มุมสุขภาพตา : #แผลที่กระจกตา

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม

แผลที่กระจกตาเสี่ยงกระจกตาติดเชื้อ! รวมอาการ สาเหตุ และการรักษา

แผลที่กระจกตาอันตรายมากกว่าที่คิด อาจทำให้กระจกตาติดเชื้อจนอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้! บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการกระจกตาเป็นแผลว่าคืออะไร มีอาการอย่างไร พร้อมหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ตลอดจนการดูแลดวงตาเพื่อลดความเสี่ยงเป็นแผลที่กระจกตา หาคำตอบได้ที่นี่   แผลที่กระจกตา คือ การที่กระจกตาได้รับบาดเจ็บจนเกิดเป็นแผล มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น แผลที่กระจกตามีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป หากเป็นแผลเพียงเล็กน้อยจะรักษาได้ด้วยการทานยา แต่หากมีอาการรุนแรงก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ แผลที่กระจกตาที่สังเกตได้ เช่น ปวดตา ตาอักเสบ ตาแดง มีน้ำตาไหลออกมา หรือมีหนองในดวงตา เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดจากแผลที่กระจกตา เช่น การติดเชื้อภายในลูกตา โรคต้อหิน หรือกระจกตาทะลุ ตลอดจนเป็นสาเหตุที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร การรักษากระจกตาเป็นแผลทำได้ 2 วิธี คือ การรักษากระจกตาเป็นแผลด้วยยาในกรณีที่อาการไม่รุนแรง และการรักษากระจกตาเป็นแผลด้วยการผ่าตัดในกรณีที่มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง     ทำความรู้จักแผลที่กระจกตา คืออะไร กระจกตาของคนเราเปรียบเหมือนกระจกหน้ารถยนต์ที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากภายนอก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดการติดเชื้อขึ้น อาจส่งผลให้กระจกตาเป็นแผลได้ โดยแผลที่กระจกตาคือรอยโรคที่เกิดขึ้นบริเวณกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่ใสและโค้งของผิวดวงตา มีหน้าที่ช่วยในการหักเหแสง หากเป็นแผลจะทำให้รู้สึกปวดตา ตาแดง และมองเห็นผิดปกติได้ ดังนั้นการรักษาแผลที่กระจกตาเป็นสิ่งที่จำเป็น และควรรีบซ่อมแซมอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ด่านหน้าที่ช่วยป้องกันดวงตาสามารถกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง อาการแผลที่กระจกตา เป็นอย่างไร อาการกระจกตาเป็นแผล สังเกตได้จากอาการผิดปกติเหล่านี้   ปวดตา โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมาก ระคายเคือง คันบริเวณรอบดวงตา ตาอักเสบ ตาแดง เปลือกตาบวม แสบตา น้ำตาไหลอยู่ตลอด มีหนองในตา หรือมีของเหลวไหลออกจากดวงตา บางรายอาจพบว่ามีจุดสีขาว หรือสีเทาขนาดเล็กในดวงตา     หาสาเหตุแผลที่กระจกตา เกิดจากอะไรได้บ้าง แผลที่กระจกตาเกิดได้จากหลายสาเหตุใดบ้าง? โดยปกติแล้วสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดแผลที่กระจกตาได้ ดังนี้ แผลที่กระจกตาจากการติดเชื้อ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อ โดยสามารถแบ่งเชื้อโรคได้หลายชนิด ได้แก่ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเช่น เชื้อไวรัสโรคงูสวัด เชื้อเริม แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแบคทีเรียจะผลิตสารที่เป็นพิษเข้าไปทำลายดวงตา ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดแผลที่กระจกตาได้ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อรามักเกิดในกรณีที่กระจกตาถูกกระทบจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ใบไม้ ใบหญ้าเข้าตา แผลที่กระจกตาที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิตเช่น เชื้ออะมีบา ทั้งนี้การเกิดแผลที่กระจกตาจากการติดเชื้ออะมีบานั้น เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย แต่เมื่อเกิดแล้ว จะมีอันตรายมากกว่าการติดเชื้อแบบอื่นๆ แผลที่กระจกตาจากปัจจัยอื่น ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดแผลที่กระจกตา ได้แก่ ผู้ที่มีขนตายาวมากจนขนตาทิ่มเข้าไปในดวงตา เกิดการระคายเคืองจนส่งผลให้เกิดแผลที่กระจกตา ผู้ที่สวมคอนแท็กต์เลนส์เกิดจากการดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่เพียงพอ ทำให้ดวงตาอักเสบหรือติดเชื้อ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา เช่น ฝุ่นหรือก้อนหินกระเด็นเข้าตา หรือมีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ กระเด็นเข้ามาที่ดวงตา ผู้ที่มีภาวะตาแห้งร่างกายสร้างน้ำตาหล่อลื่นได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ดวงตาระคายเคืองได้ง่าย ส่งผลทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้     ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากแผลที่กระจกตา ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากแผลที่กระจกตา มีดังนี้ กระจกตาทะลุคือการที่กระจกตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนกระจกตาทะลุ กระจกตาติดเชื้อคือการที่เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรียต่างๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตา ตาแดง ตามัว ไม่สามารถสู้แสงได้ โรคต้อหินคือการที่ร่างกายมีค่าความดันลูกตาสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าเป็น จนกว่าจะเริ่มมีอาการอื่นๆ เช่น เริ่มมองเห็นไม่ชัด มองเห็นได้ในระยะแคบลง หรือในกรณีที่เกิดโรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ตาแดง มองเห็นเฉพาะทางตรง ภาวะม่านตาอักเสบคือภาวะที่มีการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อส่วนกลางภายในลูกตา ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนนี้ประกอบไปด้วยเส้นเลือดจำนวนมาก เมื่อเกิดการอักเสบจึงส่งผลต่อการมองเห็นเป็นอย่างมาก การวินิจฉัยแผลที่กระจกตาโดยแพทย์ เมื่อเกิดแผลที่กระจกตา คนไข้จะมีอาการเจ็บที่ตา หรือตาอักเสบได้ ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคทางดวงตาโดยทั่วไป ทั้งนี้แพทย์จะเริ่มทำการวินิจฉัยโดยอิงจากขั้นตอน ดังต่อไปนี้ แพทย์ซักประวัติเบื้องต้นเช่น โรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา หรือประวัติการใช้ยาต่างๆ แพทย์สืบหาสาเหตุเช่น มีอาการผิดปกติจากอะไร พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงทำให้เกิดแผลที่กระจกตา แพทย์ตรวจตาอย่างละเอียดด้วยกล้องตรวจตาชนิดลำแสงแคบ (Slit lamp biomicroscope) เพื่อดูความเสียหายที่เกิดขึ้น แพทย์ขูดกระจกตาเพื่อนำตัวอย่างเชื้อออกมา แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาต้นตอของการติดเชื้อว่ามาจากเชื้อชนิดใด แพทย์แจ้งผลการวินิจฉัยพร้อมแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด แนวทางการรักษาแผลที่กระจกตา สำหรับแนวทางการรักษาแผลที่กระจกตา สามารถรักษาได้ทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่ การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยยา การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยการผ่าตัด โดยมีรายละเอียดดังนี้ การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยยา วิธีการรักษาแผลที่กระจกตาด้วยยาเป็นวิธีการรักษาแบบเบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลที่กระจกตาเพียงเล็กน้อย มีรอยแผลตื้น กระจกตาไม่ได้ถูกฉีกขาดอย่างหนัก สามารถทานยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสเพื่อรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ การรักษาแผลที่กระจกตาด้วยการผ่าตัด วิธีการรักษาแผลที่กระจกตาด้วยการผ่าตัดเป็นการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง โดยแพทย์จะนำเนื้อเยื่อกระจกตาเดิมออก จากนั้นทำการเปลี่ยนเนื้อเยื่อกระจกตาใหม่ด้วยการใช้เนื้อเยื่อกระจกตาของผู้ที่บริจาคเข้าไปแทน     ดูแลดวงตาอย่างไร ให้ห่างไกลแผลที่กระจกตา วิธีการดูแลรักษาดวงตาเพื่อลดความเสี่ยงกระจกตาเป็นแผล มีดังนี้ สวมอุปกรณ์ป้องกันรอบดวงตาเมื่อต้องทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น งานช่าง งานสัมผัสสารเคมี เป็นต้น หมั่นดูแลรักษาความสะอาดบริเวณดวงตา หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือลูบคลำบริเวณรอบดวงตา สำหรับผู้ที่สวมคอนแท็กต์เลนส์ ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมใส่และควรทำความสะอาดเลบนส์หลังใช้งานทุกครั้ง ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้า เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ รักษาแผลที่กระจกตา ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการแผลที่กระจกตา เข้ามารักษาได้ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospitalเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาดวงตาอย่างครบวงจร โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ ที่พร้อมดูแลตลอดทุกขั้นตอนจนถึงการติดตามผลการรักษา โรงพยาบาลมีเทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย โรงพยาบาลพร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ โรงพยาบาลใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศที่เป็นกันเอง สรุป แผลที่กระจกตา คืออาการกระจกตาได้รับบาดเจ็บจนเกิดเป็นแผล มีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตลอดจนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ หากเป็นแผลขนาดเล็กสามารถรักษาได้ด้วยการทานยา แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง ร่วมกับการติดเชื้อ แพทย์จะแนะนำให้่าตัดเพื่อรักษา อาการกระจกตาเป็นแผลไม่ควปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงต้อหินและการสูญเสียการมองเห็นได้ เข้ามารักษาอาการแผลที่กระจกตาได้ที่ศูนย์โรคกระจกตา Bangkok Eye Hospitalที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการด้วยความใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนการติดตามผล
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111