มุมสุขภาพตา

เรียงตาม
ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้ อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา
กระจกตาเป็นฝ้า : สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ
กระจกตาเป็นฝ้า สาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ ณ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ กระจกตาเปรียบเสมือนหน้าต่างบานแรกที่แสงจะผ่านเข้าสู่ดวงตา หาก "กระจกตา" เกิดขุ่นมัว การมองเห็นย่อมได้รับผลกระทบ "กระจกตาเป็นฝ้า" เป็นภาวะที่กระจกตาสูญเสียความใส ทำให้มองเห็นภาพมัว ไม่ชัดเจน หรือเห็นภาพซ้อน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของกระจกตาเป็นฝ้า กระจกตาเป็นฝ้าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ซึ่งอาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการบาดเจ็บที่กระจกตา แผลที่กระจกตา เกิดจากการบาดเจ็บ การระคายเคืองจากฝุ่นละออง สารเคมี หรือการติดเชื้อ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกระจกตาโค้งผิดปกติ (Keratoconus) ทำให้กระจกตาบางและโป่งนูนผิดปกติ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตา เช่น โรคตาอักเสบ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์หยอดตาเป็นเวลานาน การสัมผัสสารเคมี เช่น สารฟอกขาว กรด ด่าง การขาดวิตามินเอ อาการของกระจกตาเป็นฝ้า มองเห็นภาพมัว อาจเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขุ่นมัวของกระจกตา เห็นภาพซ้อน ตาแดง ปวดตา เคืองตา น้ำตาไหล แพ้แสง วิธีการรักษากระจกตาเป็นฝ้า การรักษากระจกตาเป็นฝ้าขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง โดยทั่วไปมีวิธีการรักษาดังนี้ การใช้ยา เช่น ยาหยอดตา ยาป้ายตา เพื่อลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อ หรือรักษาตามสาเหตุ การผ่าตัด การปลูกถ่ายกระจกตา : ในกรณีที่กระจกตาเสียหายมาก การขัดกระจกตาด้วยเลเซอร์ : เช่น PTK การรักษาอื่นๆ เช่น การประคบอุ่น การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ พร้อมดูแลรักษากระจกตาเป็นฝ้าอย่างครบวงจร ด้วย ทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตา : ประสบการณ์สูง เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เทคโนโลยีที่ทันสมัย : เครื่องมือที่ได้มาตรฐานสากล ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาอย่างแม่นยำ ปลอดภัย เครื่องตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Corneal Topography) เครื่องตรวจวัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry) เลเซอร์ Excimer และ เลเซอร์ Femtosecond การดูแลอย่างครบวงจร : ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามผล จนกระทั่งหายเป็นปกติ บริการที่สะดวกสบาย : บรรยากาศเป็นกันเอง ใส่ใจทุกขั้นตอน คืนความใสการมองเห็นที่คมชัดให้กับดวงตาที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 02-511-2111  
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา
รายชื่อประกันภัย
  บริษัทประกันภัย บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด มหาชน บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลูม่าแคร์ จำกัด บริษัท บลูเวนเจอร์ ทีพีเอ จำกัด บริษัท เอดับเบิลยู พี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด Asian Assistance (Thailand) Co., Ltd. APRIL Assistance (Thailand) Co., Ltd. International SOS (Thailand) Co., Ltd. Assist International Services Co., Ltd. บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด มหาชน บริษัท ซัมซุงประกันชีวิต(ประเทศไทย) จำกัด มหาชน  บริษัท Euro-Center (Thailand) Co., Ltd. บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) :: สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ::  แผนกประสานสิทธิ์ประกัน 02-511-2111 ต่อ 3803, 3804  UR Nurse 02-511-2111 ต่อ 3805
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา
สรุปทำเลสิกแบบไหนดีที่สุด Latest Updates 2024
สรุปทำเลสิกแบบไหนดีที่สุด Latest Updates 2024   หลายท่านกำลังมองหาเทคนิคการทำเลสิกที่ดีและมีประสิทธิภาพในปี 2024 นี้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเลือกทำเลสิกวิธีไหนดี เพราะมีวิธีการทำเลสิกมากมายหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็มีวิธีการผ่าตัด ระยะเวลาพักฟื้น ราคา และความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป โดยทางเลือกที่ดีที่สุด คือ เราขอแนะนำให้คุณเข้าไปทำการประเมินดวงตาก่อนการผ่าตัดกับจักษุแพทย์เพื่อให้แพทย์ประเมินหาวิธีการทำเลสิกที่เหมาะสมกับตัวคุณที่สุด    แต่ในแง่ของเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เราขอแนะนำการผ่าตัดทำเลสิกที่ทันสมัยที่สุดในปี 2024 ซึ่งเป็นการผ่าตัดรักษาสายตาแบบแผลเล็ก ด้วยการผ่าตัดไร้ใบมีด โดยการใช้ Femtosecond Laser ที่ใช้เวลาผ่าตัดน้อยกว่า แผลหายเร็วกว่า มีความปลอดภัยสูงกว่า ที่สำคัญให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย มาดูกันว่าการทำการทำเลสิกรักษาสายตาแบบแผลเล็ก คืออะไร และมีเทคโนโลยีการรักษาสายตาแบบแผลเล็กตัวไหนบ้างที่น่าสนใจ   การทำเลสิก รักษาสายตาแบบแผลเล็กคืออะไร เทคโนโลยีการทำเลสิกแบบแผลเล็กหรือ SMILE (Small Incision Lenticule Extraction) เป็นหนึ่งในเทคนิคการผ่าตัดเลสิกเพื่อรักษาสายตาสั้นและสายตาเอียงที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อลดการทำลายเนื้อเยื่อของกระจกตาและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในด้านการฟื้นตัว โดยการใช้ Femtosecond Laser เพื่อที่จะแยกชั้นกระจกตา และปรับโค้งกระจกตาตามค่าสายตาในคราวเดียวกัน แล้วจึงนำเนื้อกระจกตาส่วนเกินออกผ่านช่องขนาดเล็ก ปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตา โดยไม่ต้องเปิดฝากระจกตา ซึ่งมีข้อดีเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงหลังจากผ่าตัดที่จะทำให้ตาแห้งน้อยลง กระจกตาแข็งแรงมากกว่าการทำเลสิกแบบอื่น ๆ  และปัญหาเรื่องเห็นแสงกระจายกลางคืนที่น้อยลง โดยการทำเลสิกแบบแผลเล็กหรือ SMILE ยังมีเทคโนโลยีแบบเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย   เปรียบเทียบเทคโนโลยีการรักษาสายตา NanoRelex® นวัตกรรมใหม่ล่าสุดในการผ่าตัดแผลเล็กที่นำเข้าโดยเลเซอร์วิชั่น ศูนย์เลสิกชั้นนำฯ ในประเทศไทย โดยเลเซอร์วิชั่น ถือเป็นผู้บุกเบิก NanoRelex® แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นนิวเจเนอเรชั่นของรีเล็กซ์ ซึ่งคิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษาสายตาสั้น เอียง และสายตายาว เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูง ในการปรับแต่งเนื้อเยื่อภายในชั้น Stroma ของกระจกตา ด้วยการคำนวณชิ้นเนื้อกระจกตา เป็นรูป 3 มิติ ที่เรียกว่า Lenticule ตามค่าสายตาของแต่ละบุคคล แล้วทำการนำ Lenticule ออกผ่านทางแผลขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบ AI เข้ามาใช้เพื่อวิเคราะห์การรักษา วิเคราะห์ปัญหาสายตา โดยเพิ่มความปลอดภัยของคนไข้ด้วยกล้อง OCT Scan ระหว่างการผ่าตัดทำให้ศัลยแพทย์สามารถเห็นชั้นกระจกตาได้แบบ Real-time   โดยมีจุดเด่นคือใช้ระยะเวลาผ่าตัดน้อย แผลมีขนาดเล็ก คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด และหลังทำผ่าตัดจะเคืองตาน้อยกว่าวิธีอื่น สามารถแก้ไขสายตาสั้น เอียงได้มากขึ้น โดยที่ยังคงความแข็งแรง ของกระจกตาอยู่ เนื่องจากการผ่าตัดมีแผลเล็ก ทำให้แผลหลังผ่าตัดหายเร็วขึ้น ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น การติดเชื้อหลังผ่าตัด อาการ ตาแห้ง และให้ผลการรักษาที่แม่นยำรวมถึงลดผลกระทบ เช่น ตาแห้ง แสงกระจายในที่มืด และการมองเห็นไม่ชัดในที่แสงน้อย ให้น้อยลงอีกด้วย   ReLEx SMILE Pro เป็นการพัฒนาจากการรักษา ReLEx SMILE แบบปกติ โดยใช้ระยะเวลาการยิงเลเซอร์ เพียง 8-10 วินาที มีความเร็วมากกว่า ReLEx SMILE ถึง 3 เท่า ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และเพิ่มความสบายตาของคนไข้ในขณะการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดไร้ใบมีด ใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน โดยใช้ Visumax 800 Femtosecond Laser แยกชั้นกระจกตาให้เป็นเลนส์ในเนื้อกระจกตา (Lenticule) เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา ให้เหมาะสมกับค่าสายตาที่ต้องการแก้ไข โดยไม่ทำลายผิวกระจกตาชั้นนอกสุด   ข้อดี คือ มีความแม่นยำสูง ความโค้งกระจกตายังคงแข็งแรงแม้ผ่านการผ่าตัดแล้ว เกิดผลข้างเคียงเช่นตาแห้ง แสงกระจายในที่มืด และการมองเห็นไม่ชัดในที่แสงน้อยน้อยลง พักฟื้นเพียงระยะสั้นก็กลับมาใช้สายตาได้ปกติ   Smart Sight เทคโนโลยี SmartSight เป็นการใช้ SCHWIND ATOS Femtosecond Laser โดยบริษัท SCHWIND eye-tech-solutions GmbH จากประเทศเยอรมนี เป็นการผ่าตัดรักษาสายตาแผลเล็กเช่นเดียวกัน โดยเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดจากการผ่าตัดแบบ ReLEx โดยการเสริมให้มีระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยควบคุมและคำนวณการแยกชั้นกระจกตาให้เป็นเลนส์ รวมถึงมีระบบการจดจำรูม่านตา ติดตามการเคลื่อนไหวและการหมุนของดวงตา ก่อนทำการผ่าตัดและขณะทำการผ่าตัด   การผ่าตัดใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน เป็นการผ่าตัดไร้ใบมีด จึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บในขณะผ่าตัด ระคายเคืองตาน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ ระยะพักฟื้นสั้น สามารถกลับมาใช้สายตาได้เร็ว โอกาสเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการตาแห้ง, แสงกระจายในที่มืด, ความไม่คมชัดในที่แสงน้อย ก็น้อยกว่าการรักษาด้วยเลเซอร์ประเภทอื่นๆ เนื่องจากไม่มีการเปิดชั้นกระจกตา แถมยังลดโอกาสเติมเลเซอร์น้อยกว่าการผ่าตัดประเภทอื่น ๆ เนื่องจากผลการวิเคราะห์และการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ที่สำคัญคือ การรักษาความโค้งกระจกตาหลังการรักษา ให้มีความใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด   การรักษาแบบไหนเหมาะสมกับตัวเรากันแน่? การรักษาค่าสายตาผิดปกติที่ดีที่สุด คือ การเลือกแนวทางในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเหมาะสมกับดวงตาของเรามากที่สุด โดยการทำเลสิกแบบแผลผ่าตัดเล็กเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่ทรงประสิทธิภาพมากในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความแม่นยำในการประเมินและการผ่าตัด รวมไปถึงการลดความเสี่ยงและผลข้างเคียงในหลายด้าน โดยเทคโนโลยีการผ่าตัดรักษาค่าสายตาผิดปกติแบบแผลเล็กไม่ว่าจะเป็น NanoRelex®, ReLEx SMILE Pro หรือ Smart Sight ต่างมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ยอดเยี่ยมไม่ต่างกัน    ดังนั้นคุณจึงควรพิจารณาความเหมาะสมอื่น ๆ ที่เหมาะกับตัวคุณเอง เช่น สถานที่ตั้งของสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน ราคาที่เหมาะสม โปรโมชั่น การให้บริการในระหว่างการดูแลรักษาและการดูแลหลังผ่าตัดเสร็จ และที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด คือ ความปลอดภัยของสถานพยาบาลที่คุณตัดสินใจใช้บริการ ที่ต้องมีความเป็นมืออาชีพ ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างแท้จริง และการให้บริการที่มีมาตรฐานสากลรองรับในเรื่องของความปลอดภัยทางการแพทย์   ศูนย์รักษาสายตา ศูนย์เลสิกชั้นนำของไทยที่ Laser Vision ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น เป็นศูนย์รักษาสายตาผิดปกติ ที่มีครบทุกทางเลือก โดยมุ่งเน้นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และการบริการที่ประทับใจ โดยมีนวัตกรรม NanoRelex® การผ่าด้วยแผลเล็กด้วยเลเซอร์ ที่เป็นเอกสิทธิ์ในไทยเฉพาะที่นี่ที่เดียวเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีใหม่ของเครื่อง Femtosecond Laser ที่ใช้พลังงาน น้อยลงระดับนาโนจูลย์ ทำให้คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด และหลังทำผ่าตัดจะเคืองตาน้อยกว่าวิธีอื่น ทั้งยังนำนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่าง AI เข้ามาใช้เพื่อวิเคราะห์การรักษา วิเคราะห์ปัญหาสายตา โดยเพิ่มความปลอดภัยของคนไข้ด้วยกล้อง OCT Scan ระหว่างการผ่าตัดทำให้ศัลยแพทย์สามารถเห็นชั้นกระจกตาได้แบบ Real-time สามารถแก้ไขสายตาสั้น เอียงได้มากขึ้น โดยที่ยังคงความแข็งแรง ของกระจกตาอยู่ ช่วยบรรเทาความกังวลเรื่องตาแห้งและผลข้างเคียงอื่น ๆ หลังผ่าตัด และใช้เวลาพักฟื้นน้อยมาก ให้คุณใช้ชีวิตเป็นปกติได้เร็วขึ้น   โดยศูนย์เลสิก Laser Vision มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ในการรักษาสายตา สั้น ยาว เอียง และ อื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยทีมแพทย์ที่นำทีมโดยรศ.นพ. อนันต์ วงศ์ทองศรี ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตาและการแก้ไขสายตาผิดปกติเลสิก (LASIK) ที่มีประสบการณ์อย่างสูงมาตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี เราจึงเป็นศูนย์ที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าเป็นศูนย์ที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ในการให้บริการรักษาสายตาผิดปกติ และยังเป็นที่รู้จักในเรื่องของสถานที่สะดวกสบาย และพนักงานที่ให้บริการอย่างมืออาชีพ ให้คุณสามารถไว้วางใจฝากฝังดวงตาที่มีเพียงคู่เดียวของคุณไว้ในมือเราได้อย่างไร้กังวล
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา
Understanding Pterygium: Causes, Symptoms, and Treatment Options
  How people notice and see Pterygium without knowing it is Pterygium   Have you ever looked in the mirror and noticed a small, fleshy growth on the white part of your eye, usually near the nose? It might appear slightly red, or you might feel like something’s stuck in your eye. This growth can slowly creep onto the clear, center part of your eye, known as the cornea, causing discomfort, dryness, or even blurred vision. Many people mistake these signs for simple irritation, dryness, or tired eyes, unaware that they might be dealing with a condition called pterygium.   1. What is Pterygium? Pterygium (pronounced tuh-RIJ-ee-um) is a common eye condition that looks like a triangular or wedge-shaped growth on the eye’s surface. It usually starts small but can slowly expand toward the cornea. Though it might look concerning, it’s not cancerous. For some, it’s just a minor cosmetic issue, but for others, it can cause vision problems or significant discomfort   2. Why does it happen? Pterygium happens mainly due to long-term exposure to UV light from the sun, which is why it’s often called "surfer’s eye." But you don’t have to be a surfer to get it - anyone who spends a lot of time outdoors, especially without proper eye protection, is at risk. Dust, wind, and dry environments can also irritate the eye and contribute to its development. Genetics can play a part, too, as pterygium is more common in certain families. Pinguecula and pterygium are often mistaken for each other. Pinguecula is a yellowish bump on the conjunctiva, while pterygium extends onto the cornea and can affect vision. Proper diagnosis is key.   3. What to do when you notice it? If you spot a growth on your eye or feel persistent discomfort, dryness, or redness, don’t ignore it. Make an appointment with an eye specialist, especially if it’s growing or starting to affect your vision. The doctor can diagnose pterygium with a simple eye exam and discuss whether it needs to be treated right away or monitored over time.   4. Treatment Options Observation and Protection: In mild cases, protecting your eyes from the sun with sunglasses and using lubricating eye drops can help keep symptoms in check. Medication: If the pterygium becomes red and inflamed, doctors may prescribe anti-inflammatory eye drops to reduce irritation.  Surgery: When pterygium grows too large, affects vision, or causes significant discomfort, surgery to remove the growth may be recommended. This involves removing the tissue and often placing a graft (a small piece of your own conjunctiva) to cover the area and reduce the chance of it coming back.   5. Advice from Bangkok Eye Hospital and Next Steps At Bangkok Eye Hospital, our experienced ophthalmologists often see patients who are unsure what’s causing their eye discomfort or unusual growths. It’s essential to address these concerns early to avoid complications. If surgery is necessary, one of the best innovations available today is using fibrin glue during pterygium surgery, which offers many benefits over traditional stitches.     To learn more about how fibrin glue can improve your recovery and comfort, check out our next article on this advanced treatment here. If you’re experiencing symptoms or want a consultation, don’t hesitate to reach out to Bangkok Eye Hospital - our team is here to guide you through every step of your eye care journey.
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา
Monkeypox and Eye Health: What You Need to Know
Monkeypox and Eye Health: What You Need to Know Monkeypox, a rare viral disease similar to smallpox, has been making headlines due to recent outbreaks in various parts of the world. While it primarily affects the skin, the virus can also have serious implications for eye health. Understanding how monkeypox can impact your eyes and knowing the preventive measures can help protect your vision if you are at risk of exposure. What is Monkeypox? Monkeypox is caused by the monkeypox virus, which belongs to the Orthopoxvirus genus. The disease is characterized by fever, headache, muscle aches, and a distinctive rash that progresses from macules to papules, vesicles, and eventually scabs. The rash often begins on the face and spreads to other parts of the body, including the eyes. Fun Fact: Despite its name, monkeypox doesn’t actually come from monkeys. The virus was first identified in laboratory monkeys in 1958, which led to its name. However, the primary carriers of the virus in the wild are rodents, such as rats and squirrels, not monkeys. How Can Monkeypox Affect the Eyes? Monkeypox can lead to several eye-related complications, the most concerning of which is monkeypox keratitis. This condition occurs when the virus infects the cornea, the clear front part of the eye. Symptoms of monkeypox keratitis include redness, pain, blurred vision, and sensitivity to light. If not treated promptly, keratitis can cause scarring of the cornea, leading to permanent vision loss. Other potential eye complications include conjunctivitis (inflammation of the conjunctiva, the membrane covering the white part of the eye) and blepharitis (inflammation of the eyelids). These conditions can cause discomfort and, in severe cases, may also lead to vision impairment.Prevention: Protecting Your Eyes from Monkeypox Preventing monkeypox infection, including its effects on the eyes, involves several key strategies: Avoid Contact with Infected Individuals: Monkeypox spreads through close contact with an infected person’s skin lesions, body fluids, or respiratory droplets. If you are in an area with known monkeypox cases, avoid close contact with infected individuals and wear protective gear if necessary. Practice Good Hygiene: Regular handwashing with soap and water, avoiding touching your face (especially your eyes), and using alcohol-based hand sanitizers can reduce the risk of infection. Vaccination: The smallpox vaccine has been shown to be effective against monkeypox. If you are at high risk (e.g., healthcare workers, people in affected areas), getting vaccinated may provide protection. Protect Your Eyes: If you are caring for someone with monkeypox or are in an area with an outbreak, consider wearing protective eyewear to reduce the risk of the virus coming into contact with your eyes.   Solutions: What to Do If Your Eyes Are Affected If you suspect that monkeypox has affected your eyes, seek medical attention immediately. Early intervention is crucial to prevent serious complications. Treatment may include: Antiviral Medications: While there is no specific treatment for monkeypox, antiviral drugs like tecovirimat (Tpoxx) may be used under certain conditions to reduce the severity of symptoms. Topical Treatments: In cases of keratitis or conjunctivitis, antiviral eye drops or ointments may be prescribed to control the infection and prevent complications. Supportive Care: Managing symptoms like pain and inflammation through over-the-counter medications or prescribed treatments can help alleviate discomfort.   Conclusion   Monkeypox is more than just a skin disease; its effects can extend to the eyes, posing a risk to vision. By understanding how monkeypox can affect the eyes and taking preventive measures, you can protect your vision and overall health. If you experience any eye-related symptoms after exposure to monkeypox, seek medical care immediately to ensure the best possible outcome.Concerned about keratitis or other eye conditions? Don’t wait—schedule a comprehensive eye exam at [Hospital Name] today. Early detection and treatment of keratitis can preserve your vision and keep your eyes healthy. Trust your vision to the experts, call: +66982255691.
ศูนย์รักษากระจกตา
โรคต้อที่ตาคืออะไร? แยกได้ทั้งหมดกี่ชนิด พร้อมอาการและวิธีการรักษา
ต้อเนื้อและต้อลมคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?ต้อเนื้อเป็นโรคกลุ่มเดียวกันกับต้อลม แต่มีการยื่นเข้าไปในส่วนของกระจกตา (ตาดำ) สาเหตุเหมือนกับต้อลม คือเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตา บริเวณที่โดนแดด คือเมื่อก้อนเนื้อต้อลมโตขั้นเป็นมากขึ้น แล้วมีการยื่นเข้าไปในตาดำ ก็จะกลายเป็นเป็นต้อเนื้อนั่นเอง รู้ได้อย่างไรว่าเป็นต้อเนื้อ?ถ้ามองเข้าไปที่ตาจะเห็นก้อนเนื้อ สีชมพู เป็นรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในตาดำ ถ้ามีการอักเสบมักเห็นเป็นสีแดงมากขึ้น ถ้าต้อลมจะอยู่แต่ที่ตาขาวเท่านั้น เป็นต้อเนื้อแล้วจะมีอาการอย่างไร?จะมีอาการระคายเคืองตา ตาแดง อาจคันหรือมีน้ำตาไหลถ้าโดนฝุ่นหรือลม ถ้าเป็นมากๆอาจกดกระจกตาทำให้มีสายตาเอียง หรือถ้าเป็นมากจนลุกลามไปบังตรงกลางของตาดำ อาจทำให้การมองเห็นมัวลงได้ เราจะป้องกันได้อย่างไร?หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เจอแดดแรงๆ หรือ ควรสวมแว่นกันแดด กางร่ม หรือสวมหมวกเพื่อไม่ให้ตาโดนแสงแดดโดยตรง ถ้าเป็นแล้ว จะรักษาให้หายได้หรือไม่ ตาจะบอดหรือไม่?กรณีถ้าเป็นไม่มาก อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด อาจเพียงแค่รักษาด้วยยาลดการอักเสบ ลดแดง หรือลดอาการระคายเคืองเป็นครั้งคราว แต่ถ้ามีอาการอักเสบบ่อยๆ หรือต้อเนื้อใหญ่มากขึ้น จนทำให้การมองเห็นแย่ลง อาจพิจารณาทำผ่าตัดลอกต้อเนื้อได้ ต้อเนื้อไม่อันตรายโดยปรกติไม่ทำให้ตาบอด ถ้าเป็นมากสามารถผ่าตัดรักษาได้ การผ่าตัดทำได้โดยแค่ฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้เวลาไม่นาน แต่การดูแลหลังผ่าตัดเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนไข้ต้องหยอดยาตามแพทย์สั่ง และ หลีกเลี่ยงการเจอผุ่น ลม แดด ไม่เช่นนั้นต้อเนื้ออาจกลับเป็นซ้ำได้ ซึ่งจะมีการอักเสบรุนแรงมากขึ้น และการทำผ่าตัดซ้ำก็ทำได้ยากขึ้น การผ่าตัดต้อเนื้อมีหลายวิธีดังนี้ การลอกต้อเนื้อเพียงอย่างเดียว โดยไม่เอาเยื่อบุใดๆมาแปะ วิธีนี้ทำในกรณีผุ้ป่วยอายุมาก ต้อเนื้อไม่มีการอักเสบมาก ปัจจุบันไม่นิยมเนื่องจากอัตราการเกิดซ้ำสูงมาก การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อบุตามาแปะ คือนอกจากตัดต้อเนื้อ ออกแล้ว ยังเอาเยื่อบุตาส่วนบนของตาคนไข้เอง มาเย็บเข้าในบริเวณที่เป็นต้อเนื้อเดิม วิธีนี้ช่วยลดการเกิดซ้ำได้ดีมาก การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ วิธีทำผ่าตัดเหมือนวิธีที่ 2 แต่ใช้เยื่อหุ้มรกมาเย็บแทน ทำให้ไม่ต้องใช้เยื่อบุตาของคนไข้ และใช้ได้ในกรณีเป็นซ้ำ และได้ใช้เยื่อบุตาตนเองไปแล้ว การลอกต้อเนือโดยการใช้mitomycin c ร่วมกับใช้เยื่อหุ้มรก หรือ เยื่อบุตาแปะ จะ ช่วยลดการเกิดซ้ำได้ดี โดยเฉพาะในคนไข้กลุ่มที่มีความเสียงสูงในการเกิดซ้ำ แต่ก็ต้องใช้ยานี้อย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจมีข้อแทรกซ้อนจากยา การแปะเยื่อหุ้มรกหรือเยื่อบุตานั้น อาจใช้ไหมเย็บ หรืออาจใช้กาว fibrin แปะโดยไม่ต้องเย็บก็ได้ ทั้งต้อลมและต้อเนื้อนั้น ถ้าเราทราบว่าเป็นแล้ว การป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ระวังหรือหลีกเลี่ยงการโดนแดด ฝุ่น ลม เช่น ใส่แว่นกันแดด ใช้ร่ม สวมหมวก ก็ทำให้เราลดโอกาสการโดนแดดโดยตรง โรคก็จะไม่เป็นมากขึ้นค่ะ  
ที่อยู่
ศูนย์โรคกระจกตา - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
LINE