มุมสุขภาพตา : #ตาเหล่

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และนิสัยที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม

อาการตาเหล่ ตาเข สาเหตุของตาขี้เกียจ ควรรีบเข้ารับรักษาทันที!

อาการตาเหล่ ตาเข เป็นต้นตอของโรคตาขี้เกียจ และเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ค่าสายตาสูงผิดปกติ มองเห็นไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน เบลอ หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทางสายตา และถ้าหากไม่รีบเข้ารับการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายได้ ในบทความนี้ มาทำความรู้จักกับอาการตาเหล่ ตาเขให้มากขึ้นว่าคืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ตาเหล่ยังไง หรือมีวิธีรักษาตาเหล่ด้วยตัวเองหรือไม่ และมีแนวทางในการรักษาอาการตาเหล่ หรือตาเขอย่างไรบ้าง ไปดูกัน   ตาเหล่ หรือตาเข เป็นภาวะที่ดวงตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองไปในทิศทางเดียวกันได้ อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา หรือการควบคุมของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดปัญหาในการมองเห็นได้ อาการตาเหล่ ตาเขเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา หรือเส้นประสาท สมองได้รับบาดเจ็บ กรรมพันธุ์ หรือโรคทางระบบประสาท รวมถึงโรคทางกายภาพ เช่น เบาหวาน หรือการบาดเจ็บรอบดวงตา เป็นต้น การรักษาตาเหล่ หรือตาเขแบบไม่ต้องผ่าตัด เหมาะสำหรับอาการที่ยังไม่รุนแรง เช่น การสวมแว่นสายตา การสวมแว่นปริซึม การปิดตาข้างที่ถนัด หรือการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อตา เป็นต้น การรักษาตาเหล่ หรือตาเขแบบผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่อาการรุนแรง หรือไม่ได้ผลจากวิธีอื่น เช่น การผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา (Muscle Correction) หรือการผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งกล้ามเนื้อ เป็นต้น ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ให้บริการครบวงจรโดยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตา มีเทคโนโลยีทันสมัยและเครื่องมือมาตรฐานระดับสากล     อาการตาเหล่ ตาเข คืออะไร อาการตาเหล่ ตาเข คือภาวะที่ดวงตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองตรงไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยปกติแล้วกล้ามเนื้อตาจะทำงานประสานกัน เพื่อให้ดวงตาทั้งสองข้างมองไปยังจุดเดียวกัน แต่ถ้าหากเกิดอาการตาเหล่ หรือตาเข กล้ามเนื้อตาจะทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหันออกนอกทิศทาง ทำให้การมองเห็นไม่คมชัด และอาจเกิดอาการเห็นภาพซ้อน หรือปวดตาได้ อาการนี้สามารถพบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ และถ้าหากไม่ได้รับการรักษาในช่วงวัยเด็ก อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านการมองเห็นในระยะยาว เช่น อาการตาขี้เกียจ (Amblyopia)     สังเกตอาการตาเหล่ ตาเข มีอะไรบ้าง สำหรับอาการตาเหล่ หรืออาการตาเขที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้ ดวงตาไม่มองในทิศทางเดียวกันเป็นอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมองตรง แต่ตาอีกข้างหนึ่งหันไปในทิศทางอื่น เช่น เข้าด้านใน หรือออกด้านนอก เห็นภาพซ้อนเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อดวงตาทั้งสองข้างส่งภาพไปยังสมองที่ไม่สอดคล้องกัน ปวดตา หรือปวดศีรษะเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นที่เกิดจากกล้ามเนื้อตามีการทำงานหนักเกินไป การเอียงศีรษะ หรือเบี่ยงหน้าเป็นอาการที่ผู้ป่วยตาเหล่ หรือตาเขจะมีอาการเอียงศีรษะ หรือเบี่ยงหน้าอยู่บ่อยครั้ง เพื่อช่วยปรับการมองเห็นให้ชัดเจนขึ้น พัฒนาการมองเห็นล่าช้าในเด็กเป็นอาการที่เด็กๆ มักจะหรี่ตามอง หันข้างมอง หรือเอียงคอมองสิ่งของ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านการโฟกัส หรือการหยิบจับวัตถุ และกลายเป็นปัญหาพัฒนาการมองเห็นล่าช้าได้ สาเหตุอาการตาเหล่ ตาเข เกิดจากอะไร สำหรับอาการตาเหล่ หรือตาเขนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาเหล่ที่เกิดจากกล้ามเนื้อตาบางมัดอ่อนแรง หรือไม่สมดุล ระบบประสาทผิดปกติเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาเขที่เกิดจากการส่งสัญญาณระหว่างสมอง และกล้ามเนื้อตาไม่สมบูรณ์ ปัญหาทางพันธุกรรมถ้าหากสมาชิกในครอบครัวเคยมีอาการ ก็มีโอกาสที่จะส่งต่อสู่รุ่นลูกหลานได้ สายตาผิดปกติเช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงที่ไม่ได้รับการแก้ไข เป็นต้น โรคประจำตัวเช่น เบาหวาน โรคสมองพิการ หรือภาวะดาวน์ซินโดรม เป็นต้น การบาดเจ็บเช่น การได้รับอุบัติเหตุที่กระทบดวงตา หรือศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น กลุ่มเสี่ยงตาเหล่ ตาเข มีใครบ้าง สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการเกิดอาการตาเหล่ หรือตาเข มีดังนี้ เด็กทารก หรือเด็กเล็กที่มีอายุไม่เกิน 3 ขวบ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่มีอาการตาเหล่ หรืออาการตาเข ผู้ป่วยโรคทางสมอง ผู้ที่มีสายตาผิดปกติรุนแรง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือดวงตา ผู้สูงอายุ     ตาเหล่ ตาเข มีกี่รูปแบบ อาการตาเหล่ หรือตาเขนั้นแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ แบบเข้าใน แบบออกนอก แบบขึ้นบน และแบบลงล่าง โดยอาการตาเหล่ หรือตาเขในแต่ละรูปแบบนั้นมีสาเหตุ และลักษณะอาการ ดังนี้ 1. ตาเหล่ ตาเขแบบเข้าใน ตาเหล่ ตาเขแบบเข้าใน (Esotropia) เป็นอาการที่ลูกตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเคลื่อนเข้าหากัน ทำให้ลูกตาดูเหมือนมองไขว้ โดยอาการตาเหล่ ตาเขในรูปแบบนี้เกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อดึงตาเข้ามีแรงดึงมากเกินไป หรือเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือโรคที่ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดปัญหามองเห็นภาพซ้อน หรือภาพเบลอ หากเกิดในเด็กอาจทำให้เกิดภาวะ "ตาขี้เกียจ" เนื่องจากสมองเลือกใช้งานตาข้างที่เห็นชัดกว่า และมักจะพบบ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในวัยก่อน 2 ขวบ 2. ตาเหล่ ตาเขแบบออกนอก ตาเหล่ ตาเขแบบออกนอก (Exotropia) เป็นอาการที่ลูกตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเคลื่อนออกไปด้านข้างจากตำแหน่งปกติ โดยอาการตาเหล่ ตาเขในรูปแบบนี้เกิดจากกล้ามเนื้อตาด้านนอกทำงานมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อด้านในอ่อนแรง และอาจสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบประสาท การบาดเจ็บ หรือโรคเกี่ยวกับสมอง ทำให้เกิดปัญหามองเห็นภาพซ้อนในช่วงแรกที่มีอาการ และเมื่อสมองปรับตัวได้ อาจทำให้สมองมองข้ามภาพจากตาข้างที่อ่อนแรง ตาเหล่ ตาเขแบบออกนอกมักจะพบบ่อยในเด็กโตและวัยรุ่น ส่วนใหญ่จะมีอาการดวงตาอ่อนล้า หรือไม่สามารถโฟกัสได้ปกติ 3. ตาเหล่ ตาเขแบบขึ้นบน ตาเหล่ ตาเขแบบขึ้นบน (Hypertropia) เป็นอาการที่ลูกตาข้างใดข้างหนึ่งเคลื่อนสูงกว่าตาอีกข้าง โดยอาการตาเหล่ ตาเขในรูปแบบนี้เกิดจากกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวแนวดิ่งทำงานผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อตายกขึ้นทำงานมากเกินไป หรือประสาทสมองคู่ที่ 4 (Trochlear nerve) บกพร่อง ทำให้เกิดปัญหาเห็นภาพซ้อนในแนวดิ่ง และมีอาการตาล้า และผู้ป่วยมักมีอาการเอียงศีรษะบ่อย เพื่อช่วยปรับการมองเห็น อาการตาเหล่ ตาเขในรูปแบบนี้จะพบน้อยกว่าแบบเข้าใน และออกนอก และโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติทางสมอง 4. ตาเหล่ ตาเขแบบลงล่าง ตาเหล่ ตาเขแบบลงล่าง (Hypotropia) เป็นอาการที่ลูกตาข้างใดข้างหนึ่งเคลื่อนต่ำกว่าตาอีกข้าง โดยอาการตาเหล่ ตาเขในรูปแบบนี้เกิดจากกล้ามเนื้อควบคุมการมองลงทำงานผิดปกติ หรือความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 (Oculomotor nerve) ถูกกดทับ ทำให้ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการมองเห็นภาพซ้อนในแนวดิ่ง และอาจต้องเงยศีรษะบ่อยเพื่อช่วยปรับการมองเห็น อาการตาเหล่ ตาเขในรูปแบบนี้จะพบน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่มักจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโรคที่กระทบสมองโดยตรง ตาเหล่ ตาเขในเด็ก อย่าปล่อยไว้ ต้องรีบรักษา อาการตาเหล่ หรือตาเขในเด็ก เป็นภาวะที่ดวงตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองในทิศทางเดียวกันได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา หรือสมองที่ควบคุมการทำงานของดวงตา ซึ่งอาการตาเหล่ หรือตาเขในเด็กอาจเริ่มต้นจากการมองเห็นไม่ชัดเจนในบางช่วง หรือมีดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเบี่ยงไปด้านใดด้านหนึ่ง เช่น เข้าด้านใน ออกด้านนอก ขึ้นด้านบน หรือลงด้านล่าง หากมีอาการดังกล่าวและปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการมองเห็นในระยะยาว เช่น ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) ซึ่งอาจทำให้เด็กสูญเสียการมองเห็นในตาข้างนั้นอย่างถาวร นอกจากนี้อาการตาเหล่ หรือตาเขในเด็กยังอาจส่งผลต่อความมั่นใจ และการเข้าสังคมของเด็กในอนาคต ดังนั้น การรักษาในระยะเริ่มต้น เช่น การใส่แว่น การปิดตาข้างที่ปกติ หรือการทำกายภาพกล้ามเนื้อตา ก็เป็นวิธีในการรักษาที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูการมองเห็นให้เป็นปกติ และถ้าหากผู้ปกครองสังเกตเห็นความผิดปกติในดวงตาของเด็ก ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม การวินิจฉัยอาการตาเหล่ ตาเข โดยแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยอาการตาเหล่ หรืออาการตาเขโดยแพทย์นั้นจะมีขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัย ดังนี้ ซักประวัติทางการแพทย์เริ่มต้นด้วยการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย เช่น ดวงตาเบี่ยงไปในทิศทางใด เบี่ยงบ่อยหรือไม่ ประวัติการเริ่มต้นของอาการ เช่น เกิดตั้งแต่กำเนิด หรือเริ่มในวัยเด็ก หรือวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพิจารณาประวัติครอบครัวว่ามีผู้ที่เคยมีอาการคล้ายกันหรือไม่ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เช่น โรคทางระบบประสาท การมองเห็นที่เคยผิดปกติ หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตามาก่อน เป็นต้น ตรวจวัดการมองเห็นแพทย์จะใช้แผ่นทดสอบการมองเห็น (Snellen Chart) หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบความชัดเจนของการมองเห็นในแต่ละตา โดยผู้ป่วยอาจจะต้องอ่านตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ในระยะต่างๆ ขณะปิดตาอีกข้างไว้ เพื่อประเมินความสามารถของการมองเห็นในตาทั้งสองข้าง ตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตาแพทย์จะสังเกตการเคลื่อนไหวของดวงตาโดยให้ผู้ป่วยมองตามวัตถุที่เคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆ เช่น ซ้าย-ขวา บน-ล่าง และแนวทแยงมุม ซึ่งจะสามารถช่วยประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อตา และช่วยระบุได้ว่ามีกล้ามเนื้อใดที่ทำงานผิดปกติ การใช้แสงส่องดวงตาแพทย์จะฉายแสงไปที่ดวงตาทั้งสองข้าง และสังเกตตำแหน่งของแสงที่สะท้อนบนกระจกตา หากดวงตาปกติ แสงสะท้อนจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันในทั้งสองตา แต่หากมีอาการตาเหล่ หรือตาเข แสงสะท้อนจะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกัน การใช้ปริซึมในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเบี่ยงเบนของตาชัดเจน แพทย์อาจใช้เลนส์ปริซึมวางหน้าดวงตา เพื่อลดการเบี่ยงเบน และวัดองศาของอาการตาเหล่ หรืออาการตาเข และในขั้นตอนการตรวจนี้จะช่วยในการระบุความรุนแรงของอาการ และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการรักษาได้ การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นขั้นตอนการวินิจฉัยที่แพทย์จะใช้เครื่องมือ Ophthalmoscope เพื่อตรวจสอบภายในดวงตา เช่น จอประสาทตาและเส้นประสาทตา และในขั้นตอนการตรวจนี้จะช่วยวินิจฉัยว่าอาการตาเหล่ หรืออาการตาเขมีสาเหตุจากโรคทางสายตาอื่นๆ เช่น จอประสาทตาหลุดลอก หรือความผิดปกติของเส้นประสาทตาหรือไม่     แนวทางการรักษาตาเหล่ ตาเข โดยไม่ต้องผ่าตัด สำหรับอาการตาเหล่ หรือตาเขในหลายกรณีนั้นสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด โดยเฉพาะในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรง หรือเกิดจากปัญหาสายตา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ และระดับความรุนแรงของอาการด้วย และวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดนั้นจะเน้นการปรับสมดุลกล้ามเนื้อตา และการทำงานของดวงตาให้ประสานกันมากขึ้น ซึ่งการรักษาตาเหล่และตาเขโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำได้ดังนี้ การสวมแว่นสายตาโดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อาการตาเหล่ หรืออาการตาเขเกิดจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งแว่นสายตาจะช่วยปรับการมองเห็นให้ชัดเจนขึ้น และลดแรงกดดันต่อกล้ามเนื้อตา ช่วยให้ตาทั้งสองข้างทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น และเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีอาการตาเหล่ในระดับเริ่มต้นถึงปานกลาง การสวมแว่นปริซึมเพื่อช่วยแก้ไขอาการมองเห็นภาพซ้อน ซึ่งเป็นปัญหาหลักของตาเหล่ หรือตาเข เพราะว่าเลนส์ปริซึมนั้นออกแบบมาเพื่อปรับแสงที่เข้าสู่ดวงตาให้ตรงกับจุดที่เหมาะสม ทำให้มองเห็นภาพที่ชัดเจน และสมดุลมากขึ้น และเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง หรือยังไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ การปิดตาข้างที่ถนัดเหมาะกับผู้ที่มีภาวะ "ตาขี้เกียจ" หรืออาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการอ่อนแรง โดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยปิดตาข้างที่ถนัดเพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่อ่อนแรงทำงานมากขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะนิยมใช้บ่อยในเด็กเล็ก และเป็นวิธีที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เห็นผลลัพธ์ชัดเจน การกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อตาฝึกกล้ามเนื้อตาด้วยกิจกรรมเฉพาะ เช่น การฝึกโฟกัส การเคลื่อนไหวสายตาตามวัตถุ เพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อตา และการประสานงานระหว่างสมองกับดวงตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตาเหล่ หรืออาการตาเขเล็กน้อยถึงปานกลาง การฉีดโบท็อกซ์เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ การฉีดโบท็อกซ์จะช่วยลดแรงดึงของกล้ามเนื้อ และช่วยปรับสมดุลการเคลื่อนไหวของดวงตา ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่พร้อมสำหรับการผ่าตัดใหญ่ หรือใช้เป็นการรักษาเบื้องต้น     แนวทางการรักษาตาเหล่ ตาเข โดยการผ่าตัด สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตาเหล่ หรืออาการตาเขอย่างรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น ก็อาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะว่าการผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ หรือตาเขนั้นออกแบบมาเพื่อปรับตำแหน่ง และความสมดุลของกล้ามเนื้อตาโดยตรง โดยอาการตาเข และตาเหล่รักษาโดยการผ่าตัดนั้นมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ การผ่าตัด Muscle Correctionเป็นวิธีการรักษาที่แพทย์จะทำการผ่าตัดปรับแต่งกล้ามเนื้อตาให้มีความยาวที่เหมาะสม โดยวิธีนี้จะช่วยให้สามารถขยับซ้าย ขวา ขึ้น และลงได้ปกติ และช่วยปรับการเคลื่อนไหวของดวงตาให้สอดคล้องกันมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแต่กล้ามเนื้อตายังอยู่ในสภาพดี การผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตาเป็นวิธีการรักษาที่แพทย์จะทำการผ่าตัดที่เน้นแก้ไขความผิดปกติของตำแหน่งกล้ามเนื้อตา ด้วยการตัด หรือเชื่อมต่อกล้ามเนื้อในตำแหน่งใหม่ เพื่อปรับตำแหน่งของลูกตาให้สมดุล ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่น และมักใช้ในผู้ใหญ่ หรือเด็กที่มีอาการทรงตัวแล้ว รักษาตาเหล่ ตาเข ที่ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากมีอาการตาเหล่ ตาเข แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการตาเหล่ได้ที่ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตาเข ที่สามารถดูแล รักษาอาการผิดปกติได้ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้ใหญ่ที่มีอาการตาเหล่ ตาเข มีจุดเด่นดังนี้ โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ จักษุแพทย์ สามารถดูแล รักษา และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการตาเหล่ ตาเข ได้ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้ใหญ่ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป อาการตาเหล่ หรือตาเข คือภาวะที่ดวงตาทั้งสองข้างมองไม่ตรงกัน เนื่องจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาหรือระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็น และอาการนี้สามารถพบได้ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็ก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ ตาเขเข้าใน ตาเขออกนอก ตาเขขึ้นบน และตาเขลงล่าง โดยสามารถทำการรักษาได้ทั้งแบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการตาเหล่ได้ที่ศูนย์รักษาตาเด็ก Bangkok Eye Hospitalที่มีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ มาพร้อมกับเทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล ให้บริการแบบครบวงจร ดูแล รักษา และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการตาเหล่ ตาเข ได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ดูแลใส่ใจทุกท่านดุจญาติมิตร
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111