มุมสุขภาพตา : #LASIK

เรียงตาม
ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
เทคนิคการเลือกแว่นตาหลังทำเลสิก
เทคนิคการเลือกแว่นตาหลังทำเลสิก หลังจากที่ทำเลสิกแล้วเพื่อให้แผลหายเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การรักษาความสะอาดคือการหลีกเลี่ยงแสงแดด การใส่แว่นกันแดดเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถทำเพื่อดูแลดวงตาของคุณหลังการผ่าตัดได้ โดยมีเทคนิคการเลือกแว่นกันแดดดังนี้   🌞 เลือกเลนส์ที่สามารถป้องกันแสง UV ได้ 99-100% แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถทำอันตรายต่อดวงตาได้ แม้ว่าจะทำเลสิกแล้วก็ตาม การใส่แว่นกันแดดที่มีเลนส์ป้องกัน UV จึงเป็นสิ่งสำคัญ 🌞 ถ้าอยู่ในที่ ๆ มีแสงสะท้อนเยอะ ควรเลือกเลนส์โพลาไรซ์ซึ่งช่วยตัดแสงสะท้อนจะทำให้สบายตามากขึ้น 🌞 เลือกสีให้เหมาะกับการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสีดำมืดก็ได้ 🌞 เลือกขนาดที่เหมาะกับใบหน้า เลนส์ควรมีความกว้างเท่ากับใบหน้าของคุณ สันจมูกควรสวมได้พอดีโดยไม่รัดแน่นเกินไป และขาแว่นควรสวมได้พอดีโดยไม่กดทับใบหน้า   สามารถมาเลือกแว่นตากันแดดแบรนด์ชั้นนำได้ที่ร้าน WALTZ ในโรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ Bangkok Eye Hospital ชั้น 3 เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 10.00 -19.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.02-511-2111
ศูนย์เลสิก LASER VISION
เทคโนโลยีเลสิคขั้นสูงล่าสุดของ Laser Vision เพื่อการมองเห็นที่คมชัด
Laser Vision ซึ่งเป็นผู้นำด้านการรักษาด้วยเลเซอร์สายตามากว่า 25 ปีในประเทศไทย ขณะนี้ได้ขยายบริการเปิดเป็น Bangkok Eye Hospital พร้อมนำเทคโนโลยี AI และ Robotic ล่าสุดมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาปัญหาสุขภาพตาแบบครบวงจรในที่เดียว ขั้นตอนการรักษาด้วยเลเซอร์สายตาที่ Laser Vision ประกอบด้วย Comprehensive Eye Examination: เนื่องจากดวงตาและกระจกตาของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน เราจึงใช้ AI และเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด เพื่อตรวจวิเคราะห์สุขภาพตา สภาพกระจกตา และปัญหาสายตาที่ต้องแก้ไขโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาและการหักเหแสงจะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยด้วยตนเอง และจะอนุญาตให้รักษาด้วยเลเซอร์เฉพาะในกรณีที่ดวงตาและกระจกตาอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย หากพบว่าไม่เหมาะสมกับการรักษาด้วยเลเซอร์ เรามีทางเลือกการรักษาอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสภาพดวงตา หรือในกรณีที่ตรวจพบปัญหาสุขภาพตาอื่นๆ ท่านสามารถรับการรักษาจากจักษุแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ได้ทันทีที่นี่ วิธีการรักษาสายตาด้วยเลเซอร์ ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยเลเซอร์ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพตา วิธีการ และเทคโนโลยีที่ใช้ ที่ Laser Vision เรามีเทคโนโลยีการรักษาด้วยเลเซอร์ที่ทันสมัยที่สุด 2 ชนิด คือ NanoRelex และ NanoLASIK ซึ่งเป็นเทคนิคแบบ Bladeless Technique ที่ไม่ต้องใช้ใบมีด ท่านสามารถเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพกระจกตาและปัญหาสายตาได้ ✅NanoRelex: เป็นเทคนิค SMILE ที่ไม่ต้องเปิดแผลที่กระจกตา มีหลักการทำงานคล้ายกับ ReLExSMILE แต่ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่าง ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่คมชัดยิ่งขึ้น ✅NanoLASIK: เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสูง หรือกระจกตาบาง เป็นเทคนิคที่เปิดแผลที่กระจกตาเป็นรูปตัว C เพื่อรักษาด้วยเลเซอร์ ช่วยแก้ไขค่าสายตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีขั้นสูงใน NanoRelex และ NanoLASIK ทั้ง NanoRelex และ NanoLASIK ใช้ Ziemer FemtoLDV Platform จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีข้อดีดังนี้ 👁️‍🗨️Nanojoules-powered Femtosecond Laser: ใช้พลังงานต่ำที่สุดในบรรดาเลเซอร์ Femtosecond 👁️‍🗨️AI Technology: ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษา และให้ผลลัพธ์ที่คมชัดยิ่งขึ้น 👁️‍🗨️Real-Time OCT Scan: ช่วยให้แพทย์เห็นข้อมูลสำคัญแบบเรียลไทม์ เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ลดโอกาสการเกิดแสงฟุ้งกระจายหลังผ่าตัด เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะตาแห้ง แสงฟุ้งกระจาย และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ฟื้นตัวเร็วขึ้น AI ยังช่วยเพิ่มความแม่นยำและความรวดเร็วในการรักษา และให้ผลลัพธ์ที่คมชัดยิ่งขึ้น ทำไมต้องเลือก Bangkok Eye Hospital? ℹ️ก่อตั้งและบริหารงานโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาและการหักเหแสง ที่มีประสบการณ์มากกว่า 26 ปีในประเทศไทย ให้บริการรักษาโรคตาแบบครบวงจร ทั้ง LASIK, ต้อกระจก, ต้อหิน, จอประสาทตา, ศัลยกรรมตกแต่งเปลือกตา และโรคทางระบบประสาทตา ℹ️มีประสบการณ์รักษาด้วยเลเซอร์มากกว่า 90,000 เคส รวมถึงเคสที่ซับซ้อน มั่นใจได้ในความปลอดภัย ℹ️ใช้เทคโนโลยี AI และ Robotic ล่าสุด ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ℹ️มีที่ปรึกษาชาวเมียนมาร์คอยให้คำแนะนำ และดูแลตลอดการรักษา (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) เพื่อให้คนไข้ชาวเมียนมาร์ได้รับความสะดวกสบาย ℹ️ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีคนไข้ชาวเมียนมาร์กว่า 400 คน ที่เข้ารับการรักษาด้วย NanoRelex และ NanoLASIK และมีคนไข้จำนวนมากที่เข้ารับการรักษาโรคตาอื่นๆ "เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการมองเห็น นัดหมายวันนี้" ติดต่อ 📲Viber, Whatsapp (In-House Myanmar Consultant): +66965426179 🗨️ส่งข้อความ: https://bit.ly/laservisionmyanmarofficialpage
ศูนย์เลสิก LASER VISION
อย่าให้ปัญหาสายตาสั้นทำให้ชีวิตของคุณยุ่งยาก!
หลายคนมีปัญหาสายตาสั้น ทำให้มีทัศนวิสัยในการมองเห็นแย่ มองเห็นภาพไกล ๆ ไม่ชัด มองเห็นเป็นภาพเบลอ ซึ่งสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่มีค่าสายตาสั้นสูงมาก จนทำให้ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์แทบจะตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นการเพิ่มอุปกรณ์จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันอีกด้วย โดยเฉพาะคนที่สายตาสั้นและต้องใส่คอนแทคเลนส์ยังต้องเพิ่มเรื่องของการดูแลความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ดวงตาติดเชื้อและอาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงต่อดวงตาอีกด้วย   ทั้งนี้ทั้งนั้นสายตาสั้นอาจไม่ใช่แค่ปัญหาที่สร้างความรำคาญ หรือทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตเพียงแค่นั้น แต่ยังส่งผลกระทบกับชีวิตได้อีกหลายด้าน ทั้งด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือแม้กระทั่งยังอาจเป็นตัวกำหนดอาชีพในอนาคตเราได้อีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากปล่อยให้เรื่องสายตาสั้นเป็นปัญหากวนใจ ควรหาทางแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ   ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากสายตาสั้น ด้านสุขภาพ หลายคนยังไม่ทราบว่าหากใครที่มีสายตาสั้นมาก ๆ ในอนาคตอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในบริเวณดวงตาได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม จอตาลอก จอตาฉีกขาด หรือวุ้นในตาเสื่อม ซึ่งในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขึ้นทำทำให้สูญเสียการมองเห็นได้เลย   ด้านสังคมและการดำเนินชีวิตประจำวัน สายตาสั้นทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตและการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ในวัยเรียนอาจประสบปัญหามองกระดานเรียนไม่ชัด ทำให้มีปัญหาการเรียนสะดุดได้ เมื่อโตขึ้นการทำกิจกรรมบางอย่างก็ต้องใช้สายตาเป็นส่วนสำคัญ เช่น การขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถมอเตอร์ไซต์และอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อความคล่องตัวและความปลอดภัยจึงต้องใส่แว่นสายตาและคอนแทคเลนส์ และนำมาสู่ผลกระทบในข้อถัดไป   ด้านการเงิน เมื่อเริ่มรู้ว่าตนเองมีค่าสายตาที่ผิดปกติ ควรตรวจวัดค่าสายตาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงทำการตัดแว่นหรือหาซื้อคอนแทคเลนส์ตามค่าสายตาของตนเอง เพื่อปรับให้มีการมองเห็นที่เหมาะสม ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา ต่างจากคนที่มีค่าสายตาปกติ และค่าสายตาเป็นอะไรที่ไม่คงที เมื่ออายุมากขึ้นค่าสายตาสั้นก็อาจสูงขึ้นตามไปด้วยทำให้ต้องเปลี่ยนเลนส์แว่นหรือคอนแทคเลนส์ใหม่ ๆ ทุกครั้งที่ค่าสายตาเปลี่ยน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน   ด้านการประกอบอาชีพ รู้หรือไม่ว่าบางอาชีพมีการกำหนดค่าสายตาสูงสุดที่สามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ต้องใช้สายตาเพื่อความละเอียดแม่นยำเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ของทั้งตนเองและผู้อื่น อย่างเช่น อาชีพนักบินถูกกำหนดห้ามสายตาสั้นเกิน -3.00D ห้ามสายตาเอียงเกิน -1.50D ส่วนนายสิบ นายร้อย ตำรวจและทหาร ต้องมีสายตาปกติและอ่าน snellen chart ได้หกต่อหก   แก้ไขสายตาสั้น ให้หมดความกังวลใจ ด้วยการทำเลสิกกับ LASERVISION เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินชีวิต และสำหรับบางคนที่อยากทำอาชีพได้แบบที่หวังโดยไม่ต้องกังวลใจกับเรื่องค่าสายตา หนทางเดียวที่จะทำให้ค่าสายตาเป็นปกติ คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขค่าสายตา โดยที่ในปัจจุบันการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตานั้นนิยมทำด้วยการเลเซอร์ ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้ผลลัพธ์มีความแม่นยำมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ที่สำคัญคือแผลผ่าเล็กไม่ต้องพักฟื้นนาน เหมือนกับการที่ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่นำเอาเทคโนโลยี NanoRelex® เข้ามาใช้ในการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา   โดย NanoRelex® เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูง ในการปรับแต่งเนื้อเยื่อภายในชั้น Stroma ของกระจกตา ด้วยการคำนวณชิ้นเนื้อกระจกตา เป็นรูป 3 มิติ ที่เรียกว่า Lenticule ตามค่าสายตาของแต่ละบุคคล แล้วทำการนำ Lenticule ออกผ่านทางแผลขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าตัดน้อย ลดอาการตาแห้งได้ดี ที่สำคัญคือ หลังการผ่าตัดกระจกตาจะยังคงรูปร่างและความแข็งแรงอยู่ ทำให้คุณมั่นใจในการใช้ชีวิตด้วยการมองเห็นที่ดีขึ้น และไม่มีปัญหากวนใจอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ LASIK ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้
การทำ LASIK นับเป็นหนึ่งทางเลือกฟื้นฟูสายตาให้กลับมามีความคมชัด มองเห็นชัดเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียเวลาใส่คอนแทคเลนส์ให้วุ่นวาย แต่เชื่อว่าหลายคนคงยังมีความกังวลใจอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับการทำ LASIK เนื่องจากความกลัวและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำเลสิกที่เคยได้รับรู้กันมา บทความนี้ Laser Vision จึงจะมาช่วยอธิบายเคลียร์ชัดในทุกประเด็น เพื่อเป็นความรู้ให้กับใครที่กำลังพิจารณา กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะทำเลสิกกันอยู่   ●       ทุกคนสามารถทำ LASIK เพื่อรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้ หลายคนอาจจะคิดว่า ใคร ๆ ก็สามารถทำ LASIK เพื่อแก้ไขความผิดปกติของค่าสายตาได้ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถจะทำ LASIK ได้ เนื่องจากการทำ LASIK จะต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และมีค่าสายตาที่คงที่มาตลอด 1 ปี ไม่เปลี่ยนแปลงเกิน 100 จึงจะสามารถทำ LASIK ได้ มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาสายตาคลาดเคลื่อนในอนาคตได้ง่าย อีกทั้งผู้ป่วยในกลุ่มโรคบางโรคก็ไม่สามารถทำเลสิกได้เช่นกัน อาทิ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ผู้ป่วยจิตเวชหรือมีปัญหาทางจิตใจ ผู้ป่วยโรค SLE โรคข้ออักเสบมารูตอยด์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นก่อนการทำเลสิกทุกครั้ง ผู้เข้ารับการรักษาจึงต้องตรวจวัดค่าสายตาที่แน่นอน รวมถึงเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยก่อนเสมอ ●       การทำ LASIK ใช้ใบมีดจริง ๆ ในการแยกชั้นกระจกตา การทำ LASIK แบบดั้งเดิมจะใช้ใบมีด Microkeratome ซึ่งเป็นใบมีดขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้มีความโค้งเข้ากับลูกตาของคนเรา แต่ในปัจจุบัน วิธีการทำ LASIK ได้มีการพัฒนาขึ้นมามากมายหลายวิธี โดยวิธีการทำ LASIK ใหม่ ๆ จะเป็นแบบการทำเลสิกแบบไร้ใบมีด จะใช้เลเซอร์พลังงานสูงช่วยในการแยกชั้นสายตาแทนการใช้ใบมีดแบบเก่า มีความแม่นยำสูง รวดเร็วและก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับดวงตาน้อยลง เหมาะสำหรับผู้ที่กลัวการรักษาด้วยใบมีด ●       การทำ LASIK สามารถรักษาอาการตาบอดสีได้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ผู้ที่มีอาการตาบอดสีสามารถเข้ารับการทำ LASIK ได้ จนทำให้ใครหลายคนอาจมีความเชื่อผิด ๆ ว่าการทำเลสิกสามารถใช้รักษาอาการตาบอดสีได้เหมือนกัน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผิด เพราะการทำเลสิกเป็นเพียงการรักษาค่าสายตาที่ผิดปกติ อย่างภาวะสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงเท่านั้น ไม่สามารถรักษาอาการตาบอดสีได้ เพราะเป็นคนละส่วนกัน ●       ทุกค่าสายตาสั้น สามารถทำ LASIK ได้หมด อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนสามารถทำ LASIK ได้ และไม่ใช่ทุกค่าสายตาผิดปกติจะสามารถรักษาด้วยการทำเลสิกได้เหมือนกัน โดยปัจจุบัน การ LASIK มีหลายวิธี แต่ละวิธีต่างมีความเหมาะสมในการใช้รักษาระดับค่าสายตาได้ไม่เท่ากัน ดังนี้ การทำ LASIK ดั้งเดิม (ใช้ใบมีด Microkeratome) สามารถใช้รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -1000 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600 การทำ PRK รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -600 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600 การทำ FemtoLASIK รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -1000 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600 และการทำ NanoRelex รักษาได้เฉพาะผู้ที่มีสายตาสั้นตั้งแต่ -50 ถึง -1000 และสายตาเอียงไม่เกิน -600 ทั้งนี้นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยเพิ่มเติม ●       เมื่อทำ LASIK แล้วสายตาจะดีตลอดไปเลย สิ่งหนึ่งที่ใครหลายคนมักเข้าใจผิดกันอยู่เสมอ คือการทำ LASIK เป็นการแก้ไขความผิดปกติของสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงแบบถาวร ซึ่งข้อบอกว่าเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากเมื่อรักษาด้วยการทำ LASIK แล้วค่าสายตาของเราจะกลับไปเหมือนสายตาของคนทั่วไป คือจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไปตามช่วงอายุของชีวิต เหมือนอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายที่เสื่อมไปตามกาลเวลาเช่นกัน สามารถเกิดภาวะสายตาสั้น ภาวะสายตายาว ภาวะสายตาเอียง เกิดขึ้นได้ในอนาคตเหมือนเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้สายตา และการดูแลรักษาบำรุงสายตาด้วย   ฟื้นฟูการมองเห็นให้คมชัด ปลอดภัยได้อย่างไร้กังวล ด้วยการรักษาที่ทันสมัยจาก Laser Vision การทำเลสิกเพื่อฟื้นฟูสายตาให้กลับมามองเห็นชัดแจ๋วและมีความปลอดภัย จำเป็นต้องมีจักษุแพทย์คอยให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด โดย Laser Vision International LASIK Center เป็นศูนย์รักษาสายตาอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี มีทีมแพทย์เฉพาะด้านและเครื่องมืออันทันสมัยได้มาตรฐานสากล สามารถให้การช่วยเหลือในการรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้หมด ทั้งสายตาสั้น สายตาเอียง สายตายาว และสายตายาวตามอายุ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับดวงตาทุกประเภท ทางเราก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยดูแลรักษาได้อย่างปลอดภัย รับรองว่าคุณหมอจะช่วยอธิบายถึงแผนการทำเลสิกหรือแนวทางการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล พร้อมเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณนั่นเอง ปรึกษาเพิ่มเติม โทร 02-511-2111
ศูนย์เลสิก LASER VISION
สายตายาวแต่กำเนิด VS สายตายาวตามวัย มีความแตกต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจจะคิดว่าสายตายาวมักพบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่เชื่อหรือไม่ว่าสายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยแรกเกิดเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าภาวะสายตายาวแต่กำเนิด (Hyperodia) เนื่องจากกระบอกตามีขนาดสั้น และกระจกตามีลักษณะโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดการหักเหของแสงน้อยลง ส่งผลให้แสงไปตกด้านหลังของจอประสาทตา เด็กวัยแรกเกิดจึงต้องเพ่งในทุกระยะสายตา ทั้งระยะใกล้และระยะไกลอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยความที่กล้ามเนื้อตาในวัยเด็กยังมีความยืดหยุ่นสูง จึงทำให้เด็กมักไม่รู้ตัวว่ามีภาวะสายตายาว แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ เสื่อมลง ภาวะสายตายาวก็จะเริ่มแสดงอาการออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น การมองเห็นก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป   ภาวะสายตายาวแต่กำเนิด ต่างกับ สายตายาวตามวัย อย่างไร? สายตายาวตามวัย (Presbyopia) ถือเป็นความผิดปกติของการมองเห็นที่เกิดขึ้นกับทุกคน เนื่องจากเลนส์ตาของเรายืดหยุ่นได้น้อยลง และกล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพลงไปตามวัยที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมองเห็นระยะใกล้ จึงสามารถเกิดร่วมได้กับผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น สายตายาวแต่กำเนิด และสายตาเอียงได้ ในขณะที่ภาวะสายตายาวแต่กำเนิดจะเกิดจากความผิดปกติของกระบอกตาหรือกระจกตาตั้งแต่แรกเกิดนั่นเอง   อาการของสายตายาวแต่กำเนิด ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละช่วงอายุ ●       ก่อนวัยเรียน เมื่อเด็กเล็กอายุมากขึ้นจนถึงวัยที่ต้องใช้กล้ามเนื้อตาในการเพ่งมากกว่าปกติ อาจส่งผลให้มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการตาเหล่ ตาเข เมื่อมองใกล้หรือเวลาอ่านหนังสือ ●       วัยเรียน ถึงวัยที่อาการมองเห็นเริ่มแสดงผลชัดเจนมากขึ้นแล้ว เด็กจะเริ่มมองเห็นไม่ชัดในระยะใกล้ แต่สำหรับระยะสายตาไกลยังคงชัดเจนอยู่ วิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ คือเด็กที่มีสายตายาวจะไม่สามารถอ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ ได้ ●       วัยทำงาน นับเป็นช่วงวัยที่อายุเริ่มมากขึ้นแล้ว กล้ามเนื้อตาและประสาทตาต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพลง เมื่อทำงานหรือเพ่งตาระยะใกล้เป็นเวลานาน จึงเริ่มเกิดอาการตาล้าเร็วกว่าคนทั่วไป ●       วัยอายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่อาการสายตายาวแสดงผลชัดเจนที่สุด การมองเห็นจะไม่ชัดอีกต่อไปทั้งในระยะใกล้และระยะไกล จำเป็นต้องสวมแว่นมองใกล้ช่วยในการอ่านหนังสือก่อนคนอื่น วิธีแก้ไขง่าย ๆ คือสวมใส่แว่นสายตาที่มีเลนส์นูน เพื่อหักเหแสงให้ตกลงบนจอประสาทตา   ทั้งนี้ทั้งนั้นอาการของสายตายาวแต่กำเนิดข้างต้น คืออาการเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีค่าสายตายาวไม่มากเท่านั้น เด็กบางคนที่มีค่าสายตายาวน้อย อาจมีหรือไม่มีอาการเลยก็ได้ แต่ในกรณีที่มีค่าสายตายาวแต่กำเนิดสูง ๆ อาการก็อาจหนักขึ้นได้เช่นกัน โดยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ตาหยี หรือแม้กระทั่งการมองเห็นจะเป็นภาพมัว โดยเฉพาะการมองเห็นวัตถุระยะใกล้ด้วย หากเป็นเช่นนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อลูกน้อยที่สุด   แนวทางการรักษาภาวะสายตายาวแต่กำเนิด ที่ปลอดภัย อาการหายเป็นปลิดทิ้ง ●       การทำ FemtoLASIK การทำ FemtoLASIK (การทำเลสิกแบบไร้ใบมีด) เป็นการรักษาภาวะสายตายาวแต่กำเนิด เพื่อผ่าตัดแก้ไขปรับความโค้งของกระจกตา ด้วยเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับศักยภาพความสามารถในการแยกชั้นกระจกตาขั้นสูง แพทย์สามารถกำหนดระดับความหนาของกระจกตาตามที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัย โดยใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ สร้างฝากระจกตาแทนการใช้ใบมีด ผลลัพธ์ที่ได้คือฝากระจกตาหนาเท่ากันทั้งแผ่น สามารถทำขอบกระจกตาเป็นมุมเข้าร่องกับเนื้อกระจกตาข้างเคียง ลดโอกาสเคลื่อนของฝากระจกตาได้ ●       การทำ LASIK ปกติแล้วการทำเลสิกจะใช้รักษาสายตาสั้น แต่สามารถรักษาภาวะสายตายาวแต่กำเนิดได้เช่นกัน โดยการผ่าตัดสายตา เปิดฝากระจกตาด้วยเครื่องมือใบมีดติดมอเตอร์ ในการแยกชั้นกระจกตา และสร้างฝากระจกตาให้มีความหนาที่เหมาะสม จากนั้นจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ เพื่อปรับความโค้งของผิวกระจกตาให้ได้ค่าสายตาที่ต้องการแก้ไข ●       การทำ PRK การรักษาภาวะสายตายาวแต่กำเนิดอีกวิธีหนึ่งที่คล้ายกับการทำเลสิก โดยการเปิดกระจกตาชั้นนอกสุดออก แล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (เลเซอร์เย็น) ยิงลงบนเนื้อกระจกตา เพื่อปรับความโค้งที่ผิวกระจกตา ก่อนปิดแผลที่ผิวกระจกตาด้วยเลนส์สัมผัสคุณภาพพรีเมี่ยม สำหรับลดอาการระคายเคือง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง ไม่เหมาะกับเด็กวัยเล็ก เพราะต้องใช้ระยะเวลารักษานานกว่าการทำเลสิก   Laser Vision ทุกการรักษาภาวะสายตายาวแต่กำเนิด หรือสายตายาวตามวัย เป็นไปได้จริง Laser Vision International LASIK Center ศูนย์รักษาสายตา เลเซอร์วิชั่น ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาสายตาสั้น สายตายาว เอียง และโรคตาทุกชนิดแบบครบวงจร ตั้งแต่ปัญหาโรคตาทั่วไป สายตาสั้น สายตายาว ภาวะสายตายาวแต่กำเนิด ไปจนถึงการผ่าตัดที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทางในแต่ละด้าน เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดีที่สุดของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสามารถให้บริการรักษาได้ทั้งการทำ FemtoLasik การทำ LASIK และการทำ PRK คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยที่ภาวะสายตายาวแต่กำเนิด เข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ แพทย์จะช่วยวินิจฉัยอาการและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร 02-511-2111
ศูนย์เลสิก LASER VISION
NanoRelex และ LASIK วิธีรักษาภาวะสายตาผิดปกติทั้งสองวิธี มีความแตกต่างกันอย่างไร?
ในปัจจุบัน ทางเลือกในการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยการผ่าตัดในประเทศไทยมีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งในแต่ละวิธีต่างมีความเหมาะสมต่อการรักษาปัญหาทางด้านสายตาของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาภาวะสายตาที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมสูงก็คงหนีไม่พ้น การผ่าตัดแก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติ ด้วยวิธีการทำ LASIK และวิธีการผ่าตัดรูปแบบใหม่ NanoRelex บางคนอาจจะเคยได้ยินผ่าน ๆ กันมาบ้างแล้ว แต่ในบทความนี้ Laser Vision จะช่วยอธิบายให้เข้าใจกันมากขึ้นเอง ภาวะสายตาผิดปกติ คืออะไรและมีกี่ประเภท? ก่อนที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติยอดนิยม อย่างการทำ LASIK และวิธีการรักษาแบบใหม่ NanoRelex ทั้งสองวิธีมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เราอยากให้ทุกคนทราบกันเสียก่อนว่า อาการภาวะสายตาผิดปกติ คืออะไร? ภาวะสายตาผิดปกติ คือภาวะเกี่ยวกับปัญหาการมองเห็นทางสายตาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติการมองเห็นของคนเรา เกิดจากการที่แสงไปตกกระทบที่บริเวณผิวกระจกตา แล้วเกิดการหักเหโฟกัสไปที่จอประสาทตาพอดี ภาพที่เห็นจึงมีความคมชัดทั้งในระยะใกล้และระยะไกล ถือเป็นภาวะสายตาทั่วไป แต่หากความโค้งของกระจกตา หรือความยาวของลูกตามากหรือน้อยจนเกินไป จะทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัด เรียกว่าภาวะสายตาผิดปกติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ภาวะสายตาสั้น ภาวะสายตายาว ภาวะสายตาเอียง และภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุ LASIK คือวิธีการรักษาอย่างไร? การรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้ทุกประเภท ด้วยการผ่าตัดโดยใช้ใบมีด Microkeratome แยกชั้นกระจกตาออกให้ได้ความหนาประมาณ 100 ถึง 120 ไมครอน เปิดกระจกตาทิ้งไว้ (ประมาณ 3 ถึง 5 นาที) จากนั้นจึงใช้ Excimer Laser ยิงไปลงบริเวณกระจกตา เพื่อช่วยในการปรับความโค้งกระจกตาให้เหมาะสม ให้ได้ค่าสายตาตามที่ต้องการแก้ไข แล้วจึงปิดกระจกตากลับเข้าที่เดิม ซึ่งไม่ต้องเย็บแผลปิด เพราะชั้นกระจกตาจะสมานเข้ากันเองตามธรรมชาติในภายหลัง NanoRelex คือวิธีการรักษาอย่างไร? NanoRelex คือทางเลือกใหม่ในการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของการทำเลสิก ได้แก่ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูงในการปรับแต่งเนื้อเยื่อกระจกตา และนำเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนเกินออกมาผ่านทางแผลขนาดเล็กเพียงแค่ 2 ถึง 3 มิลลิเมตร เพื่อปรับความโค้งกระจกตาให้เหมาะสม เนื่องจากวิธี NanoRelex นั้นเป็นการทำเลสิกไร้ใบมีดแบบแผลเล็ก ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดรู้สึกเบาสบายตาขณะผ่าตัด มีการรบกวนกระจกตาน้อย กระจกตาหลังผ่าตัดจึงมีความแข็งแรง เป็นวิธีการรักษาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากการทำเลสิกอีกที เปรียบเทียบข้อแตกต่างของการทำ LASIK และ NanoRelex ให้เห็นภาพกันชัดเจนมากขึ้น การทำ LASIK ●       ใช้ใบมีด Microkeratome ที่มีความคมในการผ่าเปิดชั้นกระจกตา ขนาดแผลหลังผ่าตัดจะมีความยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร ●       สามารถรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้ทุกประเภท เพียงแต่มีข้อจำกัด คือคนที่มีกระจกตาบางหรือไม่สม่ำเสมอ จะไม่สามารถทำเลสิกได้ ●       มีโอกาสเกิดภาวะตาแห้งมากกว่าวิธีการรักษา NanoRelex ●       ค่าใช้จ่ายในการรักษาถูกกว่าวิธีการรักษา NanoRelex แต่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานกว่า ●       หลังทำ LASIK ต้องปิดฝาครอบตา 1 คืน เพื่อป้องกันการขยี้ตา ●       ต้องใช้เวลาในปรับค่าสายตาประมาณ 1 ถึง 4 สัปดาห์ ค่าสายตาจึงจะกลับมาเห็นได้ชัด การทำ NanoRelex ●       วิธีการทำเลสิกแบบใหม่ที่พัฒนามาจากการทำ LASIK ดั้งเดิม เป็นการทำเลสิกไร้ใบมีด ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูง ขนาดแผลหลังทำจึงมีความยาวแค่ 3 ถึง 5 มิลลิเมตร ●       ไม่มีการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด จึงไม่มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหากระจกตาเคลื่อนตามมาในภายหลัง ●       แทบไม่มีอาการเคืองตาหรือปวดตาหลังทำเลย ●       โอกาสเกิดภาวะตาแห้งน้อยมาก ●       สามารถใช้รักษาเพื่อลดภาวะแสงฟุ้งตอนกลางคืนได้ด้วย ●       ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าวิธีการทำ LASIK ●       NanoRelex มีข้อจำกัด สามารถใช้รักษาภาวะสายผิดปกติ ได้เฉพาะแค่ภาวะสายตาสั้น และสายตาเอียงเท่านั้น ●       ต้องใช้เวลาในปรับค่าสายตาประมาณ 1 ถึง 4 สัปดาห์ ค่าสายตาจึงจะกลับมาเห็นได้ชัด   วิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติทั้งสองวิธีต่างมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ภาวะค่าสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงที่สามารถรักษาได้ ระยะเวลาในการพักฟื้น ค่าใช้จ่าย รวมถึงข้อจำกัดด้านสุขภาพตาของแต่ละบุคคลในการรักษา ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ทุกคนจึงควรพบจักษุแพทย์ เพื่อเข้ารับการประเมินและรับคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับแนวทางในการรักษาที่เหมาะกับตัวคุณโดยเฉพาะ ภาวะสายตาผิดปกติ รักษาให้หายได้อย่างปลอดภัย ที่ Laser Vision   ทุกปัญหาภาวะสายตาผิดปกติสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ เพียงคุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล โดย Laser Vision International LASIK Center เป็นศูนย์รักษาสายตาอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี พร้อมด้วยทีมแพทย์เฉพาะด้านและเครื่องมืออันทันสมัยได้มาตรฐานสากล สามารถดำเนินการรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้ทุกประเภท เรามีความชำนาญในทุกแนวทางการรักษาปัญหาด้านสายตา ทั้งการทำ LASIK และการทำ NanoRelex อีกทั้งเรายังเป็นผู้บุกเบิกวิธีการรักษา NanoRelex แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย ปรึกษาเพิ่มเติม โทร 02-511-211
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111