มุมสุขภาพตา : #เฟมโตเลสิก

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION

สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจทำเลสิกและขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำเลสิก

ข้อดีของเลสิก ได้แก่ การมองเห็นที่ชัดเจนถาวร ไม่ต้องพึ่งพาแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ ชีวิตหลังเลสิกคล่องตัวมากขึ้น โอกาสลดการเกิดอุบัติเหตุจากการมองเห็นที่ดีขึ้น ข้อจำกัดของเลสิก ได้แก่ ไม่สามารถทำได้สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวาน สะเก็ดเงิน หรือโรคต้อหิน ต้องงดใส่คอนแท็กต์เลนส์ก่อนการตรวจและผ่าตัด รวมถึงอาจมีอาการตาแห้งในบางกรณี การเตรียมตัวก่อนทำเลสิก ได้แก่ งดใส่คอนแท็กต์เลนส์ก่อนการตรวจและผ่าตัด งดน้ำหอมและเครื่องสำอางบริเวณรอบดวงตาก่อนวันผ่าตัด ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้เป็นประจำ จัดเตรียมแว่นกันแดดไว้ใส่หลังผ่าตัด ทำเลสิกที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)มีจักษุแพทย์และเทคโนโลยีล้ำสมัยในการดูแลรักษาสายตาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย รวมถึงการบริการที่ครบวงจรและการดูแลหลังการผ่าตัดที่ดี   การทำเลสิกคือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยใช้เลเซอร์ปรับรูปทรงกระจกตาให้แสงตกกระทบจุดรับภาพอย่างแม่นยำ ก่อนทำเลสิกควรเตรียมตัวให้พร้อมและตัดสินใจอย่างรอบคอบว่าจะทำเลสิกที่ไหนดี เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ     รู้จักกับการทำเลสิกก่อน เลสิก(LASIK) หรือ Laser in Situ Keratomileusis เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นสั้นในระดับอัลตราไวโอเลต มีคุณสมบัติเฉพาะที่ทำปฏิกิริยากับพื้นผิวที่สัมผัสโดยตรง โดยไม่กระจายออกด้านข้างหรือทะลุผ่านเข้าไปในลูกตา จึงมีความปลอดภัยและแม่นยำสูง หากคุณสงสัยว่าควรเตรียมตัวก่อนทำเลสิกอย่างไร และเลสิกมีกี่แบบ คำตอบคือเลสิกแบ่งออกเป็น 7 แบบ ดังนี้ Photorefractive Keratectomyวิธีนี้ไม่แยกชั้นกระจกตา แต่ลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออกก่อน จากนั้นใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับความโค้งของกระจกตา และปิดกระจกตาด้วยคอนแท็กต์เลนส์เพื่อช่วยลดอาการระคายเคือง MicrokeratomeLASIKเทคนิคนี้ใช้ใบมีดขนาดเล็กเปิดฝากระจกตา จากนั้นใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ ปรับความโค้งของกระจกตาให้ได้ค่าสายตาที่ต้องการ แล้วปิดกระจกตากลับเข้าที่ Bladeless FemtoLASIKเทคนิคนี้ใช้เลเซอร์ Femtosecond Laser ในการเปิดฝากระจกตา และปรับความโค้งด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์โดยไม่ต้องใช้ใบมีด ทำให้การรักษามีความแม่นยำและปลอดภัยมากกว่าแบบใช้ใบมีด ReLEx SMILEเทคโนโลยีที่ใช้เลเซอร์ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูง ไม่ต้องเปิดฝากระจกตา แต่ใช้เลเซอร์ตัดเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเลนส์ แล้วดึงออกผ่านแผลเล็กเพียง 2-4 มม. ซึ่งช่วยลดการรบกวนกระจกตา NanoLASIKเป็นการรักษาสายตาด้วยเลเซอร์ทุกขั้นตอน แยกชั้นกระจกตาด้วย Femtosecond Laser ไม่ใช้ใบมีด ปลอดภัย แม่นยำ เจ็บน้อย NanoRelexใช้ Femtosecond Laser สร้างแผลขนาด 2-3 มม. เพื่อนำชิ้นเนื้อ Lenticule ออก ใช้เวลาผ่าตัดน้อย หลังผ่าตัดช่วยลดอาการตาแห้ง แผลเล็กและกระจกตายังคงแข็งแรง SMILE Proคือเทคโนโลยี Femtosecond Laser รุ่นล่าสุด Visumax 800 โดยสร้างแผ่นเลนส์ติคูล (Lenticule) ใน 8-10 วินาที แล้วนำออกผ่านแผลขนาดเล็ก 2-4 มม. แล้วปรับรูปร่างกระจกตาให้แสงตกยังจอประสาทตาพอดี     การทำเลสิกเหมาะกับใครบ้าง ก่อนตัดสินใจทำเลสิก ควรทราบว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ ซึ่งผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยเลสิกควรมีอายุอย่างน้อย 18 ปี ค่าสายตาคงที่หรือไม่เปลี่ยนแปลงมากกว่า 50 (0.5D) อย่างน้อย 1 ปี รวมถึงควรเตรียมตัวก่อนทำเลสิก โดยมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ จึงจะสามารถทำเลสิกได้อย่างเหมาะสม การทำเลสิกไม่เหมาะกับใคร กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการทำเลสิก เพราะอาจส่งผลต่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ของการรักษา ได้แก่ ผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ยกเว้นในกรณีที่ต้องการไปสอบเตรียมทหารหรือตำรวจ ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคกลุ่มรูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี (SLE) สะเก็ดเงิน หรือ HIV ผู้ที่เป็นโรคทางจักษุ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคจิตเวชหรือมีภาวะเจ็บป่วยทางจิตที่ยังอยู่ในการดูแลของแพทย์     ข้อดีของการผ่าทำเลสิก ข้อดีที่คนมีปัญหาทางสายตาควรพิจารณาผ่าตัดการทำเลสิก เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ขณะทำการผ่าตัด มีเพียงการหยอดยาชาที่ตา ไม่มีการเย็บแผล จึงไม่รู้สึกเจ็บ ใช้เวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้นน้อย แผลสามารถหายได้เร็ว หลังจากผ่าตัด สามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ต้องนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล เลสิกสามารถแก้ไขปัญหาความผิดปกติของสายตาให้กลับมามองเห็นชัดเจนได้อย่างถาวร ชีวิตหลังทำเลสิกมองเห็นชัดเจนขึ้น ไม่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น ทำกิจกรรมต่างๆ งานอดิเรก และเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาทางน้ำและกีฬากลางแจ้ง ได้โดยไม่ต้องกังวล เมื่อความสามารถในการมองเห็นกลับมาชัดเจน โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายต่างๆ จะลดลง ข้อจำกัดของการทำเลสิก ก่อนที่จะตัดสินใจทำเลสิก ควรรู้ข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจมีผลต่อผลลัพธ์หลังผ่าตัด เพื่อให้สามารถเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสมและเข้าใจในขอบเขตของการรักษา ดังนี้ ผลข้างเคียงจากการทำเลสิกที่อาจเกิดขึ้นได้ ราคาค่าทำเลสิกค่อนข้างสูง หลังทำเลสิก อาจมีอาการตาแห้งในบางราย จำเป็นต้องดูแลตามคำแนะนำของแพทย์     ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำเลสิก เพื่อให้การทำเลสิกเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ควรเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ดังนี้ ศึกษาหาข้อมูลและปรึกษากับแพทย์ เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่รองรับการทำเลสิกหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับความต้องการได้ รวมถึงพิจารณาถึงคุณภาพ มาตรฐาน และฝีมือของจักษุแพทย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสถานที่เข้ารับบริการ   เมื่อเลือกสถานที่แล้ว ให้ทำการนัดหมายเพื่อเข้าพบแพทย์ เพื่อปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น ตรวจวัดสายตาอย่างละเอียด และเลือกวิธีการทำเลสิกที่เหมาะสม รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เตรียมตัวให้พร้อมก่อนตรวจ ก่อนเข้ารับการตรวจเพื่อทำเลสิก ควรมีการเตรียมตัวเบื้องต้น ดังนี้ หากใส่คอนแท็กต์เลนส์ชนิดนิ่ม ควรถอดออกก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 3 วัน และหากใส่คอนแท็กต์เลนส์ชนิดแข็ง ควรถอดออกก่อนอย่างน้อย 7 วัน หากใช้ยาใดๆ เป็นประจำ ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ ในวันที่มีการตรวจสายตา ควรเตรียมแว่นกันแดดและพาผู้ดูแลมาด้วย เนื่องจากในวันนั้นจะมีการใช้ยาหยอดขยายม่านตา ซึ่งทำให้ตาพร่ามัวและไม่สามารถรับแสงได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง เตรียมตัวให้พร้อมก่อนผ่าตัดทำเลสิก การเตรียมตัวก่อนทำเลสิกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้เข้ารับบริการควรเตรียมตนเองให้พร้อม ดังนี้ งดใช้น้ำหอม เครื่องสำอาง ครีมบำรุงต่างๆ บริเวณรอบดวงตาก่อนวันผ่าตัด งดการทำผม เช่น การใส่น้ำมันบำรุงผม เจลใส่ผม หรือใช้เครื่องประดับใดๆ งดดื่มชาหรือกาแฟก่อนเข้ารับการผ่าตัด ดูแลและสังเกตร่างกายตนเอง หากพบความผิดปกติ เช่น ตาแดง ไม่สบาย เกิดการเจ็บป่วย เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัด พกแว่นตากันแดดเพื่อป้องกันดวงตาจากแสงหลังการผ่าตัด     วิธีเลือกทำเลสิก ทำที่ไหนดี สิ่งที่สำคัญกว่าการเตรียมตัวก่อนทำเลสิก คือการเลือกว่าจะทำเลสิกที่ไหนดี? โดยวิธีเลือกโรงพยาบาลสำหรับทำเลสิก เพื่อให้ได้การรักษาที่มีคุณภาพและปลอดภัย ซึ่งควรพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ มีความเป็นมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาการติดเชื้อหลังการผ่าตัด สถานที่ต้องมีความน่าเชื่อถือในแง่ของการประสานงานและดำเนินการต่างๆ โดยมีความเป็นมืออาชีพ อุปกรณ์ครบครันและทันสมัย โดยเฉพาะในด้านการใช้เทคโนโลยีในการดูแลรักษาและผ่าตัด จักษุแพทย์ควรมีประสบการณ์ และมีใบประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง มีบริการหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ ได้รับคุณภาพและการบริการที่ดี คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป สรุป ก่อนทำเลสิกควรเตรียมตัวและรู้ข้อดี เช่น การมองเห็นที่ชัดเจนถาวร ลดการพึ่งพาแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ ชีวิตหลังทำเลสิกจะมีความคล่องตัวมากขึ้นเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ข้อจำกัดคือไม่สามารถทำได้สำหรับบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้ที่มีโรคเบาหวาน สะเก็ดเงิน หรือโรคต้อหิน ควรงดใส่คอนแท็กต์เลนส์ก่อนการตรวจและผ่าตัด รวมถึงงดน้ำหอมและเครื่องสำอางก่อนวันผ่าตัด การเตรียมตัวต้องปรึกษาแพทย์ และเตรียมแว่นกันแดดไว้ใส่หลังผ่าตัด สำหรับคนที่ต้องการทำเลสิก สามารถมาได้ที่ศูนย์เลเซอร์วิชั่น Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ซึ่งเป็นศูนย์รักษาสายตาผิดปกติที่มีทางเลือกครบครันในการรักษา และเน้นการบริการที่มีประสิทธิภาพ
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111