มุมสุขภาพตา : #บำรุงดวงตา

เรียงตาม
ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
สุดยอดอาหารบำรุงดวงตา
สุดยอดอาหารบำรุงดวงตา สุดยอดอาหารบำรุงดวงตา      ดวงตา ก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆของร่างกาย การทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จากธรรมชาติช่วยให้คุณมีสุขภาพตาที่แข็งแรง และมีดวงตาที่สดใสไปอีกนาน ผลแอปริคอท ผลแอปริคอทมันหวาน แคนตาลูป และน้ำเต้านั้น อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนที่เป็นตัวช่วยชะลอการเสื่อมถอยของเลนส์ตา ช่วยบำรุงสายตา และช่วยในการป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก โกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ผลวิจัยในต่างประเทศพบว่า อุดมด้วยแคโรทีนอยด์ และซีเอแซนทีน ช่วยเรื่องการมองเห็น หรือสายตา เพิ่มความสามารถในการมองเห็น รักษาโรคตาบอดกลางคืน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการรับภาพ และป้องกันแสง โดยเฉพาะแสงสีน้ำเงิน และสีฟ้า ทำให้ดวงตาเสื่อมช้าลง มักถูกแปรรูปเป็นเครื่องดื่มน้ำผลไม้ ต้มเพื่อดื่มน้ำ และใช้ในเชิงสมุนไพรสำหรับประกอบอาหารด้วย เสาวรส ผลไม้เปรี้ยวอมหวานมีวิตามินเอสูงมาก ทำให้การมองเห็นชัดเจน นอกจากนั้น ยังพบว่ามีวิตามินซีมากกว่ามะนาว จึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ ผลไม้ตระกูลส้ม วิตามินซีที่พบได้ในผักและผล เช่น ส้ม มะเขือเทศ และพริกหวานนั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก อีกทั้งช่วยในการไหลเวียนเลือดในดวงตา วิตามินซีในส้มยังสามารถช่วยป้องกันโรคหวัดและนอกจากนี้กากของส้มยังช่วยในเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย ผักเคล/กะหล่ำปลีชนิดสีเขียวเข้ม เคล กะหล่ำปลีชนิดสีเขียวเข้ม ผักขม หัวผักกาดเขียวและบล็อคโครี่นั้น มีคุณประโยชน์คือให้วิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาให้มีประกายที่สดใส มีเบต้าแคโรทีน และยังช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็ง มีแคลเซียม วิตามินซี และเส้นใยอาหารสามารถป้องกันโลหิตจางได้อีกด้วย ถั่วสีน้ำตาลแดง ถั่วสีน้ำตาลแดง นั้นเพรียบพร้อมไปด้วยธาตุสังกะสีที่ดีต่อสายตา อีกทั้งวิตามินเอก็เป็นส่วนช่วยปกป้องเยื่อชั้นในของลูกตา ปลาแซลมอน เนื้อปลาแซลมอนนั้นมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ DHA ที่สามารถช่วยปกป้องจากโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งโปรตีนในเนื้อปลายังช่วยในเรื่องของโรคตา และยังสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้อีกด้วย มันเทศ มันเทศเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีนชั้นดีที่ช่วยบำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังมีสารต้านมะเร็งที่สูง ราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่ายมากๆ ผักคะน้า คะน้ามีลูทีน และ ซีแซนทีน ที่ช่วยบำรุงสายตาสูง รับประทานเป็นประจำจะช่วยลดอาการเสี่ยงของการเกิด โรคต้อกระจก ได้ถึง 20 % โรคกระจกตาเสื่อม (AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย ผักบุ้ง ผักบุ้งแก้ตาฟาง ลดอาการปวดกระบอกตาในกรณีที่ใช้สายตาเป็นเวลานาน และช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง ฟักทอง ฟักทองช่วยในการมองเห็น ป้องกันเยื่อบุตาแห้ง และกระจกตาเป็นแผล ผักตำลึง มีเบต้าแคโรทีน และแคโรนอยด์ แก้โรคตามัวตอนกลางคืน
ศูนย์เลสิก LASER VISION
สมุนไพรบำรุงสายตา
สมุนไพรบำรุงสายตา สมุนไพรบำรุงสายตา      หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นผู้สูงอายุหรือมีปัญหาเกื่ยวกับสายตา เช่น ตาฝ้าฟาง ตาพร่ามัว เคืองตา หรือมองเห็นภาพไม่ชัดในตอนกลางคืน หากทานสมุนไพร 3 ชนิดนี้ อาจช่วยได้ กะเพรา กะเพราใช้ปรุงอาหารและช่วยดับกลื่นคาว เช่น ผัดเผ็ดต่างๆ ใบกะเพรายังประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินซี ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซื่ยม รวมทั้งเบต้าโรทีนสูง ซึ่งสารนี้จะช่วยเปลื่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายของเรา จึงช่วยบํารุงสายตาได้อย่างดี ขี้เหล็ก ดอกตูมและใบอ่อนนิยมใช้เป็นอาหาร เช่น แกงขี้เหล็ก และลวกเป็นผักจิ้มในใบขี้เหล็กมีเบต้าแคโรทีนสูง นอกจากช่วยบํารุงสายตาแล้ว ยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ แครอท ใช้เป็นผักสลัด ผักจิ้ม และใช้ประกอบอาหารหลายชนิด หัวแครอทมีเบต้าแคโรทีนสูง จึงเป็นประโยชน์ต่อสายตาอย่างมาก
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111