ทั้งนี้ บางคนมักเข้าใจผิดว่า ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีจะไม่สามารถรับรู้สีใดๆได้เลย ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอย่างรุนแรงจนกระทั่งเห็นภาพต่างๆ เป็นเพียงสีขาวดำนั้นสามารถพบได้น้อยมากๆ ส่วนมากแล้วคนที่ตาบอดสีจะรับรู้สีได้ แต่สามารถแยกสีมีความคล้ายกันได้น้อย อย่างไรก็ตาม คนที่ตาบอดสีที่สามารถบอกสีได้ถูกต้อง เช่น ตาบอดสีแดง จะสามารถบอกชื่อสีแดงได้ถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงมองเห็นสีแดงแตกต่างไปจากคนปกติ เพราะได้รับการสอนให้เรียกสีที่เค้ามองเห็นจากวัตถุนั้นๆว่า นี่คือสีแดง จึงมักจะบอกสีได้ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้หากประกอบอาชีพในบางอาชีพที่ต้องใช้สีในการบอกสัญลักษณ์
โดยปกติในจอประสาทตาของคนเราจะมีเซลล์ 2 ชนิดที่ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ซึ่งได้แก่ เซลล์รูปแท่ง และเซลล์รูปกรวย โดยเซลล์ทั้งสองชนิดนี้จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
เป็นเซลล์ที่ช่วยในการมองเห็นในที่สลัว ภาพที่เห็นจากเซลล์รูปแท่งนี้จะมีลักษณะเป็นสีขาวหรือดำขึ้นอยู่กับความสว่างของแสง ในดวงตาของคนปกติ เซลล์รูปแท่งนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ในระดับหนึ่ง
เป็นเซลล์ที่ช่วยให้มองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะในที่สว่าง โดยเซลล์รูปกรวยนี้จะมี 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง เซลล์รูปกรวยสีเขียว และเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อแสงผ่านเข้าสู่ดวงตาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทั้งสามให้ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อผสมผสานและแปลสัญญาณออกมาเป็นสีต่างๆ
โรคตาบอดสีเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ พบได้ประมาณ 8% ของประชากร และจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจโรคตาบอดสี ได้แก่ แผ่นภาพ Ishihara Chart ซึ่งหลายๆท่านอาจจะเคยรู้จัก ลักษณะของแผ่นภาพชนิดนี้จะมีจุดวงกลมวงใหญ่และมีจุดวงกลมเล็กๆ ข้างในซึ่งจะซ่อนตัวเลขไว้และใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อใช้ทดสอบ ซึ่งหากเป็นคนตาบอดสีจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถแยกสีและอ่านตัวเลขได้ถูกต้อง แต่หากอ่านได้ถูกต้องก็ถือว่า มีอาการปกติ