Blogs : #วุ้นในตาเสื่อม

Sort

Dry eyes

Dry eyes Tears play a crucial role in keeping our eyes moist, ensuring clear vision by letting light effectively pass through the eye's lens, and supplying oxygen to nourish the eye. They also help fend off infections and keep foreign substances at bay.   Now, when it comes to dry eyes, it's a pretty common issue that can stem from abnormal tear production or tears evaporating too quickly. This can lead to discomfort, irritation, that feeling like there's something foreign in your eye, redness, pain, blurry vision that gets better with blinking, or even feeling like your eyes are tired and heavy. What causes dry eyes can vary—getting older, being a woman (yeah, we're more prone to it), certain allergy medications, spending loads of time on screens, being in places with dust and smoke, gusty winds, and bright lights, they can all have a hand in it.   But hey, the good news is there are ways to tackle dry eyes:   Keep away from things that can make it worse, like strong winds and dust, by popping on some sunglasses and protecting those peepers. Remember to take breaks or blink more often, especially when you're glued to screens for a while. You've got these cool eye drops called artificial tears. There's a type for daytime (more watery) and nighttime (a bit thicker). Which one to use depends on how serious your dry eye situation is. Sometimes your doc might suggest special eye drops that encourage your eyes to make more tears. Give your eyes a treat with warm, clean cloths over your closed eyelids to help them feel better. If the dry eye struggle is real and isn't improving, it's wise to chat with an eye doctor.   All in all, dry eyes can be a bother, but there are solutions out there. It's important to take good care of your eyes, especially when it's all dry outside. If you suspect you've got dry eyes, having a chat with an eye care expert is a smart move.      
Read More

วุ้นในตาเสื่อม อันตรายต่อการมองเห็น มาหาสาเหตุและวิธีการรักษา

วุ้นในตาเสื่อม คือภาวะที่วุ้นในตาเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำและหลุดออกจากจอประสาทตา ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็นได้ ผู้ที่มีอาการวุ้นในตาเสื่อมอาจมองเห็นเงาดำลอยไปมา แสงวาบในตา หรือมีปัญหาการมองเห็น หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร วุ้นในตาเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น สายตาสั้นมาก การอักเสบในตา และอุบัติเหตุทางตา วุ้นในตาเสื่อม โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรักษาเว้นแต่พบจอตาฉีกขาด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยเลเซอร์หรือการจี้เย็น หรือแนวทางการรักษาวุ้นในตาเสื่อมแบบอื่น ๆ ศูนย์จอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ให้บริการตรวจและรักษาโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมที่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคดวงตาได้อย่างปลอดภัย   อาการวุ้นในตาเสื่อมอาจดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็ก แต่แท้จริงแล้วอาจอันตรายกว่าที่คิดและอาจนำไปสู่ปัญหาสายตาที่ร้ายแรง ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้สูญเสียการมองเห็นระยะยาวได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอย่างทันท่วงที มารู้ถึงสาเหตุ วิธีการรักษา และแนวทางป้องกันวุ้นในตาเสื่อมได้ในบทความนี้       วุ้นในตาเสื่อม คืออะไร วุ้นในตา (Vitreous) เป็นองค์ประกอบสำคัญของดวงตา มีลักษณะเป็นเจลใสที่ประกอบด้วยน้ำประมาณ 99% และโปรตีนเส้นใย เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่างๆ โดยวุ้นในตาจะมีหน้าที่ช่วยรักษารูปร่างของลูกตาให้กลม และช่วยให้แสงผ่านเข้าสู่จอประสาทตาเพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน   อาการวุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คือภาวะที่วุ้นในตาเริ่มสูญเสียความหนืดและเปลี่ยนสภาพจากเจลใสเป็นของเหลวเหมือนน้ำเมื่ออายุมากขึ้น โดยวุ้นตาเสื่อมมักมาพร้อมกับการหลุดลอกออกจากจอประสาทตา ซึ่งเรียกว่าภาวะ "Posterior Vitreous Detachment (PVD)" อาการวุ้นในตาเสื่อม เป็นอย่างไร อาการวุ้นในตาเสื่อมที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้   มองเห็นเงาดำหรือจุดดำลอยไปมาในสายตา อาจมีลักษณะเป็นเส้น เส้นขด หรือวงกลม เงาที่มองเห็นมักเกิดจากการที่เส้นใยโปรตีนในวุ้นตาจับตัวกันเป็นตะกอนขุ่น เกิดอาการเห็นแสงไฟวาบในตา ซึ่งมักบ่งชี้ถึงแรงดึงที่เกิดขึ้นระหว่างวุ้นตาและจอประสาทตา สาเหตุวุ้นในตาเสื่อม เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้วุ้นในตาเสื่อมอาจเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น วุ้นตาจะเสื่อมสภาพและกลายเป็นของเหลวตามกาลเวลา ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสื่อมนี้ก็ยิ่งชัดเจน ส่งผลให้เกิดเงาดำหรือจุดลอยในสายตามากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากอายุ 50 ปีขึ้นไป 2. ค่าสายตาสั้น ตามสถิติพบว่าผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 400 จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า เนื่องจากโครงสร้างของดวงตาที่มีสายตาสั้นมักเปราะบางและเสื่อมง่ายกว่าปกติ 3. อาการอักเสบในลูกตา การได้รับอุบัติเหตุที่กระทบดวงตาในอดีตสามารถส่งผลต่อโครงสร้างของวุ้นตา ทำให้วุ้นในตาอ่อนแอและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เช่น การถูกของแข็งกระแทกหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรง 4. อุบัติเหตุทางดวงตา ภาวะอักเสบในลูกตา เช่น Uveitis สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของวุ้นในตา การอักเสบนี้อาจทำให้วุ้นตาเกิดการลอยตัว หรือหลุดลอกจากจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดวุ้นในตาเสื่อมในที่สุด 5. ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดต้อกระจกอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของดวงตา การใส่เลนส์ตาเทียมแทนเลนส์เดิมอาจทำให้วุ้นในตาหลุดลอกและเร่งการเสื่อมสภาพให้เร็วขึ้น วุ้นในตาเสื่อม ปล่อยทิ้งไว้อันตรายกว่าที่คิด วุ้นในตาเสื่อมเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงในตัวเอง แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนแล้วไม่ดูแลให้ถูกต้องหรือไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ อาการนี้อาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงต่อสุขภาพดวงตาและการมองเห็นในระยะยาว โดยผลกระทบจากอาการวุ้นในตาเสื่อมก็จะมีอยู่ดังนี้ 1. สร้างความรำคาญตา เมื่อเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อม ผู้ป่วยมักเห็นจุดดำ เงา หรือเส้นลอยไปมาขณะมองสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้าหรือขณะทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา เช่น อ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ จนอาจก่อความรำคาญหรือการขยี้ตาซึ่งอาจทำให้สุขภาพตายิ่งแย่ลงไปอีก 2. เกิดเงาในจอตา วุ้นในตาที่เสื่อมสภาพจนเกิดรูรั่วหรือรอยฉีกขาดในจอประสาทตา ก็จะก่อให้เกิดการสะท้อนแสงหรือการบิดเบือนของภาพทำให้เห็นเงาดำหรือแสงวาบในจอตาได้ ซึ่งหากปล่อยไว้รูรั่วก็อาจจะขยายใหญ่ขึ้นจนนำไปสู่ปัญหาต่อๆ ไป 3. จอประสาทตาฉีกขาด หากปล่อยให้เกิดเงาในจอตาแล้วไม่มีการรักษาจนอาการเสื่อมรุนแรงขึ้น วุ้นตาที่หลุดลอกจากจอประสาทตาอาจดึงรั้งจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดการฉีกขาดได้ และอาจนำไปสู่ปัญหาจอตาหลุดลอกซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน 4. เสียสุขภาพตา ภาวะวุ้นในตาเสื่อมส่งผลต่อสุขภาพตาโดยรวม โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดการอักเสบหรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา บาดแผลในดวงตา หรือการติดเชื้อในดวงตา ซึ่งจะยิ่งทำให้การรักษามีความซับซ้อนและอาการอาจรุนแรงมากขึ้น 5. สูญเสียการมองเห็นถาวร หากปล่อยให้ปัญหาวุ้นในตาเสื่อมลุกลามโดยไม่ได้รับการดูแลเป็นเวลานาน จนจอตาหลุดลอกหรือเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการวุ้นในตาเสื่อม หายเองได้ไหม อาการวุ้นในตาเสื่อมจะค่อยๆ บรรเทาลงภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนและสามารถหายได้เองหากไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างรูรั่วหรือรอยฉีกขาดในจอประสาทตา แต่หากเกิดอาการดังกล่าว ผู้ป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้การฉีกขาดขยายตัวมากขึ้นจนทำลายดวงตา ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรไปพบจักษุแพทย์ให้วินิจฉัยอาการเพื่อรักษาวุ้นในตาเสื่อมอย่างเหมาะสม วินิจฉัยอาการวุ้นในตาเสื่อม ผู้ที่มีภาวะวุ้นตาเสื่อมควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มตรวจดวงตาส่วนหน้า จากนั้นแพทย์จะหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อตรวจวุ้นตาและจอตา โดยหลังหยอดยาดวงตาจะรู้สึกพร่ามัว มองแสงจ้าไม่ได้ และจะไม่สามารถมองเห็นในระยะใกล้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการวินิจฉัยจึงควรพกแว่นกันแดดและมีคนขับรถไปด้วย   แนวทางการรักษาวุ้นในตาเสื่อม แนวทางในการรักษาวุ้นในตาเสื่อมทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการวุ้นในตาเสื่อม โดยจะแบ่งแนวทางการรักษาโดยคร่าวๆ ได้ดังนี้   ปล่อยให้อาการดีขึ้นเองโดยทั่วไปภาวะวุ้นในตาเสื่อมจะไม่จำเป็นต้องรับการรักษา โดยอาการเงาดำหรือแสงวาบที่เห็นจะค่อยๆ ลดลงและหายไปในที่สุดในช่วง 3 เดือน โดยในระหว่างนั้นผู้ป่วยเพียงต้องปรับตัวการใช้ชีวิตให้เหมาะสมและสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องก็เพียงพอ รักษาด้วยเลเซอร์ใช้ในกรณีที่พบรอยฉีกขาดในจอตา โดยเลเซอร์จะถูกใช้ยิงไปยังบริเวณรอยฉีกขาดของจอตา เพื่อสร้างความร้อนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการยึดติดระหว่างจอตากับเนื้อเยื่อรอบข้าง รักษาด้วยการจี้เย็น (Cryopexy)ใช้ในกรณีที่พบรอยฉีกขาดในจอตา โดยจะใช้หัวอุปกรณ์ที่ปล่อยความเย็นไปยังบริเวณที่จอตาฉีกขาด ความเย็นจะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อรอบรอยฉีกขาดแข็งตัวและติดกัน รักษาโรคทางตาอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุบางครั้งอาการวุ้นในตาเสื่อมก็อาจเกิดขึ้นจากโรคหรืออาการอื่นๆ เช่น การอักเสบในดวงตาหรือโรคเบาหวานขึ้นตา ดังนั้นจึงต้องรักษาต้นเหตุไปด้วยระหว่างการรักษาวุ้นในตาเสื่อม เพื่อป้องกันอาการวุ้นตาเสื่อมแทรกซ้อน ปรึกษาจักษุแพทย์ในกรณีฉุกเฉินหากมีอาการแสงวาบเพิ่มขึ้น หรือมีเงาดำจำนวนมากปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรง เช่น ภาวะจอตาหลุดลอก ดังนั้นหากพบเจอกับอาการเหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์โดยทันที แนวทางการป้องกันวุ้นในตาเสื่อม การป้องกันวุ้นในตาเสื่อม ทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพของดวงตาโดยทั่วไป โดยมีแนวทางการป้องกันวุ้นในตาเสื่อมดังนี้   รักษาสุขภาพดวงตาหลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรงๆ หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของดวงตา ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำเข้ารับการตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปี ใส่แว่นตาป้องกันแสง UVใช้แว่นตากันแดดคุณภาพดีที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากแสงแดดที่อาจทำลายดวงตา รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ซี อี ลูทีน และซีแซนทีน เช่น ผักใบเขียว ปลาแซลมอน และแครอท ควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจอประสาทตาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดการใช้งานดวงตาหนักเกินไปพักสายตาทุกๆ 20 นาทีเมื่อใช้งานจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน โดยให้หลับตาแล้วมองไปยังจุดที่มืดของห้องหรือใช้มือป้องแสงเป็นเวลา 1-2นาทีก่อนจะลืมตาขึ้นมาอีกครั้ง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้ รักษาวุ้นในตาเสื่อม ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร   หากมีอาการวุ้นในตาเสื่อม แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการวุ้นในตาเสื่อมได้ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้   โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป วุ้นในตาเสื่อม คือภาวะที่วุ้นตาเสื่อมสภาพจนกลายเป็นน้ำและหลุดออกจากจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเห็นเงาดำลอยไปมา หรือแสงวาบในตาได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอกได้ จนหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาก็อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร โดยการป้องกันที่ดีก็จะเป็นการดูแลสุขภาพดวงตาและเข้ารับการตรวจเป็นประจำ   หากกังวลเรื่องวุ้นในตาเสื่อม ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรควุ้นในตาเสื่อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมความมุ่งมั่นในการดูแลดวงตาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน รักษา ไปจนถึงฟื้นฟูสุขภาพตา เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ
calling
Contact Us : +66 84 979 3594