มุมสุขภาพตา : #เส้นประสาทตาอักเสบ

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม

เส้นประสาทตาอักเสบคืออะไร พร้อมหาสาเหตุและแนวทางการรักษา

อาการเบื้องต้นของคนที่มีเส้นประสาทตาอักเสบก็คือ การปวดตาเมื่อดวงตามีการเคลื่อนไหว ทำให้กลอกตาได้ลำบากหรือกลอกตาไม่ได้เลย หากมีอาการตามนี้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ โดยในบทความนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ การสังเกตอาการ วิธีการรักษา และแนวทางการป้องกันเบื้องต้นของโรคเส้นประสาทตาอักเสบเอาไว้ให้แล้ว   เส้นประสาทตาคือ กลุ่มของเส้นใยที่เชื่อมเส้นประสาทตา ทำหน้าที่ส่งภาพที่ตามองเห็นไปยังสมอง เส้นประสาทตาอักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น MS การติดเชื้อ การใช้ยาและสารพิษ รวมไปถึงการที่ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ผิดปกติ รักษาเส้นประสาทตาอักเสบทำได้ด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อระงับอาการปวด บวม และอักเสบของเส้นประสาทตาที่มีอาการอักเสบ ป้องกันเส้นประสาทตาอักเสบได้ด้วยการควบคุมโรคประจำตัว รักษาความสะอาดของดวงตา และปกป้องดวงตาจากการบาดเจ็บ รักษาเส้นประสาทตาอักเสบ ที่ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital โดดเด่นด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญโรคตาโดยเฉพาะ ทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุด     ทำความรู้จัก เส้นประสาทตาอักเสบ เส้นประสาทตา คือกลุ่มของเส้นใยของเส้นประสาทที่เชื่อมเส้นประสาทตากับสมองเข้าด้วยกัน โดยเส้นประสาทตาจะทำหน้าที่ในการส่งภาพที่ตามองเห็นไปยังสมองอีกที ถือได้ว่าเป็นเส้นประสาทที่มีความสำคัญต่อการมองเห็นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งควรดูแลรักษาเส้นประสาทตาให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ เส้นประสาทตาอักเสบ คือลักษณะอาการที่ปลอกหุ้มเส้นประสาทหรือเยื่อไมอิลินมีการเสื่อมสภาพ หรือมีอาการอักเสบ บวม และแดงกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเส้นประสาทตาอักเสบมีอาการปวดตาเมื่อกลอกตา หรือในบางรายอาจไม่สามารถกลอกตาได้     อาการเส้นประสาทตาอักเสบเป็นอย่างไร สำหรับผู้ที่สงสัยว่าอาการเส้นประสาทตาอักเสบเป็นอย่างไร หรือต้องการตรวจสอบว่าตนเองนั้นเป็นเส้นประสาทตาอักเสบหรือไม่ มาเช็กอาการเบื้องต้นตามเช็กลิสต์ด้านล่างนี้ได้เลย รู้สึกปวดหรือรู้สึกเคืองตาเมื่อมีการเคลื่อนไหวดวงตา ในบางรายอาจจะกลอกตาได้ลำบากหรือกลอกตาไม่ได้ สูญเสียการมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือสูญเสียการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้าง ซึ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการมองเห็นนั้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยจะมีตั้งแต่การที่เห็นภาพเบลอเล็กน้อยไปจนกระทั่งดวงตาบอดสนิท ผู้ป่วยเส้นประสาทตาอักเสบอาจไม่สามารถมองเห็นสีบางสี ทั้งที่เคยมองเห็นมาก่อน หรือสีที่มองเห็นนั้นผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาจเห็นแสงสว่างจ้าเหมือนโดนไฟส่องตาในดวงตาข้างที่มีอาการอักเสบของเส้นประสาทตา มองเห็นจุดดำตรงกึ่งกลางของลานสายตา ก็นับได้ว่าเป็นอาการเบื้องต้นของเส้นประสาทตาอักเสบได้ด้วยเช่นกัน มองเห็นด้านข้างไม่ชัดเจนหรือมองด้านข้างไม่เห็นเลย หาสาเหตุเส้นประสาทตาอักเสบ เกิดจากอะไร สาเหตุของเส้นประสาทตาอักเสบนั้นยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด แต่ทีมแพทย์ในปัจจุบันได้ลงความคิดเห็นกันว่า อาจเกิดจากการที่ภูมิคุ้มภูมิกันในร่างกายของคนไข้ เกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อของตัวเอง ทำให้เยื่อไมอิลินที่หุ้มเส้นประสาทที่จะส่งไปยังสมองนั้นเกิดการอักเสบ ซึ่งอาการจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อโดยอาจจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงโรค Lyme ไข้แมวข่วน และซิฟิลิส ไวรัสเช่น โรคหัด คางทูม และเริม อาจทำให้เกิดโรคประสาทอักเสบทางตาได้ การติดโรคอื่นๆไม่ว่าจะเป็นโรคซาร์คอยโดซิส โรคเบห์เซ็ต และลูปัส ยาและสารพิษเพราะยาและสารพิษบางชนิดเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของโรคประสาทอักเสบทางตา อย่างยา Ethambutol ที่ใช้รักษาวัณโรค และเมทานอลซึ่งเป็นส่วนผสมทั่วไปในสารป้องกันการแข็งตัว สี และตัวทำละลาย มีความเกี่ยวข้องกับโรคประสาทอักเสบเกี่ยวกับจอประสาทตาทั้งสิ้น     กลุ่มเสี่ยงมีอาการเส้นประสาทตาอักเสบ หากอยากทราบว่าคุณและคนใกล้ตัวของคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคประสาทอักเสบทางตาหรือไม่ หรือมีใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ มาหาคำตอบกัน อายุโดยโรคประสาทอักเสบจากจอประสาทตามักเกิดกับผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี เพศโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคประสาทอักเสบเกี่ยวกับจอประสาทตามากกว่าผู้ชาย เชื้อชาติโดยโรคประสาทตาอักเสบมักเกิดขึ้นกับคนผิวขาว การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมโดยการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคประสาทอักเสบทางตาหรือโรคปลอกประสาทเสื่อม อาการเส้นประสาทตาอักเสบแบบใด ควรรีบพบแพทย์ อาการเส้นประสาทตาอักเสบนั้นมีหลายระดับ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เริ่มปวดตาหรือการมองเห็นเปลี่ยนไป คุณภาพการมองเห็นแย่ลงหรือไม่ดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษา มองเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็นในดวงตาทั้งสองข้าง ชาหรืออ่อนแรงในแขนขาหนึ่งข้างหรือทั้งสองข้าง ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติทางระบบประสาท     การวินิจฉัยเส้นประสาทตาอักเสบ แพทย์มีแนวทางการวินิจฉัยอาการเส้นประสาทตาอักเสบ ดังนี้ การทดสอบความสามารถในการมองเห็น (Visual Acuity Test) ทดสอบว่าดวงตาของคุณมองสามารถมองเห็นได้ดีเพียงใด การหยอดยาเพื่อขยายม่านตา ก่อนที่จะตรวจดูจอประสาทตาว่าทำงานได้ตามปกติหรือไม่ การทดสอบการมองเห็นด้านข้างด้วยการตรวจดูความสามารถในการมองเห็นของลานสายตา การสแกน MRI ของเบ้าตาและสมอง โดยจะสแกนเมื่อต้องการดูความเสียหายหรือการอักเสบของกลุ่มเส้นประสาทตา     วิธีรักษาเส้นประสาทตาอักเสบ สำหรับผู้ป่วยเส้นประสาทตาอักเสบ แพทย์มีแนวทางการรักษาที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ดังนี้ การให้สเตียรอยด์ทางหลอดเลือดดำเป็นมาตรการเริ่มต้นในการรักษาเริ่มต้นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นประสาทตาอักเสบ ตัวสเตียรอยด์ที่ฉีดเข้าไปทางหลอดเลือดดำ จะเข้าไปช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทตา พร้อมกระตุ้นการฟื้นตัวในการมองเห็นให้ดีขึ้น จ่ายยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานเพื่อช่วยลดการอักเสบและยังเป็นการป้องกัน ไม่ให้กลับมาป่วยเป็นโรคประสาทตาอักเสบซ้ำ การทำ PLEXหรือนำของเหลวในเลือด (พลาสมา) ออก แล้วจะใส่สารทดแทนพลาสมาหรือพลาสมาที่ได้รับบริจาคเข้าไปแทน เพื่อลดอาการอักเสบของโรคประสาทตาอักเสบ วิธี DMTsเพื่อควบคุมอาการของโรคประจำตัว และยังเป็นการป้องกันไม่ให้โรคเส้นประสาทตาอักเสบกลับมากำเริบซ้ำในอนาคต มักใช้ในกรณีที่โรคเส้นประสาทตาอักเสบมีความเชื่อมโยงกับโรคประจำตัว อาทิ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ป้องกันเส้นประสาทตาอักเสบได้อย่างไร โรคประสาทตาอักเสบป้องกันไว้ดีกว่าแก้ มาดูวิธีการป้องกันไม่ให้เป็นเส้นประสาทตาอักเสบ ดังนี้ ควบคุมโรคประจำตัวให้ดีเพราะโรคประจำตัวบางอย่างมีความเกี่ยวข้องกับโรคเส้นประสาทตาอักเสบ อย่างเช่น โรคปลอกเยื่อมหุ้มประสาทเสื่อม รักษาความสะอาดโดยการล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดโรคประสาทอักเสบเกี่ยวกับจอประสาทตา ปกป้องดวงตาด้วยการสวมแว่นตาป้องกันเมื่อเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ดวงตา รักษาเส้นประสาทตาอักเสบ ที่ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากต้องการรักษาเส้นประสาทตาอักเสบแนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์จักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป เส้นประสาทตานั้นมีความสำคัญต่อการมองเห็น เพราะเป็นกลุ่มของเส้นใยที่ทำหน้าที่ส่งภาพที่ตามองเห็นไปยังสมอง ซึ่งอาการเส้นประสาทตาอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ การใช้ยาหรือสารพิษ โดยรักษาอาการได้ด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันเส้นประสาทตาอักเสบได้ด้วยการคุมโรคประจำตัว รักษาความสะอาด และป้องกันการบาดเจ็บของดวงตา เข้ามารักษาโรคเส้นประสาทตาอักเสบที่ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospitalที่นี่เป็นสถานพยาบาลแห่งที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคตาโดยเฉพาะ ให้การรักษาโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเครื่องมือแพทย์ที่ครบครันและทันสมัย มั่นใวจได้ในผลลัพธ์การรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111