มุมสุขภาพตา : #โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา

ยกกระชับรอบดวงตา เสริมโหงวเฮ้ง รับทรัพย์

ยกกระชับรอบดวงตา เสริมโหงวเฮ้ง รับทรัพย์ การยกกระชับรอบดวงตาเป็นศัลยกรรมความงามที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องริ้วรอย ความหย่อนคล้อย ทำให้ดูอ่อนเยาว์ขึ้นเท่านั้น แต่ในศาสตร์ของโหงวเฮ้งยังเชื่อกันว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ บ่งบอกถึงบุคลิกภาพ ฐานะ การเงิน และยังส่งผลต่อโชคลาภ วาสนาอีกด้วย การมีดวงตาที่สดใส เปล่งประกาย ดูอ่อนเยาว์ จึงเป็นสิ่งที่หลายคนปรารถนา การยกกระชับรอบดวงตาแบบไหนที่ช่วยเสริมโหงวเฮ้งรับทรัพย์? • แก้ไขหนังตาตก: หนังตาบนที่ตกทับดวงตา ทำให้ดวงตาดูเศร้าหมอง ไม่สดใส ดูง่วงนอนตลอดเวลา โหงวเฮ้งแบบนี้มักจะส่งผลต่อหน้าที่การงาน ทำให้ขาดความมั่นใจ ไม่กระตือรือร้น การแก้ไขหนังตาตกด้วยการผ่าตัดยกกระชับหนังตา หรือการทำศัลยกรรมตาสองชั้น จะช่วยให้ดวงตาดูโตขึ้น สดใสขึ้น เสริมโหงวเฮ้งให้ดูมีความมั่นใจ มีชีวิตชีวา ส่งผลดีต่อหน้าที่การงานและการเงิน • แก้ไขใต้ตาคล้ำ ใต้ตาโหล: ใต้ตาคล้ำ ใต้ตาโหล ทำให้ดูโทรม อ่อนล้า ดูมีอายุ โหงวเฮ้งแบบนี้มักส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เจ็บป่วยง่าย อ่อนแอ การแก้ไขใต้ตาคล้ำ ใต้ตาโหล ด้วยการเติมไขมันใต้ตา หรือการผ่าตัดกำจัดถุงใต้ตา จะช่วยให้ใบหน้าดูสดใส อ่อนเยาว์ เสริมโหงวเฮ้งให้ดูสุขภาพดี แข็งแรง มีโชคลาภ • แก้ไขหางตาตก: หางตาที่ตกชี้ลง ทำให้ดูเศร้า หดหู่ โหงวเฮ้งแบบนี้มักส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้ขาดความมั่นใจ คิดมาก การแก้ไขหางตาตกด้วยการยกกระชับหางตา จะช่วยปรับรูปลักษณ์ของดวงตาให้ดูเฉี่ยวขึ้น ดูสดใส เสริมโหงวเฮ้งให้ดูมีความมั่นใจ กล้าตัดสินใจ มีอำนาจ เทคนิคการยกกระชับรอบดวงตา • การผ่าตัด: เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดหนังตาส่วนเกินออก ยกกระชับกล้ามเนื้อ และจัดเรียงไขมันใหม่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหนังตาตก ใต้ตาหย่อนคล้อย มีริ้วรอยมาก • การใช้เลเซอร์: เป็นการใช้เลเซอร์เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวกระชับขึ้น ลดเลือนริ้วรอย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาใต้ตาคล้ำ ริ้วรอยเล็กน้อย • การฉีดฟิลเลอร์: เป็นการฉีดสารเติมเต็มเพื่อเพิ่มวอลุ่มใต้ตา ช่วยให้ใต้ตาดูเต็มขึ้น ลดเลือนร่องใต้ตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาใต้ตาโหล ร่องใต้ตา การเลือกเทคนิคการยกกระชับรอบดวงตา ควรเลือกให้เหมาะสมกับปัญหา สภาพผิว และงบประมาณ โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและวางแผนการรักษา การดูแลตัวเองหลังยกกระชับรอบดวงตา • ประคบเย็น เพื่อลดบวม ช้ำ • ทายาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด • งดแต่งหน้า ทาครีม บริเวณแผล • งดนอนคว่ำหน้า • งดใส่คอนแทคเลนส์ • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงดันในดวงตา เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายหนักๆ • ป้องกันแสงแดด ด้วยการทาครีมกันแดด ใส่แว่นกันแดด หมายเหตุ: ผลลัพธ์ของการยกกระชับรอบดวงตา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เทคนิคที่ใช้ สภาพผิว อายุ การดูแลตัวเองหลังการรักษา   ศูนย์ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ เป็นศูนย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาโรคและความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับเปลือกตา ท่อน้ำตา เบ้าตา และโครงสร้างใบหน้ารอบดวงตา ทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุตกแต่ง จักษุแพทย์ และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญของเราร่วมมือกันเพื่อให้การดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านการรักษาและความงาม ทำนัดหมายและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-511-2111

อยากทำตาสองชั้น แต่อายุเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย?

อายุเท่าไหร่ ถึงทำตาสองชั้นได้ ? หลายคนใฝ่ฝันอยากมีดวงตาคู่สวยคมชัด มีเสน่ห์ การทำศัลยกรรมตาสองชั้นจึงเป็นตัวเลือกยอดนิยม แต่คำถามสำคัญที่หลายคนสงสัยคือ "อายุเท่าไหร่ ถึงจะทำตาสองชั้นได้อย่างปลอดภัย?" ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ขอไขข้อข้องใจนี้ พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทำตาสองชั้น...อายุเท่าไหร่ถึงเหมาะสม? โดยทั่วไป จักษุแพทย์มักแนะนำให้ทำศัลยกรรมตาสองชั้นเมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป เพราะโครงสร้างใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณดวงตาจะหยุดการเจริญเติบโต ทำให้แพทย์สามารถประเมินรูปทรงดวงตาและออกแบบชั้นตาที่สวยงามได้อย่างแม่นยำ ผลลัพธ์ของการผ่าตัดจึงมีแนวโน้มคงอยู่ยาวนาน   ทำไมต้องรอให้ถึง 18 ปี? โครงสร้างดวงตา : ก่อนอายุ 18 ปี ดวงตายังคงมีการเปลี่ยนแปลง การทำศัลยกรรมในช่วงวัยนี้ อาจทำให้ชั้นตาเปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโต ส่งผลต่อผลลัพธ์ในระยะยาว ความพร้อมทางด้านร่างกาย : ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มักมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมรับการผ่าตัด และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ   แล้วถ้าอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำได้ไหม? ในบางกรณี จักษุแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดตาสองชั้นให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เช่น มีปัญหาทางด้านการมองเห็น : หนังตาตกบังการมองเห็น รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และส่งผลต่อพัฒนาการทางสายตา มีปัญหาชั้นตาผิดปกติ : เช่น ตาสองชั้นข้างเดียว ชั้นตาไม่เท่ากัน ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และความมั่นใจ   อายุมาก...ทำตาสองชั้นได้หรือไม่? สำหรับผู้ที่มีอายุมาก ก็สามารถทำศัลยกรรมตาสองชั้นได้ แต่ควรปรึกษาจักษุแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินสภาพผิวและปัญหาสุขภาพ รวมถึงพิจารณาการผ่าตัดเสริมอื่นๆ เช่น การยกคิ้ว หรือ การตัดไขมันใต้ตา เพื่อผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ และ แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด   ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ให้บริการศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา โดย จักษุแพทย์เฉพาะทาง มากประสบการณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย แผลเล็ก ฟื้นตัวไว ผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ ดูแลตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา จนถึงหลังการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-511-2111
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

จอประสาทตา: กุญแจสำคัญสู่โลกที่สดใส - ใส่ใจสุขภาพดวงตา ตรวจเช็กก่อนสาย

"จอประสาทตา" กุญแจสำคัญสู่โลกที่สดใส ดวงตา คือ หน้าต่างที่เปิดให้เราเห็นโลกใบนี้ แต่เบื้องหลังความงดงามนั้น มี "จอประสาทตา" หรือเรตินา ทำหน้าที่เสมือนกล้องถ่ายรูปที่มีความละเอียดสูงสุด คอยบันทึกทุกภาพที่เราเห็น แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งต่อไปยังสมอง ให้เราได้สัมผัสกับสีสัน ความเคลื่อนไหว และรายละเอียดต่างๆ รอบตัว จอประสาทตา สำคัญอย่างไร? ลองนึกภาพว่า หาก "กล้อง" หรือจอประสาทตาของเราเกิดขีดข่วนหรือเสียหาย ภาพที่ออกมาก็จะเบลอ พร่ามัว ไม่คมชัด จอประสาทตาก็เช่นกัน หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลโดยตรงต่อการมองเห็น อาจเริ่มจากตามัว มองเห็นภาพบิดเบี้ยว จนลุกลามถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิต ภัยเงียบที่จ้องคุกคาม : โรคจอประสาทตา โรคจอประสาทตามีหลายชนิด บางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่ค่อยๆ ทำลายการมองเห็นอย่างช้าๆ จึงเป็น "ภัยเงียบ" ที่เราต้องตระหนักและหมั่นตรวจเช็คสุขภาพดวงตาอยู่เสมอ ตัวอย่างโรคจอประสาทตาที่พบบ่อย ได้แก่ :       • จอประสาทตาเสื่อม : พบมากในผู้สูงอายุ ทำให้สูญเสียการมองเห็นบริเวณกลางภาพ ส่งผลต่อการอ่านหนังสือ การขับรถ และกิจวัตรประจำวันอื่นๆ       • เบาหวานขึ้นจอประสาทตา : ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดที่จอประสาทตาผิดปกติ อาจนำไปสู่การมองเห็นภาพซ้อน หรือสูญเสียการมองเห็นได้       • จอประสาทตาฉีกขาด : เกิดจากการลอกตัวของชั้นจอประสาทตา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในโอกาสวันจอประสาทตาโลกนี้ โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ขอเชิญชวนทุกท่านมาดูแลและใส่ใจสุขภาพดวงตา โดยเฉพาะการตรวจเช็คจอประสาทตาเป็นประจำเพื่อป้องกันและรักษาความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางตา ศูนย์รักษาจอประสาทตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ: มั่นใจ..ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง เรามีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตา พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย คอยให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจอประสาทตาอย่างครบวงจร ด้วยความใส่ใจและมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้คุณมั่นใจว่าดวงตาของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด  
ศูนย์รักษาตาเด็ก

3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา

3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา   หรี่ตาหรือเอียงคอมอง: ถ้าลูกชอบหรี่ตาหรือเอียงคอเวลาจะมองอะไรไกลๆ เช่น ดูทีวีหรือมองกระดาน อาจเป็นสัญญาณว่ามองไม่ค่อยชัด ชอบเอาของมาดูใกล้ๆ: ถ้าลูกชอบเอาหนังสือหรือของเล่นมาจ่อใกล้หน้า หรือต้องเข้าไปดูทีวีใกล้กว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตา ขยี้ตาบ่อยๆ: ถึงแม้บางทีเด็กๆ จะขยี้ตาเพราะง่วงหรือเมื่อยล้า แต่ถ้าขยี้ตาบ่อยเกินไป ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตาได้เหมือนกัน   สัญญาณอื่นๆ ที่พ่อแม่ควรสังเกต   สมาธิสั้นเวลาต้องใช้สายตา: เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือวาดรูป อ่านหนังสือแล้วชอบหลงบรรทัด: หรืออ่านข้ามๆ ไปบ้าง ไม่อยากทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา: เช่น ต่อจิ๊กซอว์ ระบายสี หรือเล่นตัวต่อ   ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ในตัวลูก อย่ารอช้า รีบพาลูกไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสายตานะคะ การตรวจพบและรักษาปัญหาสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสายตาที่ดี และเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีค่ะ ติดต่อ ศูนย์รักษาสายตาเด็ก - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ โทร 02-023-9929, 02-511-2111
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111