ย้อนกลับ
ตาพร่ามัว สัญญาณจากโรคร้ายที่ต้องรู้ มาหาสาเหตุ พร้อมแนวทางรักษา
  • อาการตาพร่า คือ การที่ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน อาจมองเห็นเลือนลาง หรือหากเป็นหนักจะไม่สามารถจำแนกสิ่งที่เห็นได้ว่าคืออะไร

  • อาการตาพร่า ตามัวมองไม่ชัดเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากปัญหาค่าสายตาผิดปกติ เกิดจากโรค หรือเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็ทำให้เกิดอาการตาพร่าได้ทั้งสิ้น

  • แนวทางการรักษาอาการตาพร่า สามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หรือหากภาพที่เห็นผิดเพี้ยนไป กระทบต่อชีวิตประจำวัน และอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ แนะนำให้รีบพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ และแก้ไขต่อไป

  • วิธีรักษาอาการตาพร่า ตามัว ได้แก่ การเลือกกินอาหารบำรุงสายตา กินยาแก้อาการตาพร่า ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา การใช้น้ำตาเทียม และการผ่าตัด

  • ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาโดยเฉพาะ ที่พร้อมช่วยเหลือทุกปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ทั้งนี้หากมีปัญหาตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจนอยู่บ่อยครั้ง ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดกับจักษุแพทย์โดยตรง

 

อาการตาพร่า ตามัว มองไม่ค่อยชัดนั้น เป็นอาการที่เกิดได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่หากปล่อยไว้นาน ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ดวงตาได้ ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีสังเกตอาการตาพร่า พร้อมวิธีการรักษาตาพร่า เพื่อให้ทุกคนกลับมามองเห็นได้ชัดอีกครั้ง

อาการตาพร่า คืออะไร

ตาพร่า คืออาการที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีอาการตาพร่า ตามัว ทำให้มองเห็นภาพเบลอ หรือหรือหากภาพที่เห็นผิดเพี้ยนจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน จะไม่สามารถจำแนกได้ว่าสิ่งที่มองเห็นคืออะไร ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

สังเกตอาการตาพร่า ตามัว เป็นอย่างไร

 

สังเกตอาการตาพร่า ตามัว เป็นอย่างไร

ตาพร่า ตามัว สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  • มองเห็นเป็นภาพเบลอ

  • การมองเห็นภาพสะท้อน

  • มองเห็นบุคคลอื่นไม่ชัดเจน เห็นรายละเอียดของใบหน้าน้อยลง เช่น รอยสิว ริ้วรอยต่างๆ กลับมองเห็นเป็นภาพเบลอ ต้องมองระยะใกล้ชิดจึงจะเห็นชัด

  • มองเห็นภาพระยะไกลแบบเบลอๆ

  • มองเห็นภาพแคบลง เดินชนสิ่งกีดขวางบ่อยๆ

 

ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด เกิดจากอะไร

 

ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด เกิดจากอะไร

อาการตาพร่า ตามัวมองไม่ชัดเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากค่าสายตาผิดปกติ สาเหตุจากโรคบางชนิด รวมถึงอาการแทรกซ้อนจากโรค ฯลฯ ทั้งนี้สามารถแบ่งสาเหตุออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. ปัญหาค่าสายตา

ค่าสายตาที่ผิดปกติส่งผลต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวัน ทำให้ดวงตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน

  • ปัญหาค่าสายตายาวมองเห็นระยะไกลได้ชัดเจน แต่มองใกล้ไม่ชัด ทำให้ต้องหยิบยื่นสิ่งของออกไปไกลมากขึ้นจึงจะมองเห็น

  • ปัญหาค่าสายตาสั้นมองเห็นระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองไกลไม่ชัด ทำให้ต้องเพ่ง จดจ้องสิ่งต่างๆ มากขึ้น

  • ปัญหาสายตาเอียงเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของรูปทรงกระจกตา ทำให้กระจกตาไม่สามารถรับรังสีแสงที่กระทบให้ถูกจุดโฟกัสนัยน์ตา

2. โรคบางชนิด

โรคบางชนิดส่งผลให้เกิดอาการตาพร่า ตามัวได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • โรคต้อกระจก(Cataract) เป็นภาวะที่เลนส์ที่อยู่ภายในลูกตามีความขุ่น ทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในดวงตาได้ ทำให้เกิดอาการตาพร่า มองเห็นไม่ชัดเจน

  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ(Conjuctivitis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตาขาว โดยตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือมีสีแดงเข้มหากมีการอักเสบหนัก ทำให้เกิดการระคายเคือง ตาพร่า ส่งผลต่อการมองเห็น

  • โรคเส้นประสาทตาอักเสบ(Optic Neuritis) อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ หรือเกิดจากการติดเชื้อที่ส่งผลถึงประสาทตา ทำให้ดวงตาไม่สามารถโฟกัสภาพตรงกลางในลานตาได้ เมื่อกลอกลูกตาไปมา จะรู้สึกเจ็บที่เบ้าตา ตาพร่า มองเห็นไม่ชัดเจน

3. ปัจจัยอื่นๆ

ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดตาพร่า มีดังนี้

 

  • ปัญหาตาพร่ามัวจากการเสื่อมถอยของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ ก็เสื่อมสภาพไปตามวัย ความยืนหยุ่นของเลนส์ในตาก็เสื่อมถอย ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดน้อยลง

  • ปัญหาตาพร่ามัวจากการเกิดโรคแทรกซ้อนเช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ทำให้ตาพร่า

  • ปัญหาตาพร่ามัวจากการใส่คอนแท็กต์เลนส์การสวมคอนแท็กต์เลนส์เป็นระยะเวลานาน ทำให้โปรตีนในดวงตาสะสมที่ตัวคอนแท็กต์เลนส์มากขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของน้ำตาในกระจกตา เกิดการระคายเคืองได้ง่าย จนเกิดอาการตาพร่าในที่สุด

  • ปัญหาตาพร่ามัวจากผลข้างเคียงของการทำเลสิกผู้ที่เข้ารับการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิกอาจเกิดภาวะตาแห้งตาพร่ามัว

  • ปัญหาตาพร่ามัวจากการตั้งครรภ์ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ จะมีแหล่งสะสมน้ำในร่างกายมากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดปัญหาตาบวม ตาพร่า

 

อาการตาพร่ามัวแบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์

 

อาการตาพร่ามัวแบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์

โดยทั่วไปแล้ว อาการตาพร่า ตามัว มองไม่ค่อยชัด สามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น การล้างตา หยอดน้ำตาเทียม นอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากผู้ป่วยมีอาการตาพร่ามัวมองไม่ชัด ร่วมกับอาการปวดหัวในขณะที่ใช้สายตา หรือนัยน์ตาขาวมีสีแดงก่ำ มองเห็นภาพเบลอๆ คล้ายกับมีหมอกบังอยู่ตลอด ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาอย่างเร็วที่สุด

 

ทดสอบอาการตาพร่าเบื้องต้น ทำได้อย่างไร

 

ทดสอบอาการตาพร่าเบื้องต้น ทำได้อย่างไร

สำหรับวิธีการทดสอบอาการตาพร่าเบื้องต้น แนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • ให้ผู้ป่วยยืนห่างจากผู้ทดสอบประมาณ 3 เมตร

  • ผู้ป่วยเริ่มทำการทดสอบด้วยการปิดตาข้างหนึ่ง แล้วทดสอบการมองเห็นของดวงตาอีกข้าง

  • ผู้ทดสอบทำการชูนิ้ว และเปลี่ยนจำนวนนิ้วไปเรื่อยๆ โดยให้ผู้ป่วยตอบตามสิ่งที่เห็น

  • สลับเปลี่ยนด้านด้วยการปิดตาอีกข้าง แล้วทำการทดสอบอีกครั้ง

  • หากคำตอบของผู้ป่วยไม่ตรงกับจำนวนที่ถูกต้อง แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการตาพร่า ตามัว ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด

วินิจฉัยอาการตาพร่า ทำได้อย่างไร

สำหรับการวินิจฉัยอาการตาพร่า ตามัวมองไม่ชัด จักษุแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามขั้นตอน ดังนี้

  • จักษุแพทย์สอบถามอาการ และตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น

  • ทำการทดสอบสายตาเบื้องต้น เช่น การวัดค่าสายตา วัดค่าความดันลูกตา

  • จักษุแพทย์ตรวจดูรอบดวงตาอย่างละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์

  • จักษุแพทย์วินิจฉัย และส่งตรวจหาความผิดปกติเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด เพื่อค้นหาโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ไมเกรน ฯลฯ

  • จักษุแพทย์แนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

 

แนวทางการรักษาอาการตาพร่า มีอะไรบ้าง

 

แนวทางการรักษาอาการตาพร่า มีอะไรบ้าง

สำหรับการรักษาอาการตาพร่า ตามัว มองเห็นไม่ชัด ทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และสาเหตุที่ทำให้เกิดตาพร่า โดยสามารถแบ่งแนวทางการรักษาออกเป็น 5 วิธี ดังนี้

1. การกินอาหารบำรุงสายตา

การรักษาด้วยการทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น การทานเนื้อปลา หรือการทานพืชผักที่มีโอเมก้า 3 เช่น วอลนัท สาหร่าย ถั่วแดง ปลาดุก ปลาทู เป็นต้น วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตาพร่าเพียงเล็กน้อย เพราะอาจเกิดสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย หรือมีสาเหตุจากการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

2. การกินยาแก้สายตาพร่า

การรักษาด้วยการทานยาแก้สายตาพร่ามัว ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตาพร่า มองเห็นภาพเบลอหนัก จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตา

การรักษาด้วยการบริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตา ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาค่าสายตา ทำให้ต้องเพ่ง ใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าปกติ

4. การใช้น้ำตาเทียม

การรักษาด้วยการใช้น้ำตาเทียมใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตาพร่า ร่วมกับอาการตาแห้ง หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ใช้สายตาบ่อยๆ เช่น การจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

5.การผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น การผ่าตัดเพื่อรักษาต้อกระจก การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาด้วยการทำเลสิก เป็นต้น

ป้องกันอาการตาพร่า ทำได้อย่างไรบ้าง

วิธีการป้องกันอาการตาพร่า สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่

  • กำหนดเวลาพักสายตาแนะนำให้พักสายตาทุกๆ 30-50 นาที โดยให้มองไปรอบๆ แทนการจดจ่ออยู่กับที่

  • สวมแว่นกรองแสงสีฟ้าในขณะที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อถนอมสายตา ลดโอกาสการเกิดภาวะจอประสาทเสื่อม

  • สวมแว่นกันแดดเมื่อมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเลือกทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น

    • อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ เช่น ผักผลไม้สีเหลือง ส้ม เขียวอย่างตำลึง แครอท มะละกอ

    • อาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า

    • อาหารที่มีลูทีนและไลโคปีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ข้าวโพด ผักโขม มะเขือเทศ

 

รักษาอาการตาพร่า ที่ศูนย์รักษากระจกตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร

 

รักษาอาการตาพร่า ที่ศูนย์รักษากระจกตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร

หากมีอาการตาพร่า ตามัว มองไม่ค่อยชัด แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้

  • โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  • เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย

  • พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

  • ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง

สรุป

อาการตาพร่า ตามัวมองไม่ค่อยชัด เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน อาจเกิดจากการพักผ่อนน้อย หรือมีการใช้สายตาอย่างหนัก จนทำให้ตาล้า ตาพร่าได้ แต่หากมีอาการตาพร่ามัวบ่อยๆ หรือมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของดวงตา ขอแนะนำBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ รวมถึงมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย

calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111