ละประเภทส่งผลต่อการมองเห็นสีที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้     1. ตาบอดสีแดง - เขียว (Red-Green Color Blindness) ผู้ที่มีอาการตาบอดสีแดง - เขียวจะมีความยากลำบากในการแยกแยะระหว่างสองสีนี้ โดยขึ้นอยู่กับเซลล์ Cone ที่ผิดปกติ ผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีแดงน้อย (Protanomaly) จะเห็นโทนสีแดง ส้ม และเหลืองเป็นโทนสีเขียว หรือหากขาดเซลล์นี้ไป (Protanopia) จะเห็นสีแดงเป็นสีดำ ในทางกลับกัน คนที่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียวน้อย (Deuteranomaly) จะมองเห็นโทนสีเขียวเป็นโทนสีแดง และหากขาดเซลล์นี้ไปเลยจะเห็นสีเขียวเป็นสีดำ     2. ตาบอดสีน้ำเงิน - เหลือง (Blue-Yellow Color Blindness) การตาบอดสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน (Tritanomaly) และตาบอดสีเหลือง (Tritanopia) เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่น มักเกิดจากโรคมากกว่าพันธุกรรม ผู้ที่มีภาวะนี้จะประสบปัญหาในการแยกแยะระหว่างสีน้ำเงินกับสีเขียว และสีเหลืองกับสีแดง โดยผู้ที่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินน้อยจะแยกสีน้ำเงินกับสีเขียวได้ยาก ส่วนผู้ที่ไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินเลยจะมีปัญหาในการแยกโทนสีที่มีสีน้ำเงินและสีเหลืองผสมอยู่ เช่น สีน้ำเงินกับสีเขียว หรือสีม่วงกับสีแดง     3. ตาบอดสีทั้งหมด (Complete Color Blindness) ผู้ที่มีอาการตาบอดสีทั้งหมด หรือ Monochromacy เกิดจากการที่เซลล์รูปกรวยทั้งหมดไม่ทำงานหรือขาดหายไปจากดวงตา ซึ่งพบได้น้อยมากในปัจจุบัน คนกลุ่มนี้จะเห็นโลกในโทนสีเทาทั้งหมด มีการมองเห็นสลับสีกัน เช่น ระหว่างสีเขียวกับสีน้ำเงิน สีแดงกับสีดำ สีเหลืองกับสีขาว และบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความไวต่อแสงของดวงตาอีกด้วย     ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะตาบอดสี ภาวะตาบอดสีอาจไม่ได้สร้างผลกระทบในเรื่องของการแยกแยะสีเท่านั้น เพราะเมื่อแยกสีได้ลำบากอาจส่งผลกระทบอื่นตามมาด้วย ดังนี้ ปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผู้ที่มีภาวะตาบอดสี โดยเฉพาะในวัยเด็ก มักถูกเข้าใจผิดว่ามีปัญหาการเรียนรู้ เนื่องจากคำตอบหรือการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสีไม่ตรงกับเด็กทั่วไป ซึ่งแท้จริงแล้วยังสามารถเรียนรู้ได้ปกติ เพียงแต่รับรู้สีที่แตกต่างออกไป ทำให้ได้รับผลกระทบในวิชาศิลปะ การประเมินพัฒนาการทางภาษา และการเรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสี ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เน้นสีสันนั้นก็สามารถทำได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ขับขี่ยานพาหนะลำบาก โรคตาบอดสีส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการขับขี่รถยนต์ ผู้ที่มีภาวะนี้ต้องพยายามสังเกตความแตกต่างของไฟจราจรจากความเข้มของสีที่ไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าสังเกตได้ก็จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ การทดสอบตาบอดสีสำหรับใบขับขี่จึงต้องมีการประเมินความสามารถในการแยกแยะสัญญาณไฟจราจรและเกณฑ์อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน การประกอบอาชีพจำกัด ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงบางอาชีพเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น รวมถึงเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน อาชีพที่ต้องพึ่งพาการแยกแยะสีอย่างแม่นยำ เช่น นักบิน ผู้ทำงานกับสารเคมี จิตรกร หรือนักออกแบบกราฟิก อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะนี้ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนในการมองเห็นสีอาจส่งผลต่อคุณภาพงานหรือก่อให้เกิดอันตรายได้ ตาบอดสีสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อายุเท่าไร? โดยปกติ ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์สามารถสังเกตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กอาจแสดงอาการผ่านการแยกสีของวัตถุ ของเล่น หรือสีในหนังสือภาพไม่ถูกต้อง คุณครูและผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมเช่นการเลือกสีผิดหรือสับสนระหว่างสีที่ใกล้เคียงกัน หากมีข้อสงสัยควรพาเด็กไปตรวจตาเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด ตาบอดสีรักษาได้ไหม? รักษาได้อย่างไร โรคตาบอดสีที่เกิดจากพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติของเซลล์รูปกรวยที่น้อยหรือขาดหายไป ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีทดแทน ส่วนตาบอดสีที่เกิดจากโรคหรือยาบางชนิด อาจมีโอกาสดีขึ้นหากรักษาสาเหตุ อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น แว่นกรองสีหรือคอนแท็กต์เลนส์สีชั่วคราว ที่ช่วยเพิ่มความเข้มของสีทำให้แยกสีได้ดีขึ้น จักษุแพทย์จะทำการตรวจสายตาเพื่อประเมินและวินิจฉัยภาวะตาบอดสี โดยเริ่มจากการใช้แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara test) ให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขหรือลากเส้นภาพที่มีสีที่คนตาบอดสีมักสับสน ต่อมาใช้เครื่อง Anomaloscope ทดสอบการผสมสีเพื่อวัดความบกพร่องในการมองเห็นสีแดงและสีเขียว และสุดท้ายทำการทดสอบ Farnsworth Munsell โดยให้เรียงฝาครอบสีที่คล้ายกันต่อเนื่องกัน เพื่อคัดกรองระดับความบกพร่องในการมองเห็นสีตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงมาก     วิธีทดสอบตาบอดสีด้วยตัวเอง แบบทดสอบ Ishihara ใช้งานอย่างไร? แบบทดสอบIshiharaเป็นวิธีตรวจตาบอดสีที่ได้รับความนิยม ประกอบด้วยภาพวงกลมที่มีจุดสีต่างๆ ซึ่งซ่อนตัวเลขหรือลวดลายไว้ภายใน ผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะมองเห็นตัวเลขผิดไปจากคนปกติหรือมองไม่เห็นเลย สามารถทดสอบเบื้องต้นได้ผ่านแบบทดสอบออนไลน์ แต่หากต้องการผลที่แม่นยำควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยตรง เมื่อไรที่ควรตรวจตาบอดสี? เมื่อไรควรตรวจตาบอดสี? เด็กที่มีปัญหาเรื่องการแยกสีตั้งแต่อายุยังน้อยควรเข้ารับการตรวจ รวมถึงผู้ที่ต้องการสอบเข้าวิชาชีพที่ต้องใช้การแยกสี เช่น นักบิน วิศวกร หรือช่างเทคนิค ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะตาบอดสี และผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือได้รับยาที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นสีก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน เลือกตรวจตาบอดสีที่ไหนดี? การเลือกสถานที่ตรวจตาบอดสีควรคำนึงถึงคุณภาพและความเชี่ยวชาญเป็นหลัก โดยควรเลือกศูนย์ตรวจตาที่มีจักษุแพทย์เฉพาะทางและอุปกรณ์ทันสมัยครบครัน โรงพยาบาลตาหรือคลินิกเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานจะสามารถวินิจฉัยภาวะตาบอดสีได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้คุณได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการดูแลสายตาต่อไป ตรวจตาบอดสีที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร แนะนำให้เข้ามาตรวจตาบอดสีได้ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยบุคลากรทางการแพทย์มากความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับดวงตา และจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป ตาบอดสีเป็นภาวะที่ส่งผลต่อการแยกแยะสี อาจมีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม โรคทางตา หรือปัจจัยอื่นๆ การตรวจวินิจฉัยทำได้ง่ายด้วยแบบทดสอบ Ishihara และวิธีอื่นๆ ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการควรเข้ารับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินแนวทางการดูแลที่เหมาะสม ศูนย์ตรวจตาที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือสามารถให้การวินิจฉัยและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันกับภาวะตาบอดสีได้อย่างมีคุณภาพ สำหรับคนที่อยากตรวจตาบอดสี แนะนำมาที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

จอประสาทตา: กุญแจสำคัญสู่โลกที่สดใส - ใส่ใจสุขภาพดวงตา ตรวจเช็กก่อนสาย

"จอประสาทตา" กุญแจสำคัญสู่โลกที่สดใส ดวงตา คือ หน้าต่างที่เปิดให้เราเห็นโลกใบนี้ แต่เบื้องหลังความงดงามนั้น มี "จอประสาทตา" หรือเรตินา ทำหน้าที่เสมือนกล้องถ่ายรูปที่มีความละเอียดสูงสุด คอยบันทึกทุกภาพที่เราเห็น แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งต่อไปยังสมอง ให้เราได้สัมผัสกับสีสัน ความเคลื่อนไหว และรายละเอียดต่างๆ รอบตัว จอประสาทตา สำคัญอย่างไร? ลองนึกภาพว่า หาก "กล้อง" หรือจอประสาทตาของเราเกิดขีดข่วนหรือเสียหาย ภาพที่ออกมาก็จะเบลอ พร่ามัว ไม่คมชัด จอประสาทตาก็เช่นกัน หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลโดยตรงต่อการมองเห็น อาจเริ่มจากตามัว มองเห็นภาพบิดเบี้ยว จนลุกลามถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิต ภัยเงียบที่จ้องคุกคาม : โรคจอประสาทตา โรคจอประสาทตามีหลายชนิด บางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่ค่อยๆ ทำลายการมองเห็นอย่างช้าๆ จึงเป็น "ภัยเงียบ" ที่เราต้องตระหนักและหมั่นตรวจเช็คสุขภาพดวงตาอยู่เสมอ ตัวอย่างโรคจอประสาทตาที่พบบ่อย ได้แก่ :       • จอประสาทตาเสื่อม : พบมากในผู้สูงอายุ ทำให้สูญเสียการมองเห็นบริเวณกลางภาพ ส่งผลต่อการอ่านหนังสือ การขับรถ และกิจวัตรประจำวันอื่นๆ       • เบาหวานขึ้นจอประสาทตา : ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดที่จอประสาทตาผิดปกติ อาจนำไปสู่การมองเห็นภาพซ้อน หรือสูญเสียการมองเห็นได้       • จอประสาทตาฉีกขาด : เกิดจากการลอกตัวของชั้นจอประสาทตา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในโอกาสวันจอประสาทตาโลกนี้ โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ขอเชิญชวนทุกท่านมาดูแลและใส่ใจสุขภาพดวงตา โดยเฉพาะการตรวจเช็คจอประสาทตาเป็นประจำเพื่อป้องกันและรักษาความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางตา ศูนย์รักษาจอประสาทตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ: มั่นใจ..ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง เรามีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตา พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย คอยให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจอประสาทตาอย่างครบวงจร ด้วยความใส่ใจและมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้คุณมั่นใจว่าดวงตาของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด  
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111