มุมสุขภาพตา : #Nutrition

เรียงตาม
ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
มารู้จักสารอาหารบำรุงสุขภาพตา
มารู้จักสารอาหารบำรุงสุขภาพตา มารู้จักสารอาหารบำรุงสุขภาพตา ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxznthin)      วิตามินที่เราได้ยินบ่อยๆสำหรับการบำรุงสายตาก็คือวิตามินเอ แต่มีสารอาหารที่ควบคู่กันไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตาก็คือ สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) นั่นเอง      ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารธรรมชาติที่มีในพืชผักผลไม้หลายชนิด เป็นสารในตระกูลของสารแคโรทีนอยด์ และพบได้ในบริเวณดวงตา ตรงบริเวณเลนส์ตาและจอรับภาพของตา สารอาหารประเภทนี้จะทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลายด้วยพืชผักที่มีสารลูทีนและซีแซนทีน โดยมากมักจะเป็นผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขม ข้าวโพด ฟักทอง ผักกาด เป็นต้น   ช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้      ประโยชน์ของลูทีนและซีแซนทีนนั้น จะสามารถช่วยลด ป้องกันหรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้ เพราะกลไกการเกิดต้อกระจก เกิดจากการเสื่อมของอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคต้อกระจก และในการวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคอาหารที่มีสารอาหารจำพวกลูทีนและซีแซนทีนช่วยลดการเกิดโรคต้อกระจกได้จริง   ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคจุดรับภาพเสื่อม        โรคจุดรับภาพเสื่อม คือ ภาวะการเสื่อมของจุดรับภาพ (Mocular) ซึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอบิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลา ประโยชน์ของลูทีนและซีแซนทีนกับโรคจุดรับภาพเสื่อม โดยพบว่าปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม และความเสี่ยงจะเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลงหากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น
ศูนย์เลสิก LASER VISION
อาหารบำรุงสุขภาพตาในวัยเด็ก
อาหารบำรุงสุขภาพตาในวัยเด็ก อาหารบำรุงสุขภาพตาในวัยเด็ก      เด็กในวัยเจริญเติบโตช่วง 3-10 ขวบ ผู้ปกครองควรดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อที่สายตาของเด็กจะได้ไม่เสื่อมสภาพ ควรเลือกรับประทานปลาที่มีหลังสีฟ้า เช่น ปลาซันมิ หรือปลาแมกเคอเรล (Mackerel) หรืออาจะเป็นปลาที่รับประทานได้ทั้งก้างเช่น ปลาแอนโชวี (Anchovy) หรือปลาทะเลเนื้อขาว เช่น ปลาพอลล็อกแช่แข็ง (Frozen Pollock) ปลาจวด (Croaker) ในแต่ละมื้ออาหารควรรับประทานปลาประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกันไป รับประทานสาหร่ายทะเลมากกว่าสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ผักใบเขียววันละ 100 กรัม ส่วนผลไม้ ควรรับประทานอย่างน้อยวันละหนึ่งชนิด ดื่มนมวันละหนึ่งแก้วขึ้นไป หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงอาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ด และขนมขบเคี้ยว ที่มีส่วนประกอบของเกลือและน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพตา       อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ ไข่แดง เนย เนยแข็ง ชีส แครอท ผักโขม     อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม นม ผลิตภัณฑ์จากนมและเนย ปลาที่รับประทานได้ทั้งก้าง สาหร่ายทะเล ปาปริก้า โสม มะเขือเทศ ผักโขม     อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของดวงตา ไข่ ถั่ว ปลาที่มีหลังสีฟ้า เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ     อาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยปรับโครงสร้างการทำงานของดวงตา กะหล่ำปลี ผักกาดหอมห่อ ผลไม้ หัวไช้เท้า     อาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา ต้นอ่อนของพืช มันฝรั่ง ผลิตภัณฑ์จำพวกไขมันและน้ำมัน
ศูนย์เลสิก LASER VISION
อาหารแก้ง่วงยามบ่าย
อาหารแก้ง่วงยามบ่าย อาหารแก้ง่วงยามบ่าย      อาการง่วงนอนหาวหวอดเป็นโรคระบาดยามบ่ายๆ ของหนุ่มสาววัยทำงาน ที่ต้องทนทรมานกับความง่วงตลอดทั้งบ่าย ทำให้เสียสมาธิในการทำงานและเกิดอาการเกียจคร้านตามมา จนเสียงานการกันได้ หากว่าไปแล้วอาการอ่อนเพลียที่พูดถึงนี้ เป็นหนึ่งในอาการของโรคไฮโปไกลซีเมีย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกินอาหารผิดๆ โดยเฉพาะอาหารหวานๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำตาลขัดขาวและแป้งขัดขาว หากคุณยังจัดการกับการง่วงนอนหรือความรู้สึกเฉื่อยชาช่วงบ่ายไม่ได้สักที และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เกร็ดสุขภาพฉบับนี้มี 4 อาหารช่วยแก้อาการดังกล่าวมาแนะนำค่ะ ผักผลไม้อุดมวิตามินซี ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม บร็อคโคลี ช่วยต้านความเหนื่อยล้าที่มาจากความเครียดและกังวล ผลไม้ที่มีโครเมียม ได้แก่ แอปเปิล กล้วย มันฝรั่ง ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เมล็ดพืชมากคุณค่า ได้แก่ งา ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชไม่ขัดสี (ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ) และจมูกข้าวสาลี ซึ่งมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ช่วยบำรุงประสาทและช่วยให้จิตใจแจ่มใส สดชื่น ไขมันดีๆ จากปลา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เสริมโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า-3 ให้แก่ร่างกาย และยังช่วยทำให้สมาธิและความจดจำดีขึ้น      เพียงเท่านี้ คุณก็โบกมืออำลาอาการง่วงนอนยามบ่ายๆ ได้แล้วค่ะ  
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111