มุมสุขภาพตา : #AMD

เรียงตาม
ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
จอประสาทตาเสื่อมและเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบัน
จอประสาทตาเสื่อมและเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบัน จอประสาทตาเสื่อม (Age-related Macular Degeneration หรือ AMD) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์บริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา (Macula) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการมองเห็น ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางไปทีละน้อย อาจเริ่มจากมองเห็นภาพตรงกลางไม่ชัด ภาพบิดเบี้ยว สีผิดเพี้ยน จนกระทั่งมองไม่เห็นภาพตรงกลางในที่สุด โดยทั่วไป จอประสาทตาเสื่อม มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และพันธุกรรม   จอประสาทตาเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่   จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (Dry AMD): เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 80-90%) เกิดจากการสะสมของของเสียที่จอประสาทตา ทำให้เซลล์รับแสงเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ทำให้การมองเห็นลดลงอย่างช้า ๆ จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD): เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่า (ประมาณ 10-20%) แต่มีความรุนแรงมากกว่า เกิดจากการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา เส้นเลือดเหล่านี้อาจรั่วหรือแตก ทำให้เกิดการบวมและเป็นแผลเป็นที่จอประสาทตา ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วจอประสาทตาเสื่อม เป็นสาเหตุอันดับที่สามของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีทางเลือกในการรักษาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถชะลอความเสื่อมและรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ อาการของ จอประสาทตาเสื่อม มีอะไรบ้าง? อาการของ จอประสาทตาเสื่อม ขึ้นอยู่กับระยะของโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งจะแบ่งตามกลุ่มอาการเป็น 3 ระยะ: ระยะแรก ระยะกลาง และระยะสุดท้าย โดยที่อาการมักจะแย่ลงตามเวลาและระยะของโรค จอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งระยะแรกมักจะไม่มีอาการใด ๆ ใน จอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งระยะกลาง บางคนยังไม่มีอาการ บางคนอาจสังเกตเห็นอาการเล็กน้อย เช่น ภาพเบลอเล็กน้อยในบริเวณศูนย์กลางภาพหรือปัญหาในการมองเห็นในแสงน้อย ใน AMD ระยะสุดท้าย (ทั้งแบบเปียกและแห้ง) หลายคนสังเกตเห็นว่าเส้นตรงเริ่มดูเป็นคลื่นหรือโค้งงอ คุณอาจ สังเกตเห็นบริเวณภาพเบลอใกล้ศูนย์กลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป บริเวณภาพเบลอนี้อาจขยายใหญ่ขึ้น สีอาจดูไม่สดใส เหมือนเดิม และคุณอาจมีปัญหาในการมองเห็นในแสงน้อยมากขึ้น การที่เส้นตรงดูเป็นคลื่นเป็นสัญญาณเตือนสำหรับ AMD ระยะสุดท้าย หากคุณสังเกตเห็นอาการนี้ ให้พบจักษุแพทย์ ทันที เราจะมีวิธีการลดความเสี่ยงต่อ โรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ ได้อย่างไร? มีหลายงานวิจัยที่บ่งบอกว่าถ้าเราทำตามพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ อาจชะลอการเป็นจอประสาทตาเสื่อม (หรือชะลอการสูญเสียการมองเห็นจากจอประสาทตาเสื่อม) ได้         เลิกสูบบุหรี่ หรือไม่เริ่มสูบบุหรี่         ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ         รักษาระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลให้ปกติ         กินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงผักใบเขียวและปลา จักษุแพทย์จะตรวจหา AMD อย่างไร? ส่วนมากจะมีใช้การตรวจตา โดยการจะมีการตรวจขยายม่านตา ตรวจจอประสาทตา และการสแกนจอประสาทตาด้วยเครื่อง Optical Coherence Tomography (OCT)   วิธีการรักษาจอประสาทตาเสื่อม 1. การรักษาด้วยยาและอาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุ: การรับประทานวิตามินซี, อี, เบต้าแคโรทีน, สังกะสี และทองแดง อาจช่วยชะลอการลุกลามของจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้งในบางราย ยาฉีด: ยาต้าน VEGF (Vascular Endothelial Growth Factor) เป็นการรักษาหลักสำหรับจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ยานี้ช่วยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ     2. การรักษาด้วยเลเซอร์ Photodynamic therapy (PDT): ใช้เลเซอร์ร่วมกับยาฉีดเพื่อทำลายเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ Laser photocoagulation: ใช้เลเซอร์เพื่อทำลายเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติโดยตรง 3. การผ่าตัด การผ่าตัดเอาเลือดออก: ในกรณีที่เลือดออกในดวงตา อาจต้องผ่าตัดเพื่อเอาเลือดออก การผ่าตัดปลูกถ่ายจอประสาทตา: เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง   ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี วิธีการรักษา ข้อดี ข้อเสีย วิตามินและแร่ธาตุ ราคาถูก, ปลอดภัย ไม่ได้ผลกับทุกคน, อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย ยาฉีด ได้ผลดีในการรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ต้องฉีดเข้าดวงตาเป็นประจำ, อาจมีผลข้างเคียง การรักษาด้วยเลเซอร์ ได้ผลดีในการทำลายเส้นเลือดใหม่ อาจทำลายเนื้อเยื่อปกติโดยรอบ, ไม่ได้ผลกับทุกคน การผ่าตัด อาจช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด, ไม่ได้ผลกับทุกคน   เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาจอประสาทตาเสื่อม ยาฉีดชนิดใหม่: ยาฉีดที่ออกฤทธิ์นานขึ้น ช่วยลดความถี่ในการฉีด Gene therapy: เป็นการรักษาโดยการใส่ยีนที่ปกติเข้าไปในเซลล์จอประสาทตาเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย Stem cell therapy: เป็นการรักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์เพื่อสร้างเซลล์จอประสาทตาใหม่   สรุป   การรักษาจอประสาทตาเสื่อมมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
Understanding Retinal Diseases: A Focus on Age-Related Macular Degeneration (AMD) and How We Can Help
Welcome to our detailed exploration of retinal diseases, specifically focusing on Age-Related Macular Degeneration (AMD), the main cause of vision impairment among older adults. Here at Bangkok Eye Hospital in Thailand, we are dedicated to providing expert care and comprehensive treatment options to manage and potentially mitigate the impact of AMD on your life. Overview of the Retina and Its Function The retina is a critical component of the eye, essential for vision. This thin layer of tissue, located at the back of the eye, captures light and converts it into electrical signals. These signals are sent to the brain, which interprets them as visual images. The retina's functionality is similar to the film in a camera, capturing the world around us and enabling us to see detailed and colorful images.   Understanding Age-Related Macular Degeneration (AMD) Age-Related Macular Degeneration (AMD) is a prevalent retinal condition that primarily affects individuals over the age of 50. It occurs when the central portion of the retina, known as the macula, deteriorates. The macula is responsible for central vision and visual acuity, which is important for tasks such as reading, driving, and recognizing faces.   Types of AMD AMD manifests in two forms: Dry AMD: This is the more common type and is characterized by the thinning of the macula and the presence of drusen, tiny yellow or white deposits on the retina. Dry AMD progresses slowly and gradually impairs central vision.   Wet AMD: Less common but more severe, wet AMD occurs when new, abnormal blood vessels grow under the retina, leading to leakage of fluid and blood. This leakage can cause rapid and severe damage to the macula, leading to significant vision loss. Symptoms of AMD The symptoms of AMD can vary but typically include: §  Blurriness in the central part of the vision §  Distorted vision (straight lines appear wavy) §  Difficulty adapting to low light levels §  Decreased intensity or brightness of colors   §  A well-defined blurry spot or blind spot in your field of vision   The Impact of AMD on Vision and Lifestyle AMD significantly affects quality of life by impairing the ability to perform everyday activities that require sharp central vision. “Early detection through regular eye exams is crucial for managing this disease effectively.” How Bangkok Eye Hospital Can Help At Bangkok Eye Hospital, our approach to managing AMD involves: ü  Early Detection and Regular Monitoring: Utilizing advanced diagnostic tools, we detect AMD in its earliest stages and monitor its progression. ü  Personalized Treatment Plans: Depending on the type and severity of AMD, treatments may include nutritional supplements, laser therapy, and anti-VEGF injections to slow progression and maintain vision.   ü  Low Vision Aids and Support: We provide resources and aids to help patients adapt to changes in their vision, ensuring they can continue to enjoy a high quality of life. Conclusion Age-related macular degeneration is a serious condition that can seriously affect your vision. Understanding the symptoms and getting regular eye exams are key to early detection and treatment. If you're experiencing any symptoms of AMD, don't hesitate to contact Bangkok Eye Hospital. Our team of expert ophthalmologists is here to provide you with the highest standard of care and support. For more information or to schedule a consultation, contact us at lasik-eng@laservisionthai.com.   Disclaimer: The information provided here is intended for general informational purposes only. Please consult with our specialists for a comprehensive assessment and personalized treatment plan. Your specific condition will require a tailored approach, which can only be accurately determined through a professional evaluation. #AMD #RetinalDiseases #EyeHealth #VisionCare #EarlyDetection #BangkokEyeHospital
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์เลสิก LASER VISION
สุขภาพตากับอายุ
สุขภาพตากับอายุ สุขภาพตากับอายุ      ในขณะที่ผู้สูงอายุมุ่งมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้ห่างจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แต่อวัยวะที่ร่างกายต้องใช้ทุกวันอย่างดวงตา กลับได้รับความสนใจน้อยกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อThe International Agency for the Prevention of Blindness (IAPB) สำรวจสุขภาพตาของคนที่มีอายุ 50ปี ทั่วโลก 45 ล้านคน พบว่า 80% มักมีปัญหาเรื่องสายตาจนถึงขั้นตาบอด   Snellen Chart      ความผิดปกติทางสายตาที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่ผู้สูงวัยควรระวังได้แก่       ต้อกระจก      จะเริ่มตั้งแต่อายุ 40ต้นๆ (หรืออาจจะช้ากว่านั้น) การเกิดต้อกระจกเปรียบเสมือนฝ้าที่เกิดขึ้นบนกระจกใส ทำให้มองเห็นไม่ชัด อาการน่าสงสัยของต้อกระจกคือ ตาสู้แสงได้ไม่ดี โดยเฉพาะเวลาขับรถ        ต้อหิน      เกิดจากความดันภายในดวงตาที่สูงกว่าปกติทำให้ดวงตาแข็งเหมือนหิน เมื่อมองจะเห็นภาพที่อยู่ตรงกลางชัดแต่กลับมองภาพบริเวณรอบๆไม่ได้ ต้อหินมี2ชนิด คือต้อหินมุมปิดและมุมเปิด เรามักพบต้อหินมุมปิดหรือต้อหินเฉียบพลันในหญิงสูงอายุ เนื่องจากผู้หญิงมักมีดวงตาเล็กกว่าผู้ชาย มักมีอาการปวดเมื่อยตามากเวลาที่ใช้สายตามากและมีอาการตาแดงก่อนตามัว แต่พอได้นอนพักผ่อนอาการต่างๆจะหายไป สามารถใช้ชีวิตได้ปกติแต่อีกไม่กี่วันก็จะกลับมีอาการใหม่ ในทางตรงกันข้ามต้อหินมุมเปิดหรือต้อหินเรื้อรัง พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือด ภาวะสายตาสั้นหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหิน ทั้งนี้ต้อหินแบบเรื้อรังอาจเป็นอันตรายมากกว่า เพราะจะไม่แสดงอาการ ดังนั้นจึงมักตรวจพบได้โดยบังเอิญ หรือกว่าจะมารักษาก็เป็นมากจนสายเกินแก้และอาจจะรุนแรงถึงขั้นตาบอด       การเสื่อมของตาเนื่องจากสูงอายุ      เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็น อาการเบื้องต้นคือ มองเห็นภาพรอบๆชัดแต่มองจุดภาพตรงกลางไม่ชัด ซึ่งเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อชั้นในดวงตาที่อยู่กึ่งกลางของเรตินามีความผิดปกติและส่วนหนึ่งเกิดมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง ภาวะน้ำหนักเกินหรือสูบบุหรี่เป็นต้น       จุดหรือเงาดำในตา      ผู้สูงอายุจะเห็นเป็นจุดหรือเงาดำเล็กๆวิ่งผ่าน คล้ายกับมีแมลงหรือยุงบินผ่าน สาเหตุเกิดจากน้ำวุ้นลูกตาที่อยู่ในตาระหว่างเลนส์กับเรตินาไม่จับตัวแน่นเหมือนเดิม ซึ่งเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น แม้การมองเห็นจุดดำจะไม่มีอันตรายต่อสุขภาพตา แต่ถ้าเห็นจุดดำหรือเงาดำมากขึ้นและการมองเห็นไม่ชัดร่วมด้วย ควรจะเข้ามาพบจักษุแพทย์ทันที      สุขภาพตาก็เหมือนสุขภาพร่างกายทั่วไปที่ควร เข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรเข้ารับการตรวจโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111