ត្រឡប់មកវិញ
What Is Ptosis?

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อด้านความงามเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาด้วยเช่นกัน ทั้งอาการมองเห็นได้ไม่ชัด สายตาเอียง ตาขี้เกียจ เป็นต้น มาดูกันว่ากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษาอย่างไร หาคำตอบ ได้ในบทความนี้

 

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตาหรือเส้นประสาทบริเวณดวงตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาบนหย่อนคล้อยและอยู่ต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ส่งผลต่อทัศนวิสัยการมองเห็น

  • ล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีสาเหตุจากพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิต อุบัติเหตุหรือศัลยกรรมตาผิดพลาด กล้ามเนื้อเบ้าตาฉีกขาดและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

  • อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่สังเกตได้คือมีปัญหาด้านการลืมตา ขยี้ตาบ่อย เกิดภาวะหนังตาตก เบ้าตาลึกผิดปกติ เลิกหน้าผากเพื่อมอง และอาการอื่นๆ เช่น ตาปรือ ชั้นตาไม่เท่ากัน ชั้นตาซ้อน เป็นต้น

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงป้องกันไม่ได้ เพราะบางรายอาจมีอาการตั้งแต่เกิดหรือเกิดภายหลัง แต่สามารถตรวจสายตาเป็นประจำและสังเกตอาการที่อาจเป็นตัวบ่งชี้ของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คืออะไร

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คืออะไร

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คือภาวะกล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตาหรือเส้นประสาทบริเวณดวงตาทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เปลือกตาบนหย่อนคล้อยและอยู่ต่ำกว่าตำแหน่งปกติ หนังตาบนลงมาปิดตาดำจนมองเห็นได้ไม่ชัดเจนหรืออาจจะปิดการมองเห็นเลยก็ได้เช่นกัน ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมักดูเหมือนง่วงนอนตลอดเวลา ตาปรือ ทำให้เสียบุคลิกภาพ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงพบได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย เป็นได้ตั้งแต่เกิดหรือเกิดในภายหลังจากอายุที่มากขึ้น การบาดเจ็บของดวงตาและการศัลยกรรม และกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นได้กับเปลือกตาข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ซึ่งข้างใดข้างหนึ่งอาจรุนแรงกว่าอีกข้างก็ได้เช่นกัน

 

หาสาเหตุกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากอะไรได้บ้าง

 

หาสาเหตุกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากอะไรได้บ้าง

กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป ซึ่งแบ่งสาเหตุหลักๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ ดังนี้

1. พันธุกรรม

กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงจากพันธุกรรมเป็นการเกิดขึ้นของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด เรียกว่าโรคหนังตาตกแต่เกิด (Congenital Ptosis) เกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือถ่ายทอดจากพันธุกรรมทำให้หนังตาตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ ส่งผลกระทบต่อตาหนึ่งหรือสองข้าง เด็กที่มีภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสายตาอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นตาขี้เกียจ สายตาเอียง มองเห็นภาพมัว ตาเข การเคลื่อนไหวตาผิดปกติ เนื้องอกบริเวณเปลือกตาหรือตำแหน่งอื่น

สังเกตเด็กที่มีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้จากพฤติกรรมการเลิกคิ้ว แหงนคอไปด้านหลัง ยกคางขึ้นเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อบุคลิกภาพแต่ยังทำให้เกิดปัญหากับศีรษะและคอของเด็กด้วย

2. อายุที่มากขึ้น

อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อตาและผิวหนังมีการหย่อนคล้อยไปตามวัยและการใช้งาน ทำให้หนังตาหย่อนคล้อย หนังตาตก บดบังทัศนียภาพการมองเห็น เกิดการเลิกคิ้วเพื่อให้มองเห็นได้ชัด ซึ่งยิ่งทำให้เกิดริ้วรอยย่นบนหน้าผากเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความงามและการใช้ชีวิตประจำวัน

3. พฤติกรรมการใช้ชีวิต

พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างอาจเป็นสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือจ้องหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานานโดยไม่ได้พักสายตา ทำให้สายตาทำงานหนัก เกิดอาการอ่อนล้าดวงตา เสี่ยงพัฒนาไปเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รวมไปถึงการขยี้ยาบ่อยๆ แรงๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงได้เช่นกัน

4. อุบัติเหตุ หรือศัลยกรรมตาผิดพลาด

การเกิดอุบัติเหตุหรือศัลยกรรมตาผิดพลาดส่งผิดให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ การเกิดอุบัติเหตุมีส่วนทำให้กระดูกบริเวณใบหน้าผิดไปจากเดิม เนื่องจากการกระแทกทำให้เส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อตาผิดปกติ จนเกิดหนังตาตก ลืมตาลำบาก จนส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

การศัลยกรรมตาสองชั้นผิดพลาดเกิดจากความไม่เชี่ยวชาญของแพทย์ที่ทำการผ่าตัด หรือไม่ได้วินิจฉัยก่อนว่าผู้รับการผ่าตัดมีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือไม่ การผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อาจมาจากการทำตาสองชั้นสูงเกินไป ทำให้เกิดการรั้งจนเป็นพังพืดที่กล้ามเนื้อตา การผูกปมไหมที่ไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา การผ่าตัดไปกระทบกับกล้ามเนื้อตา ทำให้ตาไม่เท่ากัน ตาปรือ หรือหนังตาตก

5. กล้ามเนื้อเหนือเบ้าตาฉีกขาด

กล้ามเนื้อเหนือเบ้าตาฉีกขาด เกิดจากกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ (Levator) ที่มีหน้าที่หน้าที่ยกเปลือกตาและควบคุมการปิดเปิดทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนนี้เกิดการอ่อนแรง การใส่คอนแท็กต์เลนส์หรือการขยี้ตาบ่อยๆ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตาบาดเจ็บจนเกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

6. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Myasthenia Gravis)

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Myasthenia Gravis) หรือ MG ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตาอ่อนแรงง่ายขึ้น เนื่องจากหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการตาปรือ ลืมตาลำบาก หนังตาตก การกลอกตาผิดปกติ เกิดภาพซ้อน และตาไม่สามารถโฟกัสได้

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาการเป็นอย่างไร

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาการเป็นอย่างไร

การสังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ โดยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาการที่พบได้ มีดังนี้

1. มีปัญหาด้านการลืมตา

เมื่อมีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะทำให้ไม่สามารถลืมตาได้เต็มที่ กรณีที่เป็นข้างเดียวจะสังเกตได้ว่าตาไม่เท่ากัน หนังตาตกลงมาชัดเจน ชั้นตาใหญ่กว่าปกติ ดูตาปรือ และลืมตาให้เต็มที่เท่ากับข้างที่เป็นปกติไม่ได้

2. มีพฤติกรรมขยี้ตาบ่อย

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ส่งผลให้ชั้นตาพับ ตาปรือ หนังตาตก และอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองบริเวณดวงตา ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมขยี้ตาบ่อยๆ ได้

3. เกิดภาวะหนังตาตก

ภาวะหนังตาตกเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นในภายหลังได้จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้ตาไม่เท่ากัน ตาง่วง ปรือ ใบหน้าไม่สดใส เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา เนื่องจากกล้ามเนื้อตาเปิดได้ไม่เต็มที่จากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง และอาจทำให้การมองเห็นไม่ปกติจากหนังตาตกที่มาบดบังการมองเห็น

4. เบ้าตาลึกผิดปกติ

ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมักมีเบ้าตาลึกมากกว่าปกติ จะสังเกตได้ว่ามีร่องรอยลึกอยู่เหนือเปลือกตา พบบ่อยในผู้ที่มีอายุ เบ้าตาลึกจะเห็นได้ง่ายในผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเนื่องจากไขมันใต้เปลือกตาหายไป ทำให้ตาดูโหล ดูโทรม ดูมีอายุ

5. เลิกหน้าผากเพื่อมอง

อีกหนึ่งอาการที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือพฤติกรรมการเลิกหน้าเพื่อมองให้ชัดขึ้น เพราะผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง หนังตาจะเกิดการหย่อนคล้อยส่งผลต่อการมองเห็น จึงต้องเลิกคิ้วขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดริ้วรอยบนหน้าผาก ทำให้ใบหน้าดูมีอายุ และเสียบุคลิกภาพ

6. อาการอื่นๆ ที่สังเกตเห็นได้ชัด

อาการอื่นๆ ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน คือ การเลิกคิ้ว เงยหน้ามอง ตาปรือ ชั้นตาไม่เท่ากัน ชั้นตาซ้อน หนังตาตกและหย่อนคล้อย การมองเห็นผิดปกติ สายตาเอียง และตาไม่เท่ากัน

ผลกระทบกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่มากกว่าแค่ความงาม

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่เพียงแต่ส่งผลด้านความงามเท่านั้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาดูแลยังส่งผลต่อสุขภาพดวงตาและปัญหาอื่นๆ ด้วย เช่น การเกิดสายตาเอียงจากแรงกดของเปลือกตาด้านหน้าซึ่งทำให้รูปร่างตาเปลี่ยน เกิดการมองเห็นที่ผิดเพี้ยน การเกิดสายตาขี้เกียจ ในเด็กอาจทำให้เด็กแหงนหน้ายกคางขึ้นเพื่อให้มองเห็น ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาเกี่ยวกับคอ และการหดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าผากและทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการช้าได้

 

วินิจฉัยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยแพทย์

 

วินิจฉัยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยแพทย์

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงวินิจฉัยได้จากการมองด้วยตาเปล่าได้ เนื่องด้วยผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีหนังตาตก หากเป็นข้างเดียวจะสังเกตได้ง่ายกว่าเป็นทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจตา ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Slit Lamp Examinationคือกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงสว่างในการตรวจ จะช่วยให้จักษุแพทย์สามารถส่องเห็นทั้งภายนอกและภายในดวงตาแบบภาพ 3 มิติ

  • ตรวจลานสายตา (Visual Field Test)คือการตรวจลานสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการวัดขอบเขตการมองเห็นเมื่อมองตรงไปข้างหน้า

  • ตรวจการกลอกตา (Ocular Motility Testing)เพื่อตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา โดยการให้ผู้ป่วยมองตามนิ้วโดยไม่เคลื่อนไหวใบหน้า

  • Tensilon Testทดสอบโดยฉีดยา edrophonium chloride 2 - 5 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำเพื่อตรวจหาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (MG)

 

แนวทางการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 

แนวทางการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือรักษาด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับอาการและการทำงานของกล้ามเนื้อเปลือกตา หากไม่มีการบดบังของดวงตาจนส่งผลให้เกิดปัญหาการมองเห็น อาจไม่จำเป็นต้องรักษาก็ได้ แต่หากปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงส่งผลต่อความงามและกระทบการมองเห็น ควรรีบได้รับการรักษาเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ตามมาได้ กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงมีแนวทางการรักษา ดังนี้

ผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีการใช้ยาชาเฉพาะพื้นที่ และมีรูปแบบการผ่าตัดที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หากยังเปิดตาเองได้จะใช้การผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อเปิดตาแบบแผลด้านใน (Mullerectomy)เพราะฟื้นตัวเร็ว ได้ชั้นตาที่เป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับชั้นตาเดิมก่อนเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หากตาตกมากแต่ยังพอมีแรงเปิดตาได้ จะใช้วิธีการผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อเปิดตาแบบแผลด้านนอก (Levator Surgery)โดยแพทย์จะผ่าตัดจะเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อลึกด้านใน เพื่อดึงเพื่อให้กล้ามเนื้อเปิดตากลับมาทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดและไม่มีแรงเปิดตาได้ จะใช้วิธีการผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อเปิดตา ใช้แรงดึงจากกล้ามเนื้อหน้าผาก (Frontalis Sling) โดยใช้เอ็นหุ้มกล้ามเนื้อส่วนต้นขาแทนการใช้วัสดุสังเคราะห์มาคล้องแทน เพราะอยู่ได้นาน โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย

ยาหยอดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการใช้ยาหยอด จะใช้ตัวยาที่เรียกว่า Oxymetazoline ที่เข้าไปทำงานกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกเปลือกตาบน (Levator Muscle) ซึ่งช่วยให้เปิดตาได้กว้างขึ้น และต้องใช้เป็นประจำ แต่มีข้อจำกัดคือรักษากล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงบางประเภทไม่ได้

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดได้กับทุกคน และบางครั้งก็เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิด แต่ก็สามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและแก้ไขแต่เนินๆ ได้ โดยการหมั่นพบแพทย์ตรวจเช็กสายตา การสังเกตอาการของโรค และลดการใช้สายตาหนักๆ

รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ศูนย์ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร

หากมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เข้ารับคำปรึกษาและการรักษาได้ที่ศูนย์ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง Bangkok Eye Hospitalที่นี่เชี่ยวชาญด้านการดูแลและรักษาความผิดปกติของดวงตา โดยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีความโดดเด่นดังนี้

  • โรงพยาบาลดูแลโดยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  • โรงพยาบาลมีเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการรักษาดวงตา เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย

  • โรงพยาบาลพร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

  • โรงพยาบาลใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศที่เป็นกันเอง

สรุป

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นภาวะที่เปลือกตาหย่อนคล้อยกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาหรือเส้นประสาท ส่งผลให้ตาปรือ คล้ายคนง่วงนอน ลืมตาได้ไม่เต็มที่ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสายตาอย่างสายตาเอียง สายตาขี้เกียจได้ กระทบต่อทั้งบุคลิกภาพ ความมั่นใจ และการมองเห็น ภาวะนี้เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งจากพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น การบาดเจ็บ หรือผลข้างเคียงจากการศัลยกรรม โดยอาจเกิดขึ้นที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล

ศูนย์ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง Bangkok Eye Hospitalที่นี่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือทันสมัย แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในราคาเข้าถึงได้ ให้คำแนะนำ ดูแล พร้อมบรรยากาศที่เป็นกันเอง

calling
ទំនាក់ទំនងមកយើងខ្ញុំ : +662 511 2111