มุมสุขภาพตา : #หิน

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาต้อหิน

วิธีรักษาต้อหิน พร้อมแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดต้อหิน

ต้อหินมักเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม โรคเบาหวาน และความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา ซึ่งล้วนส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น จนไปกดทับเส้นประสาทตา ส่งผลให้เส้นประสาทตาเสื่อมสภาพและถูกทำลายอย่างช้าๆ และเกิดเป็นต้อหินในท้ายที่สุด วิธีรักษาต้อหินรวมทั้งการประคองอาการทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การใช้ยาหยอดตา การจ่ายยาเพื่อรับประทาน การทำเลเซอร์ ไปจนถึงการผ่าตัดระบายน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา ป้องกันต้อหินได้ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพดวงตา และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เลือกกินอาหารบำรุงดวงตา ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหมอนสูง และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อต้องออกแดด แนะนำมารักษาต้อหินได้ที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย ให้คำแนะนำ ตลอดจนการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ   ต้อหิน เป็นภัยเงียบที่สังเกตอาการได้ยาก ผู้ป่วยบางคนอาจรู้ตัวเมื่อสายไป ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้เลยทีเดียว! มาทำความรู้จักกับโรคต้อหินให้มากขึ้น หาสาเหตุและอาการ กลุ่มเสี่ยงเป็นต้อหินที่ควรรู้ ตลอดจากการวินิจฉัยและวิธีการรักษาต้อหิน มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่     รู้จักกับต้อหิน มีสาเหตุและอาการอย่างไร ต้อหินคือหนึ่งในกลุ่มโรคต้อโดยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเส้นประสาทตาที่เป็นตัวนำกระแสการมองเห็นสู่สมอง หากเส้นประสาทตาถูกทำลายก็จะสูญเสียลานสายตา ส่งผลให้เส้นประสาทตาเสื่อมสภาพและถูกทำลายอย่างช้าๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร และไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ ต้อหินมักเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม โรคเบาหวาน และความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา ปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นตอที่ทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นจนกดทับเส้นประสาทตาจนเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา อาจทำให้ความดันตาสูงขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดต้อหินได้เช่นกัน อาการของต้อหินในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเพียงแค่ขอบภาพมัวลง หรือมีจุดบอดเล็กๆ ในสายตา แต่เมื่อปล่อยไว้นานขึ้นโรคก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น อาจมีอาการเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นเป็นแสงวาบได้ ดังนั้น หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตา ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาต้อหิน     กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นต้อหินมากที่สุด แม้ว่าต้อหินเกิดจากปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ แต่ก็มีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นต้อหินมากกว่ากลุ่มคนทั่วไปอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรตรวจสายตาเป็นประจำ หรือ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อสังเกตอาการต้อหินอย่างใกล้ชิด และหาวิธีรักษาต้อหินได้อย่างทันท่วงที   กลุ่มผู้สูงอายุเพราะโครงสร้างของดวงตาจะเสื่อมสภาพตามวัย กลุ่มผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินเพราะพันธุกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ กลุ่มผู้ที่มีความดันตาสูงความดันภายในลูกตาที่สูงขึ้นเรื้อรังจะกดทับเส้นประสาทตา ทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย กลุ่มผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมากรูปร่างของลูกตาที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการระบายน้ำในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นได้ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะโรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดฝอยที่เลี้ยงเส้นประสาทตาได้ กลุ่มผู้ที่เคยผ่าตัดตาเพราะการผ่าตัดบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน กลุ่มผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานานเช่น สเตียรอยด์ที่อาจเพิ่มความดันในลูกตา กลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น มีขั้วตาใหญ่ เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา หรือมีโรคทางระบบอื่นๆ อย่างโรคไทรอยด์เป็นพิษ ระยะเวลาของการเกิดต้อหิน ระยะเวลาในการเกิดต้อหินตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรใช้เวลาประมาณ 5 - 10 ปี โดยเฉพาะโรคต้อหินที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพตามวัย ทั้งนี้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยตรวจพบต้อหินในระยะไหนด้วย หากพบไวก็จะหาวิธีรักษาต้อหินได้ไว แต่หากตรวจพบต้อหินในระยะท้าย อาจหาวิธีการรักษาต้อหินได้ยาก หรืออาจสูญเสียการมองเห็นภายในไม่กี่เดือน     วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาต้อหิน วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาวิธีรักษาต้อหิน แพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติ จากนั้นจะตรวจสายตาโดยละเอียด ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้   การวัดสายตา การวัดความดันในลูกตา การตรวจขั้วประสาทตาและจอตา การตรวจดูลานตา การวัดความหนาของกระจกตา การตรวจมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา     วิธีรักษาต้อหินหรือกลับมาใกล้เคียงปกติ วิธีการรักษาต้อหินหรือประคองอาการไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น และคงการมองเห็นเอาไว้ให้กลับมาใกล้เคียงปกติมีอยู่หลายวิธี โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาการรักษาแต่ละวิธีจากสาเหตุ อาการ และความรุนแรงของอาการ ดังนี้ การรักษาต้อหินโดยใช้ยาหยอดตา โดยทั่วไปแล้ว การรักษาต้อหินมักจะใช้วิธีการจ่ายยาหยอดตาที่มีส่วนช่วยลดความดันภายในลูกตา เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทในดวงตา ตัวยาจะเข้าไปลดการสร้างน้ำในดวงตา หรืออาจช่วยเพิ่มอัตราการไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา โดยมีกลุ่มยาหยอดตาที่แพทย์พิจารณาใช้ ดังนี้   ยาต้านเบต้า (Beta-blockers)ลดการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันภายในลูกตาลดลง ยาคาร์บอนิกแอนไฮเดรสอินฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors)ยับยั้งการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา โปรสตาแกลนดินแอนะล็อก (Prostaglandin Analogs)เพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยงออกจากลูกตา อะดรีนเนอร์จิกอะโกนิสต์ (Adrenergic Agonists)ทำให้รูม่านตาหดตัวและช่วยเพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยง พาราซิมพาโทมิเมติก (Parasympathomimetics)ทำให้รูม่านตาหดตัวและช่วยเพิ่มการระบายน้ำหล่อเลี้ยง     การรักษาต้อหินโดยการรับประทานยา หากการรักษาต้อหินโดยยาหยอดตาไม่ได้ผล จักษุแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาชนิดรับประทานให้ผู้ป่วย โดยใช้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อิฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors) ที่มีทั้งชนิดเม็ดและยาหยอดตา มีส่วนช่วยลดการสร้างของเหลวในลูกตา ทำให้ความดันภายในตาลดลง การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายน้ำในตาออก ลดความดันภายในดวงตา ซึ่งการใช้เลเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน ดังนี้   ใช้เลเซอร์กับต้อหินมุมปิดโดยจักษุแพทย์จะยิงเลเซอร์เข้าไปรักษาต้อหิน โดยเจาะรูเล็กๆ บนม่านตา เพื่อสร้างช่องทางให้ของเหลวในลูกตาไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ใช้เลเซอร์กับต้อหินมุมเปิดโดยจักษุแพทย์จะยิงเลเซอร์พลังงานต่ำเข้าไปรักษาต้อหิน โดยยิงไปที่บริเวณมุมระบายน้ำของลูกตา เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำทำงานได้ดีขึ้น     การรักษาต้อหินด้วยการผ่าตัด จักษุแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดต้อหินเพื่อสร้างช่องทางระบายน้ำภายในลูกตาที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร เพื่อให้ความดันในลูกตาต่ำลง ลดโอกาสกดทับเส้นประสาทตาที่เป็นต้นตอของต้อหิน โดยจักษุแพทย์จะมีแนวทางการผ่าตัดรักษาต้อหิน ดังนี้ 1. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Trabeculectomy ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Trabeculectomy เป็นวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้มากที่สุด โดยการผ่าตัดสร้างแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มุมระบายน้ำของลูกตา เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้ง่ายขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดความดันภายในลูกตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การรั่วของน้ำหล่อเลี้ยง การติดเชื้อ หรือการเกิดต้อกระจก 2. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Aqueous Shunt Surgery ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Aqueous Shunt Surgery เป็นการผ่าตัดโดยการใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กเข้าไปในลูกตา เพื่อเชื่อมต่อกับช่องว่างใต้เยื่อบุตาขาว ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้โดยตรง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันตาสูงมาก หรือผู้ป่วยที่เคยผ่าตัด Trabeculectomy แล้วไม่ประสบความสำเร็จ 3. ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธี Xen Implantation ผ่าตัดรักษาต้อหินด้วยวิธีXen Implantationเป็นการผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กและยืดหยุ่นเข้าไปในดวงตา เพื่อสร้างทางระบายใหม่สำหรับของเหลวภายในลูกตา จากนั้นของเหลวส่วนเกินก็จะไหลออกจากตัวท่อไปยังใต้เยื่อบุตาขาว ส่งผลให้ความดันตาลดลง     ขั้นตอนการผ่าตัดรักษาต้อหิน การผ่าตัดรักษาต้อหินมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้   วิสัญญีแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณดวงตา หรืออาจให้ยาสลบในบางกรณี จักษุแพทย์จะผ่าตัดเพื่อสร้างช่องทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา โดยวิธีการผ่าตัดจะแตกต่างกันไปตามชนิดของการผ่าตัด หลังจากทำการสร้างช่องทางระบายน้ำแล้ว จักษุแพทย์จะทำการเย็บปิดแผล     ผ่าตัดต้อหินเตรียมตัวอย่างไรและพักฟื้นกี่วัน? ผ่าตัดต้อหินพักฟื้นกี่วัน? โดยทั่วไปแล้วระยะเวลาในการพักฟื้นหลังการผ่าตัดต้อหินจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อาจใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ในการพักฟื้นที่บ้าน และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ในการกลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ   และเพื่อให้วิธีการผ่าตัดรักษาต้อหินหรือประคองอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คนไข้ควรดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี โดยมีแนวทางการดูแลตัวเองดังนี้ การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อหิน แจ้งประวัติสุขภาพทั้งหมดให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่กำลังรับประทาน และอาการแพ้ ตรวจสุขภาพ โดยแพทย์จะทำการตรวจตาและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อประเมินสภาพร่างกายก่อนการผ่าตัด หยุดยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาแอสไพริน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัดตามเวลาที่แพทย์กำหนด หากต้องเข้าพักโรงพยาบาล ให้เตรียมเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น ควรมีญาติหรือเพื่อนมาคอยดูแลหลังการผ่าตัด การดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อหิน หยอดยาตามที่จักษุแพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการอักเสบ หลีกเลี่ยงการขยี้ตา หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการก้มหน้า เพราะการก้มหน้าอาจทำให้น้ำหล่อเลี้ยงไหลออกจากลูกตาได้ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เช่น การออกกำลังกายหนัก การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ติดตามผลการผ่าตัดและตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น     แนวทางในการป้องกันต้อหิน อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าต้อหินมีอาการที่สังเกตเห็นได้ยาก บางรายอาจเสี่ยงสูญเสียการมองเห็นก่อนรู้ว่าเป็นต้อหินก็ได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันต้อหินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ โดยมีแนวทางดังนี้     ตรวจสายตาทุก 5 - 10 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ ซึ่งความถี่อาจขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละบุคคล ดังนี้   อายุต่ำกว่า 40 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 5 - 10 ปี อายุ 40 - 54 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 2 - 4 ปี อายุ 55 - 64 ปี ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 1 - 3 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพดวงตาทุก 1 - 2 ปี     การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยลดความดันภายในดวงตาลงได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย รับประทานวิตามินบำรุงสายตา ควรเลือกกินอาหารที่มีวิตามินบำรุงสายตา เพื่อรักษาสุขภาพของดวงตาให้แข็งแรง โดยมีวิตามินที่แนะนำ เช่น วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินดี (Vitamin D) และวิตามินอี (Vitamin E) เป็นต้น     สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา หากจำเป็นต้องออกแดด หรือต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยๆ เป็นเวลานานๆ แนะนำให้สวมอุปกรณ์ป้องกันสายตา เช่น แว่นดำ หรือหมวกที่มีปีก เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของดวงตา และป้องกันการเสื่อมสภาพของดวงตาที่เป็นสาเหตุให้เกิดต้อหินได้ หนุนหมอนในระดับที่พอเหมาะ ควรนอนหนุนหมอนที่มีระดับความสูงประมาณ 20 องศา เพื่อลดความดันของลูกตาขณะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาต้อหินที่ศูนย์รักษาต้อหิน Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากเป็นต้อหิน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการได้ที่ศูนย์รักษาต้อหิน Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)จักษุแพทย์ของเรา มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการต้อหินทุกระยะ ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการักษาต้อหินโดยเฉพาะ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหิน ที่มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาต้อหินได้ แต่ผู้ป่วยสามารถรีบรักษาเพื่อประคองและบรรเทาอาการ ป้องกันการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาวได้ โดยควรตรวจสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกกินอาหารที่มีสารอาหารบำรุงสุขภาพดวงตา นอนหมอนที่มีระดับเหมาะสม และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทุกครั้งที่ต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เท่านี้ก็สามารถรักษาดวงตาให้สุขภาพดี ห่างไกลต้อหินได้แล้ว แนะนำมารักษาต้อหินได้ที่ศูนย์รักษาต้อหินBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย ให้คำปรึกษา ตลอดจนการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ให้ผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ศูนย์รักษากระจกตา

โรคต้อที่ตาคืออะไร? แยกได้ทั้งหมดกี่ชนิด พร้อมอาการและวิธีการรักษา

ต้อเนื้อและต้อลมคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?ต้อเนื้อเป็นโรคกลุ่มเดียวกันกับต้อลม แต่มีการยื่นเข้าไปในส่วนของกระจกตา (ตาดำ) สาเหตุเหมือนกับต้อลม คือเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตา บริเวณที่โดนแดด คือเมื่อก้อนเนื้อต้อลมโตขั้นเป็นมากขึ้น แล้วมีการยื่นเข้าไปในตาดำ ก็จะกลายเป็นเป็นต้อเนื้อนั่นเอง รู้ได้อย่างไรว่าเป็นต้อเนื้อ?ถ้ามองเข้าไปที่ตาจะเห็นก้อนเนื้อ สีชมพู เป็นรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในตาดำ ถ้ามีการอักเสบมักเห็นเป็นสีแดงมากขึ้น ถ้าต้อลมจะอยู่แต่ที่ตาขาวเท่านั้น เป็นต้อเนื้อแล้วจะมีอาการอย่างไร?จะมีอาการระคายเคืองตา ตาแดง อาจคันหรือมีน้ำตาไหลถ้าโดนฝุ่นหรือลม ถ้าเป็นมากๆอาจกดกระจกตาทำให้มีสายตาเอียง หรือถ้าเป็นมากจนลุกลามไปบังตรงกลางของตาดำ อาจทำให้การมองเห็นมัวลงได้ เราจะป้องกันได้อย่างไร?หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เจอแดดแรงๆ หรือ ควรสวมแว่นกันแดด กางร่ม หรือสวมหมวกเพื่อไม่ให้ตาโดนแสงแดดโดยตรง ถ้าเป็นแล้ว จะรักษาให้หายได้หรือไม่ ตาจะบอดหรือไม่?กรณีถ้าเป็นไม่มาก อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด อาจเพียงแค่รักษาด้วยยาลดการอักเสบ ลดแดง หรือลดอาการระคายเคืองเป็นครั้งคราว แต่ถ้ามีอาการอักเสบบ่อยๆ หรือต้อเนื้อใหญ่มากขึ้น จนทำให้การมองเห็นแย่ลง อาจพิจารณาทำผ่าตัดลอกต้อเนื้อได้ ต้อเนื้อไม่อันตรายโดยปรกติไม่ทำให้ตาบอด ถ้าเป็นมากสามารถผ่าตัดรักษาได้ การผ่าตัดทำได้โดยแค่ฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้เวลาไม่นาน แต่การดูแลหลังผ่าตัดเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนไข้ต้องหยอดยาตามแพทย์สั่ง และ หลีกเลี่ยงการเจอผุ่น ลม แดด ไม่เช่นนั้นต้อเนื้ออาจกลับเป็นซ้ำได้ ซึ่งจะมีการอักเสบรุนแรงมากขึ้น และการทำผ่าตัดซ้ำก็ทำได้ยากขึ้น การผ่าตัดต้อเนื้อมีหลายวิธีดังนี้ การลอกต้อเนื้อเพียงอย่างเดียว โดยไม่เอาเยื่อบุใดๆมาแปะ วิธีนี้ทำในกรณีผุ้ป่วยอายุมาก ต้อเนื้อไม่มีการอักเสบมาก ปัจจุบันไม่นิยมเนื่องจากอัตราการเกิดซ้ำสูงมาก การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อบุตามาแปะ คือนอกจากตัดต้อเนื้อ ออกแล้ว ยังเอาเยื่อบุตาส่วนบนของตาคนไข้เอง มาเย็บเข้าในบริเวณที่เป็นต้อเนื้อเดิม วิธีนี้ช่วยลดการเกิดซ้ำได้ดีมาก การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ วิธีทำผ่าตัดเหมือนวิธีที่ 2 แต่ใช้เยื่อหุ้มรกมาเย็บแทน ทำให้ไม่ต้องใช้เยื่อบุตาของคนไข้ และใช้ได้ในกรณีเป็นซ้ำ และได้ใช้เยื่อบุตาตนเองไปแล้ว การลอกต้อเนือโดยการใช้mitomycin c ร่วมกับใช้เยื่อหุ้มรก หรือ เยื่อบุตาแปะ จะ ช่วยลดการเกิดซ้ำได้ดี โดยเฉพาะในคนไข้กลุ่มที่มีความเสียงสูงในการเกิดซ้ำ แต่ก็ต้องใช้ยานี้อย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจมีข้อแทรกซ้อนจากยา การแปะเยื่อหุ้มรกหรือเยื่อบุตานั้น อาจใช้ไหมเย็บ หรืออาจใช้กาว fibrin แปะโดยไม่ต้องเย็บก็ได้ ทั้งต้อลมและต้อเนื้อนั้น ถ้าเราทราบว่าเป็นแล้ว การป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ระวังหรือหลีกเลี่ยงการโดนแดด ฝุ่น ลม เช่น ใส่แว่นกันแดด ใช้ร่ม สวมหมวก ก็ทำให้เราลดโอกาสการโดนแดดโดยตรง โรคก็จะไม่เป็นมากขึ้นค่ะ  
ศูนย์เลสิก LASER VISION

โรคต้อหินเฉียบพลัน

โรคต้อหินเฉียบพลัน ชื่อโรคก็บ่งบอกให้เรารู้อยู่แล้วว่าเฉียบพลัน "ต้อหินเฉียบพลัน" จะทำให้ผู้ป่วยตาแดง ตามัว ปวดตา และตาบอดในเวลาอันสั้น ทุกอย่างเป็นไปอย่างเฉียบพลัน      ภายในดวงตาคนเรามีน้ำทั้งชนิดใสและข้นเป็นองค์ประกอบ ทำให้ลูกตาเกิดแรงดันอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าใช้เครื่องมือไปวัดจะได้ประมาณ 10-20 มิลลิเมตรปรอท น้ำในลูกตามีการไหลเวียนแลกเปลี่ยนกับกระแสเลือด มีน้ำเข้าในและออกนอกลูกตาเป็นประจำ น้ำเข้าและออกจะสมดุลกัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อหินเฉียบพลัน เกิดจากการไหลเวียนของน้ำเข้าและออกผิดพลาด น้ำออกจากตาน้อยกว่าน้ำเข้าตา ทำให้ความดันตาขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว อาจวัดความดันตาได้สูงถึง 50-60 มิลลิเมตรปรอท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ปวดศรีษะอย่างรุนแรงในทันที แรงดันที่สูงขนาดนี้ ทำให้ กระจกตา ที่ปกติใส จะขุ่นมัวทันที ทำให้ผู้ป่วยตามัวลงอย่างทันทีด้วย      โรคต้อหินเฉียบพลันนี้เกิดขึ้นได้เฉพาะในคนที่มีรูปร่าง ลักษณะภายในของตาผิดปกติ มองข้างนอกจะเป็นลูกตาปกติ ร่วมกับภาวะแวดล้อมที่ทำให้ ม่านตา ขยายผิดปกติ เช่น จากการใช้ยาบางชนิด พบโรคนี้มากในผู้หญิงสูงอายุ เนื่องด้วยผู้หญิงมักมีขนาดดวงตาเล็กกว่าผู้ชาย เมื่ออายุมากขึ้นขนาดแก้วตาซึ่งอยู่ภายในดวงตาใหญ่ขึ้น (เพราะเนื้อเยื่อบางส่วนของตาเสื่อมลงตามวัย) จึงทำให้ช่องต่างๆ ภายในดวงตาแคบลง   อาการ      ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการเตือนนำมาก่อนการเกิดต้อหินเฉียบพลัน ได้แก่ รู้สึกปวดตาเวลาใช้สายตามากๆ ทำให้ตาพร่าไปชั่วคราว ตามักพร่ามัวเวลาพลบค่ำ หรือบางครั้งอาจมองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ แต่พอนอนพักอาการจะดีขึ้น แต่จะมีอาการแบบนี้บ่อยๆ ดังนั้นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิง หากมีอาการดังกล่าวควรรีบเข้าปรึกษาจักษุแพทย์ทันที หากจักษุแพทย์ตรวจพบอาการดังกล่าวร่วมกับความผิดปกติของลักษณะภายในตาที่แคบ หรือตื้น สามารถทำการป้องกันได้โดยการใช้แสงเลเซอร์รักษา ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างถาวร   ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดโรคต้อหินเฉียบพลัน ถึงแม้ไม่อาจทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างกะทันหัน แต่พอสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงที่เกิดโรคต้อหินเฉียบพลันได้แก่ ผู้ป่วยบางเชื้อชาติ เช่น ชาวเอเชีย พบมากกว่าชาวยุโรป ผู้ป่วยหญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย อายุที่มากขึ้นมีโอกาสเป็นมากขึ้น มักพบในอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มี บิดา มารดา และ/หรือ ญาติพี่น้อง เป็นโรคนี้ กล่าวคือ เป็นโรคทางพันธุกรรม ส่วนใหญ่โรคนี้จะเป็นอย่างฉับพลัน โดยไม่มีโรคตาอื่นๆนำมาก่อน มีบ้างที่เกิดจากมีโรคตาบางอย่าง เช่น เป็น ต้อกระจก ที่ต้อแก่แล้วไม่ไปรับการผ่าตัด หรือ ได้รับอุบัติเหตุจนแก้วตาเคลื่อนไปจากเดิม      ดังได้กล่าวแล้วว่า อาการสำคัญของต้อหินเฉียบพลันมี 3 อย่าง ได้แก่ ตาแดง ตามัว และ ปวดตา อาการเหล่านี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องรีบพบจักษุแพทย์ทันที ซึ่งหากแพทย์วินิจฉัยได้เร็ว ให้ยาลดความดันตา ตามด้วยการยิงแสงเลเซอร์อาการทั้ง 3 อย่าง ข้างต้นจะหายได้ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ โดยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้าควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ศูนย์เลสิก LASER VISION

อาการเริ่มต้นและสัญญาณเตือนของต้อหิน พร้อมการรักษาและป้องกัน

ต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากความเสียหายต่อเส้นประสาทตา ซึ่งมักเกิดจากความดันในลูกตาที่สูงเกินไป ทำให้การมองเห็นค่อยๆ เสื่อมลงหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาการของต้อหินที่มักพบ เช่น ปวดตา น้ำตาไหล การมองเห็นลดลง และเห็นวงแสงรอบดวงไฟ การรักษาต้อหินมีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรง ได้แก่ ยาหยอดตา ยาทาน เลเซอร์ และการผ่าตัด การรักษาต้อหินที่โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ดีเพราะมีจักษุแพทย์และเทคโนโลยีทันสมัยในการดูแลและรักษาโรคต้อหินอย่างครบวงจร   ต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงเกินไป อาจทำลายเส้นประสาทตาและนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา อาการเริ่มต้นของต้อหินมักไม่ชัดเจน ทำให้การตรวจพบในระยะแรกยาก ในบทความนี้จะพูดถึงอาการเริ่มต้น วิธีการรักษา และวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้     ต้อหินคือโรคอะไร โรคต้อหิน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในดวงตา แต่มีอันตรายสูง เนื่องจากอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคนี้ทำให้การมองเห็นแย่ลง ความกว้างของการมองเห็นแคบลง จนสุดท้ายอาจสูญเสียการมองเห็นทั้งหมดได้ การสูญเสียการมองเห็นจากต้อหินเป็นสิ่งถาวรและไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ซึ่งต้อหินสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. ต้อหินมุมเปิด ต้อหินปฐมภูมิชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดและแบ่งออกเป็นสองประเภทตามความดันลูกตา ได้แก่ ความดันลูกตาสูงและความดันลูกตาปกติ กลไกการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน การดำเนินโรคมักเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยมักไม่สังเกตเห็นความผิดปกติในระยะแรก   ส่วนใหญ่จะทราบจากการตรวจของจักษุแพทย์ เมื่อโรคดำเนินไป ผู้ป่วยอาจเริ่มสังเกตเห็นอาการตามัว มองเห็นได้แคบลง หรือความสามารถในการปรับการมองเห็นในที่สว่างและมืดลดลง 2. ต้อหินมุมปิด ต้อหินปฐมภูมิชนิดนี้พบได้บ่อยในคนเอเชียคือต้อหินมุมปิด ซึ่งเกิดจากการอุดกั้นการระบายน้ำในลูกตาที่มุมตา ทำให้ความดันลูกตาสูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่   ชนิดเฉียบพลันผู้ป่วยมักมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นรัศมีรอบดวงไฟ และอาจปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการทำลายขั้วประสาทตา ชนิดเรื้อรังพบได้บ่อยกว่าชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการชัดเจน หรือมีอาการปวดตาหรือปวดศีรษะเล็กน้อย เป็นๆ หายๆ เป็นระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี 3. ต้อหินจากการผิดปกติของดวงตา ต้อหินทุติยภูมิเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ของดวงตา เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจกที่สุกมาก การอักเสบภายในดวงตา เนื้องอกหรือมะเร็งในลูกตา อุบัติเหตุต่อดวงตา ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดตา และการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ 4. ต้อหินตั้งแต่เกิดและในเด็กเล็ก ต้อหินตั้งแต่กำเนิดและในเด็กเล็ก เกิดจากความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่ในครรภ์ ทำให้ระบบระบายน้ำในลูกตาทำงานผิดปกติ อาจเกิดเฉพาะกับดวงตาหรือมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย อาการที่มักพบ ได้แก่ กลัวแสง เปลือกตากระตุก น้ำตาไหลเอ่อ หรือแม่อาจสังเกตเห็นลูกมีลูกตาดำใหญ่ผิดปกติหรือตาดำขุ่น     อาการตามระยะของต้อหิน อาการของต้อหินและโรคต้อหินเฉียบพลันที่พบได้บ่อย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค โดยสามารถสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้   อาการปวดตา ตาแดง น้ำตาไหลผิดปกติ การมองเห็นมัวลง เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ การมองเห็นไม่ชัดเจน แม้จะตัดแว่นใหม่แล้วก็ตาม     ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ความดันลูกตาสูงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถควบคุมได้ หากความดันลูกตาสูงมาก ความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินจะเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้โรคดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้นอีกด้วย อายุอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน โดยเฉพาะต้อหินปฐมภูมิมุมเปิดที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี พันธุกรรมการมีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินได้ถึง 4-5 เท่า โรคประจำตัวโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นที่ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินได้ รวมถึงโรคข้อรูมาตอยด์ที่มีการอักเสบเรื้อรังที่ดวงตา ยาบางชนิดเช่น ยาแก้โรคกระเพาะ ยากันชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น อุบัติเหตุที่ลูกตาหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดตา โรคตาเช่น เบาหวานขึ้นตา การอักเสบภายในลูกตา โรคเม็ดสีผิดปกติในดวงตา หรือภาวะต้อกระจกบางชนิด สายตาสั้นมากหรือสายตายาวมากคนที่มีสายตาสั้นมากจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดต้อหินมุมเปิด ส่วนคนที่มีสายตายาวมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดต้อหินมุมปิด การวินิจฉัยเพื่อตรวจหาต้อหิน โรคต้อหินไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า การตรวจวินิจฉัยจึงมีความสำคัญมาก โดยสามารถตรวจวินิจฉัยโรคต้อหินอย่างละเอียดตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ ผ่านการตรวจระดับการมองเห็น การวัดค่าสายตาหักเหด้วยคอมพิวเตอร์ การตรวจตาทั่วไป การตรวจขั้วประสาทตา การตรวจมุมตา วัดความดันลูกตา ความหนาของกระจกตา การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพขั้วประสาทตา การใช้เครื่องสแกนวิเคราะห์จอประสาทตาและขั้วประสาทตา (Optical Coherence Tomography) และเครื่องตรวจลานสายตา (Visual Field Analyzer) ที่ช่วยให้ทราบผลตรวจได้ทันที     วิธีการรักษาโรคต้อหิน การรักษาต้อหินมีหลายวิธีที่ช่วยลดความดันลูกตาและป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้ ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินที่เป็นและความรุนแรงของโรค โดยมีดังนี้ ใช้ยารักษาต้อหิน การใช้ยารักษาต้อหินอาจรวมถึงการใช้ยาหยอดตาต้อหิน ยารับประทาน และยาฉีด โดยจักษุแพทย์จะทำการรักษาทีละขั้นตอนและติดตามผลการตอบสนองต่อการรักษาอย่างใกล้ชิด การรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน โดยใช้เวลารักษาไม่นาน มักจะมีการให้ยาควบคู่กันด้วย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยเลเซอร์ต้อหินอาจรวมถึงตาแห้ง การไม่ทนแสง ระคายเคืองดวงตา และปวดตา อย่างไรก็ตามหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยมักพักฟื้นเพียง 30 นาทีและสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังรักษา การผ่าตัดรักษาต้อหิน เมื่อการรักษาด้วยยาและเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของต้อหิน สิ่งสำคัญที่ควรเข้าใจคือการผ่าตัดรักษาต้อหินมีจุดประสงค์เพื่อลดความดันในลูกตา ไม่ใช่การกำจัดต้ออย่างถาวร เนื่องจากเมื่อเป็นต้อหินแล้ว สามารถควบคุมอาการไม่ให้แย่ลงได้เท่านั้น     ป้องกันไม่ให้เกิดต้อหิน ได้อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดต้อหิน การดูแลดวงตาและสุขภาพตาอย่างเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ โดยทำตามวิธีง่ายๆ เช่น   ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพดวงตาให้ดี ระวังเรื่องความสะอาด โดยการล้างมือบ่อยๆ เช็ดหน้าให้สะอาด และล้างเครื่องสำอางให้หมดจด อย่าเอามือไปขยี้ตา เพื่อป้องกันการอักเสบ ติดเชื้อ หรือระคายเคือง ระมัดระวังป้องกันการบาดเจ็บในดวงตา เช่น การใส่แว่นป้องกันการกระแทกในกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์หรือซื้อยาหยอดตามาหยอดเอง การใช้ยาควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการเกิดต้อหินจากภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เส้นเลือดในตาผิดปกติ สรุป ต้อหินคือโรคที่เกิดจากความดันในลูกตาสูง ซึ่งสามารถทำลายเส้นประสาทตาและส่งผลต่อการมองเห็น มีหลายประเภทคือต้อหินปฐมภูมิแบบมุมเปิดและมุมปิด ต้อหินทุติยภูมิ และต้อหินตั้งแต่เกิด วิธีรักษาต้อหิน ได้แก่ ยาหยอดตา ยาเม็ด ยาฉีด การรักษาด้วยเลเซอร์ และการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการ สามารถป้องกันต้อหินได้ด้วยการดูแลดวงตา เช่น ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น ระมัดระวังป้องกันการบาดเจ็บที่ดวงตา และการควบคุมโรคประจำตัวต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาต้อหิน สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพซึ่งให้บริการดูแลและรักษาโรคและอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตาอย่างครบวงจร
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111