เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและอาจเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นจากการติดเชื้อ แพ้ หรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ อาการของเยื่อบุตาอักเสบอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตา แสบตา หรือมีขี้ตาผิดปกติ บทความนี้พามาสังเกตสัญญาณเตือน ที่บอกว่าเยื่อบุตาอักเสบอาจรุนแรงและต้องพบแพทย์โดยด่วน พร้อมข้อควรปฏิบัติและวิธีรักษาที่ถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
เนื้อเยื่อบุตาอักเสบ หรือ Conjunctivitis คือการอักเสบของเยื่อบางๆ ที่ปกคลุมดวงตาส่วนหน้าและด้านในของเปลือกตา การติดต่อเกิดจากการสัมผัสน้ำตาผ่านมือหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วไปสัมผัสตา แต่ไม่ติดต่อผ่านการมอง อากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน
มักระบาดในฤดูฝนตามชุมชนที่มีคนอยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ที่ทำงาน และสระว่ายน้ำ พบได้ทุกช่วงอายุ โดยระบาดในเด็กได้ง่ายกว่าเพราะขาดความรู้ในการป้องกัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้
อาการของโรคนี้จะปรากฏหลังสัมผัสเชื้อทางตา 1 - 2 วัน โดยเยื่อบุตาจะเกิดการอักเสบ บวม เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา และมีขี้ตามาก ซึ่งอาจเป็นเมือกใสหรือสีเหลืองอ่อนหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแต่มักแพร่ไปอีกข้างได้ง่าย
อาการจะรุนแรงในช่วง 4 - 7 วันแรก และหายได้เองภายใน 7 - 14 วัน การรักษาเน้นตามอาการและป้องกันการแพร่เชื้อ โดยใช้ยาปฏิชีวนะหากมีขี้ตามาก และยาลดไข้หรือยาแก้ปวดหากมีอาการทางระบบ
โรคเนื้อเยื่อบุตาอักเสบมีสาเหตุที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้
อาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัสอะดีโน (Adenovirus) มักทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ไข้สูง และบางครั้งมีอาการหายใจเหนื่อย สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ชอบหยิบจับสิ่งของรอบตัว เชื้อจะติดมากับมือแล้วเด็กอาจเผลอสัมผัสบริเวณใบหน้าหรือขยี้ตา ทำให้เด็กเป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบได้ง่ายและพบบ่อยกว่าในผู้ใหญ่
การเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) และสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus Pneumoniae) ก่อให้เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบได้ โดยแพร่กระจายผ่านการสัมผัสตาหรือสิ่งที่มีเชื้อปนเปื้อน ผู้ที่สัมผัสน้ำมูกหรือน้ำตาจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง
นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังรวมถึงการสัมผัสสารเคมีในเครื่องสำอางหรือน้ำยาล้างคอนแท็กต์เลนส์ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย ภาวะภูมิแพ้โดยเฉพาะต่อฝุ่น PM2.5 และสภาพแวดล้อมที่มีควันหรือการใช้แว่นตาที่ไม่สะอาด อาการที่พบได้แก่ ตาแดง ตามัว ตามีขี้ตา และการระคายเคืองในตา
เยื่อบุตาอักเสบหายเองได้ไหม? กรณีที่เกิดจากไวรัสมักหายได้เองภายใน 7 - 14 วัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หากมีสาเหตุจากแบคทีเรีย อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อน สำหรับเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากอาการแพ้ สภาวะจะดีขึ้นเมื่อหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และใช้ยาต้านฮีสตามีนตามคำแนะนำของแพทย์
วิธีการรักษาเยื่อบุตาอักเสบสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
นอกจากนี้ การรักษาควรทำควบคู่ไปกับการพักใช้สายตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือใส่เลนส์สัมผัส รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางและคอนแท็กต์เลนส์ชั่วคราว เพื่อป้องกันสิ่งระคายเคืองตาและช่วยให้อาการหายเร็วขึ้นด้วย
วิธีป้องกันโรคเนื้อเยื่อบุตาอักเสบ สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
ภาวะเยื่อบุตาอักเสบอาจเกิดได้กับทุกคน แต่จะมีคนบางกลุ่มที่เสี่ยงมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ดังนี้
ควรรีบพบแพทย์หากมีอาการเยื่อบุตาอักเสบดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านดวงตาเพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา
หากอาการเยื่อบุตาอักเสบเสี่ยงอันตราย และเข้าขั้นต้องไปพบแพทย์โดยด่วน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมบุคลากรมากความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับดวงตา รวมถึงจุดเด่นต่างๆ ดังนี้
เยื่อบุตาอักเสบคือการอักเสบของเยื่อบางๆ ที่ปกคลุมดวงตาและด้านในของเปลือกตา ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำตาที่ปนเปื้อนเชื้อ ไม่ใช่ผ่านการมอง อากาศ หรืออาหาร มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสที่ทำให้มีไข้ เจ็บคอ หรือเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงสารเคมี ฮอร์โมน ภูมิแพ้ฝุ่น PM2.5 และอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด
การรักษาทำได้โดยหยอดน้ำตาเทียม ใช้ยาตามสาเหตุ พักสายตา งดขยี้ตาและใช้เครื่องสำอาง ส่วนการป้องกันคือล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และไม่ใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา
สำหรับคนที่มีปัญหาดวงตา แนะนำมาที่Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย