ภายในดวงตาคนเรามีน้ำทั้งชนิดใสและข้นเป็นองค์ประกอบ ทำให้ลูกตาเกิดแรงดันอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าใช้เครื่องมือไปวัดจะได้ประมาณ 10-20 มิลลิเมตรปรอท น้ำในลูกตามีการไหลเวียนแลกเปลี่ยนกับกระแสเลือด มีน้ำเข้าในและออกนอกลูกตาเป็นประจำ น้ำเข้าและออกจะสมดุลกัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อหินเฉียบพลัน เกิดจากการไหลเวียนของน้ำเข้าและออกผิดพลาด น้ำออกจากตาน้อยกว่าน้ำเข้าตา ทำให้ความดันตาขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว อาจวัดความดันตาได้สูงถึง 50-60 มิลลิเมตรปรอท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ปวดศรีษะอย่างรุนแรงในทันที แรงดันที่สูงขนาดนี้ ทำให้ กระจกตา ที่ปกติใส จะขุ่นมัวทันที ทำให้ผู้ป่วยตามัวลงอย่างทันทีด้วย
โรคต้อหินเฉียบพลันนี้เกิดขึ้นได้เฉพาะในคนที่มีรูปร่าง ลักษณะภายในของตาผิดปกติ มองข้างนอกจะเป็นลูกตาปกติ ร่วมกับภาวะแวดล้อมที่ทำให้ ม่านตา ขยายผิดปกติ เช่น จากการใช้ยาบางชนิด พบโรคนี้มากในผู้หญิงสูงอายุ เนื่องด้วยผู้หญิงมักมีขนาดดวงตาเล็กกว่าผู้ชาย เมื่ออายุมากขึ้นขนาดแก้วตาซึ่งอยู่ภายในดวงตาใหญ่ขึ้น (เพราะเนื้อเยื่อบางส่วนของตาเสื่อมลงตามวัย) จึงทำให้ช่องต่างๆ ภายในดวงตาแคบลง
ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการเตือนนำมาก่อนการเกิดต้อหินเฉียบพลัน ได้แก่ รู้สึกปวดตาเวลาใช้สายตามากๆ ทำให้ตาพร่าไปชั่วคราว ตามักพร่ามัวเวลาพลบค่ำ หรือบางครั้งอาจมองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ แต่พอนอนพักอาการจะดีขึ้น แต่จะมีอาการแบบนี้บ่อยๆ ดังนั้นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิง หากมีอาการดังกล่าวควรรีบเข้าปรึกษาจักษุแพทย์ทันที หากจักษุแพทย์ตรวจพบอาการดังกล่าวร่วมกับความผิดปกติของลักษณะภายในตาที่แคบ หรือตื้น สามารถทำการป้องกันได้โดยการใช้แสงเลเซอร์รักษา ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างถาวร
ถึงแม้ไม่อาจทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างกะทันหัน แต่พอสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงที่เกิดโรคต้อหินเฉียบพลันได้แก่
ดังได้กล่าวแล้วว่า อาการสำคัญของต้อหินเฉียบพลันมี 3 อย่าง ได้แก่ ตาแดง ตามัว และ ปวดตา อาการเหล่านี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องรีบพบจักษุแพทย์ทันที ซึ่งหากแพทย์วินิจฉัยได้เร็ว ให้ยาลดความดันตา ตามด้วยการยิงแสงเลเซอร์อาการทั้ง 3 อย่าง ข้างต้นจะหายได้ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ โดยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้าควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง